ถั่วงอกมีประโยชน์มากมาย หลาย ๆ คนมักจะนิยมกินกับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ผัดไท ซึ่งกินได้ทั้งแบบสด หรือจะกินแบบผ่านการปรุงร้อน แต่ก็มักจะมีคำเตือนออกมามากมายเช่นกันในเรื่องของการกินสดซึ่งเสี่ยงจะได้รับสารอันตรายต่อร่างกาย แต่ทุกอย่างก็ล้วนสามารถจะแก้ไขได้ เพื่อที่เราจะได้กินถั่วงอกปลอดสารพิษ และเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ไปทำความรู้จักถั่วงอกให้มากขึ้นกันดีกว่า
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ถั่วงอก คือ
ต้นถั่วที่ถูกเพาะมาจากถั่วเขียว จะมีรากงอกมาจากเมล็ดถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง ที่เรียกว่าถั่วงอกหัวโต ถือเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นิยมนำมากิน ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวจะมีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง ส่วนถั่วงอกหัวโตที่เพาะมาจากถั่วเหลืองจะมีโปรตีนและไขมันสูง รสชาติกรอบอร่อย
ถั่วงอก ชื่อวิทยาศาสตร์
Pisum sativum
ลักษณะของถั่วงอก
- ถั่วงอกที่ เพาะมาจากถั่วเขียว หัวจะไม่ใหญ่มาก
- ลำต้นเดี่ยว มีสีขาวจากการปลูกแบบไม่ให้ถูกแสง ต้นถั่วงอกที่มีรากงอกจากเมล็ด มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลมอวบ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ
- รากที่ปลายต้น มีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีสีขาว
ประโยชน์ของถั่วงอก
- ถั่วงอกเป็นผักที่ปลูกหรือเพาะได้ทีละจำนวนมาก ๆ สามารถจะเพาะขายได้
- รับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ เนื่องจากถั่วงอกมีน้ำตาลน้อย
- ถั่วงอกประโยชน์ในการรักษาสิวและจุดด่างดำ
- ประโยชน์ถั่วงอกกับการนำมาใช้ประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ หรือจะกินสดก็ได้
ถั่วงอกสรรพคุณ มีอะไรบ้าง
- ถั่วงอกเป็นผักที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับร่างกาย
- มีวิตามินอีช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม เปล่งปลั่ง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกายและยังช่วยป้องกันหวัดได้
- ช่วยบำรุงประสาทและสมอง รวมทั้งช่วยในการทำงานของสมอง
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เนื่องจากถั่วงอกเป็นที่ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่นเดียวกับแครอท
- มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
- ช่วยในการชะลอวัย ต้านความแก่ คงความอ่อนเยาว์ เนื่องจากมีสารออซินอน (Auxinon) ที่มีคุณสมบัติช่วยทำให้ร่างกายคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้นานยิ่งขึ้น
- มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
- การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะไปช่วยลดระดับไขมันเลว
- วิตามินซีจากถั่วงอกเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากในการสร้างฮอร์โมนระงับความเครียดต่าง ๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทำงาน
- ช่วยลดระดับเอสโตรเจนในร่างกาย เพราะฮอร์โมนของผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเซลลูไลท์ ช่วยเก็บน้ำและช่วยเร่งการผลิตไขมัน ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงไม่ควรจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป
- มีส่วนช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยในการขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง
- ถั่วงอกเป็นผักที่ย่อยง่ายมาก ช่วยประหยัดเวลาการทำงานของระบบการย่อยอาหารได้ และทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
- ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือนได้
- ช่วยกำจัดของเสียในร่างกายได้
ถั่วงอก วิธีปลูกต้องทำอย่างไร
- ใช้ตะกร้าใส่ของมีรูปากกว้างประมาณ 8-12 นิ้ว เพื่อจะเพาะถั่วงอกในตะกร้า ถุงดำ ผ้าขนหนูผืนเล็ก
- เพาะถั่วงอกโดยใช้เมล็ดถั่วเขียว หากต้องการถั่วงอกหัวโต ก็ให้เพาะถั่วเหลืองงอก หรือเพาะถั่วลิสงงอก
- นำถั่วเขียว ถั่วเหลือง หรือถั่วลิสง มาล้างทำความสะอาดคัดเมล็ดเสียออกให้หมดแล้วแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 1 คืน หากเมีเมล็ดลอยขึ้นมาให้ตักออกทิ้ง (น้ำร้อน 1 ส่วน ผสมน้ำอุณหภูมิห้อง 2 ส่วน)
- วางผ้าขนหนูเปียกรองก้นตะกร้า หากจะเพาะถั่วเหลืองงอกไม่ต้องใช้ผ้ารอง
- โรยถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง ที่แช่น้ำแล้วลงในตะกร้า
- คลุมด้วยผ้าขนหนูเปียก ๆ
- ปิดด้วยถุงดำอีกชั้นเพื่อไม่ให้โดนแสง และรดน้ำวันละครั้ง การรดน้ำควรจะพักไว้ประมาณ 5 นาทีก่อนที่จะคลุมผ้าเปียกอีกครั้ง และปิดด้วยถุงดำอีกชั้น ทำซ้ำประมาณ 3 – 5 วัน เท่านี้ก็จะได้กินถั่วงอกขาว ๆ อวบ ๆ กันแล้ว
ถ้าหากรดน้ำทุกวัน รสชาติจะกรอบอร่อย วิธีที่จะทำให้ถั่วงอกอวบอ้วนคือ การหาภาชนะหรือจานกระเบื้องมาทับชั้นบนสุดไว้ ถั่วงอกจะมีลำต้นที่อวบอ้วน
วัฏจักรของถั่วงอก
ถั่วงอกเป็นพืชที่เพาะมาจากถั่วเขียว ซึ่งเป็นพืชที่มีโปรตีนสูง มักใช้ปลูกและใช้บริโภครวมไปถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ และยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรในการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากถั่วเขียวเป็นพืชอายุสั้นมีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนในอากาศ 10-56 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นถั่วเขียวยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ดีอีกด้วย
credit:pixabay
โภชนาการของถั่วงอก
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอกปริมาณต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 30 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 5.94 กรัม
- น้ำ 90.4 กรัม
- น้ำตาล 4.13 กรัมถั่วงอก
- เส้นใย 1.8 กรัม
- ไขมัน 0.18 กรัม
- โปรตีน 3.04 กรัม
- วิตามินบี 1 0.084 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.124 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.749 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.088 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 61 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 13.2 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 33 ไมโครกรัม
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.91 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 0.188 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 149 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม
ถั่วงอกมีคาร์โบไฮเดรตเยอะไหม
การรับประทานถั่วงอก โดยเฉพาะที่ปลูกหรือเพาะเองสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย และไม่ทำให้อ้วนได้เนื่องจากมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและแคลอรี่น้อยมาก ๆ แต่กลับอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
โทษของถั่วงอก
หากซื้อถั่วงอกที่วางขายตามท้องตลาด ก่อนจะนำมาปรุง หรือรับประทานจะต้องล้างน้ำให้แน่ใจว่าจะปลอดสารพิษได้จริง ๆ เพราะอาดจจะมีสารพิษที่ปนเปื้อนมา ซึ่งเป็นอันตรายกับร่างกาย
- มีสารอันตราย ประเภทสารเร่งโต สารอ้วน สารคงความสด (ฟอร์มาลีน)
- สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์) เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอย่างมาก และยังส่งผลเสียไปถึงระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบหายใจ ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- สารไฟเตท (Phytate) เป็นสารตามธรรมชาติในถั่วงอกดิบ มีคุณสมบัติยับยั้งการดูดซึมโปรตีนและแร่ธาตุ การบริโภคถั่วงอกดิบปริมาณมากและต่อเนื่องอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงถั่วงอกสด
การรับประทานถั่วงอกล้วนจะได้รับแต่ประโยชน์ หากมีการล้างหรือทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างผัก หรือจะปลูกกินเองภายในบ้าน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่จะเข้าไปสะสมในร่างกาย และเป็นอันตรายส่งผลในระยะยาว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพืชผักชนิดใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงความสะอาด และการสักเกตหากไปซื้อมาเพื่อปรุงอาหาร
ข้อมูลอ้างอิง : MedThai , pobpad.com
Feature Image credit : Freepik