หนูแกสบี้ หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันว่า “Guinea Pigs” ซึ่งจัดเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับหนูตะเภาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาจากต่างประเทศซึ่งเหมาะสำหรับไว้เลี้ยงดูเล่น สำหรับประเทศไทยแกสบี้ถือเป็นหนู่ที่คนไทยรู้จักและนิยมมากกว่า 10 ปีด้วยรูปลักษณ์ที่มีขนาดพอเหมาะ เชื่องและเลี้ยงง่ายจึงกลายเป็นสัตว์ที่ทุกคนต่างพากันหลงรักซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับ “แกสบี้” ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ลักษณะนิสัย อาหาร ราคา วิธีเลี้ยงหนูแกสบี้และข้อควรระวังซึ่งจะน่าสนใจและน่าติดตามขนาดไหนมาดูกัน
หนูแกสบี้ จริงๆแล้วก็คือ สายพันธุ์เดียวกันกับหนูตะเภาที่บ้านเราเรียนกันมาก่อนนั่นเอง เพียงแต่ต่างประเทศได้นำสายพันธุ์ไปพัฒนาจนมีรูปร่างหน้าตาสวยงามต่างออกไปจากหนูตะเภาบ้านเรา หนูแกสบี้ หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่า กินนี่พิก (Guinea Pigs) มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ และถูกเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาในแถบยุโรป ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย เพราะด้วยบุคลิกที่มีเสน่ห์ บำรุงรักษาเลี้ยงดูก็ไม่ยุ่งยาก รูปลักษณ์ที่น่ารักโดยเฉพาะเวลาเดินและกินหงุบหงับและน้ำหนักที่เบา ทำให้พวกมันเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับครอบครัวและบุคคลทั่วไป ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกโลกของการเลี้ยงหนูแกสบี้ สำรวจต้นกำเนิด ข้อกำหนดในการดูแล และตอบคำถามที่พบบ่อย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ประวัติ และ ต้นกำเนิดอันน่าทึ่งของ หนูแกสบี้
หนูแกสบี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cavia porcellus ไม่ได้มาจากกินีและไม่ใช่หมูด้วย ชื่อของพวกเขามีสาเหตุมาจากเสียงแหลมและความเข้าใจผิดว่ามาจากกินี ในความเป็นจริง สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กที่กินพืชเป็นอาหารเหล่านี้มีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเปรู โบลิเวีย และเอกวาดอร์
เริ่มต้นมาจากการขุดพบซากฟอสซิลสัตว์ฟันแทะเมื่อประมาณ 57 ล้านปีซึ่งได้รับการวิวัฒนาการและพัฒนารูปร่างมาอย่างมากมายจนมาถึงยุค 20 ล้านปีก็เริ่มมีการพบต้นตระกูลของหนูแกสบี้ในประเทศอเมริกาใต้ (South America) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาของหนูแกสบี้หลากสายพันธุ์ โดยในอดีตพบว่าหนูชนิดนี้มักจะอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มในป่าและถ้ำประมาณ 10,000 ปีซึ่งชาวละตินอเมริกาเป็นกลุ่มแรกที่พบเจอซึ่งเรียกแกสบี้ว่า “เควี่ป่า” (Wild cavies) และเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาลก็พบหลักฐานว่าได้มีชาวอินคานำเควีป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงและใช้เนื้อเป็นอาหารในพิธีทางศาสนาและต่อมาชาวอินคาได้ตกเป็นอาณานิคมของอาณาจักรสเปนในช่วงศตวรรษที่ 16 จึงทำให้พ่อค้าชาวสเปนนำเควี่ป่าไปเลี้ยงในทวีปยุโรปและประเทศอังกฤษซึ่งได้มีการผสมคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีลักษณะที่สวยงามในช่วงปี 1600 จนกลายเป็นที่นิยมเลี้ยงในกลุ่มขุนนางชั้นสูง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้มีชาวอังกฤษเดินทางไปตั้งรกรากที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State) และได้นำหนูแกสบี้ไปพัฒนาสายพันธุ์จนนิยมเลี้ยงกันเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิด “สมาคมผู้เพาะพันธุ์หนูเควี่แห่งอเมริกา American Cavy Breeders Association (ACBA)” ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยควบคุมดูแลเกี่ยวกับหนูแกสบี้ในอเมริกา
จะเห็นได้ว่าหนูแกสบี้มีการเดินทางมาอย่างยาวนั้นทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัย การปรับปรุงสายพันธุ์ และ รูปลักษณ์ เป็นสัตว์เลี้ยงน่ารักที่นิยมมานานแล้วนั่นเอง
สายพันธุ์ ลักษณะ และนิสัย ของ หนูแกสบี้
หนูแกสบี้ มีหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะและรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความยาวขนดังนี้
แกสบี้สายพันธุ์ขนยาว
- Silky – จะมีลักษณะศีรษะกลม จมูกโต ขนตรงยาวซึ่งมีความนิยมเลี้ยงมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
- Coronet – คล้ายสายพันธุ์ Silky ต่างกันเพียงมีขวัญอยู่บริเวณศีรษะ 1 ขวัญ
- Peruvian – คล้ายสายพันธุ์ Silky ต่างกันเพียงขนบริเวณหน้าผากที่จะชี้ไปทางด้านหน้า
- Texel – คล้ายสายพันธุ์ Silky แต่จะมีขนหยิกลอน
- Marino – คล้ายสายพันธุ์ Coronet แต่จะมขนหยิกเป็นลอนและมีขวัญบริเวณศีรษะ 1 ขวัญ
- Alpaca – คล้ายสายพันธุ์ Peruvian แต่จะมีขนหยิกลอนทั้งลำตัว ขนบริเวณหน้าผากจะชี้ไปด้านหน้า
แกสบี้สายพันธุ์ขนสั้น
- America – ขนสั้นเรียบและขนชี้ไปทางด้านท้ายของลำตัวซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก
- Teddy – ขนสั้นและหยิกทั่วลำตัว
- Rex – คล้ายสายพันธุ์ Teddy ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากโซนยุโรป
- American crested – คล้ายสายพันธุ์ America แต่มีขวัญบริเวณศีรษะเป็นวงกลมสีขาวและสีบริเวณอื่นจะต่างกัน
- English crested – คล้ายสายพันธุ์ American crested ต่างกันเพียงขวัญจะเป็นสีเดียวกันกับบริเวณอื่น
- Abyssinian – ขนยาวไม่เกิน 1 นิ้วครึ่งและมีขวัญ 10 ขวัญบริเวณต่าง ๆ อาทิ ไหล่ ลำตัว และสะโพก
แกสบี้สายพันธุ์ไร้ขน
- Skinny – ไม่มีขนบริเวณลำตัว แต่จะมีหนวดปกติเหมือนหนูทั่วไปและอาจจะมีขนบ้างเล็กน้อยตรงปลายจมูก
อ้างอิง: สายพันธุ์หนูแกสบี้ จาก Rodentcare
ลักษณะนิสัยของหนูแกสบี้
ลักษณะโดยทั่วไปของหนูแกสบี้คือ ค่อนข้างเชื่องซึ่งมีน้อยกลุ่มมากที่จะแสดงนิสัยก้าวร้าวแต่ทั้งนี้ก็มิใช่ปัญหาเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกฝนได้ไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อแล้วมาหา หรือการฝึกถ่ายเป็นที่เป็นทาง สำหรับพฤติกรรมที่แสดงออกมามักจะบ่งบอกถึงสภาวะอารมณ์ถึงความรู้สึก ณ ขณะนั้นโดยสังเกตได้จากเสียงร้อง อาทิเช่น เมื่อกลัวจะมีการหวี๊ดร้อง หรือลักษณะท่าทางซึ่งการจะทราบว่าเจ้าแกสบี้รู้สึกเช่นใดขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูแกสบี้ของคุณร่วมด้วย
การดูแลหนูแกสบี้อย่างเหมาะสม
ที่อยู่อาศัย
หแกสบี้ต้องการกรงที่กว้างขวางและมีการระบายอากาศที่เหมาะสม Shopee มีกรงที่สะดวกสบายหลากหลายแบบซึ่งเหมาะสำหรับหนูแกสบี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรงถูกเก็บไว้ในบริเวณที่เงียบสงบและมีแสงสว่างเพียงพอ ห่างจากแสงแดดและกระแสลมโดยตรง
อาหาร
หนูแกสบี้ต้องการอาหารที่สมดุล ได้แก่ หญ้าแห้งสด ผักสด และอาหารเม็ดคุณภาพสูง อย่าลืมเช็คให้แน่ใจว่าได้จัดหาน้ำสะอาดและสะอาดให้พวกเขาอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลรักษาขน
หนูแกสบี้อาจจำเป็นต้องดูแลขนเป็นประจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แปรงขนเพื่อป้องกันการพันกัน และตัดเล็บตามต้องการ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
หนูแกสบี้เป็นสัตว์สังคมและเจริญเติบโตเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กๆ อย่าลืมใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงของคุณทุกวันเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ดีๆกัน
การดูแลสุขภาพ
การตรวจสุขภาพสัตว์แพทย์เป็นประจำถือเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของหนูแกสบี้ ระมัดระวังสัญญาณของการเจ็บป่วย เช่น น้ำหนักลด ความง่วง หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คำถามที่พบบ่อย: ข้อกังวลทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลหนูแก็สบี้
- ก. ถาม: สามารถเลี้ยงหนูแกสบี้สายพันธุ์ต่างๆ ไว้ด้วยกันได้หรือไม่
- ตอบ: ได้ คุณสามารถเลี้ยงแกสบี้หลายสายพันธุ์ไว้ด้วยกันได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าพวกมันเข้ากันได้ หากไม่แน่ใจ ในช่วงแรกต้องจับตาดูปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาและแยกพวกเขาออกหากมีการทะเลาะกันเกิดขึ้น
- ข. ถาม: ควรทำความสะอาดกรงหนูแกสบี้บ่อยแค่ไหน?
- ตอบ: ทำความสะอาดกรงอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เปลี่ยนผ้าปูที่นอนและขัดกรงเพื่อป้องกันกลิ่นและการสะสมของแบคทีเรีย
- ค. ถาม: หนูแกสบี้จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือไม่?
- ตอบ: ใช่ หนูแกสบี้ต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี จัดเตรียมพื้นที่ปิดที่ปลอดภัยให้พวกเขาวิ่งและเล่นได้ทุกวัน หรือเสริมวงล้อวิ่งเข้าไปในกรงให้เค้าวิ่งออกกำลังกาย
- ง. ถาม: หนูแกสบี้สามารถกินผักและผลไม้ได้หรือไม่?
- ตอบ: ได้ พวกเขาทำได้ เสนอผักและผลไม้สดหลากหลายชนิดเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของพวกเขา แต่หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มีน้ำตาลหรือแคลเซียมสูง
- จ. ถาม: จะทำอย่างไรถ้าหนูแกสบี้หยุดกิน?
- ตอบ: หากหนูแกสบี้ของคุณไม่ยอมกินอาหาร นั่นอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยได้ ปรึกษาสัตวแพทย์ทันทีเพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
อุปกรณ์และเครื่องใช้ของ หนูแกสบี้
เพื่อให้การดูแลหนูแกสบี้ของคุณดีที่สุด คุณควรเตรียมอุปกรณ์เสริมและของใช้ดังต่อไปนี้
- อาหารหนูแกสบี้: เลือกจากอาหารหนูแกสบี้ หญ้าทีโมธี หรือ หญ้าสด ให้กินผักผลไม้สลับกันไปบ้าง แต่ถ้าหากให้มั่นใจและง่ายต่อการจัดการก็ซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับหนูแกสบี้ให้ได้ อายุในการจัดเก็บโดยส่วนใหญ่เมื่อเปิดถุงแล้วจะต้องใช้ให้หมดภายใน 14 เดือน (1 ปี 2 เดือน) หากให้ผักอาจเน้นที่ผักใบเขียว หากให้ หญ้าแห้ง หรือ อาหารเม็ดที่ทำจากหญ้าแห้งก็ให้เป็นมื้อขนมได้แต่ไม่ควรให้เป็นมื้อหลัก
- ขนมหนูแกสบี้: ขนมคุณภาพสูงสำหรับแกสบี้ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดเพื่อให้แกสบี้ของคุณมีความสุข เช่น แซลมอนอบแห้ง ไก่ฉีก ชีสอัดเม็ด ผักรวมอบแห้ง เยลลี่โยเกิร์ต
- กรงหนูแกสบี้: ค้นหากรงที่กว้างขวางและสะดวกสบายซึ่งเหมาะสำหรับหนูแกสบี้ทุกสายพันธุ์และขนาด
- อุปกรณ์ตัดแต่งขน: ค้นพบแปรง กรรไกรตัดเล็บ และอุปกรณ์ดูแลขนเพื่อให้หนูแกสบี้ของคุณดูดีที่สุด
- ของเล่นและที่ซ่อน: ให้หนูแกสบี้ของคุณมีส่วนร่วมทั้งกายและใจด้วยของเล่น อุโมงค์ และที่ซ่อน
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ: ตุนรายการดูแลสุขภาพที่จำเป็น เช่น ผ้าปูที่นอน วิตามินเสริม และยารักษาโรคเพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีความเป็นอยู่ที่ดี
หนูแกสบี้ราคาเท่าไหร่
สำหรับหนูแกสบี้ราคาจะเริ่มต้นที่อยู่ที่ประมาณ 1,500 – 10,000 บาทซึ่งขึ้นอยู่กับสีสันและโครงสร้างของแกสบี้ตัวนั้น ๆ
วิธีเลี้ยงหนูแกสบี้
วิธีการเลี้ยงหนูแก๊สในแบบฉบับย่อ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ บอกเลยว่าการเลี้ยงหนูแกสบี้นั้นไม่ยากเลย
- ต้องให้อยู่ในพื้นที่กรงแห้งและสะอาดรวมไปถึงการเปลี่ยนผ้าปูอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้พื้นกรงต้องไม่ขรุขระ หรือหยาบต้องเรียบสนิทเป็นแนวเดียวกัน
- อากาศต้องถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิไม่ร้อนจัดจนเกินไปซึ่งสามารถโดนแดดได้แต่ไม่ใช้การนำวางตากแดด
- อาหารต้องสดใหม่และน้ำดื่มต้องสะอาดรวมไปถึงต้องได้รับวิตามิน C เป็นอาหารเสริมในทุก ๆ วัน
- ควรมีการตัดเล็บของแกสบี้ให้สั้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกา หรือข่วนได้
- หากคุณมีอาการป่วยไม่ควรเข้าใกล้เพราะจะทำให้แกสบี้ติดหวัดของคุณได้
- หากมีการเลี้ยงแกสบี้เพิ่มควรแยกกรงเพื่อป้องกันไม่ให้แกสบี้ตัวใหม่นำโรคมาติดแกสบี้ตัวเดิมและที่สำคัญคือคุณต้องล้างมือทุกครั้งก่อนไปจับแกสบี้อีกตัว
- หากพบอาการผิดปกติใด ๆ เช่น ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ มีน้ำมูก น้ำตา ท้องเสีย ขนร่วงมาก ขนหยาบกระด้าง น้ำหนักลดหรือตาเป็นฝ้าแนะนำให้นำไปพบสัตวแพทย์
บทสรุป เตรียมตัวได้ง่ายๆ งบไม่สูง ก่อนเลี้ยง หนูแกสบี้
ก็จบลงไปแล้วกับ “หนูแกสบี้” ไซซ์มินิสุดน่ารักที่เหมาะกับการนำไปเลี้ยงไว้ดูเล่นแก้เหงาที่บ้านซึ่งเราได้นำเนื้อหามาฝากตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ลักษณะนิสัย อาหาร ราคา และวิธีการเลี้ยงซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราได้คัดสรรมาเป็นอย่างดีเพื่อคุณผู้อ่านทุกคนซึ่งหวังว่าจะถูกอกถูกใจให้ได้ลองกลับไปพิจารณาเลือกซื้อเจ้าหนูตัวเล็กมาไว้เล่นที่บ้านเพื่อเป็นเพื่อนเล่นยามคุณเหงาและอย่าลืมใส่ใจน้องแกสบี้ด้วยการเลือกอาหารที่ดีและรักษาความสะอาดน้องเป็นประจำ นอกจากแกสบี้แล้วยังมีหนูชินชิล่าอีกชนิดหนึ่งที่น่าเลี้ยงสุด ๆ ไปเลย