ทุกคนรู้แล้วว่าการมีรถยนต์ไฟฟ้าใช้ในปัจจุบันนอกจากตัวรถที่มีหลายรุ่น หลายยี่ห้อและหลายราคา ซึ่งนอกจากจะเป็นรถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินได้เยอะเลย นั่นหมายถึงเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมัน แต่สามารถจะใช้วิธีชาร์จไฟฟ้าโดยจะเลือก เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี ที่เหมาะกับรถที่ใช้อยู่ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องรู้จักประเภทของเครื่องชาร์จรถยนต์ ไฟฟ้าเสียก่อนว่าแบบไหนจะใช้อย่างไร และแบบไหนควรจะติดตั้งอย่างไร วันนี้ Shopee จะพาไปดูกัน!


หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
1. การชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว(QUICK CHARGER)
การชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 0% – 80% โดยจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาทีเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยประเภทหัวชาร์จจะมี 3 แบบด้วยกันดังนี้
- หัวชาร์จแบบ CHAdeMO ( CHArge de Move ) เป็นระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
- หัวชาร์จแบบ GB/T ถูกพัฒนาโดยประเทศจีนเพื่อใช้งานภายในประเทศ เป็นการตอบรับการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศนั่นเอง
- หัวชาร์จแบบ CCS (Combined Charging System) จะสามารถแบ่งย่อยได้เพิ่มเติมอีกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- CCS TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะของหัวชาร์จจะเล็กกว่าและรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V ได้
- CCS Type 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในทวีปยุโรป หัวชาร์จจะมีขนาดใหญ่และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จแบบแรก
2. การชาร์จไฟฟ้าแบบธรรมดาหรือแบบ Double Speed Charge (เครื่องชาร์จ Wall Box)
เป็นเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) จะเห็นได้ตามตู้ชาร์จติดผนังทั้งที่บ้านและตามห้างสรรพสินค้าซึ่งจะต้องมีมิเตอร์ไฟของบ้านที่ต้องการติดตั้งสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำได้ที่ 30(100)A โดยระยะเวลาการชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟ, ขนาดของแบตเตอรี่ และสเปคของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น โดยหัวชาร์จที่ใช้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ
- TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
- TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในทวีปยุโรป
3. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge)
การชาร์จไฟจากการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง มิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ จะเป็นเต้ารับเฉพาะประเภทของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้ โดยจะต้องติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าโดยเฉพาะ สำหรับการชาร์จจะเป็นการชาร์จแบบไฟฟ้ากระแสสลับ จึงใช้ระยะเวลาในการชาร์จนานตั้งแต่ 12-15 ชั่วโมง โดยหัวชาร์จที่ใช้จะมีดังนี้
- TYPE 1 หัวชาร์จที่นิยมใช้ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสสลับใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ 120 V หรือ 240 V
- TYPE 2 หัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป เป็นหัวชาร์จแบบพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ รองรับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 120 V หรือ 240 V
แนะนำ 10 เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Schneider รุ่น EVlink Wallbox ขนาด 22kW
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Plus
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC Mini Plus ขนาด 7.4 kW
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Besen EV Charger
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Scheider EVlink Wall box ขนาด 7.4 kW
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Siemens VersiCharge Gen 3
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Portable EV Charging Box
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC MAX ขนาด 22 kW
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Viridian Ecolite Charger ขนาด 22 kW
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Enel X JuiceBox [Single Phase 7.4 kW]
1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Schneider รุ่น EVlink Wallbox ขนาด 22kW
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Schneider รุ่น EVlink Wallbox เป็นเครื่องชาร์จจากประเทศฝรั่งเศสสามารถใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อและทุกรุ่นที่รองรับหัวชาร์จแบบ Type 2 ซึ่งจะเป็นแบบติดกับผนังซึ่งเหมาะจะใช้ภายในบ้าน
- มีระบบล็อกด้วยกุญแจเพื่อป้องกันการขโมยสายชาร์จ มีระบบจัดการพลังงาน โดยการเลือกเวลาชาร์จหรือจำกัดกระแสไฟฟ้าได้
- ตัวเครื่องมาพร้อมการชาร์จด้วยกำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 22kW ใช้เวลาในการชาร์จเพียง 2-3 ชั่วโมง
- ตัวเครื่องได้รับมาตรฐาน IP54 ซึ่งสามารถจะป้องกันน้ำและฝุ่นได้ ขนาดตัวเครื่องยาว 480 มม. กว้าง 331.5 มม. มีความหนาของตัวเครื่องอยู่ที่ 170 มม. และมีน้ำหนัก 5.6 กก.
- ราคาประมาณ 84,290 บาท
2. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Plus ขนาด 22 KW
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี กับ Wallbox รุ่น Pulsar Plus ตัวเครื่องดีไซน์ทันสมัยทรงสี่เหลี่ยมมีความยาวของสายชาร์จมากถึง 7 เมตรและเมื่อมีการติดตั้งระยะของสายไฟจะมีความยาวมากถึง 20 เมตร
- ตัวเครื่องจะมีขนาดกะทัดรัดเพราะมีน้ำหนักเพียง 1.9 กิโลกรัม โดยมีความกว้างอยู่ที่ 166 มม. ยาว 163 มม. มีความหนาของตัวเครื่องเพียง 82 มม.
- มีความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นระดับ IP54 และ IK10 ให้กำลังการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด 22 kW หัวชาร์จเป็นแบบ Type 1 และ Type 2
- มาพร้อมฟังก์ชันควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ตโฟนโดยการเชื่อมต่อเครื่องชาร์จผ่าน myWallbox App
- ราคาประมาณ 75,000 บาท
3. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC Mini Plus ขนาด 7.4 kW
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC Mini Plus ดีไซน์มีขนาดกะทัดรัดโดยมีน้ำหนักอยู่ที่ 3.7 กิโลกรัม
- ลักษณะการติดตั้งจะเป็นแบบแขวนติดกับฝาผนัง ตัวเครื่องมีขนาดความกว้าง 318 มม. ยาว 363 มม. และมีความหนาของตัวเครื่องที่ 130 มม.
- ให้กำลังการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด 7.4 kW หรือ 32A การเชื่อมด้วยระบบ 3G / Wifi
- สำหรับการเข้าใช้งานได้ในระยะไกลซึ่งรวมถึงแอพมือถือและรองรับหัวชาร์จมาตรฐานทั้ง Type1 และ Type2 มีระบบกันไฟรั่วและ IP55 ระบบป้องกันฝุ่นซึ่งเหมาะจะติดตั้งทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน
- ราคาประมาณ 54,740 บาท
4. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Besen EV Charger


คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา Besen EV Charger ซึ่งจะมีสายชาร์จยางถึง 5.65 เมตรโดยมีการออกแบบรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบยาวในแนวตั้ง
- มีหน้าจอแบบ LCD โดยเด่นด้วยไฟ LED ที่บอกระดับการชาร์จไฟ พร้อมตัวเลขแบบดิจิทัล
- มีมาตรฐาน IK10 ที่สามารถจะป้องกันการกระแทกและ IP66 ที่สามารถป้องกันฝุ่นและน้ำได้
- ตัวเครื่องมีกำลังการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด 7.4 – 22 kW หัวชาร์จเป็นแบบ Type2 มีขนาดตัวเครื่องความยาว 295 มม. กว้าง 195 มม. และมีความหนาของตัวเครื่องที่ 70 มม.
- มีน้ำหนัก 7 กิโลเมตร พร้อมระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม
- ราคาประมาณ 11,900 บาท
5. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Scheider EVlink Wall box ขนาด 7.4 kW
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Scheider EVlink Wall box ซึ่งมีกำลังการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด 7.4 kW หัวชาร์จมีให้เลือกทั้ง Type 1 และ Type 2
- ตัวเครื่องจะมีสายชาร์จยาวถึง 5 เมตร และสามารถจะใช้งานได้กับรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อ
- นอกจากนี้ยังมีกุญแจล็อกป้องกันการขโมยสายชาร์จ พร้อมระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม หรือมีเหตุขัดข้อง
- ตัวเครื่องยังมีมาตรฐาน IP54 และ IK10 ซึ่งจะป้องกันฝน แดด และฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี
- สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ Indoor และ Outdoor ตัวเครื่องยังได้รับการประกันศูนย์มากถึง 3 ปี
- ราคาประมาณ 55,000 บาท
6. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Siemens VersiCharge Gen 3
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี กับ Siemens VersiCharge Gen 3 ที่ผลิตด้วยวัสดุตัวเครื่องจาก Polycarbonate ซึ่งจะมีความทนทานและไม่ลามไฟ
- มีจุดเด่นที่สามารถจะใช้งานด้วยมือถือผ่าน Application ได้อย่างง่ายดายและเพิ่มความเป็นส่วนตัวกับการใช้งานผ่าน Key card (RFID TAG) จะเปิด/ปิด และตั้งเวลาการชาร์จ
- สามารถจะดูสถานะของการชาร์จย้อนหลังแบบรายเดือน รายสัปดาห์และรายปีได้
- สำหรับการชาร์จจะใช้หัวชาร์จแบบ Type 2 ซึ่งมีสายชาร์จยาวมากถึง 7 เมตรและจะปล่อยกำลังไฟได้สูงสุดถึง 22 kW
- มีมาตรฐาน IP56 ป้องกันฝุ่น น้ำ และ IK10 ป้องกันการกระแทกและตัวเครื่องยังมี RCD intergrated ช่วยป้องกันกระแสไฟรั่ว
- ราคาประมาณ 78,500 บาท
7. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Portable EV Charging Box
คุณสมบัติ
- ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยหัวชาร์จ Type 2 ซึ่งมีมาตรฐาน IP65 ที่สามารถจะกันน้ำและยังกันฝุ่นได้ถึง 100% ทุกรุ่นและยังผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน CE ซึ่งมีความปลอดภัยสูง สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาด้วยหน้าจอที่จะแสดงผลแบบ LCD และมีปุ่มการควบคุมได้ถึง 3 ปุ่ม ก็คือ
- ปุ่ม TIME ใช้กำหนด Appointment Time Duration ได้ตั้งแต่ 1-9 ชั่วโมง
- ปุ่ม Current สำหรับปรับเลือกกระแสไฟในการชาร์จ 6 / 8 / 10 / 13 /16 แอมแปร์ (16A)
- ปุ่ม DELAY สำหรับการตั้ง Delay Start Time ได้ตั้งแต่ 1-9 ชั่วโมง
- โดยที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Portable EV Charging Box กับค่าเริ่มต้นของกระแสไฟจะอยู่ที่ 10 แอมแปร์ (10A) จะเหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น Plug in Hybrid หรือ PHEV และไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือ BEV ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ
- นอกจากนี้ตัว Control Box ยังมีชิบควบคุมหากเกิดภาวะปกติจะทำการตัดกระแสไฟ และตัวสายไฟเป็น TPU อย่างดีได้รับรองมาตรฐานจาก International Environmental Standard ซึ่งจะใช้งานได้นานและทนความร้อนสูง
- ราคาประมาณ 12,085 บาท
8. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC MAX ขนาด 22 kW
คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Delta AC Max ที่มีการออกแบบดีไซน์มาได้อย่างกะทัดรัด เป็นแบบแขวนติดกับฝาผนังและได้รับมาตรฐาน IP55/IK08 ที่สามารถจะป้องกันน้ำและกันฝุ่นได้
- มีกำลังการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด 22 kW และรองรับหัวชาร์จมาตรฐานทั้ง Type1 และ Type2 ยังมีระบบกันไฟรั่วได้ จึงเหมาะที่จะใช้ติดตั้งทั้งภายในบ้านและภายนอกอาคารได้เป็นอย่างดี
- ตัวเครื่องมีขนาดความกว้าง 318 มม. ยาว 363 มม. และมีความหนาของตัวเครื่องที่ 130 มม.
- สำหรับระบบด้านการเชื่อมต่อก็ยังได้รับมาตรฐาน ISO 15118 และมาตรฐาน Open Charge Point Protocol (OCPP) อีกด้วย อีกทั้งยังได้รับประกันศูนย์ 2 ปีด้วยกัน
- ราคาประมาณ 72,000 บาท
9. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Viridian Eco lite Charger ขนาด 22kW


คุณสมบัติ
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อ Viridian Eco lite Charger ขนาด 22 kW ใช้งานง่าย เพียงแค่เสียบหัวชาร์จก็เริ่มชาร์จได้ทันที
- มีกุญแจล็อกป้องกันการชาร์จอีกทั้งตัวเครื่องชาร์จจะมาพร้อมกับสายชาร์จที่มีความยาวถึง 5 เมตรด้วยกัน อีกทั้งการใช้งานก็ง่ายเพราะจะมีหัวชาร์จให้เลือกได้ทั้ง Type 1 และ Type 2 สามารถจะใช้งานได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ
- นอกจากนี้ยังมีระบบ IP54 เป็นการป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง ถึงแม้จะมีการใช้งาน Outdoor
- สำหรับการติดตั้งจะมีอุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินพิกัดและป้องกันไฟดูดรวมทั้งการตัดกระแสไฟรั่วให้
- ราคาประมาณ 69,000 บาท
10. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Enel X JuiceBox
คุณสมบัติ
- ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Enel X Juice Box จะเป็นแบรนด์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สามารถจะใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนได้ด้วยแอปพลิเคชัน EV JuiceNet ถือเป็น Smart EV Charger ที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้
- โดยตัวเครื่องชาร์จแบรนด์นี้ได้การรับรองมาตรฐานสากลสำหรับระบบการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า CE, IEC 61851 และได้รับมาตรฐาน IP66, IK10
- มาพร้อมสายชาร์จ Type2 ที่ยาวถึง 7 เมตร โดยการติดตั้งจากตู้ไฟไปยังจุดติดตั้งเครื่องชาร์จจะมีสายไฟในท่อ uPVC รวม 20 เมตร จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งที่บ้าน คอนโด ออฟฟิศและโชว์รูมโดยการติดตั้งการชาร์จได้ถึง 2 ระบบด้วยกัน
- ติดตั้งแบบ Single Phase สามารถปล่อยกำลังไฟสูงสุด 7.4kW 32A
- ติดตั้งแบบ Three Phase สามารถปล่อยกำลังไฟสูงสุด 22kW 32A
- ราคาประมาณ 79,000 บาท
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี กับการเลือกใช้งานสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือจะต้องเลือกให้เหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในบางรุ่นก็สามารถจะใช้งานได้กับรถทุกรุ่นและทุกยี่ห้อด้วยกัน อีกทั้งการเลือกคุณสมบัติบางอย่างเพื่อที่จะตอบโจทย์ให้กับความต้องการ เช่น ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ หรือต้องการเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถจะพกพาไปได้ทุกที่และเพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ รีวิวเครื่่่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากันไปแล้ว หากใครมองหารถยนต์ไฟฟ้า อ่านรีวิวรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์มินิหลักมื่น ได้ที่ Shopee Blog
ข้อมูลอ้างอิง : nissan.co.th / egatevchargers.com / duosidathailand.com