ใบบัวบก พืชสมุนไพรที่มีให้เห็นทั้งในเมนูอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพถึงแม้จะมีรสชาติไม่ถูกปากสักเท่าไหร่ แต่ก็แฝงไว้ด้วยคุณประโยชน์มากมายที่ผ่านงานวิจัยในการศึกษา และให้ผลต่อการรักษามากกว่าหลายสิบอาการซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่เหมาะแก่การนำไปใช้งานได้กับทุกเพศทุกวัย พูดกันขนาดนี้แล้วก็มาดูกันสิว่าลักษณะ และสรรพคุณใบบัวบกที่กล่าวมาจริงเท็จแค่ไหน
ชื่อวิทยาศาสตร์: ใบบัวบกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Centella asiatica (L.) Urb.
ใบบัวบกภาษาอังกฤษ: Gotu kola
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ลักษณะของใบบัวบก
เริ่มกันที่ลักษณะทั่วไปของใบบัวบก คือ ไม้ล้มลุกซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวโดยมีลักษณะใบคล้ายใบบัว ขึ้นกระจายได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศโดยเฉพาะบริเวณที่ชื้นแฉะ ในส่วนของลำต้นจะเป็นไหล (Stolen) โดยมีลักษณะ ทรงกลม เป็นข้อปล้องที่สามารถเลื้อยไปตามพื้นดินซึ่งมีทั้งไหลอ่อนสีขาว และไหลแก่สีน้ำตาล ใบบัวบกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวสลับสีเขียว ออกกระจุกได้หลาย ๆ ใบต่อข้อ ซึ่งแต่ละข้อจะมีตั้งแต่ 2 – 10 ใบ ใบด้านบนจะเรียบ ส่วนด้านล่างจะมีขนสั้นปกคลุมซึ่งขอบใบจะมีรอยหยักเป็นคลื่น นอกจากนี้ใบบัวยังสามารถออกดอกได้อีกด้วย หลายคนอาจจะยังไม่เคยเห็นโดยลักษณะดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบดอกเป็นสีขาว และสำหรับผลจะมีลักษณะกลมแบน เปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็งมีสีเขียวหรือม่วงน้ำตาล
ใบบัวบกมีกี่ชนิด
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วบัวบกนั้นไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว ซึ่งในประเทศไทยจะนิยมนำมาปลูกด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่
- บัวบกไทย: บัวบกไทยมีลักษณะใบหนาขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม โดยลักษณะไหล หรือลำต้นจะมีการเลื้อยไปตามผิวดิน หรืออยู่ด้านล่างดินเพียงเล็กน้อย ในส่วนของข้อปล้องของไหลจะมีลักษณะค่อนข้างห่างทำให้ก้านใบก็ห่างตามไปด้วย
- บัวบกศรีลังกา: บัวบกศรีลังกาจะมีลักษณะใบขนาดเล็กสีเขียวสด หรือสีเขียวอมเหลือง โดยลักษณะไหล หรือลำต้นจะมีการเลื้อยไปตามผิวดินเช่นเดียวกับบัวบกไทยแต่ข้อปล้องจะมีลักษณะที่ถี่กว่าทำให้ก้าน และใบอยู่ชิดกันมากขึ้นแต่ลักษณะก้านจะค่อนข้างสั้นกว่า จากการสำรวจพบว่า บัวบกพันธุ์ไทยนั้นได้รับความนิยมมากกว่าพันธุ์ศรีลังกาเนื่องจากเมื่อนำมาแปรรูป จะได้สีที่ค่อนข้างสด และชวนให้น่ารับประทานมากกว่าบัวบกศรีลังกา
วิธีการปลูกใบบัวบก
การปลูกใบบัวบกสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำไหลมาตัดแต่งรากแล้วนำไปปักชำในที่ร่ม ให้รดน้ำประมาณ 3-4 วัน แล้วค่อยย้ายลงพื้นที่ปลูก โดยลักษณะดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายถึงแม้จะเป็นพืชที่ชอบพื้นที่แฉะแต่ก็ควรให้น้ำ และอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต รวมถึงการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ลำต้นอวบน้ำที่ดูน่ารับประทาน และสามารถนำไปจำหน่ายในท้องตลาดได้อีกด้วย
ใบบัวบก สรรพคุณ
ใบบัวบกถือเป็นพืชสมุนไพรที่มีส่วนประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และกรดต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริม และเกิดผลดีต่อร่างกายอยากมากมาย โดยใบบัวบกมีสรรพคุณทางการรักษา ดังต่อไปนี้
- ช่วยในการสมานแผล และรักษาโรคผิวหนังบางชนิดด้วยสารเคมีที่มีชื่อว่า “ไตเตอร์ปิโนอิดส์ (triterpenoids)” ในใบบัวบกซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทำให้สมานแผลได้ดี โดยจะทำให้ใช้ระยะเวลาในการรักษาน้อยลง
- ลดอาการบวมหรืออาการฟกช้ำต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการคั่งของเลือด โดยการดื่มน้ำใบบัวบก หรือใบบัวบกแบบแคปซูลซึ่งจะช่วยลดอาการปวดบวมบริเวณที่บาดเจ็บ รวมถึงช่วยลดอาการอักเสบร่วมด้วย
- รักษาเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยใบบัวบกสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน และอิลาสตินเกี่ยวกับเนื้อเยื่อทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้น้อยลง
- บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งอาจจะพบเห็นได้จากโฆษณาแชมพูด้วยการบำรุงเส้นผม และหนังศีรษะให้แข็งแรง อีกทั้งช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง นอกจากนี้ใบบัวบกก็ยังมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ ถือว่าเป็นวิธีลดผมร่วงแบบธรรมชาติอีกวิธีหนึ่ง
- รักษาอาการติดเชื้อ ทั้งแบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ หรือเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยรับคำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ
- ลดความวิตกกังวล ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันเป็นกันค่อนข้างมาก โดยใบบัวบกจะมีส่วนช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ด้วยไปลดการทำงานของสมองให้เกิดความเครียด หรือวิตกกังวลน้อยลง สำหรับบางคนที่มีอาการสะดุ้งตื่นเป็นประจำก็สามารถทุเลาลงได้ รวมไปถึงยังช่วยในการฟื้นฟูร่างกายจากความอ่อนเพลียได้ดี
- ลดความดันโลหิตสูง โดยการนำไปใช้ในแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นหนึ่งในแพทย์ทางเลือกเพื่อเข้ามามีส่วนช่วยลดความดันโลหิตโดยการทำให้หลอดเลือดดำ และเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์ ซึ่งในสมัยอดีตมักนิยมนำใบบัวบกไปตำแล้วนำมาพอกตามตัวเนื่องจากมีสารที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้ผิวพรรณดูชุ่มชื่นน่าสัมผัส อีกทั้งสารอนุมูลอิสระยังช่วยในการชะลอความแก่ด้วยการยับยั้งการเกิดริ้วรอย หรือรอยเหี่ยวย่นต่าง ๆ
- ช่วยในการระบายความร้อน เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรที่ให้ฤทธิ์เย็น มีส่วนช่วยสลายความร้อนในร่างกายด้วยการระบายความร้อนออก หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไปจากการไข้ ตัวร้อน หรือกระหาย ตลอดจนอาการอักเสบต่าง ๆ
วิธีทำน้ำใบบัวบก
สรรพคุณน้ำใบบัวบกที่รู้ ๆ กันคือจะช่วยแก้ช้ำในและการอักเสบ นอกจากนี้น้ำใบบัวบก สรรพคุณยังมีอีกมากมาย เช่น เสริมสร้างคอลลาเจน บำรุงสายตาก็ได้เพราะในใบบัวบกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอ ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย เอาล่ะ สรรพคุณน้ำใบบัวบกมีมากมายขนาดนี้ มาดูวิธีทำน้ำใบบัวบก เอาไว้ดื่มให้ชื่นใจกันซักหน่อย
- เลือกใบบัวบกใบแก่ ๆ ใช้ทั้งรากและลำต้น มาล้างน้ำให้สะอาด ก่อนนำไปบดหรือปั่นให้ตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ ก่อนเพราะใบบัวบกมีความเหนียว
- นำไปปั่นให้ละเอียด และนำผ้าขาวบางมากรอง คั้นเอาแต่น้ำใส ๆ
- วิธีืทำน้ำใบบัวบกให้อร่อยคือให้คั้นจากใบสด ๆ และทานทันที อาจจะเพ่ิ่มน้ำผึ้งเพื่อลดกลิ่นเหม็นเขียวได้
วิธีการรับประทานใบบัวบก
ในปัจจุบันสามารถนำใบบัวบกไปรับประทานได้ทั้งแบบสด หรือนำไปสกัดเป็นแบบสำเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาด
- แบบสด สามารถนำไปรับประทานเป็นเครื่องเคียง หรือนำไปประกอบอาหาร รวมไปถึงการนำใบสดไปปั่นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือสามารถนำไปพอกเพื่อสมานแผล และบำรุงผิวพรรณ
- แบบสำเร็จรูป มีการนำไปวางขายตามท้องตลาดโดยผ่านการสกัดจนกลายมาเป็นแบบแคปซูลใบบัวบกเนื่องจากหยิบนำมาทานได้ง่ายเพียงครั้งละเม็ด ซึ่งแคปซูลหนึ่งเม็ดจะมีสรรพคุณทางยาอย่างครบถ้วน
จะเห็นได้ว่าใบบัวบกมีสรรพคุณทางยานั้นไม่ได้มีแค่การรักษาอาการช้ำใน แต่ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย อีกทั้งยังสามารถทานได้ในทุกเพศทุกวัย
ไอเดียเมนูใบบัวบก
บัวบกเป็นสมุนไพรสารพัดประโยชน์ที่สามารถเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารได้หลากหลายแม้ตัวใบจะออกรสขมก็ตาม ต่อไปนี้เป็นไอเดียเมนูที่จะทำให้คุณได้ประโยชน์ของใบบัวบกหลายเมนู ซึ่งแต่ละเมนูได้รับการออกแบบเพื่อแสดงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ
1. เมนูใบบัวบกหน้าร้อนสุดสดชื่น
อาหารเรียกน้ำย่อย: บัวบกและสลัดส้ม
– ใบบัวบกสดผสมกับส้ม เกรฟฟรุต และเฟต้าชีสโรยหน้า ราดด้วยน้ำสลัดน้ำผึ้งผสมมะนาว
อาหารจานหลัก: ไก่ย่างกับเพสโต้บัวบก
– อกไก่ย่างชุ่มฉ่ำราดด้วยเพสโต้โฮมเมดที่ทำจากใบบัวบก ถั่วสน พาร์เมซานชีส และน้ำมันมะกอก เสิร์ฟพร้อมสลัดคีนัว
ของหวาน: เลมอนเชอร์เบทกับบัวบกมิ้นท์
– เชอร์เบทเลมอนเพิ่มความสดชื่น โรยหน้าด้วยบัวบกสับละเอียดและใบมิ้นต์ เหมาะสำหรับวันที่อากาศร้อน
2. เมนูใบบัวบกหน้าหนาว
อาหารเรียกน้ำย่อย: บัวบกและซุปฟักทอง
– ครีมผสมฟักทองและใบบัวบก ปรุงรสด้วยขิง กระเทียม และกะทิ ให้ความอบอุ่นและสารอาหาร
อาหารจานหลัก: เนื้อแกะย่างกับบัวบกเกรโมลาตา
– เนื้อแกะย่างเนื้อนุ่ม เสิร์ฟพร้อมเกรโมลาต้ารสเปรี้ยวที่ทำจากบัวบกสับ กระเทียม และผิวเลมอน เสิร์ฟพร้อมรากผักย่าง
ของหวาน: แอปเปิ้ลกรอบรสเครื่องเทศกับบัวบก
– แอปเปิ้ลเครื่องเทศอุ่นๆ โรยหน้าด้วยครัมเบิลข้าวโอ๊ตกรอบและใบบัวบกเล็กน้อย เสิร์ฟพร้อมไอศกรีมวานิลลา
3. เมนูใบบัวบกแบบวีแกน
อาหารเรียกน้ำย่อย: ปอเปี๊ยะบัวบก
– ม้วนกระดาษข้าวใส่ผักสด อะโวคาโด และใบบัวบกสับละเอียด เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มถั่วลิสง
อาหารจานหลัก: แกงกะทิใบบัวบก
– แกงเข้มข้นและมีกลิ่นหอมที่ทำจากเต้าหู้ ผักนานาชนิด กะทิ และใบบัวบก เสิร์ฟบนข้าวหอมมะลิ
ของหวาน: มูสมะม่วงกับบัวบก
– มูสมะม่วงเนื้อครีมบางเบาปรุงรสด้วยบัวบก มอบกลิ่นสมุนไพรอันละเอียดอ่อนและปิดท้ายด้วยความหวาน
แต่ละเมนูเน้นย้ำถึงความสามารถในการปรับตัวของบัวบก และยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารโดยรวมด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าคุณกำลังมองหาอาหารฤดูร้อนที่สดชื่นหรืองานฉลองฤดูหนาวที่แสนสบาย บัวบกก็เป็นส่วนเสริมที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกจาน
โทษของใบบัวบก และข้อควรระวัง
แม้จะมีข้อดีมากมายแต่ก็ยังมีข้อควรระวังต่าง ๆ ให้คุณได้ศึกษา และทำความเข้าใจก่อนนำไปรับประทานซึ่งได้แก่
- ต้องมีการตรวจสอบสุขภาพของตนเองเบื้องต้นว่ามีโรคประจำตัวที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้ยาหรือไม่
- ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทานเพราะมีการวิจัยถึงการส่งผลต่อตับทำให้เกิดอาการแย่ลงได้
- ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาลดคอเรสเตอรอล เบาหวาน ยาขับปัสสาวะ ยาที่ส่งผลต่อตับ และยาระงับประสาท เนื่องจากการส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติตอบสนองต่อร่างกาย ดังนั้นหากต้องการจะรับประทานต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- สำหรับคนที่ต้องรับประทานยาแก้แพ้ หรือยากันชัก การรับประทานใบบัวบกจะยิ่งเพิ่มฤทธิ์ให้เกิดการง่วงซึมจึงไม่แนะนำให้รับประทาน
- ผู้ที่รับประทานใบบัวบกสด ไม่ควรรับประทานใบบัวบกเกิน 3 – 6 ใบต่อวัน ซึ่งหากเกิดอาการภายหลังรับประทาน เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แนะนำให้หยุดยา และควรไปพบแพทย์โดยทันที
- ไม่ควรรับประทานใบบัวบกติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน หรือมากกว่า 1 อาทิตย์เพราะอาจส่งผลข้างเคียง เช่น ความรู้สึกเย็น และอาการหนาวสั่นตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้เป็นข้อควรระวังในการรับประทานใบบัวบกซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะหากได้รับในปริมาณมากเกินไป หรือใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่อาจส่งผลข้างเคียงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งจบกันไปแล้วสำหรับเรื่องน่ารู้ของใบบัวบัก ที่เราได้ให้ข้อมูลตั้งแต่ลักษณะ ใบบัวบกมีกี่ชนิด ใบบัวบก สรรพคุณที่หลายคนไม่รู้ การนำไปรับประทาน และโทษของใบบัวบก รวมถึงให้คุณได้นำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธีเพื่อให้เกิดสุขภาพร่างกายที่ดีโดยไม่มีผลข้างเคียง
แหล่งข้อมูล : Puechkaset, Abhaiherb, HD