หากพูดถึงสมุนไพรไทยโบราณที่สุด ชื่อของ “ใบย่านาง” จะต้องติดหนึ่งในสิบสมุนไพรไทยพื้นบ้านอันเก่าแก่อย่างแน่นอน โดยใบย่านางเป็นพืชท้องถิ่นที่หาและปลูกได้ง่าย มีสรรพคุณทางยาและโภชนาการบำรุงร่างกาย และกลายมาเป็นยารักษาโรคอีกหนึ่งทางเลือกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านหลาย ๆ ท่านที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจจะยังไม่รู้จัก ประโยชน์และสรรพคุณของใบย่านาง ซึ่งในบทความนี้เราจะขอนำเสนอข้อมูลดีๆเพื่อเป็นตัวช่วยให้กับคุณผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับพืชสมุนไพรพื้นบ้านโบราณ ชนิดนี้ได้ดียิ่งขึ้น
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ใบย่านาง ชื่อวิทยาศาสตร์
ใบย่านาง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Tiliacora triandra (Diels)
“ใบย่านาง” คืออะไร
ใบย่านางมีชื่อภาษาอังกฤษอ่านแบบตรงตัวว่า Yanang leaves เป็นพืชสมุนไพรอยู่คู่ชาวไทยมาอย่างยาวนาน เชื่อได้ว่ารุ่นปู่ย่าตายายของเรา จะต้องคุ้นเคยกับพืชสรรพคุณชนิดนี้ เพราะมีประโยชน์มากมายและหารับประทานหรือปลูกได้ง่ายตามบ้านเรือน มักนำมาปรุงอาหารพื้นบ้านของไทย เพราะมีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำมาใส่ในซุปหน่อไม้ แกงอ่อม แกงขนุน หรือกินเคียงกับของเผ็ด ซึ่งเราจะขอบอกเล่าสรรพคุณของใบย่านาง ให้ทุกท่านได้เข้าใจอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
ลักษณะของใบย่านาง
ใบย่านาง เป็นสมุนไพรไทย ปลูกง่าย ขึ้นอยู่ตามป่าชื้นแถบภาคอีสานและภาคเหนือของประเทศไทย ชาวบ้านในอดีตนิยมปลูกเป็นพืชผักสวนครัวในบ้าน เพราะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด โดยลักษณะของใบย่านางนั้นเป็นพืชตระกูลไม้เลื้อย ไม่สามารถขึ้นเดี่ยว ๆ ได้ จึงต้องเกาะเกี่ยวไปกับไม้ยืนต้นประเภทอื่น ๆ โดยจุดสังเกตของใบย่านาง คือสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมและมีรูปไข่ มีความเงาสะท้อนออกมาอย่างเห็นได้ชัด มีขนอ่อน ๆ ตามกิ่งก้าน เวลาออกดอกจะมีสีเหลืองขนาดเล็ก สังเกตและพบเจอได้ง่าย เนื่องจากเป็นพืชล้มลุก ทนทานและปลูกง่าย
สรรพคุณ ใบย่านางและประโยชน์
Credit: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้วยโครงสร้างของใบย่านางที่มีสีเขียวเข้ม เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและยาบำรุงร่างกาย จำพวกอัลคาลอยด์ แทนนิน สารกลุ่มต้านอนุมูลอิสระ และเบต้าแคโรทีนเช่นเดียวกับวอเตอร์เครส ทำให้ใบย่านางเป็นอีกสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่นิยมนำใบมาต้มดื่มกัน โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคที่สำคัญดังนี้
สรรพคุณสำหรับระบบผิวหนัง
ใบย่านาง มีสรรพคุณโดดเด่นต่อระบบผิวพรรณของมนุษย์ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง จึงมีส่วนช่วยรักษาโรคทางผิวหนังมากมาย ทั้งโรคงูสวัด โรคเริม แก้อาการคัน และพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย นอกจากนี้ยังช่วยชะลอวัยและริ้วรอยบนใบหน้าให้มาเยือนช้าลงคล้ายการทานคอลลาเจน ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตกได้ง่าย อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยลดตุ่มคัน สิวผด หรือหนอง หากนำน้ำใบย่านางผสมกับดินสอพองมาทาเป็นประจำ
สรรพคุณป้องกันโรคภัยต่าง ๆ
ใบย่านาง เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยาสมุนไพรทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง โดยมีการอ้างว่าสามารถช่วยทำให้ก้อนมะเร็งเล็กและฝ่อลงได้สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และมีส่วนช่วยป้องกันอาการเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรคภูมิแพ้ อาการปวดตึงตามกล้ามเนื้อ อาการปวดจากโรคเกาต์ อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมายอมรับในการรับประทานน้ำใบย่านางเพื่อต้านโรคร้ายแรงต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ใบย่านางจึงยังเป็นสมุนไพรทางเลือกจากธรรมชาติบำบัดเท่านั้น
สรรพคุณช่วยรักษาระบบทางเดินอาหาร
ด้วยสารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในใบย่านางเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ใบย่านางเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ชาวบ้านนิยมดื่มเวลาปวดท้อง เนื่องจากท้องเสียหรืออาหารไม่ย่อย ซึ่งในปัจจุบันมีงานวิจัยกล่าวอ้างว่าใบย่านางมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ และอาการกรดไหลย้อนต่าง ๆ ได้ ทำให้ใบย่านางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับผู้มีปัญหาเรื้อรังจากระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเป็นยารักษาโรคจากธรรมชาติ 100 %
โทษของใบย่านางและข้อควรระวัง
ในปัจจุบันสรรพคุณของใบย่านางยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจน เช่นเดียวกับโทษของมันที่ยังไม่มีการตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรถึงโทษภัยของการรับประทานน้ำใบย่างนางเช่นกัน อย่างไรก็ตามการรับประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใด มากเกินความจำเป็นและต่อเนื่องยาวนานย่อมไม่เกินผลดีต่อร่างกายทั้งสิ้น โดยใบย่านางมีส่วนประกอบของวิตามินเอ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่สูง ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานหนัก ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาหรืออาการป่วยจากโรคไตเรื้อรัง ไม่ควรเลือกรับประทานใบย่านาง รวมทั้งเด็กและสตรีมีครรภ์ก็ไม่ควรบริโภคเช่นกัน นอกจากนี้หากรับประทานน้ำใบย่านางเพื่อรักษาโรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรง อย่างโรคเบาหวาน โรคมะเร็ว ควรปรึกษาและอยู่ในการควบคุมจากแพทย์โดยใกล้ชิด
ผลิตภัณฑ์จากใบย่านาง
ใบย่านาง เรียกได้ว่า เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาและเป็นพืชสมุนไพรไทยโบราณ ที่หารับประทานได้ง่ายในสมัยก่อน มักขึ้นตามต้นไม้ใหญ่และปลูกได้ง่ายเกือบทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมเมืองในปัจจุบันนั้นอาจหารับประทานใบยานางแบบสดยากสักหน่อย แต่สิ่งนี้สามารถชดเชยได้ด้วยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป นั่นก็คือน้ำใบย่านางสกัดเย็น ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบบรรจุขวดพร้อมดื่ม ซึ่งหาซื้อได้ง่ายแต่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพและได้รับการยอมรับจากองค์กรที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้หากใครกังวลเรื่องความสะอาด หรือความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์น้ำใบย่านาง สามารถทำน้ำใบย่านางเองได้ ด้วยกรรมวิธีง่าย ๆ ดังนี้
Credit: freepik
ใบย่านาง เรียกได้ว่า เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาและเป็นพืชสมุนไพรไทยโบราณ ที่หารับประทานได้ง่ายในสมัยก่อน มักขึ้นตามต้นไม้ใหญ่และปลูกได้ง่ายเกือบทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมเมืองในปัจจุบันนั้นอาจหารับประทานใบยานางแบบสดยากสักหน่อย แต่สิ่งนี้สามารถชดเชยได้ด้วยผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป นั่นก็คือน้ำใบย่านางสกัดเย็น ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบบรรจุขวดพร้อมดื่ม ซึ่งหาซื้อได้ง่ายแต่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพและได้รับการยอมรับจากองค์กรที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้หากใครกังวลเรื่องความสะอาด หรือความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์น้ำใบย่านาง สามารถทำน้ำใบย่านางเองได้ ด้วยกรรมวิธีง่าย ๆ ดังนี้
วิธีทำน้ำใบย่านาง
- เตรียมวัตถุดิบสำคัญคือใบย่านาง 10-20 ใบ เลือกที่ใบสีเขียวสดและยังดูเป็นใบอ่อน จากนั้นล้างให้สะอาดและตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- วิธีการทำน้ำใบย่านางสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการต้มใส่หม้อและกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือจะนำไปปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียดพร้อมกับกรองกากทิ้ง ซึ่งทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่ารับประทานผักง่ายหรือยาก เนื่องจากน้ำใบย่านางจะมีกลิ่นเหม็นเขียวมาก การต้มจะช่วยให้รสชาติเจือจางลงเล็กน้อย
และสำหรับบางคนที่รู้สึกว่าการรับประทานใบย่านางแล้วรู้สึกว่ากินยากมากเกินไป อาจใส่ส่วนผสมอื่น ๆเพิ่มเติมได้ เช่น ใบเตย ใบบัวบก หญ้าหวาน งฯลฯ ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยดับรสชาติเหม็นเขียวทำให้รับประทานง่ายขึ้น
ดังนั้นสำหรับใครที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% น้ำใบย่านางคือคำตอบ เพราะสามารถหาซื้อหรือทำเองได้โดยง่าย มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย มีสรรพคุณหลากหลายเป็นต้นตำรับยาอายุวัฒนะแต่โบราณ เพราะมีคุณสมบัติช่วยป้องกันและรักษาร่างกาย อีกทั้งปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบ 100%
แหล่งข้อม็ูล : baania, en.wikipedia, summacheeva
Feature Image Credit : freepik