ใครมีแพลนจะซื้อรถยนต์มือสอง ต้องฟังทางนี้! พอเป็นเรื่องของ “ภาษี” ก็ชวนให้งงอยู่เสมอ เพราะการซื้อรถไม่ใช่แค่จ่ายแล้วจบ แต่จะมีเรื่องของภาษีรถมือสองเข้ามาบวกเพิ่มอีก แล้วที่งงสุด ๆ คือ สรุปซื้อรถมือสอง เสียภาษีไหม ? นอกจากนี้ อย่าลืมเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนก่อนทำการดีลซื้อ วันนี้จะพาทุกคนมาแกะสูตรวิธีคำนวณภาษีเวลาผ่อนรถมือสอง พร้อมค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ แบบละเอียดยิบ! สำหรับคนที่ไม่เคยซื้อมาก่อนก็จะได้เตรียมงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ได้ถูก
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ตอบคำถาม! ซื้อรถมือสอง เสียภาษีไหม ?
ก่อนที่จะไปที่คำถามซื้อรถมือสอง เสียภาษีไหม ? เราต้องถามก่อนว่า สามารถซื้อรถมือสองกับใครได้บ้าง ? เพราะหากเป็นการซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดา จะไม่มีการเสียภาษีรถมือสองหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แต่ถ้าเป็นการซื้อขายกับเต็นท์รถ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แต่สามารถเลือกจ่ายสดหรือจ่ายผ่านไฟแนนซ์ก็ได้ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ประกอบกันต่างกันไปตามเงื่อนไข
คำนวณให้เป๊ะ! ก่อนซื้อรถมือสอง ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
กรณีจ่ายสด
- ค่าจอง: เงินมัดจำที่จะให้วางไว้ก่อนทำสัญญา
- ค่าภาษี (VAT) 7%: ส่วนมากราคาเต็มจะยังไม่รวม VAT ต้องสอบถามการชำระภาษีรถมือสอง 7% ให้ละเอียดว่าคิดเปอร์เซ็นต์จากยอดไหน
- ค่าโอนรถ: เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางกรมการขนส่งเรียกเก็บ คือ ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ เราจะเรียกว่า “ค่าอากร” ประกอบไปด้วย
- ค่าคำขอ: 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอน: 100 บาท
- ค่าอากรแสตมป์: 500 บาท ต่อราคาประเมินทุก 100,000 บาท
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน: 200 บาท (กรณีที่ผู้ซื้อต้องการเปลี่ยน)
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน: 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนเก่าหรือชำรุดฉีกขาด)
- ค่าประกันภัยรถยนต์: บางที่แถมให้เลย แต่ถ้าไม่แถม ผู้ซื้อสามารถเลือกทำประกันได้
กรณีจ่ายผ่านไฟแนนซ์
- เงินดาวน์: เงินสดที่เรานำไปวางตอนซื้อรถ ซึ่งจะเป็นเงินส่วนแรกในการชำระค่ารถ
- ค่างวด: เงินที่ต้องผ่อนจ่ายทุกเดือน ค่าภาษีรถมือสองจะรวมอยู่ในค่างวดที่คุณจ่ายไปทุกเดือนหลังจากรวมค่ารถ
- ดอกเบี้ย: ควรหาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากหลาย ๆ แหล่งมาเปรียบเทียบก่อน
- ค่าจัดไฟแนนซ์: ส่วนที่ไฟแนนซ์เรียกเก็บ เช่น ค่าดำเนินเอกสาร ซึ่งก็แล้วแต่ที่ ควรตรวจสอบอย่างละเอียด
วิธีคำนวณภาษีเวลาผ่อนรถมือสอง ฉบับละเอียดยิบ!
มาเปรียบเทียบกันว่าในราคารถยนต์มือสองที่เราเห็น จะต้องมีส่วนต่างอีกเท่าไหร่ที่ต้องจ่ายเพิ่ม แล้วย่อยแต่ละรายการมีอะไรบ้าง ตอบคำถามทุกคำถามเกี่ยวกับรถมือสอง เสียภาษีไหม และแปะ How to รถมือสองคิด VAT ยังไง พร้อมตัวอย่างการคำนวณหรือการจ่ายภาษีรถมือสอง เพื่อที่จะซื้อรถมือสองได้แบบคุ้มค่าที่สุด! ไปกัน
จากตัวอย่างสรุปได้ว่า ราคาเต็มของตัวรถที่เราได้เห็นนั้น นั่นยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะดอกเบี้ยต่อปี และคิดต่อว่าดอกเบี้ยตลอดสัญญาทั้งหมดที่ต้องจ่ายจะเป็นค่าใช้เพิ่มอีกเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นยิ่งถ้าผ่อนเสร็จเร็ว จ่ายจบได้เร็ว ดอกเบี้ยก็น้อยไม่เข้าเนื้อ แต่หากยิ่งผ่อนนาน ดอกเบี้ยจะยิ่งเยอะ ทางที่ดีควรเอาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากหลาย ๆ ธนาคารมาเปรียบเทียบก่อน จากการคิดแบบนี้ จะเห็นได้ว่าเงินดาวน์ที่เราเห็นว่าดาวน์ถูก ไม่ได้หมายความว่าราคารถจะถูกตามกันไป เพราะปกติไฟแนนซ์รถมือสองจะให้วางดาวน์ต่ำอยู่แล้ว ส่วนภาษีรถมือสอง 7% ก็ต้องห้ามลืมคิด เพราะเป็นส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มจากจำนวนค่ารถที่ตกลงไว้ตอนแรกซึ่งไม่ใช่ราคาสุทธิ เห็นแบบนี้ก็เอาเป็นว่าเคลียร์ชัดแล้วว่ารถมือสอง เสียภาษีไหม
สรุป คือ หากราคารถ 600,000 บาท จะต้องจ่ายทั้งหมด 757,560 บาท (ส่วนต่าง 757,560 – 600,000 = ยอดที่ต้องจ่ายเพิ่ม 157,560)
คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน
- ยอดรวมสินเชื่อหลัง VAT = 757,560 บาท
- จำนวนเดือนที่ผ่อน = 5 ปี x ปีละ 12 เดือน = 60 เดือน
- ยอดผ่อนต่อเดือน : 757,560 ÷ 60 เดือน = 12,626 บาท
ไขข้อสงสัย! ซื้อรถ ลดหย่อนภาษีได้ไหม
- คำถาม: จ่ายดอกเบี้ยค่าซื้อรถยนต์ผ่อนชำระ จะนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่ มีหลักฐานการจ่ายชำระทุกเดือน
- คำตอบ: ดอกเบี้ยชำระค่าซื้อรถยนต์ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี กฎหมายตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้หักลดหย่อนได้เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยเท่านั้น
ข้อมูลจาก: กรมสรรพากร
เกร็ดน่ารู้! ขายรถมือสอง เสียภาษีไหม ?
ถ้าเราไปดูตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากรจะเขียนไว้ว่า “การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ”
ก่อนตอบคำถามขายรถมือสอง เสียภาษีไหม ขอแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีที่ต้องการขายรถที่ใช้อยู่ หรือต้องการขายรถคันเก่า เพื่อนำไปต่อยอดในการซื้อคันใหม่นั้น รายได้ที่เกิดจากการขายรถมือสอง เสียภาษีไหม ? คำตอบ คือ ไม่ต้องยื่น เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรนั่นเอง (กรณีที่ซื้อ-ขายกันเอง) แต่ที่ต้องเสีย คือ อากรแสตมป์ 1 บาทต่อวงเงิน 200 บาท เช่น หากขายรถราคา 300,000 จะเสียอากรแสตมป์เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท ชำระที่กรมขนส่งทางบกเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
- กรณีที่เป็นเจ้าของเต็นท์รถ ที่ถือว่ามุ่งค้าหรือหากำไร เงินที่ขายได้จะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ครบ จบ ทุกคำถามในที่เดียวเกี่ยวกับรถมือสอง! จะเห็นได้ว่าการซื้อผ่านไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากราคารถจริง ทำให้เราต้องคำนวณอย่างละเอียดที่สุด ว่าซื้อแบบไหนจะไม่เลยงบประมาณที่เราตั้งไว้ แต่ใดใดนอกจากค่าใช้จ่ายนี้แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นอีก เช่น ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ฯลฯ ซึ่งถือเป็นรายจ่ายประจำที่ไม่ควรมองข้ามเลย! ใครที่เจอรถคู่ใจแล้วก็อย่าลืมคู่มือการดูแลรถ: วิธีดูแลรักษารถยนต์เพื่อให้ใช้นาน ขับขี่ปลอดภัย ส่วนใครที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับการยื่นภาษี ก็ไปอ่านต่อได้ที่ เอาใจวัยทำงานผ่าน วิธียื่นภาษีออนไลน์ ปี 2566 ฉบับรวบรัด