พอเข้าสู่เดือน 8 หรือ เดือนกรกฎาคมของทุกปี หลายคนจะดีใจยิ้มหน้าบานมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์เยอะมาก ๆ เรียกได้ว่าวันหยุดกับวันทำงานในเดือนนี้มีเท่ากันเลย เนื่องจากเดือนกรกฎาคม 2566 ปีนี้ รัฐบาลประกาศวันหยุดพิเศษเพิ่มให้อีกถึง 2 วัน เพื่อให้หยุดยาวต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากนี้แล้วเดือนกรกฎาคมยังมีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วยกันถึง 2 วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา ซึ่งบทความนี้ Shopee เชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกคน มาทำความทำรู้จัก ประวัติวันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญกับชาวพุทธอย่างไร วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันไหน และ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 วัดไหนดี ถ้าอยากรู้แล้วติดตามอ่านกันได้เลย


หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันไหน?
วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)
ประวัติวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี โดยปีนี้จะตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 วันอาสาฬหบูชา ถือเป็นวันสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา โดยประวัติวันอาสาหบูชา มีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้
- ถือเป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
- นับเป็นวันแรกที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมจักร ประกาศสัจจธรรม ที่ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ให้แก่ เบญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ
- เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
- ถือว่าเป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
ใจความสำคัญของการปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
โดยในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ให้แก่ เบญจวัคคีย์ทั้ง 5 นั้น จะมีด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง
ถือเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ และถูกต้องเหมาะสมที่สุด เพราะไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป โดยให้ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา ในข้อปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าทรงได้ยกตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่สุดด้วยกัน 2 ด้าน คือ
- การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย ไม่หลงมัวเมาไปกับรูป รส กลิ่น เสียง
- การสร้างความลำบากแก่ตน ไม่ใช้ชีวิตอย่างเลื่อนลอย
2. อริยสัจ 4
สำหรับ อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ โดยบุคคลจะที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
- ทุกข์ หรือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้บุคคลนั้นรู้เท่าทันตามความเป็นจริง และต้องยอมรับอยู่กับความเป็นจริงให้ได้ ไม่ยึดติดกับอะไร
- สมุทัย หรือ เหตุให้เกิดทุกข์ สาเหตุของปัญหา ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของความทุกข์ที่เกิดขึ้น
- นิโรธ หรือ ความดับทุกข์ เมื่อรู้แล้วว่าทุกข์คืออะไร หาวิธีในการดับทุกข์ โดยการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและใช้ปัญญา
- มรรค หรือ ข้อปฏิบัติและวิธีแก้ปัญหา เพื่อให้ความทุกข์ดับไป
เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566
สำหรับการ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชน จะทำในวันอาสาฬหบูชา 2566 นอกจากนี้แล้วยังมีการเข้าวัดทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) นั่งสวดมนต์ และ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 ด้วยเช่นกัน
การเวียนเทียน คืออะไร?
การเวียนเทียน คือ การเดินที่พุทธศาสนิกชนเดินเวียนรอบปูชนียวัตถุที่สำคัญ หรือปูชนียสถานทางศาสนา เช่น พระอุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูป โดยจะเดินเวียนด้านขวาเป็นจำนวน 3 รอบ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และเป็นการระลึกถึงพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งการเดินเวียนเทียนจะเดินวนไปเรื่อย ๆ จนครบ 3 รอบแล้วกลับมายังจุดเดิม เพื่อเป็นเตือนสติให้เรารู้ว่าชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด เหมือนเป็นวงล้อที่หมุนไปแล้วก็หมุนกลับยังที่เดิมนั่นเอง
การเวียนเทียน วันไหนบ้าง?
สำหรับกิจกรรมการเวียนเทียนนั้น ถือเป็นพิธีกรรมสำคัญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่ไม่ใช่ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะต้องมีการเวียนเทียน โดยกิจกรรมเวียนเทียนจะมีด้วยกัน 4 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา และวันอัฏฐมีบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัดทำจิตใจให้ผ่องใส
วิธีเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา 2566 พวกเราเลยอยากจะชวนชาวพุทธทุกคน มาเข้าวัดทำบุญ ตักบาตร และร่วมเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 โดยมีวิธีเวียนเทียนใน วันอาสาฬหบูชา 2566 มาแนะนำให้กับทุกคน แต่ก่อนจะไปดูวิธี สิ่งแรกที่คุณควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะไปเวียนเทียน คือ ควรอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน เลือกเสื้อผ้าให้สุภาพที่เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไปเวียนเทียน โดยมีขั้นตอนวิธีการเวียนเทียน ดังนี้
- เลือกวัดที่จะเดินทางไปเวียนเทียน อาจจะเลือกวัดที่ใกล้และสะดวกที่สุด
- เมื่อไปถึงวัดแล้ว ก่อนอื่นเลย ให้เข้าไปสักการะพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานหลักจะอยู่ด้านในโบสถ์เสียก่อน
- จากนั้นออกมาเตรียมตัวเวียนเทียน โดยหัวแถวจะมีพระภิกษุเดินนำ แล้วต่อด้วยสามเณร ส่วนท้ายสุดเป็นอุบาสก อุบาสิกา ชายหญิงทั่วไป
- จุดธูปเทียน นำมาถือไว้ในมือพร้อมดอกไม้ พนมมือขึ้น จากนั้นก็เดินวนรอบโบสถ์ตามแถวไปทางด้านขวามือ พร้อมสวดมนต์ เวียนเทียนจนครบ 3 รอบ
- จากนั้นให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปปักบูชาตามจุดที่เตรียมไว้
เวียนเทียนกี่โมง
โดยปกติทั่วไปการเวียนเทียนนั้น จะทำในช่วงบ่าย หรือช่วงเย็น ๆ ประมาณสัก 5 โมงเย็นไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละวัดว่าจะสะดวกช่วงเวลาไหน หากวัดไหนที่จัดกิจกรรมเวียนเทียนก็จะมีการแจ้งให้ทราบ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปให้ทันเวียนเทียน
เวียนเทียนใช้อะไรบ้าง
แน่นอนการเวียนเทียนนั้น จะต้องมีเครื่องบูชาทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ ดอกไม้ 1 คู่ (สามารถเลือกใช้เป็นดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ หรือจะใช้พวงมาลัยที่ไหว้พระก็ได้เช่นกัน) ธูป 3 ดอก และเทียน 1 เล่ม


เวียนเทียน วัดไหนดี ในย่านกรุงเทพ 2566
สายมูห้ามพลาด! เตรียมเช็คพิกัดพร้อมรับแต้มบุญกันแบบจุก ๆ ได้เลย หากใครยังไม่รู้ว่าจะไปวันอาสาฬหบูชา 2566 จะไปเวียนเทียน วัดไหนดีล่ะก็ ปักหมุด! บทความไว้ได้เลย เพราะวันนี้เราจะแชร์พิกัด!! แนะนำสถานที่ที่จะให้ชางพุทธทุกคนได้ไป เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 จะมีวัดในกรุงเทพที่ไหนกันบ้าง มาดูกัน
1. วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัดไตรมิตร มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” มาจากความเชื่อเล่าต่อกันมาว่ามีชาวจีน 3 คน ช่วยกันก่อสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากก็คือ “พระมหามณฑป” และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
- ที่ตั้ง : 661 ถนนตรีมิตร กรุงเทพมหานคร
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 07.00 – 18.00 น.
- วิธีเดินทาง
- รถไฟใต้ดิน ลงสถานีหัวลำโพง จากนั้นเดินไปที่วัดเลยก็ได้ หรือจะนั่งรถ Taxi
- รถเมล์ประจำทาง สาย 4, 53, 5, 73 หรือ 507
2. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือ วัดภูเขาทอง
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยวัดแห่งนี้มีจุดเด่น คือ “พระบรมบรรพต” หรือที่หลายคนจะเรียกกันว่า “เจดีย์ภูเขาทอง” เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้กราบไหว้สักการะ และด้านบนยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้แบบ 360 องศากันเลย โดยวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่าง ๆ จะเปิดให้มีการจัดกิจกรรม เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566
- ที่ตั้ง : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวง บ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.00 – 18.00 น.
- วิธีเดินทาง
- รถเมล์ประจำทาง สาย 8, 15, 37, ปอ. 37, 47เเละ 49
- เรือโดยสารคลองเเสนเเสบ โดยลงที่ท่าผ่านฟ้าลีลาศ แล้วเดินทางไปที่วัดภูเขาทองได้เลย
3. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอก โดยมีชื่อเดิมว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” ภายในวัดยังมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศาลาสี่สมเด็จ พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อีกทั้งยังมีประติมากรรมที่สวยงาม
- ที่ตั้ง : 69 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.30 – 17.30 น.
- วิธีเดินทาง
- รถไฟใต้ดิน สายสีน้ำเงิน MRT สถานีสามยอด ออกทางประตู 1 แล้วนั่ง Taxi
- รถเมล์ประจำทาง สาย 157 (ปอ.) (AC), 16, 503 (ปอ.) (AC), 505 (ปอ.) (AC), 509 (ปอ.) (AC), 72
4. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนอนองค์ใหญ่ (พระพุทธไสยาสน์) อันงดงาม พร้อมด้วยพระพุทธเทวปฏิมากรให้ประชาชนได้เข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ รูปปั้นฤๅษีดัดตน ที่อยู่บริเวณรอบวัดให้ได้ชมความสวยงาม
- ที่ตั้ง : 2 ซอยมหาราช ถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.00 – 17.00 น.
- วิธีเดินทาง
- รถไฟใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE ลงที่ลงสถานี สนามไชย
- รถเมล์ธรรมดา สาย 1, 3, 6, 9, 12, 25, 32, 43, 44, 47, 48, 51, 53, 82, 103
- รถเมล์ปรับอากาศ สาย ปอ.1, ปอ.6, ปอ.7, ปอ.8, ปอ.12, ปอ.44
5. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ กันว่า “วัดอรุณ” เป็นวัดเก่าแก่โบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาอย่างช้านาน ด้วยความโดดเด่นทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงาม ตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา กลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงาม และแลนด์มาร์กของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
- ที่ตั้ง : 34 ซอยวังเดิม ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพมหานคร
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.00 – 17.00 น.
- วิธีเดินทาง
- ทางเรือโดยสาร สามารถนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าวัดอรุณฯ ได้เลย หรือจะนั่งมาลงที่น่าเตียน แล้วนั่งเรือข้ามฟากมาลงเรือหน้าวัดอรุณฯ ก็ได้เช่นกัน
- รถเมล์ประจำทาง สาย 19 , 57
6. วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน
วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน อีกหนึ่งวัดที่ชาวพุทธศาสนิกชนนิยมมาทำบุญตักบาตรกันมาก โดยเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทางวัดก็จัดกิจกรรม เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 ให้ประชาชนได้เดินเวียนเทียน รอบพระเจดีย์ศรีมหาธาตุ วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน
- ที่ตั้ง : 149 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.00 – 20.00 น.
- วิธีเดินทาง
- รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว มาลงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- รถเมล์ประจำทาง สาย 150 (ปอ.) (AC), 520 (ปอ.) (AC), 543ก (ปอ.) (AC), 95ก
7. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
ปิดท้ายด้วย วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร หรือชื่อเดิม “วัดกลางนา” ตั้งอยู่บนถนนข้าวสาร เป็นอีกหนึ่งวัดที่ชาวพุทธนิยมมาทำบุญ ซึ่งเป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา และขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดดเด่นในด้านการช่วยเหลือให้สามารถเอาชนะศัตรู และอุปสรรคต่าง ๆ ได้มาตั้งแต่สมัยในอดีต
- ที่ตั้ง : แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- พิกัด : Google map
- เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน 08.00 – 17.00 น.
- วิธีเดินทาง
- รถเมล์ประจำทาง สาย 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 82, 123 และ 509
- เรือด่วนเจ้าพระยา มาลงท่าพระอาทิตย์ จากนั้นก็ให้เดินทางที่วัดประมาณ 800 เมตร
เชื่อว่าถ้าสายมูได้อ่านบทความนี้ จะต้องได้รับแต้มบุญไปเต็ม ๆ อย่างแน่นอน ถ้าหากวันอาสาฬหบูชา 2566 ปีนี้ ใครยังไม่ได้มีแพลนว่าจะไปเที่ยวที่ไหน ก็ลองชวนครอบครัว คนรัก หรือเพื่อน ๆ เข้าวัดบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ตกเย็นก็ไป เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 ตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯที่สะดวกได้เลย หรือถ้าใครไม่รู้ว่าจะไปเวียนเทียน วัดไหนดี ตามรอยพิกัดที่เราได้นำมาแชร์กันได้เลย นอกจากนี้แล้วการทำบุญอาจไม่จำเป็นจะต้องทำเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สามารถทำบุญได้ทุกที่ทุกเวลาอยู่บ้านก็สามารถนั่งสมาธิ สวดมนต์ได้เหมือนกัน สำหรับใครอยากได้บทสวดมนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บทสวดพาหุง บทสวดอิติปิโส บทสวดมนต์ก่อนนอน บทสวดกรณียเมตตสูตร หรือคาถาบทสวดอื่น ๆ เข้ามาอ่านบทความได้ที่ Shopee
ที่มาข้อมูล : bookplus / thairath.co.th