หลายคนอาจคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน เข้าใจได้ยาก และต้องเรียนรู้ในห้องแล็บที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เฉพาะทางเท่านั้น! แต่ความเป็นจริงแล้ววิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา ทุกการกระทำในชีวิตประจำวันล้วนเกี่ยวข้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น การทำอาหาร การต้มน้ำ การเล่นกีฬาต่าง ๆ หรือแม้แต่การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติรอบตัวเรา วันนี้ Shopee อยากจะชวนทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่ไม่เพียงแต่เข้าใจง่าย แต่ยังสนุกสนาน สร้างความตื่นเต้น และสามารถลงมือทำได้ด้วยตัวคุณเอง! ว่าแต่มี การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ อะไรบ้าง แล้วใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง มีวิธีทดลองวิทยาศาสตร์ยังไงบ้าง ห้ามพลาดบทความนี้เลย!

หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
สนุกกับวิทยาศาสตร์! 10 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่ได้ทั้งเรียนรู้ เล่น และสนุก!
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือมีข้อจำกัดอยู่แค่ในห้องแล็บที่ซับซ้อนอีกต่อไป! เพราะวันนี้ Shopee จะพาคุณไปพบกับ 10 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่คุณสามารถทดลองวิทยาศาสตร์ที่บ้านได้ง่าย ๆ โดยใช้วัสดุที่หาได้ทั่วไป ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ราคาแพง หรือมีความพื้นฐานอะไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เลย ขอแค่มีใจที่อยากจะเรียนรู้และสนุกไปกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เท่านั้น! พร้อมแล้วหรือยัง? มาเริ่มกันเลย!
1. ถุงกันรั่วมหัศจรรย์
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงเสียบดินสอแหลม ๆ ทะลุถุงพลาสติกที่ใส่น้ำอยู่เต็มได้ โดยที่น้ำไม่หกออกมาเลย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล่นมายากลกันใช่ไหม? แต่ความเป็นจริงนี่คือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความมหัศจรรย์ของ “ถุงกันรั่วมหัศจรรย์” การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ไม่เพียงแต่สร้างความประหลาดใจ แต่ยังช่วยให้เราเข้าใจถึงหลักการสำคัญของวัสดุศาสตร์และแรงเสียดทานอีกด้วย มาดูวิธีการทำกันเถอะ!
วัสดุที่ต้องเตรียม
- ถุงซิปล็อก เพราะมีความหนาและเหนียว หรือใช้เป็นถุงพลาสติกใส
- ดินสอไม้ ที่เหลาปลายแหลมคม (ยิ่งเหลาดี ยิ่งเสียบง่าย)
- น้ำเปล่า
- ถาดรอง หรืออ่างล้างจาน เผื่อน้ำหก
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- ให้เทน้ำเปล่าลงในถุงซิปล็อกประมาณครึ่งถุงหรือเกือบเต็ม แล้วปิดถึงให้สนิท
- ถือถุงที่บรรจุน้ำไว้ให้อยู่เหนือถาดรอง หรืออ่างล้างจาน
- ค่อย ๆ นำดินสอไม้ที่เหลาปลายแหลม เสียบทะลุถุงพลาสติก โดยให้เสียบผ่านด้านหนึ่งของถุง และทะลุออกไปอีกด้านหนึ่งในแนวตรง
- เพิ่มความท้าทายด้วยการลองเสียบดินสอเพิ่มเข้าไปในถุงอีกหลาย ๆ แท่ง
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
จากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ นี้ทำให้เห็นว่าวัสดุที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมีคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างไร แล้วมีความเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมเสียบดินสอแหลม ๆ ทะลุถุงพลาสติกที่ใส่น้ำอยู่เต็ม แต่น้ำไม่รั่วไหล เพราะด้วยโมเลกุลของถุงพลาสติกจะมีความยืดหยุ่น และผนึกแน่นรอบพื้นผิวเรียบของดินสอ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมออกมา ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์อยู่ที่โครงสร้างของพลาสติก ซึ่งสามารถยืดและขึ้นรูปรอบดินสอได้โดยไม่ฉีกขาด ทำให้ดูราวกับว่าดินสอผ่านถุงไปโดยไม่สร้างความเสียหายใด ๆ
2. การทดลองพริกไทยและสบู่
ใครเคยลองโรยพริกไทยบนน้ำแล้วจิ้มสบู่ลงไปกลางจานไหม? แล้วพริกไทยที่กระจายตัวอยู่เต็มบนผิวน้ำจะแตกกระเจิงออกไปอย่างรวดเร็วราวกับมีอะไรผลักดันอยู่ นี่เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่งของ แรงตึงผิว ที่ควบคู่กับการทำงานของสบู่ ผ่านการใช้พริกไทยป่นโรยลงไปในน้ำ และคอตตอนบัดเคลือบสบู่ที่จุ่มลงไป ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าพริกไทยจะเคลื่อนที่ไปยังขอบจานอย่างรวดเร็ว เรียกว่าเป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ทำได้ในเวลาสั้น ๆ เลย
วัสดุที่ต้องเตรียม
- พริกไทยดำป่น
- จานก้นตื้น หรือชามกว้าง ๆ
- น้ำเปล่า
- สบู่เหลว หรือน้ำยาล้างจาน
- คอตตอนบัด หรือไม้จิ้มฟัน
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- ให้เติมน้ำลงในจาน หรือชามเป็นชั้นบาง ๆ ไม่เกิน 1 นิ้ว
- โรยพริกไทยดำให้ทั่วผิวน้ำให้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้ดูสนุกและช่วยสร้างบรรยากาศให้งานสำคัญดูดีขึ้น
- ให้จุ่มนิ้วของคุณลงในสบู่เหลว เพียงแตะเบา ๆ จากนั้นสัมผัสผิวน้ำที่ผสมพริกไทยเบา ๆ ด้วยนิ้วสบู่ของคุณ
- ค่อย ๆ นำปลายคอตตอนบัดที่มีสบู่ จิ้มลงไปตรงกลางจาน ที่มีพริกไทยลอยอยู่ แล้วให้สังเกตปฏิกิริยาของพริกไทยทันที!
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์นี้เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ “แรงตึงของผิวน้ำ” ทั้งนี้แรงตึงผิวคือแนวโน้มความยืดหยุ่นของพื้นผิวของเหลวในการดึงเอาพื้นที่ผิวน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงทำให้พริกไทยลอยอยู่บนน้ำได้โดยไม่จม หรือไม่ผสมกับน้ำ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาของสบู่ ที่สามารถช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำได้ รวมถึงยังได้เรียนรู้การทำงานของสบู่ว่าทำไมสบู่จึงช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกได้อีกด้วย
3. ภูเขาไฟขนาดเล็ก
ชวนน้อง ๆ หนู ๆ มาเล่นสนุก ตื่นเต้น และได้ความรู้ กับ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ อย่างการทำ ภูเขาไฟขนาดเล็ก เป็นการสร้างภูเขาไฟระเบิดจำลองด้วยเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่คลาสสิกที่สุดและสร้างความตื่นตาตื่นใจได้เสมอ และยังดูเหมือนจะเรื่องสนุกที่เด็ก ๆ ชอบอีกด้วย ซึ่งวิธีการทำเป็นยังไง แล้วต้องเตรียมวัสดุอะไรบ้าง มาดูกัน
วัสดุที่ต้องเตรียม
- น้ำเปล่า
- เบกกิ้งโซดา ประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย (8 ออนซ์)
- แก้วพลาสติก หรือขวดพลาสติกเปล่าขนาดเล็ก
- น้ำยาล้างจาน 1 ช้อนชา (ไม่จำเป็น แต่ช่วยให้ฟองฟู่มากขึ้น)
- สีผสมอาหาร หรือ สีที่ล้างออกได้ (ไม่จำเป็น แต่เพิ่มความสมจริง)
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- เติมน้ำลงในแก้วพลาสติก หรือ ขวดพลาสติก ประมาณ 2/3 เพื่อเตรียมฐานสำหรับเครื่องดื่มภูเขาไฟ ซึ่งจะใช้เป็นฐานของภูเขาไฟ แล้วปูผ้าขนหนูหรือหนังสือพิมพ์ไว้ด้านล่าง
- เติมเบกกิ้งโซดา น้ำยาล้างจาน และสีผสมอาหารหรือสีที่ล้างออกได้ลงในถ้วยเล็กน้อย แล้วคนส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน
- เทน้ำส้มสายชูลงไป แล้วดูในขณะที่ส่วนผสมเกิดฟอง ฟู่ และไหลไปตามขอบแก้วหรือขวดคล้ายกับลาวา
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
การทดลองภูเขาไฟขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจเท่านั้น แต่ยังเป็นการเชิญชวนให้สำรวจวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติจริงอีกด้วย ซึ่งการทดลองนี้ยังได้สอนหลักการทางเคมี ที่กระตุ้นให้เกิดการทดสอบสมมติฐาน และที่สำคัญที่สุดคือ การทดลองนี้ยังสร้างความสนุกสนานและความตื่นเต้นให้กับกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ
4. โคมไฟลาวา
มาหาของตกแต่งบ้านหรือห้องนอน กันด้วย โคมไฟลาวา (Lava Lamp) เป็นของตกแต่งที่ไม่ได้หาซื้อที่ไหน! แต่เราสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยการสร้างโคมไฟลาวาที่มีสีสันสดใสไปพร้อมกับการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความหนาแน่นและขั้วไฟฟ้า การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ นี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีอายุประมาณ 4 – 12 ปี
วัสดุที่ต้องเตรียม
- ขวดโหลแก้วใส
- น้ำมันพืช
- น้ำเปล่า
- สีผสมอาหาร
- เม็ดยาฟู่ หรือ เม็ดวิตามินซีเม็ดฟู่ ใช้ในการสร้างฟองอากาศ
- ไฟฉาย หรือ ไฟ LED ขนาดเล็ก ไว้สำหรับส่องจากด้านล่างขวด เพื่อเพิ่มความสวยงามเหมือนโคมไฟลาวาจริง
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- เทน้ำมันพืชลงในขวดโหลแก้ว ประมาณ 3/4 ของขวดโหล หรือเทน้ำมันให้เกือบเต็มขวดแก้ว
- ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าลงไปในขวดโหลช้า ๆ ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ที่เหลือ จะเห็นว่าน้ำจะจมลงไปอยู่ใต้ชั้นน้ำมัน
- หยดสีผสมอาหาร ประมาณ 5-10 หยดลงไปในขวดโหล สีจะหยดผ่านชั้นน้ำมันลงไปผสมกับน้ำด้านล่าง แล้วรอสักครู่ให้สีผสมเข้ากับน้ำจนหมด
- ใส่เม็ดยาฟู่ โดยให้หักเม็ดยาฟู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 4-6 ชิ้น แล้วค่อย ๆ หย่อนทีละชิ้นลงไปในขวดโหล
- คุณจะได้เห็นฟองอากาศผุดขึ้นมาดันหยดสีขึ้นไปด้านบน เมื่อฟองอากาศแตก หยดสีก็จะจมกลับลงไปด้านล่าง จนเกิดเป็นวัฏจักรการเคลื่อนไหวเหมือนลาวาในโคมไฟลาวาจริง ๆ
- ให้ลองวางขวดโหลไว้บนไฟฉาย หรือใช้ไฟ LED ส่องจากด้านล่าง เพื่อเพิ่มความสว่างและสีสันที่สวยงาม
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ นี้จะได้เรียนรู้ในเรื่องความหนาแน่น น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงลอยอยู่ด้านบน ฟองอากาศจากยาฟู่มีความหนาแน่นน้อยกว่าทั้งน้ำและน้ำมัน จึงดันหยดน้ำสีขึ้นไป เมื่อฟองแตกหยดน้ำสีก็จะจมลง และเรื่องขั้วของโมเลกุล ซึ่งน้ำเป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว ทำให้ทั้งสองไม่ผสมเข้าด้วยกัน และสีผสมอาหารที่ละลายในน้ำก็จะไม่ผสมกับน้ำมัน เป็นกิจกรรมที่ทั้งสนุกสนาน และให้ความรู้มากมาย ทำให้เห็นว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา!
5. ไฟฟ้าสถิตในเส้นผม
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเส้นผมถึงชี้ฟูติดกับลูกโป่ง? นั่นคือปรากฏการณ์ของไฟฟ้าสถิต เป็นพลังงานที่ซ่อนอยู่ในสิ่งรอบตัวเรา ใครอยากทำการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ นี้ เรามาทำพร้อมกันเลย
วัสดุที่ต้องเตรียม
- ลูกโป่ง 1-2 ลูก
- เส้นผมที่แห้งและสะอาด
- เศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ไว้สำหรับการทดลองเพิ่มเติม
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเส้นผมของคุณแห้งสนิทและสะอาด
- ให้ถูลูกโป่งที่เป่าลมแล้วไปมาบนเส้นผมที่แห้งอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประมาณ 10-15 วินาที
- ค่อย ๆ ดึงลูกโป่งออกจากเส้นผมช้า ๆ แล้วจะเห็นเส้นผมชี้ฟู และถูกดูดให้ติดกับลูกโป่ง หรือลองนำลูกโป่งไปจ่อใกล้ ๆ เศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ก็จะถูกดูดให้ติดกับลูกโป่งเหมือนกัน
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
อีกหนึ่งกิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุก ๆ และทำได้ง่าย ๆ แถมยังได้ความรู้ที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนอิเล็กตรอน เมื่อถูกเสียดสีกันอิเล็กตรอน อนุภาคประจุลบ จะถูกถ่ายโอนจากเส้นผมไปยังลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งมีประจุลบเกิน และเส้นผมมีประจุบวก ซึ่งเป็นแรงดึงดูดของประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าที่ต่างกัน (บวกและลบ) ก็จะดึงดูดกัน ทำให้เส้นผมที่ติดประจุบวกถูกลูกโป่งที่มีประจุลบดึงดูดให้ชี้ฟูติดกับลูกโป่งนั่นเอง
6. กระดาษจอมพลัง
คุณรู้หรือไม่ว่ากระดาษแผ่นเล็ก ๆ ที่ดูบอบบางสามารถรองรับน้ำหนักที่หนักมาก ๆ ได้อย่างไร? รวมถึงการพับกระดาษด้วยรูปทรงต่าง ๆ ก็จะทำให้รองรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน ซึ่งการทดลองนี้เรียกว่าการทดลอง “กระดาษจอมพลัง” ถ้าใครอยากรู้ว่ากระดาษบาง ๆ สามารถรองรับน้ำหนักได้จริงไหม มาทำการทดลองวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกันเลย
วัสดุที่ต้องเตรียม
- กระดาษ A4 จำนวน 3-4 แผ่น
- หนังสือจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้วางเป็นน้ำหนัก
- ไม้บรรทัด หรือของแข็งที่มีขอบตรง สำหรับช่วยพับกระดาษให้คม
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
1. ทดลองแผ่นแรก แบบแบน)
- วางกระดาษ A4 แผ่นแรกในแนวนอนราบไปกับพื้น
- ให้ลองวางหนังสือลงบนกระดาษ แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น ว่ากระดาษจะยับหรือพับลงทันที
2. ทดลองแผ่นที่สอง แบบม้วนเป็นท่อ
- นำกระดาษ A4 แผ่นที่สอง มาม้วนเป็นรูปทรงกระบอกลักษณะเหมือนท่อ ให้เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว หรือให้ใหญ่พอที่จะวางหนังสือได้
- ใช้เทปใสติดขอบกระดาษเพื่อไม่ให้คลายตัว
- วางกระดาษที่ม้วนเป็นท่อในแนวตั้งบนพื้นหรือโต๊ะ
- จากนั้นค่อย ๆ วางหนังสือลงบนปลายท่อกระดาษทีละเล่ม แล้วให้สังเกตว่ากระดาษรองรับน้ำหนักได้กี่เล่ม
3. ทดลองแผ่นที่สาม แบบพับเป็นพัด หรือรูปตัว M
- นำกระดาษ A4 แผ่นที่สาม มาพับแบบซิกแซกคล้ายพัด หรือรูปตัว M/W แล้วพับให้กว้างประมาณ 1 นิ้วต่อทบ
- วางกระดาษที่พับเป็นรูปตัว M ในแนวตั้งบนพื้นหรือโต๊ะ โดยให้ส่วนที่เป็นสันตั้งขึ้น
- จากนั้นค่อย ๆ วางหนังสือลงบนกระดาษที่พับทีละเล่ม สังเกตว่ากระดาษรองรับน้ำหนักได้กี่เล่ม
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
จากการทดลองนี้จะได้เรียนรู้ถึงรูปทรงของวัสดุ มีผลอย่างมากต่อความสามารถในการรับน้ำหนักและการกระจายแรง แม้แต่วัสดุที่ดูบอบบางอย่างกระดาษ ก็สามารถกลายเป็นกระดาษจอมพลังที่แข็งแรง ด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมที่เหมาะสม ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันที่นำไปใช้ในการออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น เสาอาคาร สะพาน เป็นต้น
7. น้ำตาลสายรุ้ง
เคยไหมที่เห็นเครื่องดื่มสีสันสวยเป็นชั้น ๆ แยกจากกัน ทำได้ยังไง นี่เป็นมายากลหรือเปล่า? ก็ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่มายากล แต่คือวิทยาศาสตร์ในเรื่องความหนาแน่นและการลอยตัว ที่ทำให้สีสามารถแยกชั้นกันได้ ฉะนั้นใครที่กำลังมองหา กิจกรรมวิทยาศาสตร์ง่ายๆ และได้ความรู้ไปพร้อมกับความสนุกสนานให้เด็กๆ ลองทำที่บ้าน กิจกรรม “น้ำตาลสายรุ้ง” ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ มีวิธีการทำง่าย ๆ ดังนี้
วัสดุที่ต้องเตรียม
- แก้วทรงสูงและใส 5 ใบ
- น้ำตาลทราย
- น้ำเปล่า (อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น)
- สีผสมอาหาร ให้ใช้ 5 สี ได้แก่สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีฟ้า
- ช้อนชา
- ปิเปต หรือ กระบอกฉีดยา หรือ หลอดดูดน้ำ หรือ หลอดหยด ใช้ในการเทสีให้ละเอียดยิ่งขึ้น
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
1. เตรียมสารละลายน้ำตาล ดังนี้
- แก้วที่ 1 (เข้มข้นที่สุด) ตักน้ำตาล 4 ช้อนชา ใส่แก้วเล็ก เติมน้ำ 2 ช้อนชา คนให้ละลายหมด หยดสีผสมอาหารสีเหลืองลงไป คนให้เข้ากัน
- แก้วที่ 2 (เข้มข้นปานกลาง) ตักน้ำตาล 3 ช้อนชา ใส่แก้วเล็ก เติมน้ำ 2 ช้อนชา คนให้ละลายหมด หยดสีผสมอาหารสีเขียวลงไป คนให้เข้ากัน
- แก้วที่ 3 (เข้มข้นน้อยกว่า) ตักน้ำตาล 2 ช้อนชา ใส่แก้วเล็ก เติมน้ำ 2 ช้อนชา คนให้ละลายหมด หยดสีผสมอาหารสีน้ำเงินลงไป คนให้เข้ากัน
- แก้วที่ 4 (เข้มข้นน้อยที่สุด) ตักน้ำตาล 1 ช้อนชา ใส่แก้วเล็ก เติมน้ำ 2 ช้อนชา คนให้ละลายหมด หยดสีผสมอาหารสีฟ้าลงไป คนให้เข้ากัน
- แก้วที่ 5 น้ำเปล่าธรรมดา ไม่มีน้ำตาล แล้วหยดสีผสมอาหารสีแดงลงไป
2. เริ่มการสร้างชั้นสายรุ้งในแก้วทรงสูง
- ชั้นล่างสุด เทสารละลายสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่เข้มข้นที่สุด ลงไปในแก้วทรงสูงประมาณ 1 นิ้ว
- ชั้นถัดไป ค่อย ๆ เทสารละลายสีเหลืองลงไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังที่สุด โดยใช้ช้อนชาคว่ำหน้าลง แล้วเทสารละลายให้ไหลไปตามหลังช้อนชาติดกับขอบแก้ว หรือใช้กระบอกฉีดยา หรือหลอดดูดน้ำ หยดลงไปทีละหยด เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสีผสมกัน
- ชั้นถัดไป ค่อย ๆ เทสารละลายสีเขียวลงไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังที่สุด โดยใช้ช้อนชาคว่ำหน้าลง แล้วเทสารละลายให้ไหลไปตามหลังช้อนชาติดกับขอบแก้ว หรือใช้กระบอกฉีดยา หรือหลอดดูดน้ำ หยดลงไปทีละหยด เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสีผสมกัน
- ชั้นถัดไป ค่อย ๆ เทสารละลายสีน้ำเงินลงไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังที่สุด โดยใช้ช้อนชาคว่ำหน้าลง แล้วเทสารละลายให้ไหลไปตามหลังช้อนชาติดกับขอบแก้ว หรือใช้กระบอกฉีดยา หรือหลอดดูดน้ำ หยดลงไปทีละหยด เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสีผสมกัน
- ชั้นถัดไป ค่อย ๆ เทสารละลายสีฟ้าลงไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังที่สุด โดยใช้ช้อนชาคว่ำหน้าลง แล้วเทสารละลายให้ไหลไปตามหลังช้อนชาติดกับขอบแก้ว หรือใช้กระบอกฉีดยา หรือหลอดดูดน้ำ หยดลงไปทีละหยด เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสีผสมกัน
- ขั้นสุดท้ายบนสุด ให้เติมสารละลาย สีแดง ที่ไม่มีน้ำตาล ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยที่สุดและจะลอยอยู่ด้านบน
3. ชมผลงาน น้ำตาลสายรุ้ง คุณจะได้เห็นของเหลวหลากสีสันเรียงตัวเป็นชั้น ๆ อย่างสวยงามเหมือนสายรุ้ง!
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
การทดลอง “น้ำตาลสายรุ้ง” เป็นการสาธิตหลักการสำคัญของความหนาแน่น จะเห็นได้ว่าน้ำที่มีความหนาแน่นมากที่สุด จมลงไปอยู่ก้นน้ำ ส่วนน้ำที่ไม่มีน้ำตาล ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด จึงลอยอยู่ด้านบน การวางชั้นความหนาแน่นต่าง ๆ อย่างระมัดระวังจะช่วยป้องกันไม่ให้สีต่าง ๆ ผสมกัน ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์สีรุ่งที่ดูสวยงาม
8. ไข่นุ่ม เด้งดึ๋ง
ชวนน้อง ๆ หนู มาเล่นสนุกกับกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนไข่ไก่ดิบ ที่มีลักษณะแข็ง ให้กลายเป็นไข่ไก่ที่มีความนุ่มนิ่ม ซึ่งเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สนุกและน่าทึ่ง เพราะสามารถเปลี่ยนไข่ดิบที่แข็งให้กลายเป็นไข่นุ่มนิ่มได้และยังสามารถเด้งได้อีกด้วย โดยที่ไม่ต้องไปต้ม ซึ่งเบื้องหลังความมหัศจรรย์นี้คือปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า “ปฏิกิริยากรด-เบส” นั่นเอง ถ้าอยากรู้ว่าต้องทำยังไงบ้าง เรามาเตรียมวัสดุไปพร้อมกัน
วัสดุที่ต้องเตรียม
- ไข่ไก่ดิบ 1 ฟอง
- น้ำส้มสายชู
- น้ำเปล่า
- แก้วทรงสูง
- ช้อนสำหรับตักไข่
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- ค่อย ๆ วางไข่ไก่ดิบลงไปในแก้วอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ไข่แตก
- เทน้ำส้มสายชูลงไปในแก้วให้ท่วมไข่จนมิด
- วางแก้วไข่แช่น้ำส้มสายชูทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 1 – 2 วัน หรือจนกว่าเปลือกไข่จะสลายไปหมด
- ใช้ช้อนตักไข่ไก่ออกมาอย่างระมัดระวังมากที่สุด
- ล้างไข่ไก่ด้วยน้ำเปล่าอย่างเบามือ เพื่อกำจัดเมือกและเศษเปลือกไข่ที่เหลืออยู่
- เมื่อล้างแล้วไข่ที่เหลือมีเพียงเยื่อหุ้มไข่เท่านั้น มีความนุ่มนิ่ม ยืดหยุ่น และสามารถ เด้งดึ๋ง ๆ ได้เล็กน้อย จากนั้นก็สามารถนำไข่ไปเล่น หรือนำไปส่องไฟได้เลย แต่ต้องระวังแตกด้วย
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่อง กรดในน้ำส้มสายชู เมื่อทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่แล้ว จะกัดจนเปลือกไข่บางลง และค่อย ๆ สลายไปจนเหลือแค่ เยื่อหุ้มไข่ ซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นและยืดหยุ่นได้ดี เยื่อนี้มีหน้าที่ปกป้องเนื้อไข่ด้านใน ทำให้ไข่ที่ไม่มีเปลือกยังคงรูปอยู่ได้ และเมื่อไข่ไก่บางลง ก็สามารถส่องไฟดูด้านในได้ จึงทำให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของไข่ไก่ดิบได้ด้วย
9. น้ำเปลี่ยนสี
เราจะมาสอนเล่นมายากลในการเปลี่ยนสีน้ำ กลนี้จะเป็นการใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนสีน้ำนั่นเอง โดยการทดลองนี้มีชื่อเรียกว่า “สีเปลี่ยนจากน้ำเปล่า” หรือหรือที่รู้จักกันในชื่อ Magic Water Color Changing ซึ่งการทดลองนี้จะทำให้เด็ก ๆ ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีในน้ำที่เกิดจากการผสมสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบส และจะช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม (กรด-เบส) และการเปลี่ยนสีได้อย่างชัดเจน และยังเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่ง และทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน และวัตถุดิบที่ใช้ก็มีอยู่ในครัวอยู่แล้ว มาลองทำกัน
วัสดุที่ต้องเตรียม
- ขวดแก้วใหญ่
- บีกเกอร์
- โซเดียมไฮดรอกไซด์
- ฟีนอล์ฟทาลีน
- น้ำส้มสายชู
- ผงฟู
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- นำสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เทลงในขวดแก้ว แล้วกลั้วสารละลายให้ทั่วขวดแก้ว เสร็จแล้วก็เทออกกลับไปในแก้วเดิม
- เติมสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนลงไปในขวดแก้วเปล่าใบเดิม จากสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนที่เป็นสีใส เมื่อเทลงไปในขวดแก้วก็เปลี่ยนเป็นสีชมพูเลย
- จากนั้นก็เติมน้ำส้มสายชูลงไปในขวดแก้ว จากในขวดแก้วที่มีน้ำสีชมพู ก็เปลี่ยนสีเป็นสีขาวทันทีเลย
- เติมสารละลายผงฟูลงไปในขวด พบว่ามีฟอง จากนั้นก็ให้เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในขวดแก้วอีกครั้ง จากน้ำสีขาวก็จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู แต่พอเขย่าก็เปลี่ยนเป็นสีขาวอีกครั้ง สีจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่มายากล แต่เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
การทดลองนี้จะแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงสีตามลำดับเวลา จึงทำให้เด็ก ๆ เข้าใจหลักการปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อน อย่างสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีฤทธิ์เป็นเบสแก่ ซึ่งเบสแก่นั้นจะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื้อได้ ส่วนสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน เป็นอินดิเคเตอร์คือสารที่ใช้ความเป็นกรด-เบส นั่นหมายความว่า ถ้าหยดลงไปมรสารที่เป็นเบส ก็จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู แต่ถ้าหยดลงไปในสารที่เป็นกรด ก็จะเป็นสีขาวหรือสีใสนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งเดียว แต่ได้เรียนรู้ปฏิกิริยาเคมีมากมายเลย
10. เทียนดูดน้ำ
อีกหนึ่ง การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่ให้ความสนุกไม่แพ้กิจกรรมวิทยาศาสตร์อื่นเลยนั่นก็คือ “เทียนดูดน้ำ” ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเผาไหม้ และแรงดันอากาศ ผ่านการเคลื่อนที่ของน้ำที่ผสมสี แล้วเข้าไปในแก้วได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนไหวของน้ำจะสร้างความตื่นเต้นให้กับเด็ก และก็ยังเข้าใจหลักการสำคัญของ ความดันอากาศ ที่อยู่รอบตัวเราได้อย่างชัดเจนอีกด้วย!
วัสดุที่ต้องเตรียม
- เทียนไขขนาดเล็ก หรือ เทียนวันเกิด
- แก้วน้ำสีใส
- จานก้นแบน
- น้ำเปล่า
- สีผสมอาหาร
- ไม้ขีดไฟ หรือ ไฟแช็ก ใช้สำหรับจุดเทียน
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
- วางเทียนไขตั้งตรงกลางจานก้นแบน ใช้ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กจุดเทียน
- ให้นำน้ำมาผสมกับสีผสมอาหารแล้วคนให้เข้ากัน
- ค่อย ๆ รินน้ำที่ผสมกับสีผสมอาหารลงไปในจานก้นแบนรอบ ๆ เทียน ให้ท่วมฐานเทียนเล็กน้อย
- นำแก้วน้ำใส ครอบลงไปบนเทียนที่จุดไฟอยู่ โดยให้ปากแก้วแนบสนิทกับพื้นจาน เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ภายในแก้วได้
- ให้สังเกตการณ์เปลวเทียนค่อย ๆ หรี่ลงแล้วดับไป หลังจากเทียนดับคุณจะเห็นน้ำในจานถูกดูดขึ้นไปในแก้วได้อย่างน่าอัศจรรย์
บทเรียนจากทดลองวิทยาศาสตร์นี้
หลังจากได้ทำการทดลองนี้ เด็ก ๆ จะได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คือ ออกซิเจนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเทียน ที่ได้เข้ามาเพิ่มความแรงดันของอากาศภายในแก้วให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของน้ำได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อน้ำที่ผสมสีเข้าไปในแก้วที่มีเทียนอยู่ จะทำให้เทียนเปลี่ยนสีได้อีกด้วย
5 อุปกรณ์ การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ควรมีติดบ้าน!
การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้านได้เลย! และไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี หรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมากมาย ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ที่บ้านจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเคมีและวิทยาศาสตร์ได้ในวิธีที่สนุก ได้ความรู้และปลอดภัย ใครอยากใช้เวลาอยู่กับเด็ก ๆ และทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกัน นี่คือลิสต์ของอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ ในการทดลองเคมีง่าย ๆ ควรจะมีติดบ้าน ดังนี้
1. ถ้วยตวง
ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองในห้องแล็บที่ซับซ้อน หรือแม้แต่ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่บ้าน ถ้วยตวง ก็เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญ และควรต้องมีติดบ้านไว้! เพราะถ้วยตวงใช้สำหรับวัดสารต่าง ๆ ที่ต้องการในการทดลอง โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องใช้ปริมาณสารที่แม่นยำ เช่น น้ำหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ในการทดลอง เพื่อให้การทดลองมีความแม่นยำและไปนำสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งถ้วยตวงมีหลากหลายขนาด เราขอแนะนำเป็น ถ้วยตวง ANCHOR HOCKING คุณภาพสูงจาก USA มีด้วยกันหลากหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 5oz, 8oz, 16oz และ 32oz ตัวแก้วมีความทนทาน สามารถใช้กับเตาอบ ไมโครเวฟ เครื่องล้างจาน และตู้แช่แข็งได้อย่างปลอดภัย
- ราคาประมาณ 156 – 690 บาท
2. หลอดทดลองแก้ว
หลอดทดลอง (Test Tube) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ควรต้องมี! และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของงานวิทยาศาสตร์อีกด้วย ซึ่งหลอดทดลองเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการทดลองที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี สามารถช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสารที่ใส่ลงไป หลอดทดลองมักทำจากแก้วหรือพลาสติกใส จึงมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในได้ สำหรับ หลอดทดลองแก้ว เหมาะสำหรับใช้งานในห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ เนื้อแก้ว Borosilicate ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 520 ºC และทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี รวมถึงทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน และทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดีอีกด้วย
- ราคาประมาณ 7 – 35 บาท
3. เบกกิ้งโซดา
ไอเทมสำคัญที่จำเป็นต้องมีสำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ นั่นก็คือ เบกกิ้งโซดา (Sodium Bicarbonate) ที่เป็นสารเคมีที่สามารถใช้ในหลายการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทั้งนี้ เบกกิ้งโซดา หรือ ผงโซดา หรือที่รู้จักกันว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูในการทำปฏิกิริยากลายเป็นฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และหลาย ๆ การทดลองวิทยาศาสตร์ ก็จะต้องมีเบกกิ้งโซดาเป็นส่วนผสมด้วย โดยเฉพาะทดลองการทำปฏิกิริยาเคมี เช่น การทำฟองก๊าซจากการผสมกับน้ำส้มสายชู การทำโฟม หรือการทำฟองในน้ำ เป็นต้น
- ราคาประมาณ 183 บาท / 1 กิโลกรัม
4.น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู คือหนึ่งในตัวเอกที่ไม่ได้มีดีแค่การทำอาหาร หรือใช้ทำความสะอาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสารเคมีพื้นฐานที่สำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ด้วยคุณสมบัติของน้ำส้มสายชูที่มีลักษณะเป็นกรดอ่อน ๆ โดยจะใช้ในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับในการทำปฏิกิริยากับสารเบกกิ้งโซดาหรือสารอื่น ๆ เพราะเมื่อน้ำส้มสายชู (กรด) ทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นเบส เช่น เบกกิ้งโซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต) หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต (ในเปลือกไข่) จะเกิดปฏิกิริยาที่ผลิต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมานั่นเอง โดยนำมาการทดลองวิทยาศาสตร์ยอดนิยมอย่าง ภูเขาไฟเบกกิ้งโซดา หรือ ไข่นุ่ม เด้งดึ๋ง ฉะนั้น บ้านไหนที่ยังไม่มี แนะนำให้หาซื้อ น้ำส้มสายชู KEWPIE ติดบ้านไว้เลย
- ราคาประมาณ 23 บาท
5. สีผสมอาหาร
เมื่อพูดถึง สีผสมอาหาร (Food Coloring) หลายคนอาจจะนึกถึงการแต่งเติมสีสันในขนมหวาน อาหาร หรือเครื่องดื่มให้ดูน่ารับประทาน แต่แท้จริงแล้วในโลกของการทดลองวิทยาศาสตร์ สีผสมอาหาร ก็มีบทบาทสำคัญมากกว่าให้แค่เรื่องความสวยงาม แต่ยังเป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย ที่ช่วยให้เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสารในปฏิกิริยาเคมี และทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจน! สีผสมอาหารมีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแบบซอง และแบบขวด สามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการเลย แต่ถ้าจะให้แนะนำเป็น สีผสมอาหาร ตราดาว แบบซอง ผงละลายน้ำ เพราะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าสีจะแห้ง ถ้าไม่ได้ใช้นาน ๆ เก็บรักษาได้ง่ายและยาวนานกว่า 3 ปี แถมยังมีให้เลือกหลากหลายสี
- ราคาประมาณ 4 – 6 บาท
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับ 10 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่เราได้คัดสรรเลือกมาแนะนำให้กับทุกคน บอกเลยว่าทุกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ล้วนมีแต่สาระความรู้ และยังทำได้ง่าย ๆ ใครอยากจะลองทำกิจกรรมก็สามารถไปทำตามกันได้เลย แล้วถ้ายังมีอุปกรณ์ไม่ครบสามารถสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมผ่านออนไลน์ที่ Shopee แหล่งรวมสินค้าและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มากมาย มีทั้งขวดแก้ววิทยาศาสตร์ กรวยแก้ว ปรอท หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์แก้ววิทยาศาสตร์สำเร็จให้น้อง ๆ หนู ๆ ได้ทำการทดลองได้เลย พร้อมโปรโมชั่นราคาดีสุดคุ้ม แจกโค้ดส่งฟรี โค้ดส่วนลดมากมาย ช้อปกับช้อปปี้มีแต่คุ้มกับคุ้ม!
นอกจากนี้ ยังมีบทความสาระน่ารู้มากมาย มีทั้งบทความที่ให้ความรู้ และบทความรีวิวสินค้า เพื่อช่วยคุณตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ให้คุณได้ท่องโลก เกาะเทรนด์ ! สาระความรู้หลากหลาย พร้อมเสิร์ฟให้อ่านถึงที่ ครบครันทุกเรื่องไลฟ์สไตล์ สุขภาพ ความงาม เช็กดวง พร้อมมีรีวิวสินค้าให้อ่านก่อนเลือกช้อป ติดตามอ่านบทความได้ทุกเวลา ที่ Shopee Blog เท่านั้น!
บทความแนะนำ