การเลือกอาหารสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรจะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก ผู้สูงอายุตามความหมายของ WHO คือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ใครที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้านการเลือกอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่ควรตระหนักถึงเป็นอันดับต้น ๆ อาหารคนแก่ที่ดีควรมีสารอาหารที่ครบ ช่วยชะลอความทรุดโทรมของร่างกาย วันนี้เรามีเมนูอาหารผู้สูงอายุมาแนะนำกันพร้อมทั้งหลักการเลือกอาหารคนแก่ให้ถูกตามหลักโภชนาการ
บทความเมนูอาหารเพื่อสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
- 10 เมนูอาหารเช้าสำหรับลดน้ำหนัก อาหารเช้าคลีน ๆ ที่ทำกินง่าย ๆ
- 15 อาหารสร้างกล้ามเนื้อ พร้อมตารางเล่นเวท เพิ่มได้แค่ทำตาม ได้ผลชัวร์
- 12 เมนูไข่ขาวหลากเมนู อร่อยแถมดีต่อสุขภาพ ได้ประโยชน์เต็ม ๆ
- แนะนำเมนูอาหารผู้สูงอายุ 7 วัน ถูกหลักโภชานาการ ทานได้ไม่มีเบื่อ
- อาหารโปรตีนสูงแนะนำ กินเพื่อกล้ามเนื้อ กินแค่ไหนก็ไม่มีทางอ้วน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
วิธีเลือกอาหารผู้สูงอายุ ให้ดีต่อสุขภาพของคนสูงวัย
- โซเดียม – ควรได้รับโซเดียมในปริมาณเพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็น ⅔ ช้อนชา จะได้รับโซเดียวอาหารที่ปรุงมาแล้ว การทานอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จึงต้องระวังเป็นอย่างมากเพราะมีโซเดียมมาก และอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- ใยอาหาร – เลือกอาหารที่มีใยอาหารมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ และให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
- โปรตีน – เลือกอาหารที่มีโปรตีนสูง พลังงานต่ำ เช่น ปลา ไก่ เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง ไข่ขาวให้ทานสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
- คาร์โบไฮเดรต – ให้ทานข้าวกล้อง ธัญพืช มากกว่าการรับประทานข้าวหรือแป้งที่ผ่านกระบวนการขัดสี และต้องระวังในการกินอาหารที่มีไขมันเยอะ พวกของทอดต่าง ๆ อาหารที่มีกะทิ เพราะจะทำให้แน่นท้อง
- วิตามินและเกลือแร่ – วิตามินเอป้องกันสายตา วิตามินอีช่วยต้านอนุมูลอิสระและวิตามินดีป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูกพรุน ส่วนแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุต้องการและมักจะขาดคือ ธาตุแคลเซียมฟอฟอรัสและธาตุสังกะสี ให้ทานพวกผักผลไม้ เมล็ดงา นมพร่องมันเนย
- อาหารผู้สูงอายุควรเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย เพราะสุขภาพเหงือกและฟันของผู้สูงอายุนั้นสึกหรอไปตามอายุ การกัดหรือเคี้ยวอาหารจึงทำได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ควรเลือกอาหารที่ทำให้สุกนิ่มก่อนรับประทาน
- ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 225 มิลลิลิตร เน้นการจิบบ่อย ๆ หรือเลือกดื่มน้ำสมุนไพรหวานน้อย
อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเลือกอาหารสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจเป็นอย่างมาก และต้องระวังอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- อาหารรสจัด
- อาหารที่มีไขมันสูง
- อาหารหวาน
- ผลไม้ที่มีแป้งและรสหวานจัด เช่น ขนุน ทุเรียน ลำไย
- อาหารที่มีพลังงานสูง แป้ง น้ำตาล
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ 7 วันไม่จำเจ สารอาหารครบถ้วนทุกมื้อ
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 1
มื้อเช้า : ข้าวต้มปลา
อาหารว่าง : นมถั่วเหลือง
มื้อกลางวัน : ก๋วยจั๊บน้ำใส / มะละกอสุก
อาหารว่าง : ถั่วเขียวต้มน้ำตาล
มื้อเย็น : ข้าวสวย แกงเลียง ปลาทูทอด
ก่อนนอน : นมอุ่น
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 2
มื้อเช้า : ต้มมะระยัดไส้หมูสับ ข้าวสวย
อาหารว่าง : นมถั่วเหลืองไม่หวาน
มื้อกลางวัน : แกงเลียง ข้าวสวย
อาหารว่าง : แตงโม
มื้อเย็น : ปลานึ่ง ผักนึ่ง น้ำพริก(ไม่เผ็ด)
ก่อนนอน : นมอุ่น
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 3
มื้อเช้า : ผัดบวบใส่ไข่ ข้าวสวย
อาหารว่าง : แก้วมังกร
มื้อกลางวัน : กระเพาะปลา
อาหารว่าง : กล้วยหอม
มื้อเย็น : แกงส้มผักรวม ปลาดุกย่าง ข้าวสวย
ก่อนนอน : น้ำข้าวโพด
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 4
มื้อเช้า : ฟักทองผัดไข่ ข้าวกล้อง
อาหารว่าง : มะละกอสุก
มื้อกลางวัน : เกี๊ยวกุ้งน้ำ เต้าหู้อ่อนนึ่ง
อาหารว่าง : ขนมใส่ไส้
มื้อเย็น : ต้มจับฉ่าย ข้าวกล้อง
ก่อนนอน : นมอุ่น
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 5
มื้อเช้า : ผัดคะน้าหมูสับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่
อาหารว่าง : กล้วยน้ำว้า
มื้อกลางวัน : ต้มยำปลาเก๋าน้ำใส ข้าวกล้อง / สับปะรด
อาหารว่าง : โยเกิร์ตไขมันต่ำ
มื้อเย็น : น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 6
มื้อเช้า : แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ข้าวสวย
อาหารว่าง : น้ำเต้าหู้ทรงเครื่อง
มื้อกลางวัน : หมูผัดขิง ข้าวกล้อง
อาหารว่าง : นมข้าวโพด
มื้อเย็น : เกี๊ยวน้ำ / กล้วยน้ำว้าสุก
อาหารผู้สูงอายุ : วันที่ 7
มื้อเช้า : เห็ดผัดน้ำมันหอย ข้าวกล้อง
อาหารว่าง : น้ำฟักทอง
มื้อกลางวัน : ผัดผักบุ้งหมูสับ ข้าวกล้อง
อาหารว่าง : นมถั่วเหลือง
มื้อเย็น : ฟักตุ๋นกระดูกหมู / ส้มเขียวหวาน
เตรียมจดเมนูอาหารคนแก่ทั้ง 7 วันกันไปแล้ว ต้องลองเข้าครัวทำอาหารให้ผู้สูงอายุที่บ้านกันหน่อยแล้ว เพียงแค่ควบคุมปริมาณโซเดียม น้ำตาล แป้ง ใช้น้ำมันรำข้าวแทนน้ำมันจากสัตว์ เน้นสารอาหารให้ครบถ้วนในแต่ละมื้อ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว