“เกมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking)” เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทะลายกำแพงของแต่ละบุคคลในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เป็นวิธีที่ทำให้แต่ละคนแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง ทำให้รู้จักกันมากขึ้น และผ่อนคลายความตึงเครียด ส่งผลดีต่อการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต เกมละลายพฤติกรรม มักจะถูกนำมาใช้ในการเริ่มต้นกับสังคมใหม่ เช่น การรับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัย วันปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ฯลฯ ขึ้นชื่อว่าเกมแล้วนั้น นอกจากจะช่วยในเรื่องการปรับตัว ยังเป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรมทีเรียกเสียงหัวเราะและสร้างความสนุกสนานได้อีกด้วย การค้นหากิจกรรมหรือเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆที่ช่วยคลายความเครียดและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกถือเป็นสิ่งสำคัญ เกมละลายพฤติกรรม ไม่มีอุปกรณ์ หรือใช้อุปกรณ์น้อย เล่นง่ายๆ เหล่านี้ เป็นกิจกรรม ice breaking สนุกๆ เล่นไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน เหมาะสำหรับกลุ่มเล็กๆ รู้ถึงประโยชน์ของเกมละลายพฤติกรรมแล้ว วันนี้เรามีเกมละลายพฤติกรรมมาบอกต่อ สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีม
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
1. เกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ: 2 จริงและ 1 เท็จ
Cr. ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay
Two Truths and a Lie เป็นเกม / กิจกรรม ice breaking สนุกๆแห่งการหลอกลวงและการตรวจจับที่ผู้เล่นแบ่งปันข้อความสามเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง โดยหนึ่งในนั้นเป็นเท็จ
อุปกรณ์ในการเล่นเกม: –
วิธีการเล่นกิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆ:
- นั่งเป็นวงกลมหรือรอบโต๊ะ ผู้เล่นแต่ละคนคิดถึงเรื่องจริงสองข้อและแต่งเรื่องโกหกเกี่ยวกับตนเอง รวมเป็น 3 ข้อด้วยกัน
- เริ่มต้นด้วยผู้เล่นคนหนึ่ง โดยจะพูดสามประโยคตามลำดับใดก็ได้
- คนที่เหลือในกลุ่มเดาว่าข้อความใดเป็นเรื่องโกหก
- หลังจากที่ทุกคนเดาได้แล้ว ผู้เล่นจะเฉลยว่าเรื่องไหนโกหกและเรื่องไหนเรื่องจริง
- เปลี่ยนผลัดไปที่คนถัดไป วนไปจนครบ เท่านี้ก็จะได้เล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ และรู้จักกันมากขึ้นแล้ว
ตัวอย่าง:
– นาย A: “ฉันปีนยอดเขาเอเวอเรสต์แล้ว ฉันมีอีกัวน่าเป็นสัตว์เลี้ยง ฉันพูดได้ห้าภาษา”
– คนอื่น: “คุณไม่ได้เลี้ยงอีกัวน่า!”
– นาย A: “ถูกต้อง! ฉันไม่ได้เลี้ยงอีกัวน่า แต่ก็กะว่าซักวันจะเลี้ยงนะ”
2. เกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ: เกมใบ้คำ (Charades)
Cr. ShutterStock
Charades เป็น กิจกรรม ice breaking สนุกๆ เป็นเกมคลาสสิกที่ผู้เล่นแสดงคำหรือวลีโดยไม่ต้องพูด ในขณะที่คนอื่นพยายามเดาว่ามันคืออะไร หรือถ้าจะเล่นผ่านมือถือ ของไทยก็มีแอปดังที่มีเวอชั่นภาษาไทยให้เล่นก็คือเกม “ชาเย็น” นั่นเอง (Cha-yen) ให้รวบรวมผู้เข้าร่วมเป็นวงกลมหรือรอบโต๊ะ เตรียมรายการรายการคำต่างๆไว้ล่วงหน้า
อุปกรณ์ในการเล่นเกม / คน: กระดาษ ปากกา หรือมือถือที่โหลดแอปชาเย็นแล้ว 1 เครื่อง
วิธีการเล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆง่ายๆ:
- แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3-10 คน
- เล่นทีละทีม ครั้งหนึ่งสำหรับหนึ่งทีมจับเวลา 2-3 นาที โดยครั้งหนึ่งอาจเลือกเล่นกลุ่มคำ 1 หมวดหมู่ เพื่อให้ลูกทีมทายคำได้ง่ายขึ้น
- ผู้เล่นคนหนึ่งเลือกคำจากรายการโดยไม่แสดงให้คนอื่นเห็น จากนั้นพวกเขาแสดงท่าทางโดยไม่ต้องพูด
- ลูกทีมในกลุ่มที่เหลือพยายามทายคำภายในเวลาที่กำหนด
- หากทายถูก นักแสดงและผู้ที่ทายถูกจะสลับบทบาทในรอบต่อไป
3. กิจกรรม ice breaking สนุกๆ: เกมวาดรูปภาพแล้วทาย (Pictionary)
Cr. Unsplash
Pictionary เป็นเกมวาดรูปและคาดเดาที่ผู้เล่นร่างเบาะแสเพื่อถ่ายทอดคำหรือวลีให้กับเพื่อนร่วมทีม
อุปกรณ์ในการเล่นเกม / คน: กระดาษ ปากกา หรือ ไวท์บอร์ด มาร์กเกอร์
วิธีการเล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆง่ายๆ:
- แบ่งออกเป็นอย่าน้อยสองทีม ทีมหนึ่งมีตั้งแต่สองคนขึ้นไป เล่นทีละทีม เตรียมรายการคำหรือวลีที่จะวาด
- ให้ทีม B กำหนดคำสำหรับทีม A
- ให้ทีม A แบ่งออกเป็น คนวาด และ คนที่เหลือทายคำจากภาพ
- ผู้วาดดูคำจากเพื่อนอีกทีม แล้ววาดลงบนไวท์บอร์ดหรือกระดาษ โดยห้ามพูด
- คนทายในทีม A ต้องพยายามเดาคำศัพท์ภายในเวลาที่กำหนด (เช่น 1-2 นาที)
- ห้ามให้คนวาดพูดคุยหรือแสดงท่าทางจากโปรแกรมเล่นวาดรูป
- หากทายถูก ทีมจะได้แต้มและเข้ารอบต่อไป
- สลับกันไปแต่ละทีม ทีมที่ทายถูกในเวลาน้อยที่สุดจะเป็นทีมที่ชนะ
4. เกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ: “จะเลือกอะไรระหว่าง…?”
Cr. Unsplash
สำหรับเกมละลายพฤติกรรมง่ายๆ เกมแรก เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่จะทำให้ทุกคนรู้จักกันมากขึ้นด้วยการตั้งคำถามให้ตอบ เหมาะสำหรับการใช้เป็นเกมละลายพฤติกรรมก่อนเริ่มประชุม หรือเมื่อทำกิจกรรมกับคนในทีม ในคณะ หรือในองค์กรต่าง ๆ แถมยังเป็นเกมใช้พื้นที่น้อยและไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อีกด้วย
วิธีการเล่นกิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆ:
- ให้ทุกคนนั่งล้อมวงกันเป็นกลุ่ม
- หลังจากนั้นให้เริ่มตั้งคำถามที่เตรียมมาไล่ไปทีละคน เป็นคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “คุณจะเลือกอะไรระหว่าง…?” ซึ่งตัวคำถามควรเป็นคำถามสนุก ๆ ไม่เครียด และไม่ต้องซับซ้อนมาก คำตอบที่ได้จะช่วยอธิบายตัวตนของแต่ละคนได้มากขึ้นนั่นเอง
+ตัวอย่างคำถาม: คุณจะเลือกอะไรระหว่างไม่ได้เล่นโทรศัพท์มือถือกับไม่ได้ดูทีวี ?
คุณจะเลือกอะไรระหว่างไปเที่ยวทะเลกับไปเที่ยวภูเขา ?
คุณจะเลือกอะไรระหว่างอาหารไทยกับอาหารญี่ปุ่น ?
5. กิจกรรม ice breaking สนุกๆ: Who is it? เขาคนนี้คือใคร?
Cr. Unsplash
สำหรับเกม Who is it? เป็นอีกหนึ่งเกมใช้พื้นที่น้อยและเป็นเกมละลายพฤติกรรมที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี รวมทั้งทำให้คนในกลุ่มมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเกมละลายพฤติกรรมเกมนี้ เหมาะกับกลุ่มคนจำนวนไม่มาก หลักการคือให้ทุกคนร่วมกันทายว่า ลักษณะ จุดสังเกต หรือบุคลิกที่เขียนไว้ในกระดาษคือใคร
อุปกรณ์ในการเล่นเกม / คน: กระดาษ ปากกา แก้ว
วิธีการเล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆง่ายๆ:
- เริ่มต้นให้คนจัดกิจกรรม แจกกระดาษชิ้นเล็ก ๆ เท่า ๆ กันให้แต่ละคน
- ทุกคนเขียนบุคลิก จุดเด่น หรือข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวเองลงในกระดาษ
- คนจัดกิจกรรมเดินเก็บกระดาษทุกใบใส่ในแก้ว แล้วเขย่าให้คละกัน
- หลังจากนั้นให้คนใดคนหนึ่งหยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งใบ อ่านออกเสียง และช่วยกันทายว่าสิ่งที่เขียนอยู่ในกระดาษหมายถึงใคร วนกันไปเรื่อย ๆ จนครบ หากใครจับได้ของตัวเองให้ใส่กระดาษคืนและจับใหม่
6. เกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ: Marshmallow Challenge
เกมละลายพฤติกรรมที่ชื่อว่า Marshmallow Challenge เป็นเกมที่ Tom Wujec นำเสนอในรายการ TED เป็นเกมที่ใช้พื้นที่น้อยต่อ 1 กลุ่ม หากมีหลายกลุ่มก็สามารถขยายพื้นที่ทำกิจกรรมได้ เกม Marshmallow Challenge เป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรมที่จะทำให้ทุกคนในกลุ่มได้เกิดการร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรม และเกิดความสามัคคีกัน ฝึกการคิดวางแผน และหาผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว เหมาะกับการเป็นเกมละลายพฤติกรรมในห้องประชุม ห้องอบรม หรือห้องเรียนก็ได้
อุปกรณ์ในการเล่นเกม / กลุ่ม: เส้นสปาเกตตี้แบบยาว 20 เส้น (ยังไม่สุก) เทปกาว 90 เซนติเมตร เชือก 90 เซนติเมตร และมาชเมลโล 1 ชิ้น
วิธีการเล่นกิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆ:
- แบ่งกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะต้องมีสมาชิก 3-5 คน และแจกอุปกรณ์ให้กลุ่มละ 1 เซ็ต
- หลังจากนั้นให้แต่ละทีมลงมือสร้างโครงสร้างจากอุปกรณ์ที่ให้ไปเท่านั้น สร้างให้สูงที่สุดโดยมีเงื่อนไขคือ ต้องให้มาชเมลโลอยู่ด้านบนสุดของโครงสร้าง ให้เวลา 20 นาที
- หลังสิ้นสุด 20 นาที ให้วัดความสูงโครงสร้างของแต่ละทีม ทีมไหนสร้างโดยมีฐานแข็งแรง โครงสร้างสูงที่สุดและมีมาชเมลโลอยู่ด้านบนตามเงื่อนไข เป็นทีมที่ชนะ
7. เกมละลายพฤติกรรมสั้นๆ: นักสืบ
Cr. Unsplash
เป็นเกมละลายพฤติกรรมที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ รวมถึงเป็นเกมใช้พื้นที่น้อยและกติกาไม่ซับซ้อน เกมนับสืบช่วยฝึกทักษะการสังเกต และสร้างความสนุกสนาม เหมาะกับการทำความรู้จักกันครั้งแรก เช่น พนักงานใหม่ นักเรียนใหม่ ฯลฯ จำนวนผู้เล่นในกลุ่มประมาณ 10 คน
วิธีการเล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆง่ายๆ:
- เริ่มต้นเกมโดยการนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม หลังจากนั้นให้เลือก 1 คนขึ้นมาเป็นนักสืบและให้ออกจากบริเวณนั้นไปก่อน
- คนที่เหลือให้เลือกหัวหน้าขึ้นมา 1 คน ซึ่งหน้าที่ของหัวหน้าคือ การเป็นผู้นำเพื่อทำท่าทางต่าง ๆ เช่น มือขวาจับหูซ้าย แลบลิ้น เอียงศีรษะ ฯลฯ
- เมื่อเลือกหัวหน้าได้แล้ว ให้นักสืบกลับมานั่งในวง
- เริ่มเล่นเกมละลายพฤติกรรม โดยให้หัวหน้านำทำท่าทาง คนที่เหลือทำตาม และนักสืบต้องจับให้ได้ว่าใครคือหัวหน้าของวงใคร
- หากมีผู้เล่นมากกว่า 1 วง สามารถส่งนักสืบไปหาตัวหัวหน้าของวงอื่น นักสืบจากวงไหนหาหัวหน้าวงได้เร็วสุด วงของนักสืบคนนั้นจะเป็นผู้ชนะทันที
8. เกมละลายพฤติกรรม: ฉีกกระดาษ
Cr. Unsplash
เกมฉีกกระดาษเป็นเกมละลายพฤติกรรมที่อาศัยความสามัคคีแบบเป็นคู่ นอกจากนี้ยังได้ฝึกการวางแผน การคิดล่วงหน้า และทำให้รู้จักกันมากขึ้น เป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรมสำหรับ 4 คน (2 คู่) ขึ้นไป ใช้อุปกรณ์น้อย แถมเป็นเกมใช้พื้นที่น้อยอีกด้วย
อุปกรณ์ในการเล่นเกม / คู่: กระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดเท่ากัน 1 แผ่น ต่อ 1 คู่
วิธีการเล่นกิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆ:
- เริ่มต้นให้สมาชิกจับคู่กัน (แนะนำให้จับคู่คนที่นั่งไกลกัน เพื่อจะได้ทำความรู้จักคนใหม่ ๆ)
- หลังจากนั้นให้ทั้งสองหันหน้าเข้าหากัน ให้กระดาษคู่ละ 1 แผ่น
- เริ่มกิจกรรมละลายพฤติกรรม ให้แต่ละคู่วางแผนฉีกกระดาษ ซึ่งแต่ละคนสามารถใช้มือได้เพียงข้างเดียว ช่วยกันฉีกกระดาษให้ยาวที่สุด และห้ามขาด
- เกมสิ้นสุด ให้ผู้นำเล่นกิจกรรมวัดความยาวกระดาษของแต่ละคู่ หากคู่ไหนทำกระดาษขาด ให้เลือกส่วนที่ยาวที่สุด คู่ที่ฉีกกระดาษได้ยาวที่สุดเป็นผู้ชนะ
9. เกมละลายพฤติกรรม: เกมบิงโก
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกับเกมบิงโกเป็นอย่างดี แต่เกมบิงโกสำหรับกิจกรรมละลายพฤติกรรม จะมีความแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งเกมนี้ทำให้คนที่เข้าร่วมได้มีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักกันมากขึ้น ช่วยทลายกำแพงซึ่งกันและกัน กิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆนี้ เหมาะกับนักเรียนใหม่ หรือพนักงานใหม่ ที่เข้ามาเริ่มงานวันแรก
อุปกรณ์ในการเล่นเกม: ตารางบิงโกแบบ 4×4 ช่อง หรือแบบ 5×5 ช่อง โดยใบบิงโกแต่ละช่องจำมีคำถามเขียนไว้
ตัวอย่างคำถามในแต่ละช่อง: มาทำงานด้วย MRT? / เป็นคนกรุงเทพฯ แต่กำเนิด? / เกิดต่างจังหวัด? / เป็นคนไม่กินผัก?
วิธีการเล่นเกมละลายพฤติกรรมสั้นๆง่ายๆ:
- แจกใบบิงโกพร้อมดินสอ หรือปากกา ให้ทุก ๆ คน
- เริ่มเล่นเกมโดยการให้ทุกคนเดินออกไปถามคนอื่น ๆ เกี่ยวกับคำถามในแต่ละช่อง
- เมื่อเจอคนที่ใช่สำหรับคำถาม ให้ใส่ชื่อคนนั้นลงไป
- หาชื่อคนที่ตรงกับคำถามช่องต่าง ๆ จนกว่าจะบิงโก คนที่บิงโกคนแรกเป็นผู้ชนะ
(หลักการบิงโก: ครบตามแนวตั้ง หรือ แนวนอน หรือ แนวทแยงมุม)
บทสรุป กิจกรรม ice breaking สนุกๆ มีเยอะ เล่นได้ไม่ยาก
กิจกรรมละลายพฤติกรรมง่ายๆ เหล่านี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการ ice-breaking ทำให้คนสนิทกัน สร้างสัมพันธ์ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และนำความสุขมาสู่กลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าคุณจะชอบการแสดง ทายความเท็จ หรือวาดรูป เกมเหล่านี้รับประกันเสียงหัวเราะและความสนิทสนมกัน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำจะทำให้คุณสามารถส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกและกระชับความสัมพันธ์ด้วยวิธีที่สนุกสนาน ลองใช้ดู คลายเครียด ทิ้งรอยยิ้มและความรู้สึกผูกพันระหว่างผู้เข้าร่วมไว้เบื้องหลัง
ได้ไอเดียเกมละลายพฤติกรรมกันไปแล้ว แต่ละเกมช่วยในเรื่องการปรับตัวเข้าหากันได้ง่ายขึ้น แถมยังเป็นกิจกรรมละลายพฤติกรรมที่สนุกสนาน ช่วยผ่อนคลายในสถานการณ์ตึงเครียดต่าง ๆ ได้ ครั้งหน้าอย่าลืมติดตามบทความดี ๆ ไอเดียโดน ๆ ได้อีกที่ Shopee Blog