หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
7 ความเชื่อเกี่ยวกับฝนในไทย
ฝนมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและศาสนาที่สำคัญในประเทศไทยและที่อื่นๆมาตั้งแต่การนาน ความเชื่อ กับ ฝน จึงเป็นสิ่งที่มีเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก เพราะก่อนหน้านี้ฟ้าฝนถือว่าไม่สามารถรู้ เข้าใจ และพยากรณ์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าเราสงสัยว่าแล้วแต่ละพื้นที่มีความเชื่อเกี่ยวกับฝนว่าอย่างไรบ้างและมีความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับฝน ก็ไปดูกันเลย เริ่มต้นกันที่ความเชื่อเกี่ยวกับฝน โดยเฉพาะการขอฝน-ไล่ฝน ในไทย
1. “ปักตะไคร้ ไล่ฝน”
การปักตะไคร้ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการไล่ฝนที่มีมานานและโด่งดังในไทย เราไม่อาจทราบได้ว่าความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่แต่หลักการก็คือ ให้สาวพรหมจรรย์ (ผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์) นำตะไคร้ไปให้ยอดปลายตะไคร้ปักลงดิน และส่วนโคนรากตะไคร้ชี้ขึ้นฟ้า เป็นการขอร้องอ้อนวอนต่อพระพิรุณที่เป็นเทพดูแลเรื่องฟ้าฝน ทำให้ฝนหยุดตกในบริเวณที่ปักตะไคร้ได้ เชื่อกันว่าต้องใช้ตะไคร้เป็นจำนวนเลขที่ เช่น 5 หรือ 7 ต้น โดยสาเหตุที่ทำให้ต้องปักตะไคร้กลับหัวลงดิน เชื่อกันว่าเพราะโดยปกติแล้วการเพาะปลูกต้องให้รากของพืชลงดิน แต่การปักกลับหัวนั้นผิดธรรมชาติจึงทำให้เทพไม่พอใจและสั่งให้ฝนหยุดตกลงมา จึงเรียกได้ว่าเป็นการไล่ฝนได้อย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเชื่อในการให้สาวพรหมจรรย์เป็นคนปักตะไคร้ จึงทำให้เกิดการล้อเลียนเสียดสี หรือคุมคามคนรู้จักเพศหญิงได้ ฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ แต่ก็ควรระมัดระวังในการพูดคุย เพราะสังคมปัจจุบันส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียม ไม่เหยียดเพศ และไม่คุมคามโดยวาจามากขึ้นแล้ว
2. “เทศกาลบั้งไฟบุญบั้งไฟ เรียกฝน”
เป็นประเพณีที่ดังในแถบอีสานหรือตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เทศกาลนี้จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ในช่วงเทศกาลผู้เข้าร่วมจะปล่อยบั้งไฟขึ้นเองขึ้นสู่ท้องฟ้าซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการบูชา ‘เทพวัสสกาลเทพบุตร’ หรือ ‘พญาแถน’ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลฝนและทำให้พิชพันธ์เจริญงอกงาม ดังนั้นจึงจุดบั้งไฟเพื่อเรียกฝนสำหรับฤดูปลูกข้าวที่กำลังจะมาถึงได้
3. “แห่นางแมว ขอฝน”
เอาแมวตัวเมียใส่ลอบดักปลา (ตะเหลว) หรือเข่งที่มีฝาปิด แล้วแห่ไปตามหมู่บ้าน พร้อมกับมีการกล่าวคำเซิ้งไปด้วย และสาดน้ำใส่แมวเพื่อให้เทวดาเกิดความเห็นใจ และประทานฝนกับมนุษย์ แต่ปัจจุบันคนมีการเรียนรู้และตระหนักว่าพิธีพรรมนี้เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จึงใช้ตุ๊กตาแมวแทนแล้ว ดังนั้นทาสแมวก็สบายใจได้เลย
4. “คาถาปลาช่อน ขอฝน”
การขอฝนด้วยคาถาปลาช่อนเป็นความเชื่อเกี่ยวกับฝนของชาวพื้นเมืองแถบอีสาน พบความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยกวับฝนนี้ได้ที่โคราชหรือจังหวัดนครราชสีมา พิธีจะจัดในช่วงหน้าฝนเช่นเดือนก.ค. โดยชาวบ้านจะขุดบ่อเล็กๆเอาไว้และใส่ปลาช่อนลงไป และนิมนต์พระสงฆ์มาสวดบดสวดคาถาปลาช่อนเพื่อขอฝน ความเชื่อว่าจะสำเร็จมั้ยคือดูว่าระหว่างสวดหากมีปลากระโดดขึ้นมาเชื่อว่าฝนจะตกภายใน 3-5 วัน พิธีกรรมนี้ที่มีมาจากว่า ในอดีตชาติพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพญาปลาช่อนมาก่อน ตอนนั้นได้มีการขอฝนจากพระอินทร์เพื่อบันดาลให้ฝนตกเพื่อให้เหล่าบริวารสัตว์น้ำรอดตายจากน้ำแล้งในขณะนั้น ดังนั้นชาวบ้านจึงเชื่อในการนำปลาช่อนมาทำพิธี เป็นความเชื่อของชาวบ้านนาตะกุดที่สืบทอดกันมานานแล้ว
5. “ปั้นปลักขิก ปั้นดินเหนียว ขอฝน”
ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จะมีความเชื่อว่า หากปั้นดินเหนียวเป็นรูปปลัดขิก หรือปั้นเป็นรูปหญิงชายเปลือยกาย ทำพิธีกลางทุ่งนา จะสามารถสวดมนต์ขอฝนได้ และเมื่อฝนตกดังที่ตั้งใจก็ทุบรูปปั้นทิ้ง
6. “แห่พระอุปคุต ขอฝน”
พูดถึงประเพณีบูชาพระอุปคุตเรายกการจัดงานมาให้จากสองพื้นที่ หนึ่งคือที่จังหวัดนครพนม จะมีประเพณีงานนมัสการองค์พระธาตุพนมประจำปีในช่วงหน้าร้อน ซึ่งจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ถึง 9 วัน 9 คืน ทำให้มีคนเดินทางมาร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก พอมีคนจำนวนมากจึงเกิดมีประเพณีต่อมาคือ ประเพณีอัญเชิญพระอุปคุต หรือ แห่พระอุปคุต พระมหาเถระผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบมารที่จะมาแผ้วพาล ซึ่งจะจัดขึ้นราวเดือนมีนาคมเช่นกัน เชื่อกันว่าการได้ร่วมประกอบพิธีสำคัญดังกล่าว จะมีชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข ปลอดภัย ด้วยบุญญาภินันท์ขององค์พระธาตุพนมและพระอุปคุตเถระนั่นเอง
แต่ที่กาฬสินธุ์จะมีการดำเนินประเพณีเกี่ยวกับพระอุปคุตต่างออกไปเล็กน้อย คือจะนิมนต์พระอุปคุตมาสถิตบริเวณพิธี ประชาชนและผู้สักการะบูชานุ่งขาวห่มขาว มีขบวนแห่ดอกไม้ ธูปเทียน โดยจะมีตัวแทนผู้อาวุโสหนึ่งคนหยิบก้อนหินจากสระน้ำและนำหินมาสถิตไว้ยัง “หอพระอุปคุต” เชื่อกันว่าพระอุปคุตที่ทำพิธีบูชานั้นจะช่วยดลบันดาลให้เกิดฝนตกลงมา แก้ปัญหาภัยแล้งไปได้
7. “พิธีเซียงข้อง หรือ พิธีเสี่ยงข้อง เสี่ยงทายทำนายฝนฟ้าอากาศ”
พิธีเซียงข้อง เป็นพิธีกรรมเสี่ยงทายทำนายฝนฟ้าอากาศเก่าแก่มาแล้วกว่า 100 ปี ที่ค่อนข้างหาดูได้ยาก งานจะจัดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นพิธีกรรมเสี่ยงทายฝนฟ้าอากาศแบบโบราณของคนอีสาน รวมถึงใช้ในการเสี่ยงทายเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถทราบได้ เช่น เสี่ยงทายดินฟ้าอากาศ ทำนายหาสิ่งของที่หาย เสี่ยงทายเกี่ยวกับการทำงาน การขับไล่ผีและสิ่งชั่วร้าย โดยก่อนเริ่มพิธี จะมีการยกครูไหว้ขัน 5 ขัน 8 ในงานจะมีหุ่นเซียงข้องซึ่งทำจากไม้ไผ่ยาว 2 ท่อน เสียบทะลุด้านล่างขึ้นไปยังปากข้องเพื่อทำเป็นขา แล้วเอาไม้ไผ่ที่ยาว 50 เซนติเมตร ท่อนหนึ่งเสียบด้านข้างตอนบนเพื่อทำเป็นแขน มัดไม้ไผ่ทั้ง 3 ท่อนเข้าด้วยกัน และมัดให้แน่นไว้ภายในตัวข้องไม่ให้ไม่ไผ่หลุดออกจากกัน
โดยรวมแล้ว ฝนถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภาคการเกษตรของประเทศไทย และมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ฝังแน่นอย่างลึกซึ้งในสังคมไทย
7 ความเชื่อเกี่ยวกับฝนในที่ต่างๆของโลก
ต่อไปนี้เป็นความเชื่อและโชคลางบางประการเกี่ยวกับฝนและฤดูฝนจากส่วนต่างๆ ของโลก
1. ฝนตกในวันแต่งงานของชาวอินเดีย
เชื่อกันว่าฝนตกในวันแต่งงานเป็นสัญญาณแห่งความโชคดีและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว นอกจากนี้ ฝนยังเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าอินทราในศาสนาฮินดูซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ควบคุมสภาพอากาศ
2. ฝนตกในงานศพที่ประเทศญี่ปุ่น
ในประเทศญี่ปุ่น เชื่อกันว่าฝนตกในวันงานศพเป็นสัญญาณว่าผู้ตายไปสู่สวรรค์แล้ว
3. การไล่ฝนด้วยตุ๊กตาไล่ฝนในญี่ปุ่น
ใครจะไปคิดว่าตุ๊กตาไล่ฝนชื่อดังที่เรารู้จักกันจากการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญาอิ๊กคิวซังจะมาจากเรื่องเล่าน่าเศร้า เชื่อกันว่าแต่ก่อนญี่ปุ่นมีช่วงเวลาที่โดนฝนตกหนักเป็นเวลาต่อเนื่องทำให้ยากลำบาก จึงมีเทพตนหนึ่งอาสามาสวดไล่ฝน แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วฝนยังไม่หยุดเจ้าเมืองจึงสั่งตัดหัวและคลุมผ้าขาวประจาน รูปร่างของหัวและผ้าคล้ายตุ๊กตาไล่ฝน ทำให้วันต่อมาในที่สุดฝนก็หยุดตก
4. การไล่ฝนในจีน ด้วยตุ๊กตากระดาษผู้หญิง
เมื่อฝนเองก็ตกหนักทำให้คนลำบากกับน้ำท่วมที่ทั้งทำให้ใช้ชีวิตยากและยังเสียชีวิตอีกด้วย หญิงจีนนามว่าเซ่าฉิงเหนียงก็ตัดกระดาษและขอพรกับเทพว่าให้ฝนหยุดตก เทพจึงรับคำขอด้วยข้อแม้ว่าเธอจะต้องยอมแลกชีวิต ซึ่งเซ่าฉิงเหนียงก็ยอมสละชีวิต ทำให้กระดาษตัดฉลุรูปผู้หญิงเป็นสัญลักษณ์ในการขอให้ฝนหยุดนับแต่นั้นมา
5. ฝนในวันสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกัน และพื้นที่อเมริกาใต้
ในบางวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองอเมริกัน ฝนถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่ออายุและการเกิดใหม่ทางจิตวิญญาณ
ในบางส่วนของอเมริกาใต้ เชื่อกันว่าหากฝนตกในวันใดวันหนึ่งในช่วงฤดูฝน พืชผลจะอุดมสมบูรณ์และการเก็บเกี่ยวจะอุดมสมบูรณ์
6. ฝนและการขอฝนหรือไล่ฝนในไนจีเรีย
ในไนจีเรีย แม้จะมีความเชื่อและการเคารพเทพแห่งสายฝนต่างกันไป แต่เทพคู่หนึ่งที่ดังคือเทพคู่สามีภรรยา Oya และ Sango ผู้คนมักขอพรจากเทพให้เทพเจ้าฝนแห่งแผ่นดินสงบลงเพื่อให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานอย่างราบรื่น เช่น งานแต่งงานแบบดั้งเดิม งานฝังศพ พิธีราชาภิเษก และอื่นๆ การขอพรต่อเทพในไนจีเรียไม่เพียงปัดเป่าไล่ฝน แต่ยังก่อให้เกิดและเปลี่ยนเส้นทางอีกด้วย
7. ในหลาย ๆ วัฒนธรรมทั่วโลก
ฝนเกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดและการชำระล้างและการทำให้บริสุทธิ์ เชื่อกันว่าฝนจะชะล้างความคิดลบออกไป และนำมาซึ่งชีวิตใหม่และการเริ่มต้นใหม่
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของความเชื่อและโชคลางเกี่ยวกับฝนและฤดูฝนจากหลากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก ถ้าไม่ใช่พื้นที่จริงแล้ว ในตำนานกรีกโบราณ ฝนถูกมองว่าเป็นของขวัญและความอุดมสมบูรณ์ที่เทพเจ้าซุสผู้ยิ่งใหญ่มอบให้ และถัดจากความเชื่อเกี่ยวกับฝนก็ยังมี เมฆ สายฟ้า หรือรุ้งอีกด้วยนะ ถ้าเจอเพื่อนต่างชาติก็อย่าลืมถามถึงเรื่องความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับฝนนะ เพราะเราเชื่อว่าคงจะเป็นหัวข้อในการพูดคุยที่น่าสนใจและทำให้เราได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย แล้วนี่ก็ช่วงหน้าฝนแล้ว อย่าลืมหาช้อป ร่ม พกติดตัว หรือพก เสื้อกันฝน ไว้ในรถหรือรถมอเตอร์ไซค์ขอวคุณและครอบครัวไว้ด้วยนะ ที่ Shopee!
Credit: