กระชายคงเป็นพืชที่เราคุ้นเคยกันดีในแง่การเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงไทย แต่หากพูดถึงกระชายในด้านการเป็นพืชสมุนไพรแล้วหลายคนก็อาจจินตนาการไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร จนอาจสงสัยไปอีกว่าแล้วกระชาย มีสรรพคุณอะไร และดีอย่างไร ไม่นับรวมว่ายังมีกระชายชนิดต่าง ๆ อย่าง กระชายขาว หรือ กระชายดำ แต่รู้หรือไม่ว่าสรรพคุณของกระชายขาวและกระชายดำนั้นไม่ธรรมดาเลย และนี่อาจะเป็นโอกาสดีที่จะให้เราได้ทำความรู้จักสมุนไพรไทยอย่างกระชายให้มากขึ้น มาดูกันว่าประโยชน์ของกระชายขาวและกระชายดำจะมีอะไรบ้าง
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
กระชาย ภาษาอังกฤษ
Fingerroot
กระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์
Boesenbergia rotunda
กระชายมีกี่ชนิด
กระชายเป็นพืชพื้นท้องถิ่นในประเทศไทยรวมไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน กระชายที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท คือ กระชายเหลืองหรือกระชายขาว และกระชายดำ
กระชายเหลืองหรือกระชายขาว
กระชายขาวหรือกระชายเหลือง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda รู้จักกันในชื่ออื่น ๆ เช่น ในกรุงเทพอาจเรียกว่า ว่านพระอาทิตย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันในชื่อ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย ซึ่งประโยชน์ของกระชายขาวนั้นมีมากมาย
กระชายขาว ลักษณะ
ลักษณะของกระชายเหลืองหรือกระชายขาวชนิดนี้จะเป็นพืชที่มีลำต้น (เหง้า) อยู่ใต้ดิน แตกแขนงออกเป็นรากที่มีลักษณะเป็นกระเปาะปลายอวบเรียวแหลมสีเหลือง-น้ำตาล ยาวได้ตั้งแต่ 5-12 เซนติเมตร มีใบเดี่ยวเป็นรูปไข่ปลายแหลมสีเขียวสดประกอบเป็นต้นที่สูงได้ราว 80 เซนติเมตร กระชายเหลืองหรือกระชายขาวนี้เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเพราะนิยมนำ ‘ราก’ มาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารรับประทานกันทั่วไป
กระชายดำ
สำหรับกระชายดำ แม้จะใช้ชื่อกระชายเหมือนกันแต่พืชตัวนี้จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora หรือรู้จักกันในชื่ออื่นว่า ว่านกำบัง ว่านพญานกยูง หรือว่านจังงัง
กระชายดำ ลักษณะ
กระชายดำเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นอยู่ใต้ดินคล้ายกับขิง มีใบเดี่ยวสีเขียวสดกว่าและใหญ่กว่ากระชายขาวประกอบเป็นต้นที่สูงได้ราว 30 เซนติเมตร ส่วนหัวที่มีลักษณะเป็นเหง้ามักมีสีม่วงจาง ม่วงเข้ม ไปจนถึงดำสนิท ทำให้เป็นที่มาของชื่อกระชายดำ มีสรรพคุณของกระชายทางยาจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นได้ชื่อว่าเป็น โสมไทย หรือโสมกระชายดำ
ประโยชน์ของกระชาย
กระชายเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่นิยมนำมาใช้ผสมในเครื่องแกงและอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อนและใช้ดับกลิ่นคาวปลาได้อย่างชะงัด นอกจากนี้เรายังนำกระชายมาใช้ทำสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อใช้ขับไล่แมลงได้อีกด้วย
ประโยชน์ในด้านสมุนไพร สรรพคุณของกระชายมีอยู่หลากหลาย กระชายขาวใช้บำรุงเส้นผม บำรุงกำลัง ต่อต้านการอักเสบ ขณะที่กระชายดำขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงฮอร์โมนเพศ บำรุงเลือด และใช้รักษาโรคภูมิแพ้ ฯลฯ ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดกันต่อไป
สรรพคุณของกระชายขาวหรือกระชายเหลือง
กระชายเหลืองหรือกระชายขาวมีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย ทั้งยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาติอีกหลากหลายชนิด ประโยชน์ของกระชายขาว มีดังต่อไปนี้
- บำรุงเส้นผม กระชายขาวขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงและแก้ไขสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับเส้นผม ช่วยให้ผมกลับมาดกดำ แข็งแรง และดูหนาขึ้นได้ ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาผมร่วงได้ด้วย
- บำรุงสมองแก้วิงเวียน กระชายมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางมากขึ้น เป็นการส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ช่วยบำรุงประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และแก้วิงเวียน
- บำรุงกำลัง ให้ความสดชื่น เนื่องจากกระชายขาวมีความซ่า รสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณของกระชายขาวสามารถนำมาปั่นเป็นเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นและบำรุงกำลังจากสารอาหารและพลังงานได้ด้วย
- ต้านอักเสบ การรับประทานกระชายเป็นประจำให้ผลใกล้เคียงกับการกินแอสไพริน ช่วยลดอาการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้
- เสริมสมรรถภาพทางเพศ นอกจากกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางมากขึ้นแล้ว สรรพคุณของกระชายขาวยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยให้จำนวนอสุจิหนาแน่นขึ้น จึงมักนิยมเห็นการนำกระชายมาใช้เป็นยาเสริมสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย
- แก้ริดสีดวง ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก เกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าจะหาย
- แก้บิด ช้เหง้าสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
โทษของกระชายขาว
ทั้งนี้ การรับประทานกระชายขาวหรือกระชายเหลือง อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไปหากมีการรับประทานมากเกินไป เพราะกระชายจะทำให้เลือดหนืด อาจส่งผลให้รู้สึกหมดแรงและป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้
สรรพคุณของกระชายดำ
กระชายดำเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องการเสริมสมรรถภาพทางเพศและปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ โดยมีสรรพคุณที่น่าสนใจได้แก่
- เสริมสมรรถภาพทางเพศชาย จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าสารสกัดที่ได้จากกระชายดำส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลองดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เป็นผลให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้มากขึ้น การทำงานของอวัยวะเพศเป็นไปได้ดีขึ้น
- ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง กระชายดำยังมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ประจำเดือนมาปกติ และยังช่วยลดอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนได้
นอกจากนี้กระชายดำยังช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย และยังช่วยบำรุงกำลังได้ด้วย
การกินกระชายเป็นยา
การรับประทานกระชายเป็นยานั้นสามารถทำได้หลายวิธี ในกรณีของกระชายขาวนิยมนำรากกระชายมาปั่นผสมกับน้ำผึ้งและมะนาว กลายมาเป็นเครื่องดื่มน้ำกระชายไว้ใช้รับประทานเพื่อให้ได้รับสรรพคุณทางยาอย่างครบถ้วน ในขณะที่การรับประทานกระชายดำนิยมนำมาดองเหล้าขาว หรือน้ำผึ้ง แล้วนำมารับประทานเพื่อให้ได้สรรพคุณที่ต้องการ แต่อย่าลืมว่าโทษของกระชายขาวก็มีดังนั้นไม่ควรทานเยอะไป
ผลิตภัณฑ์จากกระชาย
ทั้งนี้การทำน้ำกระชายปั่นอาจไม่ใช่ทางเลือกที่สะดวกสบายนัก เนื่องจากการปั่นน้ำกระชายแต่ละครั้งจำเป็นต้องเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ น้ำกระชายที่ได้จากการทำแต่ละครั้งก็ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานนักเพราะจำทำให้เสียสรรพคุณทางยาไป ขณะที่การนำกระชายดำมาดองเหล้าหรือน้ำผึ้งก็อาจไม่สะดวกในการรับประทานสำหรับบางท่าน
เพื่อแก้ปัญหานี้ปัจจุบันจึงมีการนำกระชายมาแปรรูปเพื่อให้เกิดความสะดวกในการรับประทานพร้อม ๆ กับรักษาสรรพคุณของกระชายไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีให้เราเลือกรับประทานกันได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระชายผงใช้ผสมน้ำดื่ม หรือกระชายดำแคปซูลเพื่อให้รับประทานได้ง่าย และเลยไปจนถึงน้ำกระชายสกัดพร้อมรับประทานที่บรรจุมาในขวดพร้อมดื่ม ซึ่งผลิตภัณฑ์จากกระชายเหล่านี้ เป็นทางเลือกที่เราสามารถได้รับสรรพคุณทางยามากมายจากกระชายขาวและกระชายดำได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเตรียมอุปกรณ์ใด ๆ เลย
เราก็ได้มาทำความรู้จักกับกระชายขาวและกระชายดำ พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ให้สรรพคุณทางยาหลากหลาย ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย และโดยเฉพาะช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำลดการหลุดร่วง ซึ่งสรรพคุณของกระชายเหล่านี้เราสามารถรับเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ๆ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางเลือก ที่ทำให้การรับสมุนไพรอบ่างกระชาย เพื่อให้ได้สรรพคุณทางยาง่ายกว่าที่เคย
แหล่งข้อมูล : th.wikipedia, agknowledge.arda, medthai
Feature Image credit : Freepik