ของเล่นยุค 90 ยอดฮิตที่หลายคนอาจรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี “รูบิค” ของเล่นลับสมองที่มีหลายขนาดและยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันซึ่งยังมีการจัดการแข่งรูบิคถึงระดับโลกอีกด้วย แต่สำหรับที่ว่าง อยากเล่นเป็นกิจกรรมฝึกสมอง วันนี้เราจะพาคุณไปถอดสูตรรูบิค แบบ 3*3 ที่มือใหม่ฝึกหัดเล่นได้ แก้ไม่ยาก รับรองว่าสนุกแน่นอน
รูบิค (Rubik) ของเล่นทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปีค.ศ. 1974 ที่ไดเตั้งชื่อมาจากผู้คิดค้น Ernő Rubik ซึ่งต่อไปจะพูดถึงส่วนประกอบ สัญลักษณ์และวิธีแก้รูบิกแบบ 3*3
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ส่วนประกอบและสัญลักษณ์ของรูบิค
ความจริงที่หลายอาจไม่รู้เกี่ยวกับคือรูบิค คือเราไม่ได้แยกรูบิคตามสี แต่เรามองเป็นชิ้นส่วนโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- ส่วนที่ 1 : Center (ตรงกลาง) จะเป็นส่วนที่บอกว่าหน้านั้น ๆ ของรูบิคสีอะไรซึ่งแต่ละสีจะมี 1 ชิ้นเท่านั้น
- ส่วนที่ 2 : Edge (ขอบ) ส่วนนี้ใน 1 ชิ้นจะมี 2 สีทำให้มีทั้งหมด 12 ชิ้น
- ส่วนที่ 3 : Corner (มุม) โดย 1 ชิ้นจะมี 3 สีและทั้งหมดจะมี 8 ชิ้น
ส่วนสัญลักษณ์ของรูบิคนั้นจำง่าย ๆ ว่าจะเป็นตัวอักษร 6 ตัวได้แก่ R L U D F B ซึ่งมีความหมายดังนี้
- R = Right (ขวา)
- L = Left (ซ้าย)
- U = Up (บน)
- D = Down (ล่าง)
- F = Front (หน้า)
- B = Back (หลัง)
โดยสัญลักษณ์ของการบิดจะเป็นแบบที่ใช้ในภาษาสากลทำให้สามารถต่อยอดไปยังสูตรที่ยากขึ้นได้และไม่ว่าจะไปเล่นกับใครที่ไหนก็ใช้ภาษาของสัญลักษณ์การบิดเดียวกัน
ข้อควรจำ:
- R L U D F B ตัวใหญ่และไม่มีเครื่องหมาย ‘ จะเป็นการบิดตามเข็มนาฬิกา
- R’ L’ U’ D’ F’ B’ จะบิดทวนเข็มนาฬิกา หรือสลับกับข้างบน
- r l u d f b ซึ่งเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กจะเป็นการบิด 2 แถว
ส่วนสี (Color) มาตรฐานของรูบิคที่จะช่วยให้เล่นง่ายขึ้น ได้แก่ ขาวตรงข้ามเหลือง น้ำเงินตรงข้ามเขียวและแดงตรงข้ามส้ม
credit by Pixabay
การแก้สูตรรูบิคแบบ 3×3
รู้จักส่วนประกอบของรูบิค สัญลักษณ์ต่าง ๆ กันไปแล้ว ต่อมาเป็นวิธีเล่นรูบิค 3×3 ให้เร็วโดยแบ่งออกเป็น 3 แถวพร้อมขั้นตอนและคำอธิบาย ดังนี้
แถวที่ 1 มี 3 ขั้นตอน
1. ขั้นตอน “รูบิคขาวล้อมเหลือง”
เริ่มแรกให้ยึดด้านที่มีสีเหลืองตรงกลางเป็นด้านบน จากนั้นสามารถทำตามวิธีต่างๆ ได้ดังนี้
- กรณีที่ 1 หากสีขาวอยู่แถวด้านซ้ายหรือขวาให้หมุนแถวขวา หรือแถวซ้ายที่มีสีขาวขึ้น หรือลง เพื่อให้พอดีกับสีเหลืองตรงกลาง
- กรณีที่ 2 สีขาวอยู่แถวด้านบนหรือล่าง ให้หมุนด้านหน้าไปทางขวาจากนั้นจะได้รูบิคในลักษณะเดียวกรณีที่ 1 ให้ทำตามนั้นต่อเลย
- กรณีที่ 3 หากสีขาวอยู่ด้านล่าง สังเกตว่าจะตรงข้ามกับสีเหลืองด้านบนที่ยึดเป็นหลักให้ทำการพลิกรูบิกไปทางด้านขวา 1 ครั้ง จากนั้นให้ทำการหมุนสีขาวแดงด้านขวาขึ้น 2 ครั้งก็จะได้รูบิคสีขาวล้อมเหลือง
2. ขั้นตอน “ขาวล้อมขาว”
ขั้นตอนต่อจากการทำขาวล้อมเหลืองโดยใช้แนวทางยึดด้านขาวล้อมเหลืองอยู่ด้านบน ดังนี้
- ให้ทำการหมุนชิ้นรูบิคที่อยู่ตรงหน้าให้ตรงสีเซ็นเตอร์ด้านหน้าที่เราถืออยู่ด้วยการบิดแถวด้านล่างไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอสีเดียวกัน
- จากนั้นให้บิดรูบิคทางด้านหน้าไปทางขวา 2 ครั้ง
- ทำซ้ำข้อ 1 และ 2 อีก 3 ครั้งก็จะครบครบตามขอบสีขาวที่ล้อมเหลืองซึ่งจะเรียกขอบขาวล้อมเซ็นเตอร์ขาวว่า “ขาวล้อมขาว” นั่นเอง
3. ขั้นตอน “เก็บมุม ทำแถวที่ 1”
มาถึงขั้นตอนการเก็บมุมโดยขั้นตอนนี้ให้ยึดเซ็นเตอร์สีขาวอยู่ด้านบนและเซ็นเตอร์สีเหลืองอยู่ด้านล่างแล้วทำตามสูตรแก้รูบิค ดังนี้
- กรณีที่ 1 หากมุมสีขาวอยู่ด้านบน แต่คนละด้านกับสีเหลืองให้ทำการหมุนแถวด้านบนจนสีข้างๆ สีขาวตรงกับเซ็นเตอร์ของสีนั้น ๆ จากนั้นหันด้านดังกล่าวเข้าหาตนเองพร้อมหมุนแถวซ้ายขึ้นแถวบนไปทางขวาและหมุนแถวซ้ายลง
- กรณีที่ 2 หากมุมสีขาวอยู่ด้านบน ด้านเดียวกับสีเหลืองให้หมุนแถวด้านบนให้สีขาวและสีข้าง ๆ ทั้ง 2 สีตรงกับเซ็นเตอร์ของสีนั้น ๆ จนได้สีขาวอยู่ด้านบนมุมฝั่งขวา จากนั้นให้หมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้ายและหมุนแถวขวาลง ต่อไปให้หมุนแถวบนไปทางขวาและทำซ้ำวิธีที่ 2 อีก 1 ครั้งและหมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาลง
- กรณีที่ 3 มุมสีขาวอยู่ล่างให้ทำการพลิกรูบิคเพื่อให้สีขาวอยู่มุมล่างด้านขวามือ แล้วค่อยเริ่มหมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้ายและหมุนแถวขวาลง จากนั้นค่อย ๆ หมุนแถวบนไปทางขวา ซึ่งผลลัพธ์จะจะได้แถวที่ 1 เต็มและด้านขาวเต็มหน้า
credit by Pixabay
แถวที่ 2 มี 1 ขั้นตอน
1. ขั้นตอน “เก็บขอบแถวที่ 2”
โดยให้เริ่มแรกจากการยึดด้านที่มีเซ็นเตอร์สีเหลืองเป็นด้านบนเช่นเดิมแล้วทำตามวิธีแก้สูตรรูบิค ดังนี้
- ให้เลือกชิ้นขอบที่ไม่มีสีเหลือง จากนั้นบิดให้สีชิ้นขอบตรงกับสีเซ็นเตอร์
- แล้วหมุนแถวบนไปทางขวา ต่อมาให้หมุนแถวขวาขึ้นบนและหมุนแถวบนไปทางขวา อีกครั้งคือให้หมุนแถวขวาลงล่าง
- เมื่อทำข้อด้านบนเรียบร้อยให้ทำสลับฝั่งคือ หมุนแถวบนไปทางซ้ายและหมุนแถวซ้ายขึ้นบน
- จากนั้นให้หมุนแถวบนไปทางซ้ายและหมุนแถวซ้ายลงล่างก็จะได้แถวที่สองเสร็จสมบูรณ์
แถวที่ 3 มี 4 ขั้นตอน
1. ขั้นตอน “ทำเครื่องหมายบวกสีเหลือง”
โดยการยึดด้านที่มีเซ็นเตอร์สีเหลืองเป็นด้านบนเหมือนเดิมแล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ทำการหมุนแถวขวาลงล่าง แล้วหมุนแถวบนไปทางขวาจากนั้นให้หันรูบิคไปทางขวา 1 ครั้ง
- ต่อมาให้ทำการหมุนแถวล่างขึ้นบน แล้วหมุนแถวบนไปทางซ้าย พร้อมกับหมุนแถวซ้ายลงล่าง และหมุนด้านหน้าไปทางขวา 1 ครั้ง
- กรณีมีขอบสีเหลืองเป็นรูปตัวไอ (I) ให้ทำวิธีทำข้างต้นซ้ำ 2 รอบ
- กรณีมีขอบสีเหลืองเป็นรูปตัวแอล (L) ให้ทำวิธีทำข้างต้นซ้ำ 2 รอบ
2. ขั้นตอน “ทำด้านเหลืองเต็ม”
ขั้นตอนนี้ก็ยังคงยึดสีเหลืองไว้ด้านบนเสมอแล้วให้ดำเนินการต่อไปนี้
- เริ่มจากการหมุนแถวขวาขึ้น แล้วหมุนแถวบนไปทางซ้าย จากนั้นหมุนแถวขวาลงและหมุนแถวบนไปทางซ้าย
- เมื่อทำตามวิธีด้านบนครบให้ทำการหมุนแถวขวาขึ้น แล้วหมุนแถวบนไปทางซ้าย 2 ครั้งและหมุนแถวซ้ายลง
3. ขั้นตอน “มุมสีเหลือง”
ขั้นตอนนี้ก็คงย้ำกันอีกรอบว่ายังคงยึดสีเหลืองไว้ด้านบนแล้วให้ดำเนินการต่อไปนี้
- โดยสังเกตมุมคู่ เมื่อเจอให้พลิกมุมคู่ไปอยู่ทางด้านขวามือแล้วพลิกด้านสีขาวหันเข้าหาตัวเอง โดยที่มุมคู่ยังอยู่ขวามือ
- ต่อมาให้หมุนแถวขวาลง 2 ครั้ง แล้วหมุนแถวล่างไปทางซ้าย 2 ครั้ง จากนั้นให้หมุนแถวขวาขึ้นบนและหมุนแถวบนไปทางซ้าย
- เมื่อหมุนครบตามด้านบนให้หมุนแถวขวาลง แล้วหมุนแถวล่างไปทางซ้าย 2 ครั้ง จากนั้นหมุนแถวขวาขึ้นบนพร้อมกับหมุนแถวบนไปทางขวาและหมุนแถวขวาขึ้นบน
4. ขั้นตอน “เก็บขอบที่เหลือ”
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายโดยให้เริ่มจากการยึดด้านสีเหลืองไว้เช่นเดิมจากนั้นให้ทำตามวิธีดังนี้
- เริ่มจากหมุนด้านหลัง 2 ครั้ง แล้วหมุนแถวบนไปทางซ้ายพร้อมกับหมุนแถวขวาขึ้นบน
- จากนั้นหมุนแถวซ้ายขึ้นบน แล้วหมุนด้านหลัง 2 ครั้งและหมุนแถวขวาลงล่าง
- ทิ้งท้ายด้วยการหมุนแถวขวาลงล่าง แล้วหมุนแถวบนไปทางซ้ายพร้อมกับหมุนด้านหลัง 2 ครั้งก็จะทำให้ได้รูบิคสีเดียวกันครบทุกหน้า
อ้างอิงข้อมูลจาก thairat
credit by Pixabay
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสูตรรูบิค 3×3 ในแบบฉบับมือใหม่ที่สามารถเล่นได้ แถมแก้ได้ไม่ยากซึ่งในช่วงเริ่มแรกอาจจะมีงุนงงกันบ้าง แต่ถ้าหากหมั่นฝึกบ่อย ๆ รับรองว่าสกิลที่มีอยู่อัพเลเวลเก่งขึ้นจนขยับจากงานอดิเรกยามว่างจนกลายเป็นมืออาชีพลงแข่งขันชิงแชมป์เลยก็ได้