อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า วันรัฐธรรมนูญของไทยนั้นคือ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งหากนับเวลาย้อนกลับไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2475 จวบจนปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมามากกว่า 86 ปีแล้ว ซึ่งก็มีเรื่องราวและอุปสรรค์การฝ่าฟันของประชาชนชาวไทยกว่าจะได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
แต่ก็ใช่ว่าประเทศไทยของเราจะเป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่มีเรื่องราวการฝ่าฟันประชาธิปไตยที่สมบุกสมบัน วันนี้ Shopee Thailand ขอพาคุณมารู้จักกับ เรื่องราวความเป็นมาของประชาธิปไตยในต่างประเทศกัน
ญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัยจากโชกุนสู่ประชาธิปไตย
ประเทศแรกที่เราหยิบมาเล่านั้นไม่ใกล้และไม่ไกลจากประเทศเราสักเท่าไหร่ และยังมีระบอบการปกครองที่ยังมีพระมหากษัตริย์ และใช้รัประชาธิปประไตยภายใต้ฐธรรมนูญใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นก็คือ ดินแดนแห่งฟูจิ “ประเทศญี่ปุ่น” นั่นเอง
แต่เดิมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทั้งวัฒนธรรม ภาษา รวมถึงรูปแบบการปกครองมาจากประเทศจีน โดยมีการปกครองในรูปแบบทหาร หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โชกุน” หลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญใน วันที่ 3 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2490 และใช้ระบอบประชาธิปประไตยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สหราชอาณาจักรอังกฤษ ต้นแบบการปกครองกษัติรย์ภายใต้กฏหมาย
มาต่อกันที่ประเทศต้นแบบของประชาธิปไตย อย่าง “สหราชอาณาจักรอังกฤษ” ที่หลายคนยังไม่รู้ว่า ความจริงแล้ว จวบจนปัจจุบันประเทศอังกฤษนั้นก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง เพราะแต่เดิมอังกฤษมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาในการดูแลหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ ควบคู่กับกษัตริย์ จนกระทั่ง ในสมัยของพระเจ้าจอห์นที่มีการเรียกเก็บภาษีมากขึ้น จนประชาชนเกิดการต่อต้านและการเรียกร้องสิทธิ์ขึ้น จนเกิดเป็น “บทบัญญัติแมคนาคาร์ตา” ในปี ค.ศ. 1215 ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษที่ทำให้เกิดการบัญญัติข้อบังคับและการเรียกร้องสิทธิของประชาชนในส่วนอื่น ๆ ตามมา
ในปี ค.ศ. 1688 เจ้าชายวิลเลี่ยมได้นำกองทัพเรือบุกยึดอังกฤษและโค้นล่มราชบังลังก์ของ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ซึ่งการปฏิวัติครั้งนี้ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษ ทำให้กษัตริย์อยู่ภายใต้อำนาจของกฏหมายและกลายเป็นรัฐที่ปกครองโดยประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดเหมือนอย่างประเทศอื่น ๆ แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นต้นแบบการปกครองให้กับอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
Credit : Alice Donovan Rouse / Unsplash
สหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งสิทธิ และ เสรีภาพ
เมื่อพูดถึง ประชาธิปประไตย สิทธิ และ เสรีภาพ จะไม่พูดถึง “ประเทศสหรัฐอเมริกา” ก็คงจะไม่ได้ เพราะหลายประเทศยกให้เป็นประเทศต้นแบบของการมีอิสรภาพ ไม่ว่าจะเป็น การไม่แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ หรือ เพศสภาพ
ซึ่งแต่เดิมสหรัฐอเมริกานั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของยุโรปจนถึงช่วงอาณานิคมตอนปลายที่เกิดการแบ่งแยกอาณานิคมกันเป็นหลายฝั่ง จนกลายเป็นสงครามที่เรารู้จักกันในชื่อ สงครามไซลีเซีย หรือ สงครามเจ็ดปี (Seven Year’s War) ที่เกิดขึ้นในช่วง ปีค.ศ. 1756-1763 ซึ่งสงครามครั้งนี้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1775 และในปี ค.ศ. 1776 อเมริกาก็สามารถประกาศอิสระภาพอาณานิคมต่อจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปได้สำเร็จ เกิดการลงมติรับรัฐธรรมนูญต่อมาในปี ค.ศ. 1788
แต่ถึงแม้ว่าอเมริกาจะมีรัฐธรรมนูญของประเทศแล้วก็ยังต้องเจอกันสถานการณ์ต่าง ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สงครามกลางเมือง การปฏิวัติอุตสาหกรรม สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 หรือจะเป็นสงครามเย็นที่ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงทั้งในด้านของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวการฝ่าฟันกว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปประไตย เรื่องสิทธิและเสรีภาพนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเป็นสิ่งที่เราควรจะต้องรู้จักและรักษาสิทธิของเราไว้ให้ดี
ขอบคุณที่มาจาก :