เปิดปี 67 กันแล้วก็มาต้องมาเช็คความพร้อมไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ออฟฟิศ หนุ่มสาวโรงงาน ชาวโรงแรม พ่อค้าแม่ขาย หรือผู้ประกอบการต่าง ๆ เพราะใกล้ถึงเวลาของการยื่นภาษีที่จะหมดเขตภายใน 31 มีนาคมนี้แล้วซึ่งในปัจจุบันมี วิธียื่นภาษีออนไลน์ กันแบบสะดวกสบาย แค่กรอกรายละเอียด หรืออัพโลหดไฟล์เรื่องก็ส่งไปสรรพากรเพื่อตรวจสอบแล้วทันที ซึ่งขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ 2567 มีอะไรที่ต้องรู้กันบ้างไปติดตามกันเลย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ทำความรู้จักกับประเภทของภาษี
เริ่มกันก็พาไปทำความรู้จักกับประเภทภาษีกันแบบคร่าว ๆ ว่าภาษีมีกี่ประเภทโดยที่จะพูดในวันนี้ก็ขอแบ่งภาษีออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ภาษีทางตรง
สำหรับภาษีทางตรง จะเป็นภาษีที่ได้มีการจัดเก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินทั่วไป
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- ภาษีทางอ้อม
สำหรับภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งที่เราคุ้นหูกันว่า VAT นั่นเอง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าและบริการโดยทำการบวกลงไป 7%
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยมาจากการเก็บกิจการเฉพาะอย่าง หรือผู้ประกอบการธุรกิจเฉพาะ
- อากรแสตมป์
Cr: unsplash
เงินได้บุคคลธรรมดาเท่าไรถึงต้องจ่ายภาษี
เป็นคำถามที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับการชำระภาษีโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ หรือกลุ่ม First Jober เกี่ยวกับการชำระภาษีหากมีเงินได้ โดยขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินได้ ดังนี้
เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้ซึ่งเกิดมาจากหน้าที่การงานที่ทำ กิจการที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน อันได้แก่ เงิน ทรัพย์สินประโยชน์อื่นใดที่สามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเงินภาษีที่ผู้จ่ายออกแทน หรือเครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนดโดยแบ่งเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบเสียภาษี
- บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายที่มีเงินพึงประเมินเกิน
ประเภทเงินได้ | โสด | สมรส |
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว | 120,000 | 220,000 |
เงินได้ประเภทอื่น | 60,000 | 120,000 |
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
8 ประเภทเงินได้พึงประเมิน
- เงินได้ประเภทที่ 1
- เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จบำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 2
- เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ส่วนลด เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 3
- เงินอันได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- เงินได้ประเภทที่ 4
- เงินได้จาก ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 5
- เงินได้จากผลประโยชน์อื่นอันได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
- เงินได้ประเภทที่ 6
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้
- เงินได้ประเภทที่ 7
- เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
- เงินได้ประเภทที่ 8
- เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1 – 7
ช่องทางการยื่นภาษีออนไลน์
สามารถติดต่อขอยื่นเอกสารผ่านทาง Internet ทาง www.rd.go.th หรือทาง RD Smart Tax Application ทางโทรศัพท์มือถือโดยมีขั้นตอน ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/ และเลือก “ยื่นแบบออนไลน์” โดยหากหากท่านใดยังไม่มีบัญชีให้กด “สมัครสมาชิก” ก่อน
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้นให้เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากรผ่านการกรอกเลขบัตรประชาชนในช่องชื่อผู้ใช้งาน พร้อมกรอกรหัสผ่านที่กำหนดจากนั้นให้กด “ตกลง” จากนั้นยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP 6 หลักผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียน
- เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91 จากนั้นให้อ่านละเอียดอย่างถี่ถ้วนและยอมรับข้อตกลงรวมถึงเงื่อนไขในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรและกด “เข้าสู่ระบบ” และเลือก “ยื่นแบบ” ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีโดยทำการกรอกข้อมูลตามที่ระบบร้องขอ อาทิ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ จากนั้นเลือกสถานะ และกด “ถัดไป”
- กรอกเงินได้ กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยนำข้อมูลมาจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราทำงานอยู่) ทั้งนี้สำหรับคนที่เปลี่ยนที่ทำงานระหว่างปีให้ขอหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) กับที่ทำงานเก่าเพื่อนำมากรอกข้อมูลยื่นภาษีเงินได้
- กรอกค่าลดหย่อนกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF-RMF และเงินบริจาค เป็นต้น หลังจากกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”
สามารถดูรายละเอียดรายการลดหย่อนได้ที่ www.rd.go.com
วิธียื่นภาษีออนไลน์ อาจจะสร้างความกังวลให้กับผู้เริ่มต้นยื่นภาษีแต่ด้วยในปัจจุบันมีช่องทางในการยื่นทั้งยื่นที่สรรพากรโดยตรง ส่งทางไปรษณีย์และยิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้นที่สามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วซึ่งขั้นตอนก็ไม่ได้ซับซ้อนแค่ลงทะเบียน ยืนยันตัวตน เลือกยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ กรอกข้อมูล กรอกเงินได้ กรอกรายการลดหย่อน เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้นทำได้ง่าย ๆ สะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ต้องการซื้อซองไปรษณีย์เพื่อยื่นภาษีให้สรรพากรโดยตรง ที่ Shopee ก็มีจำหน่ายเพียบ และใครที่ต้องการอ่านบทความสาระดี ๆ แบบนี้เพิ่มอีก เช่น ซื้อรถมือสอง ต้องเสีย “ภาษี” หรือไม่ สามารถติดตามอ่านได้ที่ Shopee Blog