พระพุทธชินราช (Phra Phuttha Chinnara) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นศิลปะในยุคสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด รอบนอกพระวรกายเป็นเส้นอ่อนช้อย ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้ง 4 เสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักงดงาม คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอาณาจักรอยุธยา เนื่องด้วยพุทธลักษณะงดงามโดดเด่น พระพุทธชินราชจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในประติมากรรมพุทธศิลป์ชั้นสูงของเมืองไทย
วัดในประเทศไทยหลายแห่งจึงสร้างพระประธานในอุโบสถตามแบบพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่ถูกสร้างจำลองมากที่สุดในประเทศไทย คนทั่วไปที่ยังไม่เคยได้ไปกราบพระพุทธชินราชองค์จริง ก็เลยเห็นรูปลักษณ์จนคุ้นตามาก่อนแล้ว อีกทั้งยังมีคาถาพระพุทธชินราชเพื่อให้ประชาชนได้สวดบูชาเมื่ออยู่ที่บ้านอีกด้วย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
พระพุทธชินราชอินโดจีน
พระพุทธชินราชอินโดจีนจากปี พ.ศ. 2485 เป็นพระยอดนิยมเนื่องจาก
- ให้ทหารและประชาชนมีพระเครื่องบูชาติดตัวในยามเกิดศึกสงคราม เป็นการสร้างขวัญ กำลังใจและปกกันอันตราย
- เป็นการจำลองรูปแบบพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวพิษณุโลก ที่งดงาม ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
- เป็นการรวมพระเกจิาจารย์ชื่อดังร่วมสมัยจำนวนมากเข้าร่วมปลุกเสก
- ให้สวดคาถาไหว้พระพุทธชินราช เนื่องด้วยพุทธคุณและพุทธานุภาพของพระพุทธชินราชเป็นที่ประจักษ์
คณะกรรมการพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มการจัดสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 โดยจำลองรูปแบบมาจาก พระพุทธชินราชปางชนะมาร ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก มีท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นผู้ดำเนินการ โดยจัดสร้าง 2 แบบ คือแบบพระบูชาและแบบพระเครื่อง
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 แบบพระบูชา มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีขนาดพระบูชาเพื่อสักการบูชาในเคหสถาน สร้างตามจำนวนสั่งจองโดยการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมส่งเงินไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 แบบพระเครื่อง ยังแบ่งการสร้างได้อีก 2 ประเภท คือวิธีหล่อ – พระพุทธชินราชอินโดจีน และวิธีการปั๊ม -เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 sล่อเนื้อโลหะผสม มีทองเหลืองเป็นส่วนผสมหลัก จริง ๆ แล้วสร้างเป็นจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ด้านหน้าจำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐาน ปั๊มอกเลา บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและธรรมจักร ส่วนเหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีนสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำจำนวน 3,000 เหรียญ ปั๊มเหรียญเป็นทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลังเป็นรูปอกเลา บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและอักษรไทยว่า อกเลาวิหารพระพุทธชินราช
คาถาพระพุทธชินราชพิษณุโลก
นะโม ตัสสะ
ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุท ธัสสะ
(กล่าว 3 จบ)
อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ
อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ
ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา
อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ
การอัญเชิญพระพุทธชินราชเข้าบ้าน
พุทธศาสนิกชนที่จะขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านใหม่หรือกิจการใหม่ มักจะเชิญพระพุทธรูปเข้ามาเพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรื่องในกิจการ ดังนั้นการอัญเชิญพระเข้าบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นการเริ่มต้น หากทำถูกวิธีก็จะดีต่อบ้านและผู้อยู่อาศัยทุกคน
การอัญเชิญพระพุทธชินราชเข้าบ้านนิยมหาฤกษ์ดี เช่น วันพุธ วันพฤหัสและวันศุกร์ เวลา 9:09 น. 9:19 น. และ 9:29 น. บางท่านอาจเริ่มเช้าตรู่ ห้ามเชิญพระพุทธชินราชหลังเพล เมื่อได้ฤกษ์แล้วให้เจ้าบ้านอุ้มอัญเชิญพระประธานเข้าประตูบ้านแล้วตั้งไว้บนหิ้งพระที่เตรียมไว้ นำเครื่องบูชา ขันห้า มาถวายหน้าพระประธานแล้วจุดธูป บูชาสวดคาถาพระพุทธชินราช และขอพรคาถาบูชาพระชินราชให้ท่านปกป้องคุ้มครองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขแคล้วคลาดปลอดภัย
เครื่องบูชาขันห้าถวายพระ
- เทียน 5 เล่ม
- ธูป 5 ดอก
- เหรียญบาท 5 เหรียญ
- ดอกไม้ 5 ดอก
- ผลไม้ 5 อย่าง
วางขันห้าไว้หน้าพระพุทธชินราช จุดธูปบูชาต่างหาก 3 ดอก อย่าใช้ธูปในขันห้านั้น เพียงเท่านี้ก็เสร็จพิธี ตั้งทิ้งไว้ทั้งวัน หรือ 3-7 วันก็ได้
การบูชาพระพุทธชินราชในบ้าน
พระพุทธชินราชเด่นในด้านคุ้มครองรักษา แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
เครื่องสักการบูชา > เครื่องบูชาทั่วไป (ดอกไม้ พวงมาลัย น้ำเปล่า) ธูป 5 ดอก
คาถาพระพุทธชินราช
กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม
วัดที่จำลององค์พระพุทธชินราช
หากท่านไหนที่ต้องการไปสักการะและสวดคาถาพระพุทธชินราช และไม่สะดวกไปสักการะที่องค์จริง เรารวบรวมมาให้แล้วว่าสามารถไปสักการะที่รูปหล่อพระพุทธชินราช จังหวัดใดบ้าง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กทม.
พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตรสร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสวนดุสิต ทรงทำผาติกรรมและสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้นอย่างงดงามวิจิตร พระองค์จมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองพิษณุโลกมาเป็นพระประธาน แต่การจะอัญเชิญพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวพิษณุโลกลงมาย่อมไม่สมควร จึงทรงมีพระราชดำริให้หล่อขึ้นใหม่ สวยงามไม่แพ้พระแก้วมรกตเลย
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ มรว.เหมาะ ดวงจักร ซึ่งเป็นจางวางช่างหล่อขวาที่ฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์จริงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก แล้วเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อเป็นส่วน ๆ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ได้อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ จากนั้นเก็เชิญลงเรือแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2444
วัดพุทธบูชา กทม.
พระพุทธชินราช วัดพุทธบูชา ตั้งอยู่บนถนนพุทธบูชาซอย 30 ริมคลองบางมด เป็นอีกวัดที่สร้างพระพุทธชินราชองค์จำลองขึ้นเป็นพระประธานในอุโบสถ โดยมีขนาดเท่าองค์จริง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ (ผสมระหว่างทองเหลืองและดีบุก) มีซุ้มเรือนแก้วลวดลายคล้ายพญานาค ประหนึ่งเป็นรัศมีล้อมองค์พระ มียักษ์ซึ่งมีท่าทีกึ่งนั่งกึ่งยืนมือขวาถือกระบองอยู่ปลายเรือนแก้วทางด้านซ้าย และมีมารอยู่ในท่ากำลังเหาะ มือทั้ง 2 ข้างจับบ่วงบาศบนศีรษะอยู่ปลายเรือนแก้วตรงด้านขวา
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
พระพุทธชินราช วัดท่าซุงหรือวัดจันทาราม ตำบลน้ำซึม อำเถอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดที่เลื่องลือในเรื่องของความงดงาม อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี แต่ละวันจึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาทำบุญ ไหว้พระ และเที่ยวชมความงามของวัดไม่ขาดสาย
วัดเนรมิตวิปัสสนา จ.เลย
พระพุทธชินราช วัดเนรมิตวิปัสสนา หรือ วัดหัวนายูง ตั้งอยู่ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธาน ปางมารวิชัย จำลองแบบมาจาก วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ภายในอุโบสถสวยงามตระการตา เย็นสบายเหมาะแก่การสวดคาถาพระพุทธชินราชเพื่อให้จิตใจร่มเย็นเป็นสุข
และนี่ก็เป็นคาถาบูชาพระพุทธชินราชและสถานที่ที่คุณจะได้ไปสักการะ ที่คุณต้องตามไปสักการะซักครั้ง