เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูสารท (Mid-Autumn Festival) ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ตามวัฒนธรรมจีนเดิมมีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวหลังการทำงานมาทั้งปี เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้า แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวของคนในครอบครัวไม่ต่างกับเทศกาลสงกรานต์ของคนไทย ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อคิดถึงเทศกาลนี้ เพราะนอกจากจะอร่อยในแบบที่ปีหนึ่งจะมีโอกาสได้รับประทานหนหนึ่งแล้ว เจ้าขนมก้อนเล็ก ๆ นี้ยังอัดแน่นด้วยส่วนผสมอันเป็นมงคลตามความเชื่อของชาวจีนไว้มากกมาย ดังที่ Shopee ได้รวบรวม ความหมายของไส้ขนมไหว้พระจันทร์ มาฝากกันในคราวนี้
ในดวงจันทร์มีเรื่องเล่ากับตำนานขนมไหว้พระจันทร์
ตามตำนานเทพปกรณัมของจีนมีตำนานที่เล่าถึงเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ไว้ว่า เดิมฉางเอ๋อร์เป็นภรรยาของคนยิงธนูนามโหวอี้ ในยุคเริ่มแรกที่โลกมีพระอาทิตย์อยู่ถึงสิบดวง ทำให้เกิดความแห้งแล้งแร้นแค้น ผู้คนอดอยาก โหวอี้จึงยิงดวงอาทิตย์ตกไปเก้าดวง ด้วยการบำบัดทุกข์ให้ผู้คนโหวอี้จึงถูกยกย่องเป็นฮ่องเต้ แต่อำนาจก็ทำให้เขามัวเมาและต้องการชีวิตอมตะ โหวอี้เดินทางไปขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่ แต่ฉางเอ๋อร์ก็รู้ว่าหากโหวอี้อกินยาอายุวัฒนะและมีอายุยืนยาวจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนไม่สิ้นสุด ฉางเอ๋อร์จึงขโมยยานั้นมากินเอง และลอยขึ้นไปเป็นเทพธิดาสถิตย์บนดวงจันทร์นับแต่นั้น
การเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นตามพงศาวดารโจวหลี่บันทึกว่า เกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงหวงแห่งราชวงศ์ถัง ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 พระองค์ทรงสุบินว่าได้ขึ้นไปประพาสบนดวงจันทร์และทรงเกษมสำราญอย่างยิ่ง จึงรับสั่งให้มีการเฉลิมฉลองร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในความฝันในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ของทุกปี และเป็นที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นเอง และในเทศกาลนี้ครอบครัวมักนิยมซื้อขนมไหว้พระจันทร์มารับประทานในครอบครัวด้วย
ขนมไหว้พระจันทร์ไม่ได้มีไว้เซ่นไหว้ขอพรจากดวงจันทร์หรือรับประทานในครอบครัวเท่านั้น ในสมัยที่มองโกลเข้ายึดครองจีนได้กดขี่ข่มเหงคนจีนเป็นจำนวนมาก หลิวปั๋วเหวิน จึงคิดปลุกระดมชาวจีนขึ้นต่อสู้โดยเขียนข้อความใส่ไว้ในขนมไหว้พระจันทร์ และในวันเพ็ญเดือน 8 ที่ชาวจีนรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ต่างก็ก่อการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจของมองโกลไปได้
ขนมไหว้พระจันทร์ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ พบในพื้นที่ใดบ้าง
เทศกาลไหว้พระจันทร์หรือที่เรียกว่าเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรชาวจีนจำนวนมาก แม้ว่าขนมไหว้พระจันทร์จะเป็นองค์ประกอบหลักของการเฉลิมฉลอง แต่แต่ละประเทศและภูมิภาคก็มีประเพณีและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ต่อไปนี้คือรายชื่อประเทศในเอเชียบางประเทศและวิธีที่พวกเขาเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วยขนมไหว้พระจันทร์
- จีน
- ไต้หวัน
- ฮ่องกง
- เวียดนาม (Tết Trung Thu)
- มาเลเซีย
- สิงคโปร์
- อินโดนีเซีย
- ประเทศไทย
ในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ก็มีเทศกาลและการเฉลิมฉลองในช่วงเดียวกันและคล้ายกัน โดยอาจเรียกชื่อต่างออกไปเช่น เทศกาลชูช็อก หรือ สึกิมิ และมีขนมต่างออกไปเป็น เค้กข้าว และ เกี๊ยวข้าว แต่โดยหลักการแล้วมีที่มาและจุดประสงค์คล้ายกัน คือเป็นเทศกาลที่ฉลองช่วงการเก็บเกี่ยวและชื่นชมพระจันทร์
ความหมายของไส้ขนมไหว้พระจันทร์
สำหรับชาวจีนแล้วขนมไหว้พระจันทร์จึงมีความหมายและบทบาทในความเชื่อและวัฒนธรรมจีนมายาวนาน และในขมก้อนเล็ก ๆ นี้ยังมีส่วนผสมที่เป็นมงคลรวมไว้มากมาย
- ไข่แดง หลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับไข่เค็มก้อนสีเหลืองนวลที่อยู่ในขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งส่วนประกอบนี้เป็นตัวแทนของพระจันทร์ที่สุกสว่างในคืนวันไหว้พระจันทร์ที่เราระลึกถึงนั่นเอง
- ทุเรียน ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ทุเรียนเรียกได้ว่าเป็นไส้ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งต้องบอกเลยว่าทุเรียนในความเชื่อของชาวจีนนั้นเป็นผลไม้มงคลที่นอกจากจะเป็นราชาของผลไม้แล้ว หนามแหลมๆ ของทุเรียนยังหมายถึงความฉลาดหลักแหลม และเนื้อสีทองนวลเหมือนทองคำก็ยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
- โหงวยิ้ง ขนมไหว้พระจันทร์ไส้โหงวยิ้ง หมายถึงธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ อัลมอนด์ เมล็ดแตงโม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท และงา ซึ่งบรรดาธัญพืชทั้งหลายนี้มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งและโชคลาภ
- ลูกบัว หรือ ขนมไหว้พระจันทร์เม็ดบัว เป็นหนึ่งในไส้ขนมไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิมและเป็นที่นิยมมากที่สุด สื่อถึงความบริสุทธิ์ ความสง่างาม และแนวคิดของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน มักรับประทานคู่กับไข่แดงเค็มซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์เต็มดวง การผสมผสานระหว่างรสหวานและรสเค็มเป็นจุดเด่นของขนมไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิม
- ถั่วแดง สำหรับความเชื่อจีนที่มองถั่วแดงมีลักษณะคล้ายรูปร่างของไต จึงเชื่อว่าธัญพืชชนิดนี้ที่นำมาทำเป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์สามารถช่วยบำรุงให้ไตแข็งแรง ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีอีกด้วย เป็นไส้สุดคลาสสิกที่มีสีแดง สีแดงเกี่ยวข้องกับความโชคดีและความสุขในวัฒนธรรมจีน ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ถั่วแดงมีทั้งแบบหวานและแบบคาว
- งาดำ งาดำเป็นธัญพืชที่อุดมด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ในขณะที่งาดำในไส้ขนมไหว้พระจันทร์ยังหมายถึงความมีอำนาจและสง่างาม งาดำเข้มข้นและมีกลิ่นหอม มีความเกี่ยวข้องกับอายุที่ยืนยาว เนื่องจากเชื่อว่างาดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- เกาลัด อาจเป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์ที่พิเศษขึ้นมาอีกหน่อย ซึ่งไส้ขนมไหว้พระจันทร์ชนิดนี้จะหมายถึงลูกชาย และในบางความเชื่อยังหมายถึงเงินทอง เนื่องจากรูปทรงของเกาลัดที่คล้ายกับก้อนเงินจีนในสมัยโบราณนั่นเอง
- ลูกพลัม สำหรับลูกพลัม หรือ ไป่จิว เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความหวัง ซึ่งลูกพลัมก็เป็นผลของดอกท้อที่มีความหมายถึงความอดทนที่ผลิดอกได้ท่ามกลางความหนาวเย็น และยังหมายถึงการเริ่มต้นอีกด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่าขนมไหว้พระจันทร์สมัยใหม่ยังมีไส้ที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์อีกด้วย ตั้งแต่ ไข่แดงเค็ม สับปะรด ชาเขียว ช็อกโกแลต และ ผลไม้ ไปจนถึง ไอศกรีม และอีกมากมาย นอกจากความสร้างสรรค์ด้านไส้แล้วยังมีขนมไหว้พระจันทร์ที่เป็นรูปแสตมป์น่ารัก ต่างจากแบบดั้งเดิิมที่เป็นลายหรือตัวอักษรจีนมงคลอีกด้วย ทางเลือกของไส้ขนมไหว้พระจันทร์อาจแตกต่างกันไปตามความชอบของภูมิภาคและรสนิยมของแต่ละบุคคล และทั้งหมดนี้ก็คือตำนานขนมไหว้พระจันทร์ รวมถึงความหมายของไส้ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ต่าง ๆ ที่ Shopee Blog นำมาฝากกันในคราวนี้ ซึ่งความเป็นมงคลต่าง ๆ ในขนมชิ้นเล็ก ๆ นี้นับว่าดีต่อใจในแบบที่ไม่ว่าจะซื้อมารับประทานเองหรือซื้อฝากผู้ใหญ่คนในครอบครัวก็เข้าท่าและดูดี โดยเฉพาะเมื่อเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่กำลังจะมาถึงแบบนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง