ปวดฟัน! เป็นอาการปวดที่ทรมานใจและกวนใจสุด ๆ ใครไม่เคยปวดฟันไม่มีทางรู้อย่างแน่นอนว่ามันทรมานขนาดไหน! แม้ว่าจะปวดฟันแค่นิดเดียว ไม่ว่าจะปวดตุบ ๆ ปวดจี๊ด ๆ ปวดฟันตลอดเวลา หรืออาการปวดไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่กวนใจจนไม่อยากทำอะไรเลยตลอดทั้งวัน ครั้นจะกินแต่ยาแก้ปวดทุกครั้งเมื่อปวดฟันคงไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งในสมัยก่อนที่ยังไม่มีคลินิกทันตกรรม หรือโรงพยาบาลที่เข้าถึงได้ง่าย คนสมัยก่อนได้คิดค้น วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ โดยใช้สมุนไพรและของใกล้ตัวมาช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน แม้จะไม่หายปวดฟัน แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ปวดน้อยลงก่อนไปพบทันตแพทย์ และหลายวิธีก็ยังคงใช้ได้ผลดีจนถึงปัจจุบัน
บทความนี้ Shopee พามาเจาะลึกสาเหตุที่ทำให้ปวดฟันมีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร รวมถึงอาการปวดฟันชนิดต่าง ๆ เช่น ปวดฟันคุด ปวดฟันผุ และรูปแบบอื่น ๆ พร้อมแนะนำ 8 วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ สามารถแก้อาการปวดฟันได้ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยที่ต้องใช้สารเคมีรุนแรง ตามไปดูกันเลย!
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดฟัน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงมีอาการปวดฟัน? การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุในการปวดฟันจึงเป็นสิ่งสำคัญของวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาการปวดฟันมาจากหลายปัจจัย เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันคุด เหงือกอักเสบ ปวดจากรากฟันอักเสบ เสียวฟัน หรืออื่น ๆ โดยสาเหตุของการปวดฟันเวลาที่ปวดจะมีอาการแตกต่างกัน เช่น
ปวดฟันผุ
- ปวดฟันผุ อาการที่พบบ่อยมากที่สุด ซึ่งอาการปวดจะมีความแตกต่างกันไปตามความลึกของการผุ
- ฟันผุระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีเสียวฟันบ้างเล็กน้อย เมื่อกินอาการที่มีรสจัด เย็นจัด หรือร้อนจัด
- ฟันผุลึกถึงเนื้อฟัน เริ่มมีอาการเสียวฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นยิ่งทำให้เสียวฟันมากขึ้น และอาจมีอาการปวดฟันเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดในรูที่ฟันผุ
- ฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน ถือเป็นอาการฟันผุที่รุนแรงมากที่สุด โดยจะมีอาการปวดมากถึงมากที่สุด ปวดแบบตุบ ๆ และปวดอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่มีสิ่งกระตุ้นเลย บางครั้งอาจจะปวดจนทำให้นอนไม่หลับ หรืออาจมีอาการเหงือกบวม หรือมีหนองร่วมด้วยก็ได้
ปวดฟันมาจากการบาดเจ็บ ฟันแตก ฟันร้าว
- ปวดฟันมาจากการบาดเจ็บ หรือ ฟันแตก หรือ ฟันร้าว ซึ่งจะมีอาการปวดต่อเมื่อมีการกัดหรือเคี้ยวอาหาร พร้อมกับมีอาการเสียวฟันร่วมด้วยเมื่อโดนความเย็นหรือความร้อน ทั้งนี้ อาการปวดจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรอยแตกของฟัน หากแตกหรือร้าวไปถึงโพรงประสาทฟัน ก็จะยิ่งทำให้ปวดฟันรุนแรงมากขึ้น
- ปวดจากรากฟันอักเสบ หรือ ปลายรากฟันเป็นหนอง ซึ่งหากฟันผุลึกโดยไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าไปที่ปลายรากฟัน จนทำให้มีหนองขึ้นมาได้ จนทำให้เกิดอาการอักเสบที่รุนแรงขึ้นตามลำดับได้
- อาการปวดรุนแรง ปวดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีอาการปวดแบบตุบ ๆ หรือปวดแปลบ ๆ มักจะปวดมากขึ้นเวลานอนลง หรือเมื่อเคี้ยวอาหาร
- อาการเสียวฟันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโดนความร้อนหรือความเย็นจัด ๆ
- ฟันเปลี่ยนสี โดยฟันที่ปวดจะเริ่มมีอาการอักเสบ แล้วทำให้สีฟันเปลี่ยนเป็นสีคล้ำได้
- เหงือกบวมแดง และมีตุ่มหนอง จะเกิดตรงบริเวณปลายรากฟัน อาจจะมีอาการบวม หรือมีตุ่มหนองเกิดขึ้น
- กรณีที่ติดเชื้อรุนแรงและลุกลามออกไปนอกปลายรากฟัน อาจทำให้มีไข้ และใบหน้าบวมได้
ปวดฟันคุด
- อาการปวดฟันคุด ซึ่งฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายที่ขึ้นอยู่ซี่ในสุด โดยจะขึ้นในช่วงอายุ 17-25 ปี และมักจะขึ้นไม่เต็มที่หรือขึ้นผิดแนวไปเบียดฟันซี่ข้างเคียง จึงทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดฟันคุดก็มีหลากหลายรูปแบบ
- ปวดตุบ ๆ หรือปวดแปลบเป็นครั้งคราว จึงไม่แน่ใจว่าปวดฟันซี่ไหนกันแน่! และมักจะปวดมากขึ้น เมื่อตอนที่ฟันพยายามงอกออกขึ้นมา
- เหงือกบวมแดง โดยบริเวณเหงือกที่คลุมฟันคุดจะอักเสบ บวมแดง และอาจจะรู้สึกเจ็บ เมื่อไปสัมผัสหรือเคี้ยวอาหาร
- ปวดร้าวไปที่กราม หู หรือลำคอ เนื่องจากฟันคุดอยู่ใกล้บริเวณขากรรไกร จึงทำให้ความเจ็บอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียงได้
- กรณีที่มีอาการอักเสบรุนแรง ทำให้การเคลื่อนไหวของขากรรไกรจำกัด จึงทำให้อ้าปากได้น้อยลง หรือกลืนลำบากมากขึ้น
- เริ่มมีกลิ่นปาก เนื่องจากเศษอาหารและแบคทีเรียเข้าไปติดสะสมบริเวณซอกเหงือกที่คลุมฟันคุด ทำให้เกิดการติดเชื้อและมีกลิ่น จนทำให้ต้องใช้สเปรย์ดับกลิ่นปากเพื่อช่วยกลิ่นปาก
เหงือกอักเสบ
- ปวดฟันจากเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ โดยส่วนใหญ่สาเหตุมาจากคราบหินน้ำลายหรือหินปูน จึงทำให้เหงือกอักเสบ บวม และปวดฟันได้ ซึ่งจะมีอาการปวดหนึบ ๆ หรือปวดรำคาญ ร่วมกับเมื่อแปรงฟันแล้วมีเลือดออก ถ้าปวดมาก ๆ จะทำให้ฟันโยกได้ เหงือกร่น อาจจะมีหนองไหลจากเหงือก และมีกลิ่นปากอย่างรุนแรง

Cr: freepik.com
8 วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ สูตรธรรมชาติ ช่วยลดอาการปวดฟันได้
เมื่อปวดฟัน นอกจากกินยาแก้ปวดแล้ว ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่ช่วยลดอาการปวดฟันได้ หนึ่งในนั้นก็คือ วิธีแก้ปวดแบบโบราณ โดยที่ไม่จำเป็นต้องกินยา และยังช่วยสริมสร้างสุขภาพช่องปากได้อีกด้วย มาดูกันสิว่า 8 วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ มีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถนำกลับไปลองทำตามได้เลยเมื่อมีอาการปวดฟัน มาดูกัน
1. น้ำมันกานพูล
น้ำมันกานพลู ได้ถูกนำมาใช้เป็นยาชาตามธรรมชาติมานานหลายศตวรรษ เนื่องจากมีสารยูเกนอล (Eugenol) อยู่ในสมุนไพรชนิดนี้ การหยดน้ำมันกานพลู 2 – 3 หยดลงบนบริเวณที่มีอาการปวดฟัน จะทำให้เส้นประสาทชา ลดความเจ็บปวด และการอักเสบได้ น้ำมันหอมระเหยนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กานพูลยังมีในรูปแบบเม็ด สามารถนำกานพลู 1 – 2 เม็ดมาเคี้ยวเบา ๆ บริเวณฟันที่ปวด เพื่อให้น้ำมันจากกานพลูออกมา หรือจะนำกานพลูมาวางไว้บริเวณฟันที่ปวดแล้วกัดเบา ๆ ทิ้งไว้สักครู่ ก็จะช่วยลดอาการปวดฟันได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นสูตรธรรมชาติที่นิยมใช้กันมานาน
2. กระเทียม
กระเทียม มีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลลิซิน” (Allicin) ที่มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ สามารถช่วยลดการติดเชื้อ และบรรเทาอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดี วิธีทำง่าย ๆ คือ ให้นำกระเทียม 1 กลีบ มาบุบหรือสับให้ละเอียด ผสมกับเกลือเล็กน้อยแล้วให้ทาบริเวณฟันที่ปวด ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที เพียงแค่นี้จะช่วยลดอาการปวดฟันได้แล้ว
3. หัวหอม
หัวหอม ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องเทศที่ช่วยให้อาหารอร่อยแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย วิธีทำง่าย ๆ ให้หั่นหัวหอม หรือหอมแดง เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปวางบริเวณฟันที่ปวด หรือเคี้ยวเบา ๆ ก็จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดอาการปวดฟันได้
4. ใบฝรั่ง
น้อยคนที่รู้ว่าใบฝรั่งมีสรรพคุณที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ เนื่องจากใบฝรั่งจะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและแก้ปวดฟันหายใน 1 นาที วิธีทำง่ายมากๆ เพียงนำใบฝรั่งสด 2 – 3 ใบ มาล้างทำความสะอาด แล้วเคี้ยวเบา ๆ บริเวณฟันที่ปวด หรือจะนำใบฝรั่งไปต้มกับน้ำ เพื่อใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งเป็นการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติที่ช่วยอาการปวดฟันได้หายเร็วอย่างน่าทึ่งเลย
5. ขิง
ขิง เป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบตามธรรมชาติ ช่วยลดอาการปวดฟันและเหงือกบวมได้ โดยให้หั่นขิงเป็นแว่น ๆ หรือทุบขิงให้พอแตก แล้วนำไปวางตรงบริเวณฟันที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ หรือจะนำขิงไปต้มแล้วจิบ ๆ หรืออมกลั้วปากก็ได้เช่นกัน
6. เมล็ดผักชี
อาจเคยได้ยินถ้าปวดฟันให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปาก ซึ่งน้ำเกลือก็สามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้จริง! แต่ถ้าบ้วนบ่อยเกินไปอาจจะทำให้เกิดผลเสียได้ เพราะเกลือจะมีโซเดียมสูง ซึ่งไม่เป็นผลดีกับสุขภาพ ฉะนั้น หากมีอาการปวดฟัน ให้ลองนำเมล็ดผักชีไปต้มกับน้ำ แล้วนำมาบ้วนปากบ่อย ๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับโซเดียมมากเกินไป และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ ซึ่งดีกว่าการใช้น้ำเกลืออีกด้วย
7. ว่านหางจระเข้
ถ้าพูดถึงสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาแบบครอบจักรวาล ต้องยกให้กับ ว่านหางจระเข้ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยสมานแผล หรือจะช่วยดับร้อนได้เท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่ายังสามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้ด้วย เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคและสลายพิษของเชื้อโรคได้ จึงช่วยลดอาการปวดฟันเนื่องจากฟันผุได้ เพียงแค่นำว่านหางจระเข้มาล้างยางออกให้หมด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่บริเวณซอกฟันซี่ที่ปวด หรือจะนำสำลีพันปลายไม้จุ่มน้ำวุ้นของว่านหางจระเข้มาป้ายบริเวณที่ปวด เพียงเท่านั้นก็สามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้ชั่วคราวแล้ว
8. ใบชา
ใบชา นอกจากชงดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยลดอาการอักเสบและลดอาการเหงือกบวมได้ด้วย ใครปวดฟันหรือเหงือกบวมก็สามารถใช้ใบชาในการรักษาได้ เพียงแค่นำใบชาแห้งไปแช่ในน้ำร้อนประมาณ 20 นาที แล้วให้รอจนกว่าน้ำชาจะเริ่มอุ่น จากนั้นให้นำมาบ้วนปากบ่อย ๆ จะช่วยลดอาการปวดฟันลงได้ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้บ้วนน้ำสะอาดตามด้วย เพราะน้ำชาอาจทำให้เกิดคราบหินปูนได้
เมื่อมีอาการปวดฟัน ไม่ว่าจะปวดตุบๆ ปวดจี๊ด ๆ ปวดฟันตลอดเวลา หรือปวดแบบไหนก็ตาม แต่คุณยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นด้วยตนเอง ซึ่งเรามีวิธีทําให้หายปวดฟันแบบง่าย ๆ ที่สามารถทำเองที่บ้านได้เลย ดังนี้
วิธีแก้ปวดฟันเร่งด่วนแบบง่าย ๆ ที่ทำเองที่บ้านได้
- กลั้วปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ ช่วยแก้ปวดฟัน เนื่องจากเกลือจะมีสรรพคุณที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปวดฟัน เมื่อมีอาการปวดฟันขึ้นมา สามารถนำเกลือมาผสมน้ำอุ่น แล้วให้อมไว้ประมาณ 30 – 60 วินาที เน้นบริเวณฟันที่ปวด จากนั้นบ้วนทิ้ง ทำซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง หรือบ่อยเท่าที่ต้องการ จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้
- ประคบเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่ปวด ทำให้ช่วยลดอาการปวดบวมและอาการอักเสบได้ วิธีทำง่าย ๆ ให้เริ่มประคบจากด้านนอก บริเวณแก้มที่ปวดฟัน ครั้งละ 15 – 20 นาที พัก 10 – 15 นาที แล้วให้ประคบซ้ำ ทำแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น ซึ่งการประคบสามารถใช้น้ำแข็งใส่ถุงผ้า หรือใช้เจลประคบเย็นก็ได้เช่นกัน
- ใช้น้ำร้อนช่วยประคบ หากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด การใช้น้ำร้อนในการประคบตรงบริเวณที่บวกจะช่วยลดอาการปวดฟันได้ดีมากๆ ยังช่วยเพิ่มการระบายของหนอง และยังเป็นวิธีบรรเทาอาการปวดฟันคุดได้อีกด้วย
- กินยาแก้ปวดฟัน หากมีอาการปวดฟันมาก ๆ จนแทบทนไม่ไหว แนะนำให้หายาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล จะสามารถช่วยลดอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง หรือยาแก้ปวดลดการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (Naproxen) โดยยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบและลดปวดได้ดีกว่า แต่ว่าควรใช้ด้วยความระมัดระวังและปรึกษาเภสัชกร โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

Cr: freepik.com
อาการปวดฟันแบบไหนถึงควรรีบไปพบทันตแพทย์
ถึงแม้ว่า วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้บ้าง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการหาสาเหตุที่แท้จริงว่าปวดฟันมาจากสาเหตุอะไร เพื่อจะได้รักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ฉะนั้น หากใครที่มีอาการเหล่านี้ควรให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที
- อาการปวดฟันแบบรุนแรง แม้ว่าจะใช้ วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ แล้วอาการปวดก็ไม่ทุเลาลงเลย
- มีอาการปวดฟันต่อเนื่องจากเกินกว่า 1 – 2 วัน หรือปวดฟันแบบเป็น ๆ หาย ๆ แต่ไม่หายขาดสักที
- มีไข้ หนาวสั่น ร่วมกับอาการปวดฟันได้ ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อรุนแรง จึงควรรีบไปพบทันตแพทย์
- ปวดฟัน และซี่ที่ปวดเริ่มมีหนอง หรือมีตุ่มหนอง ตรงบริเวณเหงือกใกล้ฟันที่ปวด
- เมื่อกัดหรือเคี้ยวอาหาร เริ่มมีอาการปวดฟัน
- เสียวฟันมากจนเกินไปเมื่อโดนความร้อนหรือความเย็น
- ปวดฟันจนรามไปถึงปวดหู หรือศีรษะ
อ่านเพิ่มเติม : วิธีแก้ปวดฟันกะทันหันเบื้องต้นด้วยตัวเอง ก่อนจะไปพบทันตแพทย์
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้ปวดฟัน
วันนี้เราได้รวบรวม คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้ปวดฟัน เพื่อให้ทุกคนได้ไขข้อสงสัย พร้อมคำตอบที่เข้าใจง่าย ๆ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับอาการปวดฟันได้อย่างมั่นใจก่อนถึงมือทันตแพทย์
หากปวดฟันสามารถใช้น้ำมันกานพลูโดยตรงได้หรือไม่?
คำตอบ: ได้ เมื่อปวดฟันคุณสามารถใช้น้ำมันกานพลูเล็กน้อยกับบริเวณตรงที่ปวดฟันได้เลย แต่ว่าแนะนำให้เจือจางด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้น
กลั้วปากด้วยน้ำเกลือใช้เวลานานเท่าใดจึงจะได้ผล
คำตอบ: การกลั้วปากด้วยน้ำเกลือสามรถช่วยบรรเทาอาการได้ทันที แต่ว่าควรทำต่อเนื่องหลายครั้งต่อวันจนกว่าอาการปวดฟันจะหาย
กระเทียมช่วยบรรเทาอาการปวดฟันมีผลข้างเคียงหรือไม่?
คำตอบ: แน่นอนว่ากระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในปากหรือกลิ่นปากได้ ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
อาการปวดฟันคุดต่างจากอาการปวดฟันผุยังไง?
คำตอบ: อาการปวดฟันคุด ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับอาการเหงือกบวมแดงตรงบริเวณฟันซี่ในสุด และอาจปวดร้าวไปที่ส่วนอื่น ๆ เช่น กราม หู หรือลำคอ และอาจจะมีปัญหาในการอ้าปากหรือกลืนอาหาร ส่วนอาการปวดฟันผุ ส่วนใหญ่จะมีอาการเสียวฟัน หรือปวดตุบ ๆ ในฟันซี่ใดซี่หนึ่งโดยตรง
หากมีอาการปวดฟันบ่อย ๆ หมายถึงเป็นโรคอะไรหรือเปล่า?
คำตอบ: อาการปวดฟันบ่อย ๆ หรือปวดฟันแบบเป็น ๆ หาย ๆ ถือเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหาในช่องปากที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะเกิดจากมาจากปัญหา ฟันผุลึก, ฟันคุด, ฟันแตก/ฟันร้าว, เหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบเรื้อรัง, ปลายรากฟันอักเสบ หรือมีหนอง ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้แล้วปล่อยทิ้งไว้ อาจจะทำให้อาการแย่ลง และนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลามรุนแรงขึ้นได้ หรือแย่สุดคือจะต้องเสียฟัน
เมื่อมีอาการปวดฟันจะต้องงดอาหารอะไรบ้าง?
คำตอบ: ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำซุปที่เดือดจัด อาหารรสหวานจัด เปรี้ยวจัด หรืออาหารที่แข็งหรือเหนียว และควรเลือกอาหารอ่อน ๆ ที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก
และนี่ก็คือ 8 วิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นได้ แต่ไม่สามารถรักษาฟันที่ต้นเหตุของปัญหาได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดฟันก็ลองนำวิธีแก้ปวดฟันเหล่านี้ไปทำตามกันดู และเมื่ออาการปวดฟันบรรเทาลงแล้ว อย่าลืมไปหาทันตแพทย์ตรวจฟัน เพื่อจะได้รักษาฟันอย่างทันท่วงที ช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลาม และยังรักษาสุขภาพช่องปากให้แข็งแรงในระยะยาวอีกด้วย
นอกจากนี้ถ้าใครอยากจะชอปสินค้า แต่อยากหาข้อมูลเปรียบเทียบ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น ก็ลองเข้ามาอ่านบทความรีวิวสินค้าที่นี่ได้เลย มีบทความสาระความรู้หลากหลายพร้อมเสิร์ฟถึงที่ ครบครันทุกเรื่องไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น