ทำความรู้จักอาการแพ้ท้องว่า อาการคนแพ้ท้องเป็นอย่างไร มีอาการแพ้ท้องสัปดาห์แรกอย่างไรบ้าง มักแพ้ท้องตอนกี่เดือน และตัวช่วยสำหรับคุณแม่ที่แพ้ท้องหนักมาก อย่างที่เราเคยเห็นในละครว่าหากนางเอกหรือตัวร้ายเริ่มมีอาการโอ้กอ้าก เดาได้เลยว่าจะตามมาด้วยการท้องหรือตั้งครรภ์ตามมา ซึ่งหลายท่านก็อาจสงสัยว่าเมื่อมีอาการนี้แล้วจำเป็นต้องเป็นอาการแพ้ท้องหรือเปล่า หรืออาการคนแพ้ท้องยังมีอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่ และคนที่รู้ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นว่าที่คุณแม่ทั้งหลายอย่างแน่นอน
อาการแพ้ท้องนั้นมีหลากหลายชนิด หนักเบาแตกต่างกันไป ซึ่งก็ล้วนเป็นความไม่สบายตัวของคุณแม่ แต่หากแพ้ท้องหนักมากก็อาจทำให้คุณแม่ไม่เป็นอันทำอะไร คราวนี้เราจึงจะมาเล่าเรื่องนี้และเตรียมพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่กับการการรับมืออาการแพ้ท้องอย่างถูกวิธี
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
สาเหตุของการแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้องเกิดได้ง่ายกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ และคุณแม่หลาย ๆ ท่านก็ล้วนเคยผ่านประสบการณ์นี้มากันแล้วทั้งนั้น แต่หากคุณแม่คนไหนไม่มีอาการนี้ คุณก็นับเป็นคุณแม่ที่โชคดีมากทีเดียว
อาการคนแพ้ท้องมักเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ และอาจเกิดขึ้นได้ยาวนานถึง 12 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุมาจาก
- ระดับฮอร์โมน hCG (Human chorionic gonadotropin) เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนคุณแม่ที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายของคุณผู้หญิงให้พร้อมสำหรับการโอบอุ้มอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นมา และฮอร์โมนนี้จะทำให้ร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย เช่น มีการสะสมไขมันมากขึ้น น้ำหนักตัวขึ้น เต้านมขยายใหญ่ขึ้น ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ร่างกายของคุณแม่อาจเกิดการไม่คุ้นชินจนเกิดอาการแพ้ เช่น วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียนได้
- มีการตั้งครรภ์ผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์แฝด หรือ รกเจริญผิดปกติ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมน hCG มากเกินไป จนทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและมากกว่าปกติ ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวไปจนถึงเกิดอาการแพ้ท้องได้เหมือนกัน
- สภาวะทางจิตใจ การตั้งครรภ์ไม่ใช่ภาวะที่คุณผู้หญิงได้เจอบ่อย ๆ ในช่วงชีวิต ซึ่งการตั้งครรภ์แต่ละครั้งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่ต้องแบกรับความเครียด ความคาดหวัง ฯลฯ จนทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบกลายเป็นอาการแพ้ท้องอีกแบบหนึ่งได้
อาการคนแพ้ท้อง
อาการคนแพ้ท้องมีหลากหลาย บ้างก็เป็นที่ตัวคุณแม่เอง หลายครั้งก็อาจพบอาการนี้ในคุณพ่อได้ด้วย ซึ่งมักจะเป็นอาการใดอาการหนึ่งในรายการเหล่านี้ หรือหลายอาการร่วมกัน
- คลื่นไส้อาเจียน นี่เป็นอาการที่เราพบได้บ่อย อาจมาพร้อมกับการวิงเวียน การอึดอัดท้องและหน้าอกจนอาเจียนออกมา
- ไวต่อกลิ่น หรือประสาทรับกลิ่นเปลี่ยนไป เช่น จากเดิมที่เคยว่าหอมก็กลายเป็นเหม็น อะไรที่เคยใช้เคยได้กลิ่นก็กลับไปรู้สึกพะอืดพะอม
- ง่วงนอน ว่าที่คุณแม่อาจมีอาการง่วง เมื่อยล้า ตามมาด้วย
- หงุดหงิด และปวดหัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้มีอาการหงุดหงิดคล้ายช่วงมีประจำเดือนได้
อาการแพ้ท้องมักแพ้ท้องตอนกี่เดือน
สำหรับร่างกายว่าที่คุณแม่มักมีการหลั่งฮอร์โมน hCG ออกมาตั้งแต่วันที่ 6 หลังปฏิสนธิ ซึ่งในช่วงแรกจะมีปริมาณน้อยจนอาจตรวจไม่พบการตั้งครรภ์เลยก็ได้ แต่ตัวฮอร์โมนนี้จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์เลย ซึ่งช่วงระหว่างนี้นี่เองที่จะทำให้ร่างกายของคุณแม่สัมผัสถึงความผิดปกติและเกิดเป็นอาการแพ้ท้อง
ดังนั้นสำหรับคำถามที่ว่าว่าที่คุณแม่มักแพ้ท้องตอนกี่เดือน ก็คงต้องตอบว่าหลายท่านอาจเริ่มแพ้ได้ตั้งแต่เดือนแรกเข้าเดือนที่สองเลย แต่จะไปพีคสุด ๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงเดือนที่สองเข้าเดือนที่สามนั่นเอง
อาการแพ้ท้องสัปดาห์แรก
อาการนี้อาจไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายหลังจากไข่มีการปฏิสนธิและเข้าฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งว่าที่คุณแม่จะเริ่มมีอาการประจำเดือนขาด มีตกขาว มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด คัดเต้านมหรือเต้านมเริ่มขยายขนาดเพื่อรองรับการผลิตน้ำนม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย หรือมีไข้ต่ำ ๆ ในช่วงเย็น ๆ ฯลฯ ก็ให้ตระหนักไว้ได้เลยว่านี่อาจเป็นอาการแพ้ท้องของว่าที่คุณแม่คนใหม่เข้าให้แล้ว ซึ่งคนรอบตัวควรร่วมสังเกตอาการและทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของคุณผู้หญิงที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นว่าที่คุณแม่ด้วย
ตัวช่วยสำหรับคุณแม่ที่แพ้ท้องหนักมาก
สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้หนักมาก หลายครั้งเราจะได้ยินคนเฒ่าคนแก่บอกให้กินของเปรี้ยว แต่บอกเลยว่าวิธีนี้บางครั้งก็ช่วยได้ บางครั้งสำหรับว่าที่คุณแม่บางคนก็ช่วยไม่ได้ แต่เรายังมีวิธีหรือตัวช่วยสำหรับคุณแม่ที่แพ้ท้องหนักมาก ให้ผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ นั่นคือ
การดูแลสุขภาพของคุณแม่ให้แข็งแรงเข้าไว้ ด้วยการที่หากไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ก็ควรรับประทานอาหารเสริม คอยดื่มน้ำเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ไม่ฝืนตัวเองมากจนเกินไป และพยายามผผ่อนคลายอารมณ์ลง
แต่หากว่าที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องหนักมากอย่าง
- อยู่ในภาวะขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนหนัก
- กินอาหารไม่ได้
- น้ำหนักลดลงมาก
- รู้สึกไม่มีแรง
ซึ่งหากว่าที่คุณแม่พยายามทำตามคำแนะนำข้างต้นในการดูแลตัวเองแล้วไม่เป็นผล ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาวิธีแก้ไขต่อไป
การได้เป็นคุณแม่นับเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคุณผู้หญิงที่จะมีเบบี๋ตัวน้อย ๆ รอพบหน้าในอีกไม่กี่เดือน แต่ระหว่างทางนั้นว่าที่คุณแม่ก็ต้องพบความแปรปรวนของอารมณ์และร่างกายมากมาย โดยเฉพาะอาการที่ถูกกล่าวขวัญกันมากมายอย่างอาการแพ้ท้อง ซึ่งอาจมาเยือนคุณแม่ได้ตั้งแต่อาการแพ้ท้องสัปดาห์แรก และคุณแม่หลายท่านก็อาจต้องพบกับอาการแพ้ท้องหนักมาก
ซึ่งบทความนี้เราก็ได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับอาการแพ้ท้องมาเล่าสู่กันฟัง ด้วยหวังว่าจะคลายกังวลของคุณแม่มือใหม่ลงไปได้บ้าง นอกจากนี้ยังสร้างความตระหนักรู้กับคนใกล้ชิดว่าอาการแพ้ท้องนั้นไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ และต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณแม่เอง เพื่อให้สุดท้ายแล้วการท้องทั้ง 9 เดือนของว่าที่คุณแม่จะได้เป็นไปอย่างราบรื่น หรือใครที่อยากจะลุ้นว่ามีน้องมั้ยก็สามารถไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาเทสกันก่อนได้
Feature Image credit : freepik