คงจะตอบไม่ได้เลยว่า ครอบครัวหนึ่งที่กำลังจะมีอีกหนึ่งชีวิต ที่จะต้องช่วยกันประคับประคองดูแล ตั้งแต่เริ่มสัปดาห์แรกที่รู้ว่า คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ การดูแลเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพของทั้งคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ รวมไปถึงในแต่ละช่วงของอายุครรภ์ที่จะต้องช่วยกันเฝ้าระวัง กี่เดือนลูกดิ้น เพื่อจะได้สังเกตพฤติกรรมของทารกที่นอกจากการจะต้องไปตรวจครรภ์ตามเวลานัด การนับลูกดิ้น ก็เป็นอีกความสำคัญที่คุณแม่จะต้องทำ ยิ่งคุณแม่เอาใจใส่มากเท่าไร ทารกหรือลูกในครรภ์ก็จะยิ่งปลอดภัยมากขึ้นตามไปด้วย


หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
การนับลูกดิ้นมีความสำคัญอย่างไร
การดิ้นหรือการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่จะบอกถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี สำหรับคุณแม่ทั้งมือใหม่ และคุณแม่มือเก่าจะต้องอาศัยการสังเกตการดิ้นของลูกด้วยวิธีการนับลูกดิ้น ซึ่งในเริ่มแรกของอายุครรภ์น้อย ๆ คุณแม่บางท่านอาจจะรับรู้ได้หรือเรียกว่าการตอด ทำไมจึงมีความสำคัญเพราะทารกจะมีการเคลื่อนไหวทุกวัน นั่นหมายความว่าทารกยังมีชีวิตอยู่ และความถี่หรือความแรงจะแสดงถึงมีสุขภาพของทารกนั่นเอง หากกรณีที่การเคลื่อนไหวของทารกจะลดน้อยลงหรือหยุดไป นั่นหมายความว่าทารกมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน
คุณแม่หลายท่านมักจะให้ความสนใจมากกับการเฝ้ารอว่าลูกดิ้นตอนกี่เดือน ซึ่งโดยรวมจะมีอายุครรภ์ประมาณ 6-7 สัปดาห์ แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกมากนัก เพราะปริมาณน้ำคร่ำมีน้อยและขนาดมดลูกยังเล็ก แรงดิ้นของทารกยังเบาเกินไปที่จะส่งผ่านไปยังผนังหน้าท้องให้คุณแม่รู้สึกได้ และเป็นเพราะทารกในครรภ์ยังตัวเล็กอยู่ ซึ่งในโพรงมดลูกของคุณแม่เองก็ยังมีช่องว่างมากพอที่จะให้ทารกได้กลับตัวไปมาได้ง่ายทำให้ไม่กระทบกับผนังมดลูก คุณแม่จึงยังไม่รู้สึก
คุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ หรือท้องแรกแทบจะไม่ได้รับรู้ถึงการดิ้นของลูกในช่วงอายุครรภ์อ่อน ๆ จึงอาจจะสงสัยว่าลูกดิ้นกี่เดือน ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มรู้สึกถึงลูกดิ้นได้เมื่อมีอายุครรภ์โดยประมาณที่ 4 เดือนครึ่ง หรือ 16-20 สัปดาห์ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว จะรู้สึกว่าลูกดิ้นได้ไวกว่า ที่อายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน
ลักษณะการดิ้นที่จะใช้ในการนับลูกดิ้น
สิ่งที่แสดงออกว่าลูกกำลังดิ้น ก็คือหน้าท้องของคุณแม่ที่จะปูด เบี้ยวไปทางซ้ายที ขวาที ออกมาเป็นช่วง ๆ โดยทารกในครรภ์อาจจะกำลังบิดขี้เกียจ ถีบหรือเตะ กระทุ้ง หมุนตัว หรือโก่งตัวอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บจนต้องสะดุ้งบ้างในบางครั้ง แต่สำหรับตอดนิด ๆ ต่อเนื่องยาวบ้างสั้นบ้าง หรือการสะอึกจะไม่นับเป็นการดิ้น สำหรับท่าที่จะทำให้วิธีนับลูกดิ้นได้ผลดีที่สุดก็คือ ท่านอนตะแคงซ้าย
องค์ประกอบที่มีผลต่อการดิ้นของทารกในครรภ์
- ระดับกลูโคสในเลือดของคุณแม่ หรือปริมาณน้ำคร่ำ
- อาหารที่คุณแม่รับประทาน
- สิ่งเร้าภายนอก เช่น เสียง แสง ภายนอกที่มากระตุ้น
- การทำงานของคุณแม่ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกในครรภ์ดิ้น
- ความสนใจของคุณแม่ที่มีต่อการดิ้นของทารกในครรภ์


จำนวนครั้งในการนับลูกดิ้นที่เรียกว่า ลูกยังปกติ
ในแต่ละวันทารกในครรภ์จะมีการดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น จากนั้นก็จะดิ้นน้อยลงเพราะขนาดตัวของทารกโตขึ้นจนขยับลำบากจะเห็นได้อย่างชัดเจนที่ท้องคุณแม่จะขยายใหญ่จนเดินลำบาก ซึ่งก่อนหน้านี้ก็จะมีหลาย ๆ ครั้งที่คุณแม่ไม่สามารถจะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกได้ 100% หากไม่ได้ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยตรวจนับ สำหรับการนับลูกดิ้นด้วยตัวเองก็จะมีวิธีการนับลูกดิ้น และมีแบบบันทึกที่จะช่วยให้คุณแม่ได้เฝ้าสังเกตทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น
- อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ลูกควรจะดิ้นประมาณ 200 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
- อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ลูกควรจะดิ้นมากถึง 575 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
- อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ลูกจะดิ้นน้อยลงเหลือวันละประมาณ 282 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
วิธีการนับลูกดิ้น
1. นับลูกดิ้นหลังจากที่คุณแม่กินอาหารเสร็จ
จะเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่อิ่มและลูกก็จะอิ่มตามไปด้วยซึ่งทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ลูกก็จะได้รับพลังงานจนส่งผลให้ดิ้นเก่งขึ้นตามไปด้วย โดยวิธีนับลูกดิ้น คือ
- ดิ้นไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารอิ่มในแต่ละมื้อ
- การขยับตัวติดต่อกันจะถือว่าเป็นการดิ้น 1 ครั้ง
- โดยเมื่อนับจำนวนการดิ้นหลังอาหาร 3 มื้อรวมกันแล้วมากกว่า 10 ครั้ง ถือว่าปกติ
ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ในชั่วโมงถัดไปให้นับลูกดิ้นต่อทันที และถ้าหากยังน้อยกว่า 3 ครั้งอีกคุณแม่ควรจะไปพบแพทย์ทันที
2. การนับลูกดิ้นในเวลา 12 ชั่วโมง
โดยจะนับตั้งแต่เช้า – เย็น ใช้เวลาโดยประมาณ 10-12 ชั่วโมง ถ้าดิ้น มากกว่า 10 ครั้งถือว่าปกติ
3. การนับลูกดิ้นใน 1 ชั่วโมง
เลือกเวลาไหนก็ได้ที่สะดวก แต่จะต้องให้เป็นเวลาเดิมทุกวัน โดยใน 1 ชั่วโมงต้องนับได้ 3 ครั้งหรือมากกว่า จึงจะถือว่าลูกปกติ
4. เป็นการนับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้งภายใน 4 ชั่วโมง
โดยจะใช้เวลาตั้งแต่เวลา 8.00 – 12.00น.
5. วิธีนับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้ง แล้วดูว่าใช้เวลาทั้งหมดไปเท่าไหร่
ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อชั่วโมงเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ถือว่าลูกผิดปกติ คุณแม่ควรจะต้องไปพบแพทย์


วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้นที่ดีที่สุด คือ การสัมผัสอย่างอ่อนโยน เพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับความรู้สึกของทารกในครรภ์ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่หรือเป็นคุณพ่อมาลูบท้อง โดยควรจะลูบหน้าท้องเป็นวงกลมเบา ๆ ถ้าระหว่างนั้นก็อาจจะพูดคุย เล่านิทาน หรือร้องเพลงให้ฟังไปด้วยก็จะดี และควรจะใช้ช่วงเวลาเดิมของทุก ๆ วัน เป็นประจำสม่ำเสมอจะดีต่อทารกในครรภ์มากมากขึ้น
การนับลูกดิ้นสำหรับคุณแม่ทั้งมือใหม่และมือเก่า หรือจะเรียกว่ามืออาชีพแล้วก็ว่าได้ การเฝ้าระวังว่ากี่เดือนลูกดิ้น ลูกจะเริ่มตอดช่วงเดือนไหน หรือว่าลูกดิ้นกี่เดือน จะช่วยให้ลูกหรือทารกในครรภ์มีความปลอดภัย อีกทั้งยังจะช่วยเสริมพัฒนาการให้กับลูกได้อีกด้วย ยิ่งได้รับสารอาหารครบถ้วนตามโภชนาการ ซึ่งในการฝากครรภ์คุณแม่จะมีคู่มือเพื่อบันทึกและติดตามพัฒนาการต่าง ๆ ไปจนถึงวัยประถมเลย