ปัจจุบันแบรนด์รถชื่อดังในหลายประเทศหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับธรรมชาติซึ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าซึ่งทำให้มีต้นทุนการผลิตที่น้อยลง และด้วย วิธีชาร์จรถไฟฟ้า ยังช่วยประหยัดพลังงานได้ในหลายด้านด้วยกัน โดยทุกคนจะเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่ภาวะของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
การ ชาร์จรถไฟฟ้า
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นมากสำหรับหลายคนที่กำลังคิดจะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะมีหลายประเภทให้เลือกใช้ แต่อย่างไรก็ตามหากเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% จำเป็นที่จะต้องรู้ระยะทางในการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และรู้จุดชาร์รถไฟฟ้า EV Station รวมถึงการจะต้องพกพาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
ประเภทของการ ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันเทคโนโลยีในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งก็มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ในหลายประเทศเพื่อตอบโจทย์กับการใช้งานได้รวดเร็วมากขึ้น และใช้เวลาในการชาร์จให้น้อยลง จะสามารถออกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
1. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านตัวนำ (Conductive Charging)
เป็นวิธีที่มีความซับซ้อนน้อย โดยการชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังรถยนต์ไฟฟ้าสายชาร์จ ซึ่งในเครื่องชาร์จก็ยังมีการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การชาร์จประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำจึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมาก และการเลือกซื้อหรือการติดตั้งมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก
2. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Inductive Charging) หรือแบบไร้สาย (Wireless Charging)
จะเป็นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้สายเคเบิลหรือสายชาร์จ ซึ่งจะเป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับที่ต้องใช้ On-Board Charger หรือ AC/DC Rectifier เพื่อแปลงไฟฟ้าให้เป็นกระแสตรงก่อนจ่ายเข้าสู่แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ความปลอดภัยและสะดวกสบายในการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น แต่การชาร์จด้วยวิธีนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เพื่อลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าในระหว่างการชาร์จให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
วิธี ชาร์จรถไฟฟ้า
1. ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบธรรมดา (Normal Charge)
จะเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) จากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ที่แนะนำขั้นต่ำที่ใช้ได้อยู่ 30(100)A และจะต้องติดตั้งเต้าใหม่ใช้เฉพาะการชาร์จรถไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะใช้เวลาโดยประมาณอยู่ที่ 12-16 ชั่วโมง
2. ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)
วิธีนี้เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากเครื่องชาร์จ EV Charger จะเป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเต็มเร็วขึ้น โดยจะใช้เวลาน้อยลงจากการชาร์จแบบธรรมดาครึ่งหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
3. ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบด่วน (Quick Charge)
วิธีนี้เป็นการชาร์จรถยนต์ด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) เข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 40-60 นาทีได้ถึง 80% ซึ่งมักจะมีให้ใช้ตามสถานีบริการ ถึงจะมีข้อดีที่สามารถจะชาร์จได้เร็วแต่ก็มีข้อเสียก็คือจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วเช่นกัน
การติดตั้ง ที่ชาร์จรถไฟฟ้า ที่บ้าน
สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน สิ่งแรกเลยที่จะต้องคำนึงก็คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นแบบไหน รุ่นและยี่ห้อจะต้องใช้กับเครื่องชาร์จแบบใดจากนั้นจึงมาพิจารณาระบบไฟฟ้าในบ้าน และจุดที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จตรงส่วนไหนของบ้าน
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน
- ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สำหรับคนที่ต้องการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน แนะนำให้ใช้ขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) เพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นการป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป และช่วยให้มิเตอร์ทำงานได้ยาวนานมากขึ้น
- สายเมนจำเป็นจะต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ต้องเปลี่ยนเป็น 100(A) หรือก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ขนาดการใช้งานต้องสอดคล้องกัน
- การชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องแยกการใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ อย่างชัดเจนโดย ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) จะต้องมีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่อง สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
- หากสายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว อาจจะไม่ต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) เพิ่มเติมก็ได้ แต่หากไม่มีจะต้องติดตั้งเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน
- เต้ารับ (EV Socket) สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งอาจจะมีการปรับหรือออกแบบปลั๊กที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่นหรือแต่ละแบรนด์ แต่จะต้องเป็นแบบชนิด 3 รูและต้องทนกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A)
- จะต้องเช็กตำแหน่งก่อนติดตั้งเต้ารับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยระยะห่างกับความยาวของสายชาร์จจะต้องเหมาะสม เพราะความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 เมตร และจุดที่ติดตั้งควรอยู่ในร่มเพื่อป้องกันแดด ฝุ่นและน้ำฝนได้
วิธีติดตั้งที่ ชาร์จรถไฟฟ้า ที่บ้าน
สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะได้มาตรฐานในการใช้งานทำให้มีความปลอดภัย และมีการรับประกันให้หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นมา
- จะต้องมีการสำรวจบริเวณที่เหมาะสมในการติดตั้ง Ev Charger แนะนำว่าควรจะมีหลังคาและให้ทำการวัดระยะเพื่อเดินสายจากตู้ Load center ไปยังจุดที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จ
- การเดินสายไฟมายังจุดใช้งาน และทำการติดตั้งกล่องไฟฟ้า (Upstream) พร้อมทั้งติดตั้ง Ev charger โดยต้องคำนึงถึงระยะของสายชาร์จกับตัวรถไฟฟ้าไม่ควรไกลเกิน 5 เมตร
- ให้ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Upstream และ Ev Charger เข้ากับระบบไฟซึ่งได้ทำการเดินสายเอาไว้และต้องตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง
- ให้ทำการทดสอบการทำงานของ Ev Charger และระบบ Protection ให้ทำงานอย่างปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้มีการกำหนด
- จะต้องมีการสาธิตแนะนำการใช้งาน Ev Charger อย่างถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรงหลังจากติดตั้งแล้วเสร็จและจะต้องให้คำแนะนำ ปรึกษาและตอบข้อสงสัย
สำหรับวิธีชาร์จรถไฟฟ้าฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย เพราะอยู่ในฐานะของผู้บริโภคก็จริง แต่ความจริงแล้วการใช้งานจะต้องมีความเข้าใจในระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าการใช้งานซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด รวมถึงการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านกับความรู้เบื้องต้นในการใช้งานที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง รู้วิธีขาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว สำหรับใครที่มีรถยนต์ไฟฟ้า Shopee Blog แนะนำเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีบทความ รีวิวรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์มินิหลักมื่น ไปตามอ่านกันเลย!
ข้อมูลอ้างอิง : ddproperty.com / iphonemod.net / ctms.co.th
Feature Image credit : pixabay