ปลากัด ถือเป็นสัตว์น้ำสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมาอย่างยาวนานด้วยรูปลักษณ์และลวดลายสวยงามสะดุดตาจึงเป็ยที่นิยมทั้งในและต่างประเทศโดยมีหลากหลายสายพันธ์ุซึ่งได้คัดสรรมาฝากแก่คุณผู้อ่านทุกท่านถึง 4 สายพันธุ์ปลากัดสวยงามพร้อมบอกถึงลักษณะเด่นและการแพร่ขยายพันธุ์ให้สำหรับใครที่สนใจสร้างเป็นรายได้ในอนาคต หรือต้องการเลี้ยงปลากัดแฟนซีเพิ่มจุดขายให้น่าสนใจซึ่งมีข้อมูลดังนี้
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ปลากัดหม้อ
เริ่มต้นกันที่ปลากัดหม้อ หรือปลากัดจีนซึ่งเป็นปลากัดสวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากซึ่งคำว่า “ลูกหม้อ” นั้นมาจากนำหม้อดินที่ใช้ในการเพาะและใช้อนุบาลปลามาใช้ในระยะแรก ๆ โดยเริ่มมาจากนักเลงปลาทั้งหลายซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 สายคือแท้และลูกสับ
- ลูกแท้ คือ ปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน
- ลูกผสม คือ ปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่ต่างครอกกัน
ลักษณะเด่น: เป็นปลาที่มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ส่วนหัวจะค่อนข้างโต รูปปากใหญ่ ครีบสั้นสีเข้มซึ่งจะมีสีเขียว หรือน้ำเงินแกมแดงแต่ในปัจจุบันได้มีการขยายพันธุ์จึงมีสีอย่างหลากหลาย อาทิ สีแดง น้ำเงิน ม่วง เขียวหรือสีนาก ปลากัดหม้อถือเป็นสัตว์ที่มีความอดทน กัดเก่งจึงมักนิยมนำไปเล่นในพนันปลา
ปลากัดหูช้าง
มาต่อกันที่ปลากัดหูช้าง (BIG EAR) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาจากลูกหม้อโดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Betta splendens. จัดอยู่ในวงศ์ Osphronemidae
- ลักษณะเด่น: ปลากัดหูช้างจะเป็นปลากัดที่มีการพัฒนาส่วนของครีบหู ซึ่งมีรูปร่างใหญ่กว่าเดิมและเป็นสีขาวจึงเป็นที่มาของคำว่า “หูช้าง” ซึ่งลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือ หูใหญ่ เด่น สวย หูไม่แตกและครีบหูสวยโดยมีโอกาสในการเจอตัวที่สมบูรณ์ประมาณ 20 – 25% เท่านั้นจึงเป้นปลาที่ค่อนข้างมีราคา
- การผสมพันธุ์: เกิดจากการกลายพันธุ์ของปลากัดในอเมริกาซึ่งดูคล้ายจะมีครีบหูเป็นสีขาวใหญ่จึงนำเอาปลากัดที่กลายพันธุ์มาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โดยการนำไปผสมกับสายพันธุ์ใหม่ซึ่งจะคัดเลือกเอาเฉพาะลูกที่มีครีบคล้ายมากที่สุดมาผสมกับปลากัดที่กลายพันธุ์จากแหล่งอื่น ๆ เพื่อที่จะมีลักษณะคล้ายหูใหญ่จนได้ปลากัดที่มีความนิ่งที่ไม่ได้มาจากความตั้งใจแต่เกิดจากการกลายพันธุ์นั่นเอง
ปลากัดฮาฟมูน
สำหรับปลากัดฮาฟมูนถือเป็นหนึ่งในปลากัดแฟนซีที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามโดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens. ซึ่งคนไทยรู้จักกันในชื่อ ปลากัดฮาร์ฟมูน ปลากัดหางคู่ หรือปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2500 ในประเทศเยอรมนีแต่พึ่งสำเร็จเมื่อปี 2530 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและเยอรมัน
- ลักษณะเด่น: เป็นปลากัดที่มีครีบหางรูปวงกลม ขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นเส้นตรง (180 องศา) ส่วนครีบด้านนอกเป็นขอบโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบแตกแขนง 2 ครั้ง หรือมากกว่าซึ่งปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วน ลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่อง หรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้นจนเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนขอบครีบหลังจะโค้งมน เส้นขอบครีบทุกครีบจะโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน ปลายหางคู่ที่แยกเป็น 2 แฉกต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงามซึ่งปลากัดฮาร์ฟมูนที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม 180 องศาไปตลอดแม่จะมีอายุมากขึ้นก็ตาม
ปลากัดป่ามหาชัย
สำหรับปลากัดป่ามหาชัยจัดเป็นปลาน้ำจืดซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มปลากัดแฟนซีที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามโดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Betta mahachaiensis. ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายปลากัดภาคกลาง
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: พบว่าปลากัดมหาชัยมีถิ่นอยู่อาศัยอย่างจำกัดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและเขตบางขุนเทียนในกรุงเทพมหานครเท่านั้น โดยมักอาศัยในแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำเค็มมาปะปนเล็กน้อยซึ่งโดยมากจะเป็นป่าจากและยังมีการพบแหล่งอุตสาหกรรมปนเปื้อนเข้ามาเข้ามาด้วย
- ลักษณะเด่น: จัดเป็นปลากลุ่มก่อหวอดจะมีลักษณะสีเข้มโดยไล่จากสีน้ำตาลไปจนถึงดำสนิท เกล็ดมันวาวประดับตั้งแต่สีเขียวอมฟ้าไปจนถึงสีเขียวโดยมีการเรียงตัวสม่ำเสมอคล้ายเมล็ดข้าวโพด แก้มจะมีสีเขียวอมฟ้า 2 ขีด สำหรับพฤติกรรมเมื่อตกใจจะเป็นสีเขียวมรกตและแสดงความก้าวร้าว เมื่อสงบจะถอดสี หรือมีสีซีดลงซึ่งลักษณะนิสัยจะไม่ดุร้ายเท่าปลากัดหม้อ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับมือใหม่หัดเลี้ยงปลากัด
ทิ้งท้ายกันด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับมือใหม่ที่พึ่งหัดเลี้ยงปลากัดซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 ดังนี้
- ห้ามใช้น้ำดื่มและน้ำกรองเพื่อจะทำให้ปลากัดขับเมือกออกมาอย่างผิดปกติซึ่งน้ำที่ควรใช้คือ น้ำประปาที่ทิ้งพักไว้อย่างน้อย 2 วัน
- ห้ามวางขวด หรือโหลในพื้นที่ที่โดดแสงแดดจัดเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงเกินไปอาจทำให้ปลาช็อคตายได้
- ห้ามนำปลากัดไปเลี้ยงร่วมกับปลาอื่น ๆ เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีการสร้างอาณาเขตและจะกัดปลาตัวอื่น ๆ ที่มีขนาดตัวใกล้เคียงกัน
- ห้ามนำขวด หรือโหลวางต่ำเกินไป หรือชิดผนังเพราะอาจจะทำให้จิ้งจก หรือสัตว์เลื้อยคลานลงมากินปลาได้จึงควรมีตาขายมาข่ายมาครอบไว้
- ไม่นำเกลือ หรือไอโอดีนเติมลงไปเพราะจะทำให้ปลาระคายเคืองและไม่สบายตัว
- ห้ามใส่น้ำในขวด หรือโหลเลี้ยงปลากัดจนเต็ม หรือล้นเนื่องจากจะทำให้สัตว์เลื้อนคลานต่าง ๆ ในบ้าน อาทิเช่น จิ้งจก มากินปลากัด
จบลงไปแล้วกับ 4 สายพันธุ์ปลากัดที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละสายพันธุ์ต่างกันออกไปทั้งปลากัดปากหม้อ ปลากัดหูช้าง ปลากัดฮาร์ฟมูนและปลากัดป่ามหาชัย ซึ่งเราหวังว่าข้อมูลที่เราได้คัดสรรมาฝากคุณผู้อ่านจะเป็นประโยชน์ให้สำหรับใครที่สนใจ หรือชื่นชอบโดยสามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม การให้อาหารปลากัดก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหาซื้อได้ตามแหล่งเพาะพันธุ์ที่วางจำหน่าย