Shopee Blog | โลกแห่งไลฟ์สไตล์และ Insight แห่งการช้อปออนไลน์
No Result
View All Result
  • Fashion & Trends
    • Men’s Fashion
    • Women’s Fashion
    • Unisex Fashion & Accessories
  • Health & Beauty
    • Makeup & Hairs
    • Skincare & Cosmetics
    • Health & Beauty Tips
    • Elderly Care
    • Food & Supplements
  • Tech & Gadgets
    • Computer & Laptops
    • Mobile & Tablets
    • Camera & Photography
    • Gadgets
    • Home Appliances
  • Automotive
    • Cars
    • Motorcycle & Bike
  • Life at Home
    • Tree & Garden
    • Home and Living
    • Moms & Kids
  • Pets
    • Dogs
    • Cats
    • Other Pets
  • Foods & Beverages
    • Food & Drinks
    • Desserts & Baking
    • Vegan & Vegetarian
    • Cooking Tips
      • Food Recipes
  • Lifestyle
    • Work & Productivity
    • Financial & Investment
    • Belief & Horoscope
    • Self Improvement
    • Special Occasion
    • DIY & Tips
    • Sports
  • Entertainment
    • Series
    • Books & Comic
    • Music
    • Movies & Short Films
    • Cartoon & Anime
    • Games
  • Travel
    • Cafe & Restaurant
    • Travel in Thailand
    • Oversea Travel
    • Holiday
  • Shopee
    • #LIFEATSHOPEE
    • Upcoming events
    • Partnership
    • Star Seller
    • Shopping Tips
Shopee Blog | Shopee Thailand เนื้อหาสาระไลฟ์สไตล์ครบครัน พร้อมเสิร์ฟให้คุณได้ทุกวัน
No Result
View All Result
Shopee โปร 12.12 Shopee โปร 12.12 Shopee โปร 12.12
Home Lifestyle Financial & Investment

วิธีคํานวณภาษี 2567 แบบเข้าใจง่าย รวดเดียวจบ

Shopee TH by Shopee TH
November 23, 2023
in Financial & Investment
Reading Time: 7 mins read
วิธีคำนวณภาษี 2566
3
SHARES
26.5k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare in Line

บอกเลยว่าดังคำกล่าวดังว่าไว้ นอกจากความตายที่เราหนีไม่พ้นแล้ว ภาษีเราก็หนีไม่พ้นเช่นกัน สำหรับคนไทยที่เกิดและพำนักในประเทศไทย ก็ต้องทำการยื่นจ่ายภาษีประจำปีกันอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงรายได้รายรับ และจ่ายภาษีให้องค์กรส่วนกลางนำภาษีไปพัฒนาประเทศ และสิ่งทีทุกคนต้องเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ในทุกช่วงต้นปีก็คือ การคำนวณภาษี ดังนั้น วันนี้ Shopee จะพามาดู วิธีคำนวณภาษี โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 แบบเข้าใจง่าย รวดเดียวจบ พร้อมยกตัวอย่างและรายละเอียดประกอบ วิธีคำนวณภาษี ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย!

หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้

  • บุคคลธรรมดา รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี 2567
  • แบบรายการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา
  • ทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ในการคำนวณภาษี
    • เงินได้
    • ค่าใช้จ่าย
    • เงินได้สุทธิ
  • รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
  • วิธีคำนวณภาษี
  • วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567
    • วิธีที่ 1 
    • วิธีที่ 2
  • ยื่นภาษีช่วงไหน
  • อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • โปรแกรมคำนวณภาษี

บุคคลธรรมดา รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี 2567

ผู้ที่มีรายได้ต่อปีภาษีถึงเกณฑ์ที่กำหนด จำเป็นต้องยื่นแบบภาษี ไม่ว่าผลสุดท้ายเมื่อคำนวณภาษีออกมาแล้วจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม

สำหรับบุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายที่มีเงินพึงประเมินเกินดังตาราง จะต้องเสียภาษี ดังนี้ 

ประเภทเงินได้ (บาท ต่อปี)โสดสมรส
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว120,000220,000
เงินได้ประเภทอื่น60,000120,000

แบบรายการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 บุคคลธรรมดาโดยจะมีแบบรายการแสดงซึ่งมีหลายแบบโดยจะขออธิบายแต่ละแบบ ดังนี้ 

  1. แบบภงด.90 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีซึ่งใช้าำหรับผู้มีเงินได้ในกรณีทั่วไปตั้งแต่เงินได้ประเภทที่ 1-8ที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วโดยให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป
  2. แบบภงด.91 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียวโดยให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป
  3. แบบ ภ.ง.ด.93 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับใช้ยื่นก่อนถึงกำหนดเวลาการยืนแบบฯ ให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน
  4. แบบ ภ.ง.ด.94 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ที่ได้รับมาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น
  5. แบบ ภ.ง.ด.94 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ให้ยื่นแบบฯภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป 

ทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ในการคำนวณภาษี

เงินได้

เงินได้ หรือ เงินได้พึงประเมิน หมายถึงเงินที่ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของปีภาษีนั้น ๆ เงินได้ทางภาษีมีทั้งหมด 8 ประเภท

ค่าใช้จ่าย

เป็นส่วนหนึ่งในการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ยื่นภาษีจะได้รับ เพื่อนำไปหักลบจากเงินได้ ถือเป็นต้นทุนในการหาเงินได้ ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

  • หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
  • หักค่าใช้จ่ายตามจริง

ทั้งนี้เงินได้ของเราจะหักค่าใช้จ่ายแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเงินได้ประเภทใด หรือคิดภาษีแล้วแบบไหนจ่ายมากกว่า ก็ให้เลือกแบบนั้น

*สำหรับพนักงานออฟฟิศที่มีเงินได้จากเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) และโบนัส (เงินได้ประเภทที่ 2) ให้นำ 2 ก้อนรวมกัน แล้วหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท*

เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิคือ เงินได้พึงประเมินที่ได้ทำการหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว ถือเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีโดยการคูณอัตราภาษีต่อไป เพื่อหาเงินภาษีที่ต้องชำระ

รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง

สำหรับบุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีจะสามารถขอลดหย่อนภาษีได้ตามรายการ ดังนี้ 

  • ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท 
  • คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
  • ผู้มีเงินได้ หรือคู่สมรส ที่มีรายได้รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท
  • บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ หักลดหย่อนคนละ 60,000 บาท
  • ค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป)
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
  • เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จ่ายตามจริงในปีภาษีไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้นแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทแต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินบริจาค เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาและอื่น ๆ หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

อย่าลืม! ปี 2566 หรือที่เรากำลังจะยื่นภาษีในชข่วงต้นปี 2567 กันอยู่นี้ รัฐบาลได้มีมาตรการ หรือ โปรโมชั่น เพิ่มค่าลดหย่อนบางส่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่จ่ายจริง โดยต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP หรือ สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด อาคาร หรือ ห้องชุด ที่ทำสัญญากู้ยืมตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
วิธีคำนวณภาษี
credit by pixabay

วิธีคำนวณภาษี

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องชำระ

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567

วิธีที่ 1 

ให้ทำการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิอันประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่หักเงินได้จากการได้รับการยกเว้น หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนภาษี หักเงินบริจาคแล้วนำเงินสุทธินั้นไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ 

รายการ
เงินได้พึงประเมินXXX
หัก เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นXXX
หัก ค่าใช้จ่ายXXX
หัก ค่าลดหย่อนXXX
หัก เงินบริจาค (ถ้ามี)XXX
เงินได้สุทธิXXX
ภาษีที่ต้องชำระ (ถ้ามี) = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (5-35%)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้นอัตราภาษีภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0   –     150,000150,0005ยกเว้น*0
เกิน 150,000   –    300,000150,00057,5007,500
เกิน 300,000   –     500,000200,0001020,00027,500
เกิน 500,000   –     750,000250,0001537,50065,000
เกิน 750,000   –  1,000,000250,0002050,000115,000
เกิน 1,000,000  –  2,000,0001,000,00025250,000365,000
เกิน 2,000,000  –  5,000,0003,000,00030900,0001,265,000
เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป35

อ้างอิง www.rd.go.th  

วิธีที่ 2

จะเป็นการคำนวณเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 120,000 บาท ขึ้นไป โดยไม่หักค่าใชจ่าย หรือหักค่าลดหย่อนใด ๆ คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 0.5 จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยทั้งนี้ผู้มีเงินได้ที่มีเงินหลายประเภท (โดยไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้จากการจ้างแรงงาน)

ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้พึงประเมิน (ไม่รวมเงินเดือน) x 0.5%

ตัวอย่างการคำนวณ 

r89pIiTnjdp5 3NJS2G8m6prMbYfBcHGPlv79rTHnJnwyWpPuLIWCy0 gcdWPX2E21KBv40Dti2I3HlMwFgRLIUybkU9ASpwa1T4DZ0A0e QvcCnPjUxlYwItiUQLLtWwukWIh2ntJwMsRNEj KE7A
credit by krungsri

ยื่นภาษีช่วงไหน

ยื่นภาษีได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ตัวอย่าง ปีภาษี 2565 ยื่นภาษีได้ระหว่าง 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 (แต่ถ้ายื่นออนไลน์ จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567)


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1.นาย A เป็นพนักงานบริษัท และยังโสด ได้รับเงินเดือน 26,000 บาทตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 และได้รับโบนัส 50,000 บาท ดังนั้น “เงินได้พึงประเมิน” ของนาย A เท่ากับ 312,000 + 50,000 = 362,000 บาท

  • คำนวณภาษีขั้นที่ 1 (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
362,000 – 100,000 = 262,000 บาท
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 2 (หักค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และค่าเบี้ยประกันสังคม)
262,000 – 60,000 – 9,000 = 193,000 บาท
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 3 (นำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษี) จากตาราง 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้น
193,000 – 150,000 = 43,000 บาท
  • เงินที่เหลือตกในอัตราภาษีขั้นที่ 2 จึงนำเงินที่เหลือคูณอัตราภาษี 5%
43,000 x 5% = 2,150 บาท

ดังนั้น เงินภาษีที่นาย A จะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรในปีภาษี 2562 เท่ากับ 2,150 บาทถ้วน

2.นาย B เป็นพนักงานบริษัท และต้องดูแลคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีรายได้ นาย B ได้รับเงินเดือน 26,000 บาทตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 และได้รับโบนัส 50,000 บาท ดังนั้น “เงินได้พึงประเมิน” ของนาย B เท่ากับ 312,000 + 50,000 = 362,000 บาท

  • คำนวณภาษีขั้นที่ 1 (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
362,000 – 100,000 = 262,000 บาท
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 2 (หักค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ค่าเบี้ยประกันสังคม และค่าลดหย่อนคู่สมรส)
262,000 – 60,000 – 9,000 – 60,000 = 133,000 บาท
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 3 (นำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษี)
    จากตารางเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้น

ดังนั้น เงินภาษีที่นาย B จะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรในปีภาษี 2562 เท่ากับ 0 บาทถ้วน นาย B ไม่ต้องเสียภาษีแม้จะเป็นผู้ยื่นภาษี

Shopee โปร 12.12 Shopee โปร 12.12 Shopee โปร 12.12

จะเห็นได้ว่าการจะเสียภาษีมาก น้อย หรือไม่ต้องเสียภาษีเลยนั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งเงินได้ ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือ ค่าลดหย่อนภาษี หากเรามีค่าลดหย่อนภาษีเยอะ ยิ่งทำให้เราเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง จึงเป็นที่มาว่าทำไมเราจำเป็นต้องติดตามและศึกษาเรื่อง วิธีคำนวณภาษี และ ค่าลดหย่อนภาษี ในแต่ละปีภาษี


โปรแกรมคำนวณภาษี

หากใครไม่มั่นใจเรื่อง วิธีคำนวณภาษี ของตนเอง สามารถนำข้อมูลไปลองคำนวณในโปรแกรมคำนวณภาษีตามเว็บต่าง ๆ ได้

  • โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย คลิก
  • โปรแกรมคำนวณภาษีเว็บไซต์ itax.in.th คลิก
  • โปรแกรมคำนวณภาษีเว็บไซต์ thailandsurf.net คลิก
  • โปรมแกรมคำนวณภาษีธนาคารไทยพาณิชย์ (ไฟล์ Excel) คลิก

ข้อมูลจาก กรมสรรพากร

เรื่องภาษีเป็นเรื่องไม่ใกลตัว และไม่ยากอย่างที่คิด อาจจะมีความจุกจิกในเรื่องของการเตรียมเอกสาร ศัพท์ทางภาษี ระยะเวลาและเงื่อนไขของการใช้สิทธิ์ต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง วิธีคำนวณภาษี หรือวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าหากเราทุกคนสละเวลาอ่านและศึกษาเรื่องภาษี จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และเป็นประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งหากใครไม่สะดวกติดงานก็สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้แล้ววันนี้ – 8 เมษายน 2567 นี้ ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบ เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนเข้าไปกรอกรายละเอียดกันด้วยน้าและอย่ารอช้า ใกล้ถึงวันแล้วค่อยทำ หากยื่นภาษีไม่ทัน มีปรับนะ! 

Share3TweetShare
Previous Post

วิธีทำหมูกรอบให้กรอบฟันแตก อร่อยฟินไปถึงดาวอังคาร ทอดเองได้ไม่ยาก

Next Post

ใครหาแบบเล็บเจลน่ารัก ๆ มาทางนี้เลยจ้า พร้อม 10 ร้านทำเล็บคิ้วท์ ๆ ที่ห้ามพลาด

Related Posts

อยากมีธุรกิจส่วนตัว เริ่มต้นอย่างไร เริ่มยังไงดี ต้องทำอะไรบ้าง
Financial & Investment

วิธีเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว: คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่

by Shopee TH
November 23, 2023
55
Shopee blog วิธีเก็บเงิน
Financial & Investment

11 วิธีเก็บเงิน – ทริคออมเงิน ประหยัดแบบง่ายๆและได้ผล

by Shopee TH
October 30, 2023
89
ผ่อนของไม่ใช้บัตรเครดิต
Financial & Investment

6 แอปพลิเคชัน ผ่อนของไม่ใช้บัตรเครดิต เอาใจสายช้อป แอปไหนบ้างเช็กเลย!

by Shopee TH
February 23, 2023
144.5k
Financial & Investment

สำรวจงาน Money Expo หาโปรบัตรเครดิตสุดว๊าว-พบนวัตกรรมทางการเงินสุดล้ำ

by Shopee TH
November 28, 2023
623
Financial & Investment

ขายของออนไลน์อะไรดี ให้ขายได้ขายดี จากอาชีพเสริม สู่รายได้หลัก

by Shopee TH
November 11, 2023
48.4k
Financial & Investment

ฝากประจำธนาคารไหนดี ดอกเบี้ยสูง ปลอดภาษี 24 เดือน ควรค่าแก่การลงทุน

by Shopee TH
May 19, 2022
14.9k
แอปรายรับรายจ่าย เก็บเงิน บันทึกรายรับรายจ่าย
Financial & Investment

รวมแอปรายรับรายจ่ายน่าใช้ ตัวช่วยดี ๆ ในการจัดการการเงินของคนรุ่นใหม่

by Shopee TH
November 11, 2023
6.4k
Financial & Investment

3 สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ กู้ง่ายแค่ปลายนิ้วมือคลิก

by Shopee TH
November 28, 2023
52.2k
Next Post

ใครหาแบบเล็บเจลน่ารัก ๆ มาทางนี้เลยจ้า พร้อม 10 ร้านทำเล็บคิ้วท์ ๆ ที่ห้ามพลาด

แนะนำวิธีลดหน้าท้อง โยคะลดหน้าท้อง สยบปัญหาพุงย้วยด้วยตัวคุณเอง

เครื่องซักผ้าฝาบนยี่ห้อไหนดี เลือกเครื่องซักผ้าแบบไหนใช้ทนที่สุด

ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจใน Shopee Blog

No Result
View All Result

New & Rising

สายพันธุ์ งู น่าเลี้ยง เลี้ยงงู มือใหม่

สายพันธุ์งูน่าเลี้ยง: อยากเลี้ยงงูเลี้ยงพันธุ์อะไรดี ?

10 hours ago
10
Shopee Blog วางแผนชีวิตหลังเกษียณ

วางแผนชีวิตหลังเกษียณอย่างไร ให้ชีวิตมั่นคงและสบาย

6 days ago
70
เที่ยวจอร์เจีย ที่ไหนดี ต้องไปไหน ดียังไง Georgia

เที่ยวจอร์เจีย วิวร้อยล้านในราคาไม่แพง อากาศเย็นดีตลอดปี

6 days ago
71
อยากมีธุรกิจส่วนตัว เริ่มต้นอย่างไร เริ่มยังไงดี ต้องทำอะไรบ้าง

วิธีเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว: คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่

1 week ago
55

Facebook Shopee Blog

ABOUT SHOPEE BLOG

ท่องโลก เกาะเทรนด์ ! สาระความรู้หลากหลายพร้อมเสิร์ฟถึงที่ ครบครันทุกเรื่องไลฟ์สไตล์ สุขภาพ ความงาม เช็กดวง พร้อมมีรีวิวสินค้าให้อ่านก่อนเลือกช้อป ติดตามอ่านบทความได้ทุกเวลา ที่ Shopee Blog เท่านั้น!

SHARE SHOPEE BLOG TO YOUR FRIEND

Shopee FacebookShopee TwitterShopee Instagram

DOWNLOAD SHOPEE APP HERE!

Shopee on Google Play StoreShopee on APP Store

ช้อปสินค้าหลากหลายทุกหมวดหมู่กับ Shopee!

  • Food & Beverages
  • Lifestyle
  • Entertainment
  • Travel
  • Shopee
  • Shop
  • Fashion & Trends
  • Health & Beauty
  • Tech & Gadgets
  • Automotive
  • Life at home
  • Pets

Shopee Thailand / Shopee Help Center / Seller Centre / Career at Shopee

© 2020 Shopee (Thailand)  Co., Ltd. | All Rights Reserved

No Result
View All Result
  • Fashion & Trends
    • Men’s Fashion
    • Women’s Fashion
    • Unisex Fashion & Accessories
  • Health & Beauty
    • Makeup & Hairs
    • Skincare & Cosmetics
    • Health & Beauty Tips
    • Elderly Care
    • Food & Supplements
  • Tech & Gadgets
    • Computer & Laptops
    • Mobile & Tablets
    • Camera & Photography
    • Gadgets
    • Home Appliances
  • Automotive
    • Cars
    • Motorcycle & Bike
  • Life at Home
    • Tree & Garden
    • Home and Living
    • Moms & Kids
  • Pets
    • Dogs
    • Cats
    • Other Pets
  • Foods & Beverages
    • Food & Drinks
    • Desserts & Baking
    • Vegan & Vegetarian
    • Cooking Tips
      • Food Recipes
  • Lifestyle
    • Work & Productivity
    • Financial & Investment
    • Belief & Horoscope
    • Self Improvement
    • Special Occasion
    • DIY & Tips
    • Sports
  • Entertainment
    • Series
    • Books & Comic
    • Music
    • Movies & Short Films
    • Cartoon & Anime
    • Games
  • Travel
    • Cafe & Restaurant
    • Travel in Thailand
    • Oversea Travel
    • Holiday
  • Shopee
    • #LIFEATSHOPEE
    • Upcoming events
    • Partnership
    • Star Seller
    • Shopping Tips

© 2020 Shopee Thailand