การตั้งศาลพระภูมิเหมือนเป็นธรรมเนียมไทยที่บ้านทุกหลังจะต้องมีหลังจากปลูกบ้านเสร็จ เพราะเป็นความเชื่อที่ว่าศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีเทวาอารักษ์ มาช่วยดูแลรักษาปกป้องให้คนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ฉะนั้นพิธีการตั้งศาลพระภูมิควรทำให้ถูกหลัก เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับที่อยู่อาศัยของคุณนั่นเอง วันนี้เรามีหลักการการตั้งศาลพระภูมิ อาหารสำหรับตั้งศาลพระภูมิ หรือพิธีการต่าง ๆ ที่ควรรู้ ติดตามได้ในบทความนี้
ก่อนการตั้งศาลพระภูมิควรเชิญพราหมณ์ตั้งศาลมาตรวจดูสถานที่ว่าเหมาะสมในการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่หรือไม่ มีสิ่งกีดขวางศาล หรืออยู่หน้าห้องน้ำหรือไม่ พราหมณ์ตั้งศาลจะเป็นคนช่วยแนะนำและตั้งศาลได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญคือศาลพระภูมิเจ้าที่ต้องตั้งบนพื้นดิน ห้ามนำเอาไปตั้งในบ้านเด็ดขาด หรือถ้าไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถนำไปตั้งบนดาดฟ้าได้
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ทิศการตั้งศาลพระภูมิ
สำหรับทิศทางการตั้งศาลพระภูมินั้นจะหันไปได้เพียง 3 ทิศเท่านั้นคือ
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศที่ดีที่สุด
- ทิศตะวันออก เป็นทิศที่ดีอันดับสอง
- ทิศตะวันออกเฉียงได้ เป็นทิศที่ดีอันดับสาม
** ทิศต้องห้ามคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ **
ฤกษ์ตั้งศาลพระภูมิ ตั้งวันไหนถึงจะเป็นสิริมงคล
วันอาทิตย์ เวลา 6.09 น. – 8.19 น.
วันจันทร์ เวลา 8.29 น. – 10.39 น.
วันอังคาร เวลา 6.39 น. – 8.09 น.
วันพุธ เวลา 8.39 น. – 10.19 น.
วันพฤหัสบดี เวลา 10.49 น. – 11.39 น.
วันศุกร์ เวลา 6.19 น. – 8.09 น.
วันเสาร์ เวลา 8.49 น. – 10.49 น.
วันต้องห้ามที่ไม่ควรตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ในแต่ละเดือน
เดือน | วันที่ที่ห้าม |
---|---|
เดือน 1 (เดือนอ้าย) | ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดีและวันเสาร์ |
เดือน 2 (เดือนยี่) | ห้ามตั้งศาล วันพุธ และวันศุกร์ |
เดือน 3 | ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
เดือน 4 | ห้ามตั้งศาล วันจันทร์ |
เดือน 5 | ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดีและวันเสาร์ |
เดือน 6 | ห้ามตั้งศาล วันพุธและวันศุกร์ |
เดือน 7 | ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
เดือน 8 | ห้ามตั้งศาล วันจันทร์ |
เดือน 9 | ห้ามตั้งศาล วันพฤหัสบดีและวันเสาร์ |
เดือน 10 | ห้ามตั้งศาล วันพุธและวันศุกร์ |
เดือน 11 | ห้ามตั้งศาล วันอังคาร |
เดือน 12 | ห้ามตั้งศาล วันจันทร์สินค้า |
จะเห็นได้ว่าไม่มีวันอาทิตย์ปรากฏอยู่ และก็ไม่ได้ให้ยึดเอาวันอาทิตย์เป็นที่ตั้ง เพราะตามความเชื่อแล้ววันอาทิตย์เป็นวันแรง
คาถาขอขมาศาลพระภูมิ
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง
เมื่อสวดคาถานี้จะเป็นการเพิ่มพลังศรัทธาและพลังจิต โดยเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโอภาสี วัดกลางสวน ฝั่งธนบุรี
อาหารตั้งศาลพระภูมิ
จะประกอบไปด้วยอาหารคาวหวานต่าง ๆ ควรเตรียมให้พร้อม ดังต่อไปนี้
**หากขนาดบ้านและศาลพระภูมิเล็ก สามารถใช้สับปะรด 1 ผลได้แต่จัดแบ่งเป็น 2 จาน *
ลำดับ | อาหาร | จำนวน |
---|---|---|
1 | หัวหมู | 1 หัว |
2 | ขนมต้มขาว | 2 จาน |
3 | ไก่ต้ม | 1 ตัว |
4 | ขนมถั่วงา | 2 จาน |
5 | เป็ด | 1 ตัว |
6 | ขนมถ้วยฟู | 2 จาน |
7 | ปลานึ่ง | 1 ตัว |
8 | ขนมหูช้าง | 2 จาน |
9 | ปู หรือ กุ้ง | 1 จาน |
10 | เผือก-มันต้ม | 2 จาน |
11 | บายศรีปากชามยอดไข่ | 1 คู่ |
12 | ฟักทอง | 2 ผล |
13 | น้ำจิ้ม | 2 ถ้วย |
14 | แตงไทย | 2 ผล |
15 | ข้าวสวย | 2 ถ้วย |
16 | ขนุน | 2 จาน |
17 | เหล้า | 1 ขวด |
18 | สับปะรด | 2 ผล |
19 | น้ำชา | 2 ถ้วย |
20 | กล้วย | 2 หวี |
21 | น้ำสะอาด | 2 แก้ว |
22 | ผลไม้ 5 ชนิด | 2 จาน |
23 | มะพร้าวอ่อน | 1 คู่ |
24 | พานหมาก พลู บุหรี่ | 1 คู่ |
25 | ขนมต้มแดง | 2 จาน |
อาหารตั้งศาลพระภูมิแบบมังสวิรัติ
ลำดับ | อาหาร | จำนวน |
---|---|---|
1 | มะพร้าวอ่อน | 1 คู่ |
2 | ขนมถ้วยฟู | 2 จาน |
3 | พานหมาก พลู บุหรี่ | 1 คู่ |
4 | ถั่วคั่ว | 2 จาน |
5 | ฟักทอง | 2 ผล |
6 | น้ำสะอาด | 2 แก้ว |
7 | งาคั่ว | 2 จาน |
8 | แตงไทย | 2 ผล |
9 | ข้าวสวย | 2 ถ้วย |
10 | เผือก-มันต้ม | 2 จาน |
11 | ขนุน | 2 จาน |
12 | น้ำชา | 2 ถ้วย |
13 | ขนมต้มแดง | 2 จาน |
14 | สับปะรด | 2 ผล |
15 | นม | 2 ถ้วย |
16 | ขนมต้มขาว | 2 จาน |
17 | สับปะรด | 2 ผล |
18 | เนย | 2 ถ้วย |
19 | ขนมถั่วงา | 2 จาน |
20 | ผลไม้ 5 ชนิด | 2 จาน |
ผลไม้ต้องห้ามที่ไม่เอาควรนำมาตั้งถวายศาลพระภูมิ
มังคุด มะไฟ ลูกจาก ลูกท้อ พุทรา มะขวิด มะเฟือง มะตูม
น้อยหน่า น้อยโหน่ง ละมุด ลางสาด ลูกพลับ กระท้อน ระกำ
ข้อห้ามในการตั้งศาลพระภูมิที่ควรรู้
1.ที่ตั้งของศาลเจ้าที่ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
2.ไม่ควรตั้งศาลอยู่ใกล้กับตัวบ้านมากจนเกินไป
3. ไม่ควรหันหันหน้าศาลพระภูมิตรงกับประตูหน้าบ้าน เพราะจะทำให้บ้านเสียสมดุลเพราะได้รับแรงปะทะจากพลังหยินที่ส่งมาจากศาลพระภูมิเจ้าที่นั้นมากเกินไป
4.ไม่ควรตั้งศาลอยู่ใต้ชายคาบ้าน เพราะเงาของบ้านจะบดบังเงาศาลแสดงให้เห็นถึงความไม่เคารพ อาจะเกิดพลังไม่ดีขึ้นได้
5. ศาลพระภูมิเจ้าที่ต้องตั้งบนพื้นดิน ห้ามนำเอาไปตั้งในบ้านเด็ดขาด หรือถ้าไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถนำไปตั้งบนดาดฟ้าได้
ถอนศาลพระภูมิเก่าทำอย่างไร
การถอนศาลก็มีพิธีและหลักการไปไม่ต่างจากการติดตั้งศาล โดยสาเหตุที่จะต้องถอนศาลพระภูมิเจ้าที่นั้นอาจเนื่องมาจากเจ้าของบ้านต้องย้ายบ้านและไม่สามารถนำศาลไปด้วยได้ หรือศาลชำรุด ยากต่อการซ่อมแซม จึงจำเป็นต้องถอนศาล โดยต้องเชิญพราหมณ์มาทำพิธีถอนศาลพระภูมิ พร้อมบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ที่แห่งนั้น
คาถาถอนโบสถ์ ถอนเสมา ถอนศาล ถอนของ ฯลฯ
สมุหะเนยยะ สมุหะคะติ สมุหะคะตา พัทธะเสมายัง เอวัง เอหิ นะเคลื่อน โมถอน พุทคลอน ธาถอน ยะหลุด ลอยเลื่อน เคลื่อนด้วย นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ พุทธัง ปัจจกขามิ ธัมมัง ปัจจักขามิ สังฆัง ปัจจักขามิ เอกาเสติ ปะสิทธิ เม เอหิ คัจฉะมุมหิ เปหิ เปหิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ
ทราบวิธีตั้งศาลพระภูมิ ฤกษ์ตั้งศาลว่าเวลาไหนเหมาะสม อาหารตั้งศาลพระภูมิที่ควรเตรียม และวิธีถอนศาลกันไปแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่ต้องการจะติดตั้งศาลพระภูมิในบ้านที่กำลังจะย้ายเข้าอยู่ จะได้เตรียมตัว เตรียมของกันให้ถูกต้องตามพิธีนั่นเอง
ขอบคุณแหล่งที่มา : mahamodo.com , reviewyourliving.com