“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” วาทะที่เป็นอมตะของ ‘อาจารย์ศิลป์ พีระศรี’ บุคคลสำคัญที่มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย ที่ใคร ๆ หลายคนรู้จักกันดี จนมีวันสำคัญคือ วันศิลป์ พีระศรี เพราะบุคคลท่านนี้เป็นทั้งผู้บุกเบิกงานด้านศิลปะ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม หรือมหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน
นอกจากนี้แล้วผลงานที่ประจักษ์และเป็นที่จดจำในไทยนั้นมีมากมาย และเนื่องจากในวันที่ 15 กันยายนของทุกปี ได้มีการกำหนดให้เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อรำลึกถึงท่านและผลงานของท่าน เราจะพาทุกคนไปรู้จักศิลป์ พีระศรี ประวัติของบุคคลสำคัญแห่งวงการศิลปะท่านนี้ พร้อมกับผลงานต่าง ๆ เพื่อต้อนรับวันศิลป์ พีระศรีที่กำลังจะมาถึงกัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ศิลป์ พีระศรี ประวัติบุคคลสำคัญของวงการศิลปะไทย
Cr : shutterstock
ทุก ๆ ปีในวันศิลป์ พีระศรี เราอาจจะเคยได้ยินคนพูดถึงวาทะ “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” ของศิลป์ พีระศรีกันมาตลอด เดิมเป็นวลีจากภาษาละตินที่ว่า Ars longa, Vita brevis ที่ได้กลายมาเป็นคำสอนของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี รวมถึงเป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรจวบจนปัจจุบัน วาทะนี้ได้สะท้อนตัวตน ผลงาน และทัศนคติของท่านไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งศิลป์ พีระศรี ประวัตินั้นมีความน่าสนใจอย่างมาก และเพื่อระลึกถึงความสำคัญของท่านในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน เราจะมาเล่าถึงประวัติศิลป์ พีระศรี ผลงาน และคุณูปการต่าง ๆ ที่ท่านได้ทิ้งไว้ให้กับประเทศไทยกัน
ศิลป์ พีระศรี ประวัติของท่านนั้น เริ่มจากแต่เดิมท่านชื่อว่า Corrado Feroci (คอร์ราโด เฟโรซี) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี ในปี 1892 (พ.ศ. 2435) ท่านมีความสนใจในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เพราะเกิดและเติบโตในเมืองฟลอเรนซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งศิลปะของอิตาลี จบการศึกษาจาก Accademia di Belle Arti di Firenze ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้น ได้มีความรอบรู้ในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปะวิจารณ์ และปรัชญาศิลปะ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านประติมากรรมและจิตรกรรม
หลังจากนั้นได้เป็นศาสตราจารย์และสอนศิลปะแขนงประติมากรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457-2466 ศิลป์ พีระศรี ผลงานที่โดดเด่นในช่วงเวลานั้นเลยก็คือ สร้างอนุสาวรีย์ทองสัมฤทธิ์ให้แก่ทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เมือง Portoferraio และในวันศิลป์ พีระศรีนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักเรื่องราวประวัติที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและผลงานทั้งหมดของท่านกันเลย
ศิลป์ พีระศรี ประวัติที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
Cr : shutterstock
ในปี พ.ศ. 2465 อาจารย์ศิลป์ พีระศรีได้เข้าร่วมการแข่งขันการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ที่จัดโดยรัฐบาลไทย และเป็นผู้ชนะได้รับเลือกจากผู้แข่งขัน 200 คน ในเวลาเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์ถึงรัฐบาลอิตาลีว่าต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในด้านประติมากรรมศิลปะตะวันตก เพื่อให้มาฝึกฝนช่างฝีมือชาวไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานศิลปะไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ และสามารถสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ศิลป์ พีระศรีจึงได้รับการคัดเลือกให้มาปฏิบัติงานในสยาม ทำให้การมาถึงของศิลป์ พีระศรีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาศิลปะไทย จนมีวันศิลป์ พีระศรีให้เราได้ระลึกถึงกันในวันนี้นั่นเอง
ศิลป์ พีระศรี ประวัติในเมืองไทยนั้น ได้สร้างคุณูปการเอาไว้ รวมถึงศิลป์ พีระศรี ผลงานที่น่าจดจำก็มากมาย โดยเริ่มต้นจากการรับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ขณะอายุ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อให้กับนักศึกษาแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469 ก่อนที่ทางรัฐบาลไทยได้ขอให้จัดทำตำรา โดยมีรูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป เพื่อใช้ในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ก่อนที่จะกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน
โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรม และเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย ท่านได้รับสัญชาติไทยในปี พ.ศ. 2489 และเปลี่ยนชื่อจากคอร์ราโด เฟโรซี มาเป็นศิลป์ พีระศรีที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ และมีวันศิลป์ พีระศรีให้เราได้ระลึกถึงท่านอีกด้วย
ชวนรู้จักศิลป์ พีระศรี ผลงานอันโดดเด่นในสยามประเทศ
Cr : shutterstock
วันศิลป์ พีระศรีที่ใกล้จะมาถึงนี้นั้น นอกจากเราจะพาทุกคนไปรู้จักศิลป์ พีระศรี ประวัติความเป็นมาตั้งแต่กำเนิดจนถึงมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยในฐานะอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ทุกคนเคารพแล้วนั้น เรายังจะพาทุกคนไปรู้จักศิลป์ พีระศรี ผลงานต่าง ๆ ที่โดดเด่นอย่างมากที่ได้สร้างไว้ในประเทศไทยอีกด้วย เพื่อรำลึกถึงวันศิลป์ พีระศรีกันนั้น มารู้จักผลงานอันโดดเด่นในการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านกัน ซึ่งอนุสาวรีย์ที่รู้จักกันดีนั้น มีดังนี้
- พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2475) ประดิษฐานอยู่ที่สะพานพุทธ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้งกรุงเทพมหานครและราชวงศ์จักรี เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี
- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (พ.ศ. 2477) ตั้งอยู่กลางเมืองโคราช สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยที่รวบรวมชาวบ้านต่อต้านกองทัพเจ้าอนุวงศ์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ
- อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2482) ตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน สร้างเพื่อรำลึกถึงการรัฐประหาร 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งทำให้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญ
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (พ.ศ. 2484) ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่ข้าราชการและพลเรือนไทยที่เสียชีวิตในสงครามฝรั่งเศส-ไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2483-2484
- พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2485) ประดิษฐานอยู่ในสวนลุมพินี เป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้เชิญศิลป์ พีระศรีมายังประเทศไทย
- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2497) ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณวงเวียนใหญ่ ถนนประชาธิปก สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ผู้กอบกู้อาณาจักรเป็นปึกแผ่นหลังกรุงศรีอยุธยาแตก และก่อตั้งกรุงธนบุรีขึ้นมาได้
วันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายนของทุกปี วันบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย
ศิลป์ พีระศรี ประวัติได้กล่าวถึงไว้ว่า ท่านได้เสียชีวิตในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 จากภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุรวมได้ 69 ปี และแม้ว่าอาจารย์ศิลป์ พีระศรีจะได้จากไป แต่ก็ได้ทิ้งสถาบันที่อุทิศตนเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะไทยอย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้ผลิตศิลปินไทยรุ่นต่อรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดไปจนถึงอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงของท่านมากมายในประเทศไทย กลายเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู และจากคุณูปการมากมายของศิลป์ พีระศรี ประวัติที่บันทึกไว้ ทำให้ท่านยังคงเป็นที่จดจำแก่ทุกคน ดังวาทะที่ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” เพราะแม้ตัวท่านจะจากไปแล้ว แต่ผลงานของท่านที่มีอยู่นั้นได้บอกเล่าเรื่องราวทุกอย่างได้อย่างชัดเจน
และวันที่ 15 กันยายน ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันศิลป์ พีระศรี เพื่อให้เราทุกคนชาวไทยได้รำลึกถึงสิ่งที่ท่านได้ให้ไว้กับสังคมไทยมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะอาจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้นได้สร้างคุณูปการให้กับวงการศิลปะไทยไว้มากมาย ซึ่งในวันศิลป์ พีระศรีของทุกปี เราก็จะได้ระลึกถึงบุคคลสำคัญท่านนี้ ศิลป์ พีระศรี ผลงานที่สร้างไว้ให้กับประเทศไทย ไปจนถึงเรื่องราวศิลป์ พีระศรี ประวัติความเป็นมาที่น่าเรียนรู้ ที่สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศิลป์ พีระศรี ผลงานศิลปะไทยต่าง ๆ ของเขานั่นเอง โดยตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร และด้วยผลงานมากมายที่ควรค่าแก่การจดจำ ทำให้หลายคนยกย่องให้อาจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย และระลึกถึงท่านในวันศิลป์ พีระศรี ในทุก ๆ ปีอีกด้วย
สำหรับใครที่ชอบอ่านเรื่องราวของบุคคลสำคัญนั้น ก็สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น วันชาติอเมริกา ได้เลยที่ Shopee Blog หรือหากชื่นชอบการเดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพฯ นั้น เราก็มีมาแนะนำเช่นเดียวกัน และหากต้องการช้อปสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก เช่น พวงมาลัยดอกไม้สด ก็เข้าไปเลือกช้อปได้เลยที่ Shopee
อ้างอิง: