หากพูดถึงการเลี้ยงปลากัด “ปลากัดป่า” ถือได้ว่ายังคงได้รับความนิยมเป็นจากผู้ที่ชื่นชอบอย่างล้นหลามเนื่องจากเป็นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในเรื่องของความสวยงามและลวดลาย อาทิ ปลากัดป่าใต้ ปลากัดป่าอีสาน ปลากัดป่าลูกทุ่ง และปลากัดป่าสีทองซึ่งพาทุกท่านไปดูถึงลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ซึ่งจะน่าสนใจแค่ไหนมาติดตามกัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ปลากัดป่าภาคใต้
ปลากัดป่าภาคใต้ หรือป่ากัดป่าใต้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Original Content By nextstep. ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายกับปลากัดภาคกลางและปลากัดอีสานแต่มีรูปร่างที่เรียวยาวและครีบข้างลำตัวค่อนไปทางด้านหลังรวมไปถึงพฤติกรรมค่อนข้างก้าวร้าวกว่า
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: จะพบปลากัดป่าใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจนถึงชายแดนใต้รวมไปถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนามโดยอาศัยตาม ทุ่งนา หนอง คลอง บึงในช่วงบริเวณที่มีน้ำนิ่ง หรือไหลเอื่อย ๆ
- ลักษณะเด่นของปลากัดใต้: สันหัวจะเป็นเขม่าดำที่แก้มจะมีสีเขียวถึงฟ้า 2 ขีด ลักษณะลำตัวทรงกระบอก เกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าเข้มแบบขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปราย ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำก้านครีบ ชายน้ำพื้นเนื้อและก้านครีบสีแดง ครีบท้องเป็นก้านครีบเดี่ยวครีบคู่และครีบหางเป็นรูปทรงพัด พื้นหางและก้านครีบเป็นสีแดงเข้ม
ปลากัดป่าอีสาน
ปลากัดป่าอีสานเป็นปลากัดมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta Smaragdina Ladiges, 1972. ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลางซึ่งจะแยกออกเป็นสองสายคือ อีสานหน้างูธรรมดาและอีสานหางลาย (กีต้า)
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: จะมีการแพร่กระจายอยู่อาศัยในแถบภาคอีสานและประเทศลาวโดยมักอาศัยตามทุ่งนา ปลักควาย หนองและคลองบึงที่มีน้ำนิ่ง หรือบนภูเขาสูงที่มีระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตร
- ลักษณะเด่นของปลากัดอีสาน:
- หากมีเกล็ดเป็นแผ่น ๆ ที่หน้าจะเรียกว่า “ปลากัดอีสานหน้างู” ซึ่งจะมีลักษณะนิสัยค่อนข้างดุโหด แต่เมื่ออยู่ต่างถิ่นจะขี้กลัว ปลามีลำตัวใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของสายพันธุ์ปลากัดป่า
- อีกหนึ่งชนิดคือ “ปลากัดอีสานหางลาย(กีต้า)” เป็นปลาที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพราะเวลาพองใส่กันปลาจะกระดิกตะเกียบ (Pelvic fins) ซึ่งคล้ายกับคนเล่นกีต้าร์ นอกจากนี้พื้นหางจะมีเส้นลายขีดสีดำตามขวางและรอบวงหางคล้ายเส้นใยแมงมุม
ปลากัดลูกทุ่ง
ปลากัดลูกทุ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า STRIPED CROAKING GOURAMI. ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งหลายคนมักจะเรียกกันว่า “ปลากริม”
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: เป็นปลากัดที่พบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ อาทิ ท้องนา หนอง คลอง และบึงซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากพบได้ตามภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ตอนบนตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีและพบประปรายในช่วงนครศรีธรรมราชและบางส่วนในจังหวัดนราธิวาส
- ลักษณะเด่นปลากัดลูกทุ่ง: ใบหน้าแก้มจะมีสีแดง ลำตัวสีน้ำตาลแดง หรือดำแดง หางสีแดง ส่วนกระโดงจะมีทั้งสีแดงและสีดำบาง ๆ ส่วนชายน้ำมีสีแดงขีดสลับน้ำเงินออกฟ้า โดยครีบหลังยาวเรียว มีขนาดสั้นกว่าครีบก้นโดยส่วนหางเป็นรูปคล้ายใบโพธิ์ซึ่งปลากริมแต่ละตัวมีสีสันแตกต่างกันไปแม้จะมาจากแหล่งน้ำเดียวกัน
ปลากัดป่าสีทอง
มาถึงปลากัดป่าสีทอง หรือที่รู้จักกันว่า Golden Betta ซึ่งเป็นปลาที่ถูกพัฒนามาโดยลุงอ๋า ปากน้ำที่สร้างมูลค่าจนมีรายได้หลักล้าน
- ถิ่นอยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์: มาจากการเพาะพันธุ์โดยลุงอ๋า ปากน้ำซึ่งใช้เวลาในการพัฒนาอยู่หลายรุ่นจนในที่สุดได้ก็พันธุ์ปลาสีทองเหลืองไม่ติดแดง จากนั้นจึงได้นำพันธุ์ปลาสีทองเหลืองมาผสมกับปลากัดแพลตตินั่มสีขาวหางกลมจนได้มาเป็น “ปลากัดสีทอง”
- ลักษณะเด่นปลากัดป่าสีทอง: จะมีความโดดเด่นโดยเฉพาะในเรื่องสีโดยมีลักษณะของเกล็ดสีทองเงางามมีลักษณะคล้ายเคลือบเงาซึ่งถือเป็นปลากัดมงคลที่ดูมีคุณค่าและราคาแตกต่างกันออกไปโดยเริ่มตั้งแต่ตัวละ 500 ไปจนถึง 5,000 บาทนอกจากนี้ยังได้รับการพํมน่ออกเป็นอีกหลายสายทั้ง ปลากัดสีทองหางโพธิ์ ปลากัดหูช้างสีทองและปลากัดสีทองครีบยาว
วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัดป่า
- โดยส่วนใหญ่มักจะนิยมเลี้ยงปลากัดในขวด หรือโหลเลี้ยงปลากัดขนาดเล็กซึ่งไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาอื่น ๆ เนื่องจากปลากัดป่าเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน
- นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์เต็มที่มาวางติดกันซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “การเทียบคู่”ซึ่งจะต้องปราศจากสิ่งรบกวนโดยมักจะใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3 – 10 วันจากนั้นจึงนำปลาทั้งสองไปใส่ไว้ในภาชนะเดียวกันเพื่อทำการผสมพันธุ์ อาทิ ขันพลาสติก ขวดโหล กะละมัง อ่างดิน หรือตู้กระจกเลี้ยงปลา แล้วให้นำไม้ที่แช่ด่างทับทิมเรียบร้อยแล้วจุ่มลงไปในน้ำโดยไม้ที่นิยมใช้คือ สาหร่ายหางกระรอก จอก หรือใบผักตบชวาซึ่งรอให้ปลาปรับภาพให้ชินประมาณ 1 – 2 วัน ปลาเพศผู้ก็จะเริ่มก่อหวอดพันธ์ุไม้ หลังสร้างหวอดเสร็จตัวผู้ก็จะพองตัวกางครีบไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด เมื่อตัวเมียลอยขึ้นมาเหนือผิวหน้าปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียตรงบริเวณช่องอวัยเพศเพื่อให้ไข่หลุดออกมาแล้วไปปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม
- เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่ แนะนำให้ปล่อยให้เพศผู้ดูแลไข่ประมาณ 2 วันจึงค่อยแยกเพศผู้ออกมา
เป็นอย่างไรกันบ้างกับปลากัดป่า 4 สายพันธุ์ที่ได้นำมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านทั้งปลากัดป่าภาคใต้ อีสาน ลูกทุ่งและปลากัดสีทองซึ่งมีความแตกต่างกันไปในถื่นที่อยู่อาศัยรวมถึงบางสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาจนสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างปลากัดสีทองซึ่งเหมาะสำหรับใครที่กำลังสนใจ มีความชื่นชอบในพันธุ์ปลากัดก้สามารถนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อสร้างเป็นรายได้ได้อีกหนึ่งช่องทาง
Feature Image credit : pixabay