ในทุกปีช่วงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงน้ำท่าต่าง ๆ สมบูรณ์จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการจัดเทศกาลที่เราต่างคุ้นเคยอย่าง “ลอยกระทง” ซึ่งจัดเป็นประเพณีที่สืบสานกันมายาวนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขอขมาแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำทั้งเพื่อชำระร่างกาย ดื่มกิน รวมไปถึงทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำที่นอกจากจะนำกระทงไปลอย ก็ยังมีการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ขึ้นมามากมายไม่ว่าจะเป็นการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง หรือการแสดงต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อความบันเทิงให้ผู้คนได้สนุกในค่ำคืนที่พระจันทร์เต็มดวงที่ในปี 2566 ลอยกระทงวันไหน พร้อมประวัติความเป็นมาและคำขอขมาพระแม่คงคาที่นำมาฝากดังนี้
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ลอยกระทง 2566 ตรงกับวันอะไร ? พร้อมประวัติที่ควรรู้
cr : freepik.com
สำหรับในปีนี้วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทยตรงกับวันจันทร์ ที่ 27 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยที่จัดประเพณีขึ้นมาเพื่อสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู แต่ยังมีร่องรอยหลักฐานย้อนไปถึงจีนและอินเดียโบราณจึงเห็นเทศกาลลอยกระทงในหลากหลายประเทศ แต่จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปเช่นที่พม่าจะเรียกเทศกาลตาซองได ส่วนที่ศรีลังกาจะเรียก Full Moon Poya หรือที่จีนเรียกว่า เทศกาลโคมไฟซึ่งในไทยได้เริ่มมีการลอยกระทงตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเริ่มแรกจะเรียกประเพณีว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม ต่อมาจึงเิริ่มมีการคิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวแทนการลอยโคมโดยมีท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) เป็นผู้คิดค้นกระทงขึ้นมาครั้งแรกจึงเป็นจุดกำเนิดของประเพณีลอยกระทง รวมถึงการประกวดธิดานางนพมาศนั่นเอง
วัตถุประสงค์ที่จัดเทศกาลลอยกระทงขึ้นมา
สำหรับจุดประสงค์ที่แท้จริงของการลอยกระทงจะแบ่งออกเป็น 2 ประการตามความเชื่อในอดีตกาลว่า
- เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากในอดีตกาลพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสไปแสดงธรรมในนาคพิภพและทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้เหล่าบรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชาซึ่งทำให้ประเพณีลอยกระทงในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองนั้นจึงเป็นโอกาสในการได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเหล่านาคทั้งหลาย
- เพื่อบูชาบูชาพระแม่คงคา ตามความเชื่อของเทพฮินดูซึ่งเชื่อกันว่าตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่เราได้ใช้น้ำไม่ว่าจะใช้อาบ กิน บริโภค หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้คุณภาพน้ำลดลง รวมถึงการทิ้งของเสีย สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในแม่น้ำทำให้แม่น้ำสกปรกการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นมาจึงเปรียบเสมือนการระลึกถึงพระแม่คงคาเพื่อขอขมาและขอบคุณที่ทำให้มนุษย์มีน้ำกินน้ำใช้มาตลอด
คำว่าลอยกระทงมาจากไหน
cr : freepik.com
อ่านมาตั้งแต่ข้างต้นก็คงได้เห็นว่าจุดกำเนิดประเพณีเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงไหน แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงใช้คำว่า “ลอยกระทง” โดยมีนิยามไว้ ดังนี้
- คำว่าลอย มีความหมายว่า ไม่จม อยู่บนผิวน้ำ หรือปล่อยให้ไหลไปตามน้ำ
- คำว่ากระทง หมายความถึง สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นคล้ายกับดอกบัว เพื่อใช้นำไปลอยน้ำ
ดังนั้น คำว่า ลอยกระทง จึงมีความหมายรวม ๆ ว่าเป็นการนำเอากระทงที่ทำขึ้นแล้วบรรจุธูป เทียน ดอกไม้ รวมถึงเศษเล็บ เศษผม หรือเงินตามความเชื่อใส่ลงไปแล้วนำไปลอยในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นการลอยเอาความทุกข์ความโศกออกไป เริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ให้กับชีวิต รวมถึงขอขมาพระแม่คงและบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเชื่อในอดีตกาลในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
รูปแบบการจัดงานลอยกระทงในแต่ละภูมิภาค
cr : freepik.com
แม้ทุกภาคทั่วประเทศไทยจะมีการจัดงานลอยกระทงเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างคือรูปแบบการจัดงานที่จะให้กลิ่นอายแต่ละภูมิภาคต่างกัน ดังนี้
- งานลอยกระทงภาคเหนือ
จะให้นิยมทำโคมไฟลอย หรือการลอยโคม โดยตัวโคมจะทำมาจากผ้าบาง ๆ แล้วจุดไฟด้านใต้เพื่อช่วยให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศซึ่งเรียกประเพณีนี้ว่า ยี่เป็ง ซึ่งเป็นการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ตามแบบเฉพาะล้านนา
- งานลอยกระทงภาคกลาง
จะนิยมเน้นจัดการลอยกระทงในวัดและมักจะมาพร้อมความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นมหรสพ การแสดง หรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน หรือบนเวที รวมถึงมักจะมีการประกวดนางนพมาศเป็นไฮไลต์ของงาน
- งานลอยกระทงภาคอีสาน
ก็จะขึ้นชื่อเรื่องบายศรีและความเชื่อเรื่องพญานาค รูปแบบงานจึงมักจะเอาหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นรูปพญานาคและมักจะทำการจุดไฟในการคืนเพื่อปล่อยให้ไหลไปตามแม่น้ำโขง หรือที่เรียกเทศกาลว่า ไหลเรือไฟ หรือลอยประทีปนั่นเอง
- งานลอยกระทงภาคใต้
ซึ่งรูปแบบงานจะค่อนข้างคล้ายกับภาคกลาง คือมักจะจัดงานในวัด หรือตามสถานที่สำคัญของจังหวัด โดยมาพร้อมกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบนเวทีที่มีการประกวดนางนพมาศ หรือการแสดงอื่น ๆ รวมถึงการแสดงที่สื่อถึงความเป็นภาคใต้อย่างโนราห์ หรือหนังตะลุงมาละเล่นในคืนวันงาน
เคล็ดลับการขอขมาพระแม่คงคาสั้น ๆ
นอกจากกระทงที่เตรียมไปในค่ำคืนวันงานแล้วก็อยากให้จำคำขอขมาสั้น ๆ ไปด้วยซึ่งก่อนลอยก็ขอให้จุดธูปเทียนแล้วเริ่มต้นกล่าว
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” (ท่องนะโม 3 จบ)
จากนั้นให้ตามด้วย “สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต”
เพื่อเป็นการกล่าวขอขมาและขอพรตามปรารถนาดังใจ เพียงแค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
นอกจากจะได้รู้แล้วว่า ลอยกระทงวันไหน ลอยกระทงเพื่ออะไร ? กันไปแล้วก็จะได้เห็นว่าลอยกระทงเป็นประเพณีอันดีงามที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานก็อยากจะช่วยให้รักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ รวมถึงการขอขมาพระแม่คงคาที่อาจจะเริ่มต้นจากกระทงที่เรานำไปลอยด้วยการใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ หรือกระทงขนมปังที่ย่อยสลายได้เองที่สามารถเข้าไปเลือกซื้ออุปกรณ์ทำกระทง หรือธูปเทียนต่าง ๆ ได้ที่ Shopee Thailand แต่สำหรับใครที่กำลังมองหาสถานที่ไปลอยกระทงก็แนะนำ 10 พิกัดสถานที่ลอยกระทงในกรุงเทพฯ 2023 ว่ามีที่ไหนน่าสนใจกันบ้าง หรือจะอ่านสาระดี บทความอื่น ๆ ก็สามารถเข้ามาได้ที่ Shopee Blog ซึ่งเรามีข้อมูลดี ๆ รอเสิร์ฟให้คุณอีกเพียบ