ทุกวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา หนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา หรือหากในปีนั้นเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มี 13 เดือน คือเดือน 8 สองครั้ง) วันอาสาฬหบูชาจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 8 หลัง และหลังจากวันอาสาฬหบูชา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ก็เป็นวันเข้าพรรษาอีกด้วย พุทธศาสนิกชน และพุทธบริษัทหลากหลายกลุ่มต่างออกไปทำบุญ ทำกิจกรรมทางศาสนากันในวันนี้ เราจะไล่จากประวัตวันอาสาฬหบูชา ความสําคัญวันอาสาฬหบูชา ไปจน การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา และ กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันที่
ในปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567
ประวัติวันอาสาฬหบูชา และความเป็นมาที่น่าสนใจ
คำว่า “อาสาฬหบูชา” สามารถแยกย่อยเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ดีขึ้นดังนี้
“อาสาฬห” หมายถึงวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติแบบดั้งเดิมที่ใช้ในหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะในชาวพุทธ
“บูชา” เป็นคำสันสกฤตที่หมายถึง “ความเคารพ” “บูชา” หรือ “การแสดงความเคารพ” ในพระพุทธศาสนา โดยทั่วไปหมายถึงการอุทิศตน ความเคารพ และการถวายแด่พระพุทธหรือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ดังนั้น เมื่อรวม “อาสาฬหบูชา” จึงเข้าใจได้ว่าเป็น หมายถึง การระลึกถึงและเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญสามประการในชีวิตของพระพุทธเจ้าองค์แรกซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนแปด
วันอาสาฬหบูชา ย่อมาจาก อาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 ประวัติวันอาสาฬหบูชา เริ่มขึ้นหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองในรุ่งเช้าเดือน 6 ใต้ร่มมหาโพธิ หลังจากนั้นได้ทรงเสวยวิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากการหลุดพ้น) เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ ในระหว่างนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทบทวนหลักธรรมที่ได้ตรัสรู้ และพบว่าหลักธรรมเหล่านี้ยากและลึกซึ้งเกินกว่าที่ผู้อื่นจะรู้ตามได้ ตอนนั้นท้าวสหัมบดีพรหมผู้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า กังวลว่าพระพุทธองค์จะไม่ทรงแสดงธรรม จึงได้ขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่หมู่เวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน) จึงไปเชิญพรหมและเทพมาชุมนุมและกล่าวทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
แต่ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรม ได้ใช้ญาณของพระองค์เองพิจารณาเวไนยสัตว์ ว่าจะสามารถรับธรรมที่พระองค์จะแสดงได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัยที่สร้างสมกันมาด้วย พระพุทธองค์จึงแบ่งเหล่าเวไนยสัตว์ออกเป็นดอกบัว 4 เหล่า
- ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำแล้ว เป็นดอกบัวที่รอเพียงแสงอาทิตย์ก็พร้อมจะเบ่งบาน เปรียบกับกลุ่มที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด
- ดอกบัวปริ่มน้ำ เป็นดอกบัวที่รอวันเบ่งบานในวันพรุ่งนี้ เปรียบกับกลุ่มที่มีปัญญาปานกลาง
- ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ เป็นดอกบัวที่ยังไม่บานในเร็ววัน เปรียบดั่งกลุ่มที่มีสติปัญญาน้อย แต่หากได้รับการแนะนำสั่งสอนธรรมบ่อย ๆ จะสามารถเข้าใจได้
- ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เป็นดอกบัวที่ยังไม่พ้นอันตรายจากเต่า ปลาทั้งหลาย เปรียบดั่งกลุ่มไร้สติปัญญา หรือไร้ความศัทธาและความเพียร
เมื่อได้แบ่งกลุ่มเวไนยสัตว์ออกเป็นดอกบัว 4 เหล่าแล้ว ก็ทรงรับคำอาราธนาให้แสดงธรรมของท้าวสหัมบดีพรหม และด้วยต้องการจะแสดงธรรมแก่ผู้ที่พร้อมจะเรียนรู้ธรรมโดยเร็วก่อน จึงนึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ทั้งสองได้สิ้นชีวิตไปแล้ว หลังจากนั้นพระพุทธองค์จึงนึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ โดยพระพุทธองค์ได้เดินทางไปแสดงปฐมเทศนา (เทศนาครั้งแรก) ในรุ่งเช้าวันเพ็ญเดือน 8 จึงเป็น ที่มาและ ประวัติวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับชาวพุทธ เนื่องจากเป็นวันเริ่มต้นคำสอนของพระพุทธเจ้าและการสถาปนาระเบียบสงฆ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาและถ่ายทอดภูมิปัญญาและแนวปฏิบัติทางพุทธศาสนาตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เป็นเวลาสำหรับ การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา อย่างแสดงความเคารพ การไตร่ตรอง และการต่ออายุจิตวิญญาณภายในชุมชนชาวพุทธ
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
จากที่รู้ ประวัติวันอาสาฬหบูชา ไปแล้ว ในวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญเดือน 8 ในปีนั้น ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาขึ้น 4 อย่างด้วยกัน ซึ่งเป็นความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาอีกด้วย
- เหตุการณ์แรกคือ ในวันอาสาฬหบูชา เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนา
- เหตุการณ์ที่สองคือ เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา ซึ่งธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ได้เทศนาเรียกว่า “ธรรมจักกัปปวัตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม
- เหตุการณ์ที่สามคือ เป็นวันแรกที่มี คือพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก และได้พระพุทธองค์อุปสมบทให้เป็นพระภิกษุรูปแรกในศาสนาพุทธ
- เหตุการณ์ที่สี่คือ ในวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีครบเป็นวันแรก รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีหลักใจความสำคัญว่าอะไร
ทุกคนรู้ว่าวันอาสาฬหบูชา มีการแสดงธรรมเป็นครั้งแรกคือ แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าปฐมเ?สนาที่ชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่าอะไรและมีหลักใหญ่ใจความอะไรที่ควรรู้ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” มักแปลว่า “การตั้งวงล้อแห่งธรรม” หรือ “ปฐมเทศนา” เป็นหนึ่งในคำสอนพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาในสวนกวางในเมืองสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ไม่นาน พระธรรมเทศนานี้เป็นปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าและถือเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรพบอยู่ในพระวินัยปิฎก ซึ่งเป็นชุดของข้อความที่มีกฎและแนวปฏิบัติสำหรับชีวิตสงฆ์ และยังรวมอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นชุดคำสอนของพระพุทธเจ้า ในพระธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าตรัสกับสาวก 5 คนแรกที่เคยบำเพ็ญตบะร่วมกับพระองค์ แต่จากไปเมื่อพระองค์เลือกทางอื่น พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เพื่อแบ่งปันความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งของพระองค์เกี่ยวกับธรรมชาติของการดำรงอยู่และหนทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์
สาระสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเกี่ยวกับอริยสัจ 4 และ อริยมรรคมีองค์ 8 คำสอนเหล่านี้ถือเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่เป็นแนวทางปฏิบัติของชาวพุทธ:
- อริยสัจข้อที่ 1 ความจริงแห่งทุกข์ (ทุกข์) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย โทมนัส ความคร่ำครวญ ความเจ็บปวด โทมนัส และความคับแค้นใจ ล้วนเป็นรูปแบบแห่งความทุกข์ที่มีอยู่ในชีวิต
- อริยสัจข้อที่ 2 ความจริงเรื่องเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) พระพุทธเจ้าตรัสว่าตัณหาคือเหตุแห่งทุกข์ ความอยากเกิดจากความอยากและการยึดติดกับสิ่งของและประสบการณ์ทางโลก
- อริยสัจข้อที่ 3 ความจริงแห่งการดับทุกข์ (นิโรธสมาบัติ) พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าการหลุดพ้นจากความทุกข์นั้นทำได้โดยการขจัดตัณหาและบรรลุสภาวะแห่งจิตและอารมณ์อันสมบูรณ์ที่เรียกว่า นิพพาน
- อริยสัจสี่: ความจริงของหนทางไปสู่ความดับทุกข์ (มรรค) นี่คือ มรรคมีองค์แปด ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยแปดประการที่เชื่อมโยงกันซึ่งชี้นำผู้ปฏิบัติไปสู่การตรัสรู้และการหลุดพ้น ปัจจัย ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ความตั้งใจชอบ วาจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามถูกต้อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
คำสอนของพระพุทธเจ้าในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเน้นทางสายกลางซึ่งสนับสนุนแนวทางที่สมดุลระหว่างความสุดโต่งของการปล่อยตัวและการบำเพ็ญตบะ พระองค์ทรงส่งเสริมให้สาวกปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อหยั่งรู้ธรรมชาติแห่งความเป็นจริงและหลุดพ้นจากวัฏสงสาร (สังสารวัฏ)
อริยมรรค หรือ มรรคมีองค์ 8 ที่พูดถึงนั้นประกอบไปด้วยหลักปฏิบัติ 8 ประการดังนี้
- สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ – คือแนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคอลงธรรม
- สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ – คือการมีความนึกคิดที่ถูกต้อง
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ – คือ ไม่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ
- สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ – คือ การกระทำชอบ งดฆ่าสัตว์ เอาของที่เขาไม่ได้ให้ หรือประพฤติผิกในกาม
- สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ – คือ ทำมาหากินสุจริต
- สัมมาวายามะ เพียรชอบ – คือ มีความพากเพียร
- สัมมาสติ ระลึกชอบ – คือ การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่ตลอดว่าทำอะไร รู้สภาวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะสภาวะทั้งสี่คือ กาย เวทนา จิต และธรรม
- สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ – คือ มีความตั้งใจตั้งมั่น
พระธรรมเทศนาจบลงด้วยการประกาศของพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ทรง “ตั้งวงล้อแห่งธรรม” หมายความว่าพระองค์ได้เริ่มสอนเส้นทางสู่การตื่นรู้ ซึ่งจะนำทางสรรพสัตว์ไปสู่ความหลุดพ้นและการตรัสรู้
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นที่นับถืออย่างสูงในพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีความชัดเจนและลึกซึ้ง และยังคงเป็นคำสอนหลักที่เป็นพื้นฐานของพุทธปรัชญาและการปฏิบัติทั่วโลก เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่แสวงหาความเข้าใจธรรมชาติของความทุกข์และเส้นทางสู่อิสรภาพสูงสุด
การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา
แน่นอนว่าสถานศึกษา สถานที่ราชการ และบริษัทเอกชนหลายแห่งให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดเพื่อให้ทุกคนได้ออกไปร่วมกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา มาดูกันว่า การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา หรือ กิจกรรมวันอาสาฬหบูชามีอะไรบ้าง
- กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาอย่างแรกคือ ในตอนเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน เข้าวัดไปฟังธรรม
- นอกจากนี้ พุทธศานิกชนยังนิยมทำเทียนพรรษา เพื่อใช้ในวันเข้าพรรษาอีกด้วย
- กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาในช่วงค่ำ จะมีการเวียนเทียน โดยจุดธูปเทียนพร้อมถือดอกไม้ สำรวมที่หน้าพระอุโบสถที่ประดับไปด้วยธงธรรมจักรโดยพร้อมกันสำรวมจิต ก่อนจะเวียนเทียน 3 รอบนำโดยพระภิกษุสามเณร
- หลังจากเวียนเทียนเสร็จเรียบร้อย กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาที่สำคัญอีกอย่างคือ การแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรโดยพระสังฆเถระ
- เมื่อฟังธรรมเทศนาจบ จะเป็นการเจริญภาวนา หรือทำวิปัสสนาตามอัธยาศัยของพุทธศาสนิกชน
บทสวดมนต์สำหรับเวียนเทียน
ระหว่างเวียนเทียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชาวพุทธเข้าวัดไปเวียนเทียนรอบอุโบสถใหญ่ของวัดกัน โดยการเวียนเทียนจะทำโดยการจุดธุปเทียน อาจมีดอกไม้ด้วย เดินรอบอุโบสถทั้งหมด 3 รอบด้วยกันด้วยความสงบ และสามารถสวดมนต์ สำรวมกิริยา วาจา และรวมสตินึกถึงพระธรรมคำสอน จากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่สืบทอดคำสอนนั้นต่อมา
- เวียนเทียนรอบรอบที่ 1 ให้สวดบทสวดเพื่อระลึกถึงพระพุทธ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
- เวียนเทียน รอบที่ 2 ให้สวดบทสวดระลึกถึงพระธรรม
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
- เวียนเทียน รอบที่ 3 ให้สวดบทสวดระลึกถึงพระสงฆ์
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
นอกจากวันอาสาฬหบูชาจะเป็นวันหยุดประจำปีที่หลายคนรู้จักกันแล้ว วันอาสาฬหบูชายังเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกด้วย หากใครไม่ได้เข้าวัดทำบุญในวันนี้ การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา คือ เราก็สามารถอยู่บ้าน รักษาศีล และยังเป็นโอกาสดีที่พุทธศานิกชนจะได้ตระหนักถึงการดำเนินชีวตของตัวเองในทุกวัน โดยสามารถนำหลักธรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองอีกด้วย ทั้งนี้ใครไม่ได้ไปไหนก็อย่าลืมกลับบ้านไปใช้เวลาร่วมกับครอบครัวกันด้วยนะ
ข้อมูลจาก: phuttha.com, dhammathai.org