Shopee Blog | โลกแห่งไลฟ์สไตล์และ Insight แห่งการช้อปออนไลน์
  • Login
No Result
View All Result
  • แฟชั่น-ความงาม
    • Fashion & Trends
      • Men’s Fashion
      • Women’s Fashion
    • Health & Beauty
  • Lifestyle
    • เมนูอาหาร ของว่างและเครื่องดื่ม
    • หนัง/ซีรีส์/หนังสือ/ดนตรี
      • ซีรีส์
    • Pets
    • Health
    • Sports
    • Tricks & Tips
    • Belief & Horoscope
    • Public Holidays
  • Tech & Gadgets
    • อิเล็กทรอนิกส์
    • รถ-อุปกรณ์ตกแต่ง
    • Games
  • Travel
    • Travel in Thailand
    • Oversea Travel
  • Moms & Kids
  • Life at Home
  • Self Improvement
  • Shopee Update
    • ศูนย์การเรียนรู้ผู้ขาย
    • #LIFEATSHOPEE
    • Upcoming events
    • Partnership
    • Seller Highlights
    • Success Seller
    • Shopping Tips
      • รีวิวสินค้า
  • SHOP
Shopee Blog | Shopee Thailand เนื้อหาสาระไลฟ์สไตล์ครบครัน พร้อมเสิร์ฟให้คุณได้ทุกวัน
No Result
View All Result
Home Life at Home Moms & Kids

จะทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นโรคมือเท้าปาก พร้อมวิธีป้องกัน

Shopee Thailand by Shopee Thailand
October 18, 2021
in Moms & Kids
Reading Time: 2 mins read
0
โรคมือเท้าปาก
0
SHARES
137
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare in Line

ชวนทำความรู้จักโรคมือเท้าปากในเด็ก ว่าโรคมือเท้าปากอาการเป็นอย่างไร มีอันตรายกับเด็กหรือไม่ และคุณพ่อคุณแม่ควรต้องจัดการอย่างไรให้สบายใจทั้งตนเองและลูกน้อย

อากาศที่เย็นและชื้นของฤดูฝนมักนำพาโรคภัยหลายชนิดมาพร้อมกัน เพราะอากาศแบบนี้ช่วยให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย ไม่เฉพาะเพียงแค่โรคระบาดยอดฮิตอย่างไข้หวัดหรือท้องเสียเท่านั้น สำหรับลูกน้อยที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงยังมีโรคมือเท้าปากในเด็กที่เป็นโรคระบาดยอดฮิตในช่วงหน้าฝนที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและให้ความใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะโรคติดต่อที่ดูไม่เป็นพิษเป็นภัยนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสมองและหัวใจ คราวนี้เราจึงจะมาชวนคุยว่าโรคมือเท้าปากอาการที่ควรระวังมีอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่จะรับมือกับโรคมือเท้าปากในเด็กนี้อย่างไร

Pic Credit: Freepik

หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้

  • ทำความรู้จักกับโรคมือเท้าปากอาการเป็นอย่างไร
  • โรคมือเท้าปากในเด็กอันตรายแค่ไหน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือลูกน้อยที่สงสัยป่วยเป็นโรคมือเท้าปากอย่างไร
  • ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมือเท้าปากในเด็ก

ทำความรู้จักกับโรคมือเท้าปากอาการเป็นอย่างไร

โรคมือเท้าปากในเด็กนี้เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Human Enteroviruses ที่พบบ่อยจะเป็นตัว Coxsacke virus และ Enterovirus ซึ่งไวรัสตัวนี้จะแพร่ระบาดได้ดีในอากาศเย็นและชื้นของฤดูฝนนี้เอง และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สุดก็จะเป็นทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบที่ภูมิคุ้มกันยังเจริญไม่เต็มที่นั่นเอง

เชื้อโรคตัวนี้แพร่ผ่านระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถแพร่จากเด็กคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ผ่านการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใส หรืออุจจาระของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้และมีเชื้อไวรัสก่อโรคอยู่ก่อนหน้า และจะไปฟักตัวก่อนแสดงอาการ 2 – 3 วัน และสามารถหายได้ใน 1 สัปดาห์ค่ะ

โรคมือเท้าปากอาการที่เริ่มต้นมักเกิดนำด้วยการมีไข้ต่ำหรือสูงก็ได้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ น้ำลายไหล ร่วมกับการมีผื่นหรือตุ่มที่มือเท้าและในปาก และอาจมีตุ่มหรือผื่นเหล่านี้ตามหัวหรือทวารหนักร่วมด้วยก็ได้ อาจมีอาการถ่ายเหลว อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหากมีอาการน้อยจะสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นแพทย์อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยากแก้ปวด ยาชา เกลือแร่ ฯลฯ จนอาการทุเลาและหายไปเอง

โรคมือเท้าปากในเด็กอันตรายแค่ไหน

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคมือเท้าปากก่อให้เกิดอาการหนักเบาได้แตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจมีเพียงอาการไข้ต่ำ ๆ ร่วมกับผื่นเล็ก ๆ บริเวณ มือ เท้า ปาก หรือ ลำตัว ขณะที่หากมีอาการมากขึ้นอาจมีแผลในปากที่ลามออกมาบริเวณริมฝีปากหรือรอบ ๆ ปากเลยก็ได้ ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือทดแทน ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปแบบประคับประคองอาการ

ยังมีอยู่บ้างที่อาการมือเท้าปากกลายเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะมาพร้อมกับอาการแทรกซ้อน ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและน่ากังวลที่สุดมักเกิดจากเชื้ออีวี 71 ที่ก่อให้เกิดการกระทบกับประสาทส่วนกลาง เช่น เยื่อบุสมองอักเสบ สมองอักเสบ แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน หรือ โรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เช่น น้ำท่วมปอดเฉียบพลัน หัวใจวายเฉียบพลัน ที่แม้เกิดได้น้อยมาก แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นได้

เพื่อลดความกังวลในส่วนที่โรคมือเท้าปากในเด็กอาจเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อน หากลูกน้อยมีอาการไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียสนานกว่า 48 ชั่วโมง กระสับกระส่าย หายใจหอบ อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ ซึม กลอกตาผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก มือสั่น ชัก ไม่รู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรง เดินตัวเซ หอบเหนื่อย ตัวลาย/ซีด และชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

Pic Credit: Freepik

คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือลูกน้อยที่สงสัยป่วยเป็นโรคมือเท้าปากอย่างไร

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังกังวลใจกับอาการไข้ของลูกน้อยที่มาพร้อมกับผื่นหรือตุ่มที่เกิดขึ้นบริเวณมือเท้าปาก และอาจรวมถึงบริเวณลำตัวและทวารหนัก ให้สงสัยว่าลูกน้อยเป็นโรคมือเท้าปากเอาไว้ก่อนค่ะ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย จึงควรแยกลูกน้อยให้หยุดเรียนอยู่บ้านไว้ก่อน และไม่ควรพาเด็กไปในชุมชนจนกว่าผื่นหรือตุ่มจะแห้งซึ่งอาจกินเวลา 7 – 10 วัน แล้วแต่อาการค่ะ

และเนื่องจากโรคมือเท้าปากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไว้รัส และยังไม่มียารักษาโดยตรง คุณพ่อคุณแม่จึงควรรักษาลูกน้อยที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากในเด็กตามอาการ เช่น เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ ทายาแก้แพ้บริเวณตุ่มหรือผื่นเพื่อลดอาการคัน ทายาชาให้กับแผลในปาก ฯลฯ เพื่อลดความเจ็บปวดไม่สบายตัวที่อาจเกิดขึ้น

ระหว่างนี้ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยอาจให้น้ำเกลือแร่เพิ่มสำหรับลูกน้อยที่มีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วโรคมือเท้าปากจะสามารถหายได้เองในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากลูกน้อยมีอาการแปลกไปและสงสัยว่าจะเป็นโรคแทรกซ้อนควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการค่ะ

ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมือเท้าปากในเด็ก

วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคติดต่ออย่างมือเท้าปากในเด็กก็คงหนีไม่พ้นการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการระมัดระวังตัวของผู้ป่วยเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อต่อไปยังคนอื่นค่ะ และสามารถทำได้โดยการแยกตัวจากชุมชน ระมัดระวังการสัมผัสที่อาจนำเชื้อไปติดผู้อื่น ควรแยกภาชนะในการรับประทานอาหารและดื่มน้ำ เนื่องจากเชื้อไวรัสตัวนี้สามารถติดผ่านน้ำลายได้ด้วย และเก็บผ้า ทิชชู่ ผ้าอ้อม ทิ้งในถังขยะที่มิดชิดแยกเป็นขยะติดเชื้อต่างหากจากขยะทั่วไป เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยควรล้างมือบ่อย ๆ รวมถึงทำความสะอาดของเล่นหรือวัตถุใกล้ชิดลูกน้อยที่อาจนำไปกัดเล่นหรือสัมผัสสารคัดหลั่ง เพื่อป้องกันการรับเชื้อไปติดคนอื่นต่อได้ค่ะ

Pic Credit: Freepik

โรคมือเท้าปากในเด็กก็เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อในเด็กที่มักจะกวนใจคุณพ่อคุณแม่ และสร้างความเจ็บป่วยให้กับลูกน้อยได้ โดยเฉพาะในฤดูฝนที่อากาศเย็นและเปียกชื้นแบบนี้ แต่แม้โรคมือเท้าปากอาการที่แสดงออกมาจะไม่พึงประสงค์นัก อาการเหล่านี้ก็สามารถรักษาและหายเองได้หากไม่ได้ติดเชื้อหรือมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเฝ้าสังเกตอาการลูกน้อยว่ามีอะไรผิดปกติไปหรือไม่ แต่หากไม่ได้มีอาการแทรกซ้อนลูกน้อยก็สามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน เพียงดูแลประคับประคองอาการอย่างถูกต้อง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไปเลยค่ะ

บทความแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

  • ความสำคัญของน้ำหนักเด็กที่ส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพที่ดีในระยะยาว
  • ชวนสังเกตอาการลูกหายใจครืดคราดแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล
  • สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้! ก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีนเด็ก ตอบจบครบที่เดียว
ShareTweetShareShare
Previous Post

แนะนำ 10 ไดร์เป่าผมยี่ห้อไหนดี ใช้ง่ายและถนอมเส้นผมให้สุขภาพดี

Next Post

ส่าไข้เด็ก (หัดกุหลาบ) อาการและการดูแลรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

Related Posts

อาการแพ้นมวัว
Moms & Kids

7 สัญญาณเตือน อาการแพ้นมวัว รุนแรงแค่ไหน มีโอกาสจะหายได้ไหม!

by Shopee Thailand
February 14, 2022
332
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม
Moms & Kids

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม วิตามินซีที่คนท้องกินได้ไหม มาดูกัน

by Shopee Thailand
February 11, 2022
573
ฝากครรภ์
Moms & Kids

ฝากครรภ์ สำคัญอย่างไร? คุณแม่มือใหม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

by Shopee Thailand
February 14, 2022
277
ฟันน้ำนมผุ
Moms & Kids

ฟันน้ำนมผุ อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เด็กฟันน้ำนมผุต้องดูแลรักษาอย่างไร?

by Shopee Thailand
February 14, 2022
124
Home school
Moms & Kids

รู้จัก Home School ระบบการเรียนที่บ้านต่างจากเรียนที่โรงเรียนอย่างไร

by Shopee Thailand
December 10, 2021
481
เด็กท้องผูก
Moms & Kids

ลูกท้องผูก ถ่ายไม่ออก ทำอย่างไร ปัญหาที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

by Shopee Thailand
November 17, 2021
256
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี
Moms & Kids

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดีหาซื้อง่าย ราคาถูกได้ผลแม่นยำ เชื่อถือได้

by Shopee Thailand
November 17, 2021
281
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
Moms & Kids

เบาหวานขณะตั้งครรภ์กับปัจจัยเสี่ยงต้องรู้ก่อนเป็นอันตรายต่อแม่และลูก

by Shopee Thailand
November 17, 2021
509
Next Post
ส่าไข้

ส่าไข้เด็ก (หัดกุหลาบ) อาการและการดูแลรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ลูกแฝด

อยากได้ลูกแฝด! วิธีทำลูกแฝดและภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเตรียมรับมือ

น้ำหอมผู้ชาย

รีวิว 10 น้ำหอมผู้ชาย 2022 หอมนานทั้งวันทนจนคนต้องมองตาม

ABOUT SHOPEE BLOG

เปิดประตูสู่ความรู้ใหม่ ๆ กับ Shopee Blog ที่ที่รวบรวมสาระและความรู้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ แฟชั่น ความงาม อาหาร หรือท่องเที่ยว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการหาความรู้และต้องการอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ บล็อกของ Shopee สามารถตอบโจทย์ให้คุณได้ Shopee Blog อัปเดตบทความทุกวัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถติดตามข้อมูลต่าง ๆ บนโลกใบนี้ได้อย่างต่อเนื่อง เราพร้อมเสิร์ฟสาระดี ๆ ให้คุณอ่านได้ทุกที่ ทุกเวลา

SHARE SHOPEE BLOG TO YOUR FRIEND

Shopee FacebookShopee TwitterShopee YoutubeShopee Instagram

DOWNLOAD SHOPEE APP HERE!

Shopee on Google Play StoreShopee on APP Store

ช้อปสินค้าหลากหลายทุกหมวดหมู่กับ Shopee!

  • วิตามินดี
  • ของขวัญปีใหม่
  • ซิมเทพ
  • ทานาคา
  • มาร์คหน้าลดสิว
  • แมกนีเซียม
  • เคราติน
  • สบู่ผิวขาว
  • ครีมลดสิวเสี้ยน
  • GTA
  • Shopee Supermarket
  • ข้าวไรซ์เบอรี่
  • ผ้าอนามัย
  • สครับผิวขาว
  • ของชำร่วยงานแต่ง
  • Kate Spade
  • แคลเซียม
  • คอลลาเจน
  • กาแฟดริป
  • Harman kardon
  • โต๊ะหินอ่อน
  • น้ำวิตามิน
  • น้ำยาบ้วนปาก
  • ครีมเซเว่น
  • เบอร์มงคล
  • เมนูอาหาร
  • น้ำตาเทียม
  • ครีมนวดผม

Shopee Thailand / Shopee 9.9 Contest / Career at Shopee

© 2020 Shopee (Thailand)  Co., Ltd. | All Rights Reserved

No Result
View All Result
  • แฟชั่น-ความงาม
    • Fashion & Trends
      • Men’s Fashion
      • Women’s Fashion
    • Health & Beauty
  • Lifestyle
    • เมนูอาหาร ของว่างและเครื่องดื่ม
    • หนัง/ซีรีส์/หนังสือ/ดนตรี
      • ซีรีส์
    • Pets
    • Health
    • Sports
    • Tricks & Tips
    • Belief & Horoscope
    • Public Holidays
  • Tech & Gadgets
    • อิเล็กทรอนิกส์
    • รถ-อุปกรณ์ตกแต่ง
    • Games
  • Travel
    • Travel in Thailand
    • Oversea Travel
  • Moms & Kids
  • Life at Home
  • Self Improvement
  • Shopee Update
    • ศูนย์การเรียนรู้ผู้ขาย
    • #LIFEATSHOPEE
    • Upcoming events
    • Partnership
    • Seller Highlights
    • Success Seller
    • Shopping Tips
      • รีวิวสินค้า
  • SHOP

© 2020 Shopee Thailand

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In