ปฏิทินวันพระ 2567 สำหรับชาวไทยจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีความสำคัญ เพราะเมื่อถึงวันพระก็จะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทางศาสนากันอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จนมาถึงรุ่นหลาน ไม่ว่าจะไปวัด ทำบุญ ใส่บาตร ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังธรรมเทศนา หรือเวียนเทียน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้วัฒนธรรม และการปฏิบัติยังคงเป็นแบบแผนเดียวกัน ช้อปปี้จะพาไปดูกันว่าปีนี้มีวันไหนบ้างเป็นวันพระ รวมถึงจะมีกิจกรรมอะไรกันบ้างที่ทุกคนทำ แต่ก่อนจะไปดูปฏิทินวันพระ ปี 2567 ไปดูกันก่อนดีกว่าว่าวันพระมีความสำคัญอย่างไร
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ความสำคัญของวันพระ
วันพระ หรือวันธรรมสวนะ ถูกกำหนดไว้ในปฏิทิน 2567 วันพระจะมีเดือนละ 4 วัน เพื่อที่จะให้ชาวพุทธยึดถือและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา โดยพุทธศาสนิกชนจะถือโอกาสในวันพระไปวัดเพื่อทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับชาวพุทธที่มีความเคร่งครัด ในหลักการปฏิบัติจะถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ยังถือโอกาสที่จะงดการทำบาปทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ และความคิด ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติของศีลห้า
ปฏิทินวันพระ 2567 มาดูกันว่าวันไหนวันพระ
วันพระในแต่ละเดือนจะมี 4 วัน โดยจะมีสัปดาห์ละ 1 วัน ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ และในบางเดือนวันพระก็ยังตรงกับวันสำคัญทางศาสนาและยังเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งจะมีพิธีกรรมที่จะต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นตามกำลังความศรัทธา เช่น การเวียนเทียน
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน มกราคม
- วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
- วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
- วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
- วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน กุมภาพันธ์
วันพระเดือนนี้ จะตรงกับวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่พุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ผู้ทรงอภิญญา 6 จำนวน 1,250 รูปโดยไม่ได้มีการนัดหมาย โดยวันนี้จะมีกิจกรรมที่ชาวไทยทุกคนจะร่วมกันทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าและเวียนเทียนในช่วงเย็น รวมถึงการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ละเว้นการทำบาป ปล่อยนกปล่อยปลา
- วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
- วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
- วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
- วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ (วันมาฆบูชา)
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน มีนาคม
- วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
- วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
- วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
- วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน เมษายน
- วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
- วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
- วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
- วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน พฤษภาคม
วันพระเดือนนี้ จะตรงกับวันวิสาขบูชา ซึ่งมีความสำคัญโดยเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า กิจกรรมที่ทำเพิ่มเติมจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำและวันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กิจกรรมที่ทำจะเป็นประเพณีการจำลองถวายพระเพลิงในภาคกลาง และประกอบพิธีต่างๆ เหมือนกับวันวิสาขบูชา จะแตกต่างกันที่บทสวดเท่านั้น
- วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง (วันแรงงาน)
- วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
- วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
- วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันวิสาขบูชา)
- วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันอัฏฐมีบูชา)
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน มิถุนายน
- วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
- วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
- วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
- วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน กรกฎาคม
วันพระเดือนนี้ จะมีวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา โดยกิจกรรมสำหรับชาวพุทธในช่วงค่ำจะร่วมกันเวียนเทียน และวันเข้าพรรษา จะเป็นกิจกรรมของพระสงฆ์ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติโดยการจำพรรษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับพุทธศาสนิกชนจะนิยมไปวัด เพื่อทำบุญถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนาในช่วงเข้าพรรษา
- วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
- วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
- วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันอาสาฬหบูชา)
- วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเข้าพรรษา)
- วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ ร.10)
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน สิงหาคม
- วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
- วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ วันแม่)
- วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
- วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน กันยายน
- วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
- วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
- วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
- วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน ตุลาคม
- วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
- วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
- วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง (วันออกพรรษา)
- วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
- วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน พฤศจิกายน
- วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
- วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง (วันลอยกระทง)
- วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
- วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ 2567 เดือน ธันวาคม
- วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
- วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
- วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
- วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
และนี่ก็คือปฏิทินวันพระปี 2567 เพื่อที่จะให้ชาวพุทธทุกคนจดไว้เพื่อเตรียมตัววางแผนการทำบุญตักบาตรและร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งในวันพระบางวันยังเป็นวันหยุดราชการที่เหมาะสำหรับการเดินทางไปทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนาที่วัดใกล้ๆ บ้านได้ ส่วนกิจกรรมที่ทำจะเป็นอะไรได้บ้าง ไปดูกันต่อได้เลย
กิจกรรมต่างๆ ที่พึงปฏิบัติกันในวันพระ
สำหรับกลุ่มคนในสังคมเมือง ที่มีความรีบเร่งก็สามารถจะทำบุญตักบาตรได้ตามแหล่งชุมชนในหลายพื้นที่ หากไม่สะดวกที่จะเดินทางไปวัด จะมีพระสงฆ์มาเดินบิณฑบาตในช่วงเช้ามืดของทุกๆ วัน และถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันพระ พุทธศาสนิกชนก็สามารถจะรักษาศีล และเจริญภาวนาได้เช่นกัน ในส่วนของการเดินทางไปปฏิบัติกิจกรรมการทำบุญที่วัด ในแต่ละวัดก็อาจจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถจะเลือกปฏิบัติได้ตามที่ตนเองสะดวก โดยหลักๆ จะมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- การทำบุญตักบาตร การให้ทานอื่นๆ ตามที่ตนเองสะดวก เช่น ถวายสังฆทาน การทำทานต่างๆ หรือการตัดผมเพื่อบริจาคทำบุญ
- การสมาทานศีล การรักษาศีล ๕ ซึ่งสามารถจะทำได้ทุกวัน หรือศีล ๘ เพิ่มขึ้นในวันพระ
- การเจริญภาวนา ด้วยการทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดร้าย
- การฟังธรรมเทศนา ฟังด้วยความตั้งใจและความสงบ ทบทวนและนำไปแก้ไข
- ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง การสละแรงกายและแรงใจเพื่อช่วยเหลือสังคม หรืองานส่วนรวม หรือแม้แต่ช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็นับว่าเป็นบุญเช่นกัน
ชาวพุทธศาสนิกชนก็ได้รู้ถึงปฏิทินวันพระและกิจกรรมแนะนำให้ทำในวันพระกันไปแล้ว ว่าวันพระวันที่เท่าไหร่บ้างในแต่ละเดือนของปี 2567 เพื่อที่จะได้รู้ก่อนและเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจ ให้พร้อม ในการไปวัดเพื่อทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรมเทศนา ไปจนถึงทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นการทำความดีที่เหมาะสมและควรทำในวันพระ ซึ่งหากเราสามารถทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้ครบถ้วนนั้น จะทำให้เราได้บุญ ได้กุศล จากการเข้าวัดทำบุญ และผลของการทำบุญก็จะส่งผลให้เรามีชีวิตที่ดี มีความสุขและความเจริญ ไม่มีความทุกข์และความมัวหมอง จิตใจสงบ สะอาด บริสุทธิ์ และผ่องใส เพราะการทำบุญมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราเพิ่มพูนความดี ทำแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว กำจัดความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ ความอิจฉา และความริษยา ออกไปจากใจเรานั่นเอง
หากท่านใดมีความสงสัยเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ช้อปปี้ก็มีรวบรวมไว้ให้อีกมากมาย เช่น การสวดมนต์และหนังสือสวดมนต์วิธีการถวายสังฆทาน และ การสวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ก็สามารถไปติดตามกันต่อได้ที่ Shopee Blog เลย!