อาการปวดท้องนั้นเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเคยเผชิญกันมาแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าภายในช่องท้องของเรานั้นประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ มากมาย และการปวดท้องตามจุดต่าง ๆ อาจบ่งบอกถึงการทำงานที่ผิดปกติไปของอวัยวะนั้น ๆ เช่น การปวดท้องเนื่องจากการท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากการมีรอบเดือน ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็มักจะเป็นแล้วหายเมื่อสาเหตุของอาการปวดท้องหายไป แต่สำหรับอาการปวดท้องที่เป็นซ้ำ ๆ ที่จุดเดิมนั้นอาจบ่งบอกถึงความเจ็บป่วยเรื้อรังได้ ดังนั้นเราจะมาดูรายละเอียดของการปวดท้องข้างซ้ายกันโดยเฉพาะว่า อาการเหล่านี้จะบ่งบอกอะไรกับสุขภาพของเราได้บ้าง
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ปวดท้องข้างซ้าย มีอะไรอยู่ตรงนั้น
ในช่องท้องด้านซ้ายเป็นที่ตั้งของวัยวะน้อยใหญ่มากมายที่ช่วยทำหน้าที่ในระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบสืบพันธุ์ ได้แก่
- ช่องท้องด้านซ้ายบน เป็นที่ตั้งของกระเพาะอาหารที่เป็นด่านแรกในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีน ม้ามซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด และตับอ่อนที่เป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมทั้งผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันในลำไส้ด้วย
- ช่องท้องด้านซ้าย เป็นที่ตั้งของลำไส้ใหญ่ส่วนที่ทอดลงล่างที่ต่อกับลำไส้ตรง ซึ่งเป็นส่วนเป็นที่พักของกากอาหารที่ย่อยแล้ว และใช้ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงด้านหลังของช่องท้องยังเป็นที่ตั้งของไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดด้วย
- ช่องท้องด้านซ้ายล่าง เป็นที่ตั้งของ ท่อไต เป็นท่อกล้ามเนื้อที่สามารถบีบรูดช่วยลำเลียงปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ และปีกมดลูกที่มีหน้าที่ลำเลียงไข่ไปยังมดลูก
เวลาปกติอวัยวะต่าง ๆ จะทำงานอย่างสอดคล้องและไม่ทำให้เรารู้สึกผิดแปลกอะไร แต่ถ้าบริเวณต่าง ๆ ในช่องท้องเริ่มส่งอาการบิดเกร็งหรือเริ่มมีความเจ็บปวด นั่นอาจหมายถึงอวัยวะต่าง ๆ เริ่มมีการทำงานผิดแปลกไปบ้างแล้ว ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่าอาการปวดท้องข้างซ้ายในแต่ละบริเวณนั้นบ่งบอกความผิดปกติอะไรได้บ้าง
อาการปวดท้องด้านซ้าย เจ็บท้องข้างซ้าย


บริเวณช่องท้องทางด้านซ้ายเป็นที่ตั้งของวัยวะอย่างลำไส้ รวมถึงไต อาการปวดท้องข้างซ้ายจึงอาจแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเหล่านั้นเช่น
- โรคลำไส้อักเสบ เป็นหนึ่งสาเหตุของอาการเจ็บื้องข้างซ้าย เป็นโรคที่มาพร้อมกับการอักเสบที่เยื่อบุผิวลำไส้ ผู้ป่วยมักมีอาการแสบท้องก่อนรับประทานอาหาร แต่เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้วจะมีอาการดีขึ้น โรคนี้อาจเป็นแล้วหายได้ แต่หากเป็นแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็จะกลายเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการนี้จะพ่วงมาด้วยการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และอาจมีอาการข้ออักเสบและตาอักเสบร่วมด้วย
- โรคลำไส้แปรปรวน โรคนี้จะไม่พบความผิดปกติของลำไส้หรือการอักเสบ แต่เป็นภาวะที่ลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้ปวดท้องหรือปวดเกร็งหน้าท้อง อาจมีอาการปวดท้องข้างซ้าย ท้องเสียหรือท้องผูก อุจจาระมีเมือกปนแต่ไม่มีเลือดปน ร่วมกับอาการรู้สึกแน่นมีแก๊สในท้อง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่แพทย์มักรักษาไปตามอาการเพื่อให้ดีขึ้น
- โรคไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องข้างซ้ายร้าวไปหลัง ปวดที่บั้นเอวร้าวไปถึงชายโครงและท้องน้อย เมื่อเคาะด้านหลังจะรู้สึกเจ็บ อาการปวดท้องข้างซ้ายของผู้ป่วยโรคไตมักเกิดร่วมกับอาการบวม ซีด อ่อนเพลีย และความดันสูง ซึ่งจะไม่สามารถหายเองได้ แต่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ปวดท้องข้างซ้ายบน
บริเวณช่องท้องข้างซ้ายบนจะเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญอย่าง กระเพาะอาหาร ม้าม และตับอ่อน ซึ่งอาการปวดท้องข้างซ้ายบนผู้หญิงก็จะมีความคล้ายคลึงกับอาการปวดท้องข้างซ้ายบนผู้ชายที่อาจอาการบ่งชี้ถึงความผิดปกติของอวัยวะเหล่านี้
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร ผู้ปวดท้องข้างซ้ายล่างผู้หญิงป่วยที่เป็นโรคนี้จะปวดท้องข้างซ้ายทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่วมกับอาการอึดอัดแน่นท้องช่วงซ้ายบน ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกปวดท้องด้านซ้าย มีลมในท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน
- โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของตับอ่อน พบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันอาจทำให้มีอาการปวดท้องข้างซ้ายร้าวไปยังหลังได้ โดยมักมีอาการปวดท้องช่วงหลังรับประทานอาหาร มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน และเนื่องจากตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนบางชนิดจึงอาจทำให้มีอาการน้ำหนักลด และอุจาระมีกลิ่นเหม็นหรือมีไขมันมากร่วมด้วย โดยมักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ปวดท้องข้างซ้ายล่าง


การปวดท้องด้านซ้ายล่างสัมพันธ์กับอวัยวะอย่างลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เชื่อมต่อกับลำไส้ตรง การปวดท้องซ้ายล่างสำหรับผู้หญิงยังอาจหมายถึงความผิดปกติทางสูตินรีเวชได้ด้วยขณะที่อาการปวดท้องข้างซ้ายล่างผู้ชายไม่ได้มีผลต่อโรคทางระบบสืบพันธุ์แต่อย่างใด
- โรคกระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ หรือ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ(Diverticulitis) โรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง โดยเมื่อแรงดันภายในลำไส้ใหญ่มากขึ้น จะทำให้เกิดกระเปาะขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ และถ้าหากกระเปาะเหล่านี้ฉีกขาด อักเสบ หรือติดเชื้อ ก็จะทำให้เกิดโรคนี้ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการปวดท้องข้างล่างซ้ายหรือขวา และถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจมีการแตกจนถ่ายเป็นเลือดได้
- โรคทางนรีเวช อาการปวดท้องข้างซ้ายล่างผู้หญิงอาจหมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปีกมดลูกด้านซ้าย รวมถึงรังไข่ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ตกขาว หรืออาจมีเลือดปนมาในตกขาวด้วย ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวกับปีกมดลูก หรือซีสต์ในรังไข่ในผู้หญิง และเพื่อยืนยันสาเหตุของอาการปวดท้องข้างซ้ายผู้หญิง ผู้ที่มีอาการควรอัลตราซาวน์เพื่อหาสาเหตุของอาการก่อนที่จะมีการลุกลาม
ปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่าง จี๊ดๆ
เป็นอาการปวดท้องข้างซ้าย ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด อาจเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่มีความผิดปกติ หรือมีซีสต์ในรังไข่่ นอกจากนี้ยังเกิดได้จากเนื้องอกในมดลูก หรือความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย
ปวดท้องข้างซ้าย ร้าวไปหลัง
อาการปวดท้องด้านซ้ายแบบนี้ สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นนิ่วในท่อไต ปวดเหมือนมีใครมาบีบท้อง ทำให้รู้สึกปวดท้องข้างซ้ายแล้วร้าวไปด้านหลัง เมื่อตรวจปัสสาวะ อาจพบเม็ดเลือดแดงปนออกมา
ปวดท้องด้านซ้ายร้าวลงขา
หากอาการนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิง มักจะเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ทั้งมดลูกอักเสบ ท่อนำไข่ หรือรังไข่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับลำไส้ ไต หรือกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย
ปวดท้องข้างซ้าย ท้องเสีย
อาการเจ็บท้องข้างซ้าย หรือปวดท้องด้านซ้ายแล้วมีอาการท้องเสียร่วมด้วย อาจเกิดจากสำไส้ที่อยู่บริเวณด้านซ้ายล่างอักเสบ ส่งผลให้มีอาการแวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ และถ่ายอุจจาระเหลว
อาการปวดท้องข้างซ้ายแม้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยและเราอาจคุ้นชินบ้างแล้ว แต่อาการปวดท้องซ้ำ ๆ ในตำแหน่งเดิม ๆ ก็สามารถใช้เป็นสัญญาณบ่งชี้ความผิดปกติของอวัยวะสำคัญบริเวณนั้นได้ ซึ่งในกรณีนี้แม้ไกด์ไลน์ที่กล่าวมาจะช่วยบอกสาเหตุได้แบบคร่าว ๆ การวินิจฉัยและรักษาอย่างจริงจังจากผู้เชี่ยวชาญก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะให้ผลดีและยับยั้งไม่ให้อาการเจ็บป่วยกลายเป็นโรคเรื้อรังที่รักษายากขึ้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติควรพบแพทย์จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด