ถั่วลิสงที่หลายคนมักจะชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง เพื่อแก้หิว หรือเพื่อแก้อาหารอ่อนล้าทางร่างกายได้แล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย รวมถึงถั่วลิสงก็ยังมีอันตรายสำหรับคนบางกลุ่ม ถ้าหากใช้หรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ถั่วลิสง คือ
ถั่วลิสง (Peanut) คือพืชตระกูลถั่ว เมื่อนำมาปรุงสุกจะมีรสชาติหวานมัน และมีสรรพคุณต่อร่างกายช่วยบำรุงปอด กระเพาะอาหาร กระตุ้นน้ำนมในหญิงให้นมบุตร และช่วยสำหรับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือแม้แต่ในหญิงที่มีอาการแพ้ท้อง รวมไปถึงช่วยชะลอวัย และบำรุงสมอง
ถั่วลิสงประโยชน์
- ถั่วลิสงประโยชน์ทางโภชนาการสูง และเป็นแหล่งของโปรตีนและพลังงานสูง รวมถึงมีกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย
- ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารคาวหวานต่าง ๆ
- ถั่วลิสงสามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกได้เช่นเดียวกับถั่วเขียว
- น้ำมันจากถั่วลิสงสามารถนำมาใช้แทนน้ำมันมะกอกเพื่อปรุงอาหาร มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอนุมูลอิสระ
- สำหรับถั่วลิสงป่าที่เป็นพืชยืนต้น สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
- ลำต้นและใบของถั่วลิสงนำมาใช้ทำปุ๋ยและเป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
- ถั่วลิสงยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
- ถั่วลิสงมีน้ำมันประมาณ 47% จึงนิยมนำเมล็ดของถั่วของลิสงไปใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน
- นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นประโยชน์ของถั่วลิสงนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่หรือแชมพู อุตสาหกรรมปั่นด้าย ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักรได้อีกทาง
สารอาหารถั่วลิสง
สารอาหารต่าง ๆ ทางโภชนาการของถั่วลิสงในปริมาณ 100 กรัม
- พลังงาน 570 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม
- น้ำ 4.26 กรัม
- น้ำตาล 0 กรัมลักษณะถั่วลิสง
- เส้นใย 9 กรัม
- ไขมัน 48 กรัม
- ไขมันอิ่มตัว 7 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 24 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 16 กรัม
- โปรตีน 25 กรัม
- วิตามินบี 1 0.6 มิลลิกรัม 52%
- วิตามินบี 3 12.9 มิลลิกรัม 86%
- วิตามินบี 6 1.8 มิลลิกรัม 36%
- วิตามินบี 9 246 ไมโครกรัม 62%
- วิตามินซี 0 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 62 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม 15%
- ธาตุแมกนีเซียม 184 มิลลิกรัม 52%
- ธาตุฟอสฟอรัส 336 มิลลิกรัม 48%
- ธาตุโพแทสเซียม 332 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุสังกะสี 3.3 มิลลิกรัม 35%
ถั่วลิสง คอเลสเตอรอล
ถั่วลิสงจะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารมากมายและเป็นพืชที่ผลิตโคเลสเตอรอลเองไม่ได้ ถั่วลิสงจึงไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ก็ยังมีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและภาวะอ้วนได้ ทั้งยังมีสารบางชนิดที่อาจขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะกรดไฟติกอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีได้น้อยลง และอาจนำไปสู่ภาวะขาดแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้ ทางที่ดีจึงไม่ควรบริโภคถั่วลิสงมากเกินควร นอกจากนี้ ถั่วชนิดนี้เป็นหนึ่งในอาหารที่เสี่ยงก่อให้เกิดอาการแพ้ได้สูง ซึ่งหากแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ที่มีอาการแพ้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกประเภท
ถั่วลิสงช่วยขับถ่าย
พืชตระกูลถั่วทุกชนิดรวมถึงถั่วลิสงจะมีสารอาหารจำพวกโปรตีนสูงและมีเส้นใยอาหารในปริมาณมากเช่นเดียวกับสับปะรด จึงส่งผลให้การรับประทานได้ประโยชน์ถั่วลิสง ซึ่งช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้ง่าย ท้องไม่ผูก
กินถั่วลิสงอ้วนไหม
- ก่อนอื่นควรคำนึงว่าจะรับประทานถั่วต้มกี่แคลจึงจะช่วยลดน้ำหนักและความอ้วนได้
- ถั่วลิสงมีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งทำให้อิ่มท้องนาน ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
- ยังช่วยยับยั้งไขมันเลวที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ด้วยการรับประทานแบบดิบ ๆ หรือนำมาต้มแล้ว
- คงตอบไม่ได้ว่าถั่วลิสงต้มกี่แคล แต่ก็ไม่ควรรับประทานเกิน 1 กำมือหรือจะรับประทานเป็นอาหารว่างไม่เกินครั้งละ 17 เม็ดหรือประมาณ 1 ฝ่ามือเล็ก ๆ ซึ่งจะให้พลังงานประมาณ 100 กิโลแคลอรี
- การรับประทานถั่วคั่ว ถั่วทอด ถั่วอบ ซึ่งผ่านความร้อนและน้ำมัน ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีในถั่วลิสงหายไป หากรับประทานในปริมาณมาก ๆ หรือตามใจปากก็ทำให้อ้วนได้
- หากต้องการรู้ว่าควรรับประทานถั่วลิสงกี่แคล ถั่วลิสงคั่วกี่แคล ถั่วต้มกี่แคล ถึงจะไม่อ้วนให้เทียบน้ำหนักของถั่วลิสงดิบที่ 100 กรัมจะให้พลังงาน 570 กิโลแคลอรี่ ต่อความต้องการพลังงานของแต่ละคน ซึ่งผู้ชายต้องการปริมาณแคลอรี่ที่ใช้เป็นพลังงานต่อวัน 1,800 – 2,500 กิโลแคลอรี่ ผู้หญิงต้องการปริมาณแคลอรี่ที่ใช้เป็นพลังงานต่อวัน 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี่
ถั่วลิสงคั่ว
credit:freepik
การทำถั่วลิสงคั่ว จากวิธีเดิม ๆ โดยการนำไปคั่วผ่านความร้อนโดยทันทีอาจจะทำให้สูญเสียสารอาหารบางชนิดไปได้ จึงมีวิธีการคั่วที่ยังถนอมสารอาหารและทำให้มีกลิ่นหอมและยังมีรสชาติที่อร่อยขึ้น โดยวิธีการต้มในน้ำเดือด จะทำให้แป้งในถั่วลิสงบางส่วนนั้นเกิดการพองตัว (swelling) และเกาะเป็นเม็ดไม่แตกแยกออกเป็นสองฝั่ง จะทำให้เมล็ดถั่วนั้นสามารถสุกได้อย่างทั่วถึง จากการพาความร้อน (Heat convection) ที่สม่ำเสมอ รวมไปถึงความร้อนที่สม่ำเสมอนี้จะสามารถทำลาย “เอนไซม์ลิพ็อกซีจิเนส”ที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นเหม็นเขียวของถั่วคั่วได้ดีอีกด้วย
วิธีทำถั่วลิสงคั่ว
- จะต้องนำถั่วลิสงมาล้างน้ำให้สะอาดก่อน
- ใช้น้ำสำหรับต้มถั่วลิลงเพียงแค่พอขลุกขลิกเท่านั้น
- เปิดไฟแรงจัดรอจนน้ำเดือดจนงวดแห้ง แล้วหรี่ไฟเบาก่อนที่จะคั่วถั่วจนสุก
- ผึ่งลมทิ้งไว้ให้เย็นเพื่อไล่ความชื้น หรือสามารถจะเปิดพัดลมเป่าได้
- เก็บถั่วคั่วที่เย็นและกรอบแล้วในภาชะปิดสนิททึบแสง ไม่ให้ความชื้นและอากาศจากภายนอกเข้าได้ เพื่อเป็นการยืดอายุการหืน (Rancidity) ของถั่ว
ถั่วลิสงต้ม อันตราย
เราจะสังเกตว่าถั่วลิสงต้มอันตรายได้อย่างไร ให้ดูที่บริเวณเปลือก ถ้าหากมีจุดสีดำ ๆ คล้ายลักษณะของเชื้อรา หรือมีสีผิดแปลกออกไป ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน เนื่องจากเสี่ยงปนเปื้อนจาก อะฟลาท็อกซิน สารพิษก่อมะเร็งร้ายแรง โดยผู้ที่ได้รับอะฟลาท็อกซิน ส่วนใหญ่จะยังไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ จนเมื่อมีอาการเรื้อรังแล้ว คือ กินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราแล้วเชื้อรานั้นสร้างสารอะฟลาท็อกซิน ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ และอาจมีผลต่อระบบไต หัวใจ
หากต้องการจะใช้ประโยชน์ของถั่วลิสง ก็ควรจะซื้อแค่เพียงพอต่อการใช้ ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้นาน ๆเพราะคิดว่าเป็นประเภทอาหารแห้ง และควรหลีกเลี่ยงถั่วลิสงที่ดูเก่า มีความชื้นหรือมีกลิ่นหืน เพราะอาจจะมีโอกาสปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินสูงมาก รวมถึงควรเลือกซื้อจากร้านที่มีบรรจุห่อปิดสนิท มีวันผลิตและวันหมดอายุชัดเจน หรือร้านที่มีการทำแบบสดใหม่ เพื่อป้องกันการได้รับสารอันตรายเข้าร่างกายแบบที่ไม่รู้ตัว
แหล่งข้อมูล : Medthai
Credit:pixabay