ลมหนาวพัดมาทีไร จิตใจมันอ่อนไหวอยากไปนอนเต็นท์รับไอหนาวทุกครั้งไป ว่าแต่คุณรู้หรือไม่ว่าเต็นท์นอนหรือเต็นท์สนามที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลายแบบ แล้วแบบไหนที่เหมาะสมกับเราที่สุด ร่วมหาคำตอบกันได้ข้างล่างนี้เลย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
เต็นท์รูปทรงสามเหลี่ยม ( A Frame )
เต็นท์แบบนี้ถูกออกแบบมาเป็นชนิดแรก จึงไม่มีความซับซ้อนทางด้านการออกแบบแต่อย่างใด โดยมีข้อดีในเรื่องการระบายน้ำได้ดี เป็นเต็นท์พื้นฐานที่สามารถนำวัสดุใกล้เคียงมาซ่อมแซมได้เมื่อเต็นท์เสียหาย เมื่อรูปทรงเต็นท์เป็นสามเหลี่ยมจึงทำให้มีพื้นที่ภายในด้านบนแคบ
เต็นท์สนามรูปทรงบ้าน ( Cabin )
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนามาใช้กับกิจกรรมเดินทางด้วยรถ ซึ่งไม่มีข้อจำกัดน้ำหนักมากนักในการขนย้าย สามารถแบ่งเป็น ห้องหรือพื้นที่ทำกิจกรรมโดยเปลี่ยนเป็นฟลายชีทได้
เต็นท์รูปทรงโดม ( Dome )
เต็นท์ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยการดึงของสมอ จึงสามารถตั้งได้ทุกสภาพพื้นผิว การที่มีรูปทรงเป็นครึ่งวงกลมจึงทำให้พื้นที่ภายในกว้างขึ้นและทำกิจกรรมอย่างอื่นภายในได้มากขึ้น
เต็นท์สนามรูปทรงจีโอโดสิคโดม ( Geodosic Dome )
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเต็นท์รูปทรงโดม โดยเพิ่มเสาด้านข้าง 2 เสา ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น พื้นที่ภายในมีมากขึ้น แต่ก็ทำให้น้ำหนักเต็นท์มากขึ้นด้วย
เต็นท์สปริง ( Spring )
เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงสรางอยู่ภายในเต็นท์ ดังนั้นมันจึงกางเต็นท์ได้ง่ายที่สุด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวเต็นท์ให้กางออกเสร็จสรรพในพริบตา แต่จะไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากตัวเสาเต็นท์ทำจากขดลวดสปริง
เต็นท์รูปทรงท่อ ( Tunnel )
เต็นท์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในลักษณะพื้นที่ ที่มีลมแรง การที่รูปทรงเต็นท์เป็นรูปทรงท่อจึงลดแรงประทะของลมทุกด้าน โครงสร้างเสาเป็นรูปโค้งจึงลดการปะทะทำให้เสาเสียหายน้อยลง เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบให้ใช้เฉพาะที่
เต็นท์สนามรูปทรงปิรามิด ( Piramid )
เต็นท์มีน้ำหนักเบา ใช้เสาอลูมิเนียมหรือไม้เท้ามาทำเป็นเสา ดังนั้นเต็นท์จึงมีน้ำหนักเบาและเล็กกะทัดรัด แต่ต้องการใช้การตอกสมอและดึงเชือกในการตั้งเต็นท์ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
Feature Image credit : freepik