ทุกวันนี้บนโลกของเรานั้นมีขยะมากมายมหาศาล และสิ่งที่เป็นปัญหาคือ ขยะเหล่านั้นมักจะปะปนกันไปหมด และไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ซึ่งการกระทำเหล่านี้นั้นกำลังนำไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราในระยะยาว ฉะนั้น เราจึงควรให้ความสนใจกับการแยกขยะก่อนทิ้ง เพราะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบ แต่หลายคนก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแยกขยะอยู่บ้าง มาดูกันว่าในการแยกขยะของเราเพียง 1 ครั้งนั้น สร้างประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ได้มากแค่ไหน พร้อมเรียนรู้วิธีแยกขยะอย่างถูกต้องกัน!
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ทำไมการแยกขยะถึงสำคัญ?
วิธีจัดการขยะไม่ใช่แค่การทำงานเล็ก ๆ ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าไม่สำคัญ แต่เป็นกระบวนการที่มีผลอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของเราในอนาคต การแยกขยะก่อนทิ้งเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นจากตัวเรา เพราะมันสามารถช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะอย่างไม่เป็นระเบียบได้หลายด้าน ทั้งในเรื่องของการลดภาระของโรงงานรีไซเคิล การประหยัดทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
1. ลดมลพิษ
การแยกขยะเป็นหนึ่งในวิธีการลดมลพิษที่สำคัญที่สุด เพราะเมื่อขยะถูกทิ้งในที่เดียวกันโดยไม่มีการแยกประเภท ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้หรือไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบหรือลงสู่ทะเล ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในดินและน้ำ เช่น ก๊าซมีเทนจากขยะอินทรีย์ หรือสารพิษจากขยะอันตราย
2. การรีไซเคิลช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
แทนที่จะทิ้งขยะไปเปล่า ๆ เราสามารถนำขยะที่ใช้แล้วกลับมาแปรรูปให้เป็นของใหม่ได้ เช่น การรีไซเคิลกระดาษจะช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า การรีไซเคิลอะลูมิเนียมจะช่วยลดการขุดเหมืองบ็อกไซต์ และการรีไซเคิลพลาสติกจะช่วยลดการผลิตน้ำมันดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกใหม่ นอกจากนี้ การนำของเก่ามาแปรรูปใหม่นั้ยังใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตของใหม่จากวัตถุดิบอีกด้วย
3. ประหยัดพื้นที่หลุมฝังกลบ
การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขวดพลาสติก หรือกระดาษ ออกจากขยะทั่วไป แล้วนำไปรีไซเคิล ปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบก็จะลดลงอย่างมาก เพราะวัสดุเหล่านี้จะถูกนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกครั้ง ทำให้ไม่ต้องนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ ซึ่งมีพื้นที่จำกัด แล้วทำไมเราต้องพื้นที่หลุมฝังกลบ? นั่นเป็นเพราะว่าถ้าหลุมฝังกลบเต็ม เราก็ต้องสร้างหลุมใหม่ ซึ่งมีผลกระทบต่อพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรและธรรมชาตินั่นเอง
4. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การแยกขยะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการลดขยะที่ต้องฝังกลบ เช่น เศษอาหาร เพราะเมื่อขยะอินทรีย์เหล่านี้ถูกฝังกลบ จะเกิดการย่อยสลายและปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน การแยกเศษอาหารออกมาเพื่อทำปุ๋ยหมัก หรือการรีไซเคิลขยะอื่น ๆ เช่น พลาสติกและกระดาษ ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิตใหม่ ซึ่งมักจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ วิธีแยกขยะจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จัก 6 ประเภทของถังขยะแต่ละสี
1. ถังขยะสีเขียว (ขยะอินทรีย์)
ถังขยะสีเขียว หรือถังขยะอินทรีย์ เป็นถังขยะที่ใช้สำหรับรองรับขยะที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ หรือที่เรียกว่าขยะอินทรีย์ ขยะประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมาจากเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ หรือเศษพืชอื่น ๆ ที่เน่าเปื่อยได้ตามธรรมชาติ เมื่อเราทิ้งขยะเหล่านี้ลงในถังขยะสีเขียวแล้ว ก็สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเกษตรและลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบอีกด้วย
- ประเภทขยะ: ขยะอินทรีย์หรือขยะชีวภาพ (ขยะย่อยสลายได้)
- ตัวอย่าง: เศษอาหาร, กากกาแฟ, เปลือกไข่, ใบไม้, เศษผัก
2. ถังขยะสีแดง (ขยะอันตราย)
เป็นถังขยะที่ใช้สำหรับทิ้งขยะที่มีสารเคมีเป็นพิษ หรือสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ขยะเหล่านี้อาจทำให้เกิดมลพิษต่อดิน น้ำ อากาศ และเป็นอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ได้
- ประเภทขยะ: ขยะอันตราย
- ตัวอย่าง: หลอดไฟ, แบตเตอรี่, สีย้อมผ้า, ปรอท, ยาฆ่าแมลง
3. ถังขยะสีเหลือง (ขยะรีไซเคิล)
ขยะประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่ยังคงคุณค่าและสามารถนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น ขวดพลาสติก กระดาษ และกล่องนม เมื่อเราทิ้งขยะเหล่านี้ลงในถังขยะสีเหลืองแล้ว จะมีการแยกขยะด้วยการนำไปคัดแยกและส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิล เพื่อแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ ต่อไป
- ประเภทขยะ: ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล
- ตัวอย่าง: ขวดพลาสติก, กระดาษ, กระป๋องอลูมิเนียม, ขวดแก้ว
4. ถังขยะสีน้ำเงิน (ขยะทั่วไป)
โดยส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก หรือไม่คุ้มค่าต่อการนำกลับมารีไซเคิล เช่น พลาสติกบางชนิดที่เปื้อนอาหาร หรือวัสดุที่ผสมกันหลายชนิดจนแยกไม่ได้ เป็นต้น การแยกขยะที่ใส่ในถังสีน้ำเงินนี้มักจะถูกนำไปฝังกลบหรือนำไปเผาเพื่อกำจัด ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยตรง แต่วิธีจัดการขยะประเภทนี้ออกมา ก็ช่วยให้การจัดการขยะในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ประเภทขยะ: ขยะทั่วไปหรือขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้
- ตัวอย่าง: โฟมใส่อาหาร, กระดาษที่มีหมึกพิมพ์, ทิชชูที่ใช้แล้ว
5. ถังขยะสีฟ้า (ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เฉพาะบางประเภท)
ถังขยะสีฟ้ามักใช้สำหรับใส่ขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้บางประเภท แต่ไม่ใช่ทุกอย่างในถังสีฟ้าจะนำไปรีไซเคิลได้เสมอไป ขยะส่วนใหญ่จะทำจากวัสดุที่ผลิตซ้ำได้ เช่น พลาสติกบางชนิด (ต้องดูสัญลักษณ์สามเหลี่ยมที่มีเลขอยู่ข้างใน) แต่ก็มีข้อควรระวัง เพราะพลาสติกบางชนิด หรือวัสดุที่ปนเปื้อนมากเกินไป อาจไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
- ประเภทขยะ: ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้แต่ต้องการการแยกประเภทที่ละเอียด
- ตัวอย่าง: กล่องนมที่ล้างสะอาดแล้ว, ขวดเครื่องดื่มที่สะอาด
6. ถังขยะสีดำ (ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้)
ขยะในถังสีดำมักจะเป็นขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิล หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้น เช่น โฟม และวัสดุผสมต่าง ๆ ที่ย่อยสลายยาก เพราะขยะเหล่านี้มักจะต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย หรืออาจไม่ย่อยสลายเลย ทำให้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว วิธีจัดการขยะประเภทนี้จะถูกนำไปฝังกลบหรือกำจัดในที่ที่มีระบบควบคุมมลพิษ
- ประเภทขยะ: ขยะที่ไม่สามารถแยกประเภทหรือจัดการได้
- ตัวอย่าง: ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้, เศษซากเครื่องใช้ไฟฟ้า, ขยะที่ปนเปื้อนสารเคมี
วิธีแยกขยะให้ถูกต้อง เพื่อโลกที่น่าอยู่
1. เตรียมถังขยะ: ควรมีถังขยะแยกประเภทอย่างน้อย 3 ถัง คือ ถังสีเขียว (ขยะอินทรีย์) ถังสีเหลือง (ขยะรีไซเคิล) และถังสีน้ำเงิน (ขยะทั่วไป)
2. แยกขยะตามประเภท: ทิ้งขยะแต่ละประเภทลงในถังที่กำหนดไว้
3. ทำความสะอาดก่อนทิ้ง: สิ่งสำคัญในการแยกขยะคือการทำความสะอาดขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขวดพลาสติกหรือกระป๋อง เพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปนเปื้อนและช่วยให้กระบวนการรีไซเคิลทำได้ง่ายขึ้น
4. หลีกเลี่ยงการปนเปื้อน: หลีกเลี่ยงการทิ้งขยะที่มีสารปนเปื้อน เช่น ขยะที่มีน้ำมันหรือเศษอาหาร เพราะจะทำให้ขยะที่สามารถรีไซเคิลไม่ได้ และทำให้กระบวนการจัดการขยะมีความยุ่งยากมากขึ้น
5. บีบอัด: บีบอัดขยะให้แน่น เพื่อประหยัดพื้นที่
6. ปิดฝาให้สนิท: ปิดฝาถังขยะให้สนิท เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลง
วิธีแยกขยะการทิ้งขยะให้ถูกต้อง เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของโลกใบนี้เลย ที่สำคัญไปกว่านั้น การแยกขยะยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่นำวัสดุรีไซเคิลมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า เช่น แบรนด์เสื้อผ้า PIPATCHARA ที่นำวัสดุรีไซเคิลมาผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่เพียงแค่ธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีหลายคนที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการเก็บขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติกหรือกระป๋องที่นำมาขายให้กับโรงงานรีไซเคิล สรุปเรื่องการแยกขยะไม่เพียงแต่ดีต่อโลก แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างรายได้และธุรกิจใหม่ ๆ อีกด้วย มาเริ่มต้นจัดการขยะด้วยถังแยกขยะกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่น่าอยู่ของเราและคนรุ่นหลังกัน! ใครมีขยะที่คัดแยกไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่รู้ต้องส่งไปที่ไหน อ่านต่อได้ที่ การคัดแยกขยะมูลฝอยที่ทำได้จริง พร้อมสถานที่ส่งต่อขยะรีไซเคิล