อย่างที่เราทุกคนรู้กันดีว่า คนไทยทุกคนมีหน้าที่ในการที่จะต้องจ่ายภาษี และต้องทำการยื่นภาษีประจำปี เพื่อแสดงรายได้และทำการจ่ายภาษีให้องค์กรส่วนกลางนำภาษีไปพัฒนาประเทศ ซึ่งเมื่อถึงช่วงเวลาต้นปีก็จะต้องมาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน วันนี้เราจะมาอัปเดตข้อมูลวิธีคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 แบบที่เข้าใจง่าย มือใหม่ไม่งง พร้อมตอบคำถามที่ว่ารายได้เท่าไหร่เสียภาษี พร้อมแนะนำโปรแกรมคํานวณภาษีแบบง่าย ๆ กัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี
Credit : freepik.com
ก่อนจะไปรู้ถึงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 และโปรแกรมคํานวณภาษีนั้น เราต้องรู้ก่อนว่ารายได้เท่าไหร่เสียภาษี และใครบ้างที่ต้องคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ต้องเสียภาษีนั้น คือผู้ที่มีรายได้ต่อปีภาษีถึงเกณฑ์ที่กำหนด จำเป็นต้องยื่นแบบภาษี ไม่ว่าผลสุดท้ายเมื่อคํานวณภาษีออกมาแล้วจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ซึ่งการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้น จะแบ่งเป็นคนโสดและคนที่สมรสแล้ว ดังนี้
ประเภทเงินได้ (บาท ต่อปี) | โสด | สมรส |
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว | 120,000 | 220,000 |
เงินได้ประเภทอื่น | 60,000 | 120,000 |
เงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง ?
หลังจากที่เรารู้แล้วว่ารายได้เท่าไหร่เสียภาษี ก็มารู้กันต่อเลยว่าแล้วเงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น คือเงินได้หรือรายได้ที่เราได้รับจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เบี้ยหวัด โบนัส รวมถึงบำเหน็จ และบำนาญ
สิ่งที่นำมาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 จะเป็นเท่าไหร่บ้างนั้น เราควรรู้ถึงสิ่งที่นำมาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันก่อน แล้วถึงจะนำไปคิดภาษีจากโปรแกรมคํานวณภาษี ดังนี้
เงินได้
เงินได้ หรือเงินได้พึงประเมิน หมายถึงรายได้หรือเงินที่ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของปีภาษีนั้น ๆ ซึ่งนับรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ ซึ่งรายได้เท่าไหร่เสียภาษีก็อย่างที่เราได้แจงไปข้างต้นแล้ว
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ยื่นภาษีจะได้รับ เพื่อนำไปหักลบจากเงินได้ ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการทำธุรกิจด้วย และหากรับเป็นเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) และโบนัส (เงินได้ประเภทที่ 2) สามารถนำสองก้อนมารวมกันและหักค่าใช่จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยอัตราสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษี
สำหรับการคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 นั้น จะต้องมีค่าลดหย่อนภาษี ซึ่งสิทธิขอลดหย่อนภาษีนั้น มีทั้งค่าลดหย่อนพื้นฐาน ค่าลดหย่อนครอบครัว รวมถึงการลงทุน กองทุน หรือประกันด้วย ซึ่งจะสามารถนำไปคำนวณผ่านโปรแกรมคํานวณภาษีได้เลย
เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ คือเงินได้พึงประเมินที่ได้ทำการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีแล้ว เพื่อเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำไปคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการคูณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 เพื่อหาเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละปีนั่นเอง
รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
Credit : freepik.com
สำหรับบุคคลธรรมดา นอกจากได้รู้แล้วว่ารายได้เท่าไหร่เสียภาษี ยังสามารถขอลดหย่อนภาษีได้ตามรายการ ดังนี้
กลุ่มลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- เงินได้ส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 บาท)
- ค่าคลอดบุตร ไม่เกินคนละ 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ หรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
กลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน
- ประกันชีวิตทั่วไป และประกันสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตนเอง 25,000 บาท (รวมกับประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
- ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) ไม่เกิน 10,000 บาท
- ประกันสังคม 9,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุน ThaiESG ไม่เกิน 300,000 บาท (หรือ 30% ของรายได้)
- กองทุน SSF ไม่เกิน 200,000 บาท (หรือ 30% ของรายได้)
- กองทุน RMF ไม่เกิน 500,000 บาท (หรือ 30% ของรายได้)
- กองทุน PVD, สงเคราะห์ครู ไม่เกิน 500,000 บาท (หรือ 15% ของรายได้)
- กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท (หรือ 30% ของรายได้)
- ประกันบำนาญ ไม่เกิน 200,000 บาท (หรือ 15% ของรายได้)
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
*กองทุนทั้งหมด ยกเว้นกองทุน ThaiESG รวมกันแล้วจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
- เที่ยวเมืองรอง 2567 ไม่เกิน 15,000 บาท
- Easy e-Receipt ไม่เกิน 50,000 บาท
- สร้างบ้านใหม่ 2567-2568 ไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
- พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
- การศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม โรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค (หรือไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน)
- เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง (หรือไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน)
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่ายในกรณีที่มีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน เมื่อเรารู้รายได้สุทธิแล้วให้นำรายได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 แบบขั้นบันได โดยนำรายได้สุทธิ x อัตราภาษีแต่ละขั้น ก็จะรู้ว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ซึ่งอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นตามเงินได้สุทธิที่มากขึ้น และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 มีดังนี้
อัตราภาษีแบบขั้นบันได
- 0 – 150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
- 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 7,500 บาท)
- 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 20,000 บาท)
- 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 37,500 บาท)
- 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 50,000 บาท)
- 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 250,000 บาท)
- 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดคือ 600,000 บาท)
- 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิเงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องชำระ
วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลังจากที่รู้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 แล้วว่ารายได้เท่าไหร่ คิดภาษีที่อัตราเท่าไหร่แล้วนั้น มาดูกันว่าเราจะสามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างไร
1. คำนวณรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
รายได้ก็คือเงินได้ตลอดทั้งปีที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส หรือรายได้จากงานอิสระ ให้นำมาบวกกันทั้งหมด ก็จะได้จำนวนรายได้ตลอดทั้งปี ตัวอย่างเช่น
เงินเดือนทั้งปี + รายได้อิสระทั้งปี + โบนัส = รายได้ต่อปี
(30,000 x 12) + 50,000 + 45,000 = 455,000 บาท
จากนั้นนำมาคำนวณภาษีขั้นที่ 1 ด้วยการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
รายได้รวมต่อปี x 50% = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
455,000 x 50% = 227,500 บาท
แต่ข้อจำกัดในการหักค่าใช้จ่ายจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทตามกำหนด ทำให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น คือ 455,000 – 100,000 = 355,000 บาท
ดังนั้น รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจริงก็จะเท่ากับ 355,000 บาท
2. คำนวณหารายได้สุทธิหักค่าลดหย่อนภาษี
สำหรับรายได้สุทธิจะนำมาคำนวณฐานภาษีว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ และต้องจ่ายภาษีในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ โดยคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 เป็นขั้นบันได ยิ่งมีรายได้สุทธิมาก ก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น โดยสามารถคำนวณรายได้สุทธิได้จากสูตรโปรแกรมคํานวณภาษี ดังนี้
เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ
3. คำนวณอัตราภาษี
เมื่อเราได้รายได้สุทธิมาแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 ดังนี้
รายได้สุทธิ x อัตราภาษีแบบขั้นบันได = จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย
แนะนำโปรแกรมคํานวณภาษี
Credit : freepik.com
เมื่อเราคำนวณหารายได้สุทธิ และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ของเราได้แล้ว หากไม่มั่นใจการคำนวณหาอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 ของตนเอง ก็สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใส่ในโปรแกรมคํานวณภาษี เพื่อคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกมา ก็จะได้รู้ว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ซึ่งโปรแกรมคํานวณภาษี มีดังนี้
- โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย คลิก
- โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกรุงศรี คลิก
- โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกรุงไทย คลิก
- แอปพลิเคชั่น iTAX คลิก
เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ยากอย่างที่คิด หากใครเป็นมือใหม่เพิ่งยื่นภาษีปีแรก และยังไม่รู้ว่ารายได้เท่าไหร่เสียภาษี ต้องคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังไง และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 เท่าไหร่นั้น สามารถอ่านจากบทความนี้ได้เลย และอย่าลืมว่าระยะเวลาในการยื่นภาษีนั้น สามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2568 และหากยื่นแบบออนไลน์จะยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 หากคุณเป็นบุคคลที่มีรายได้และต้องทำการเสียภาษี ก็อย่าลืมว่าต้นปีมีนัดส่งแบบภาษี ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีเวลาในการรวบรวมเอกสาร ข้อมูล และคํานวณภาษีรอล่วงหน้า เพื่อที่เมื่อถึงเวลายื่นจริง ๆ แล้วนั้น จะได้ไม่ทำผิดพลาดนั่นเอง และหากต้องการบริจาคเงินเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี สามารถอ่านบทความรวมมูลนิธิบริจาคเงิน ลดหย่อนภาษี จาก Shopee Blog ของเราได้เลย