ในสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกบ่อยแบบประเทศไทย ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างอุทกภัยถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยและควรเตรียมตัวรับมือ น้ำท่วมก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งอาจส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยตั้งแต่สร้างความกังวล สร้างโรค สร้างอุบัติเหตุ หรือทำให้ทรัพสินย์และชีวิตของคุณหรือคนที่คุณห่วงเสียหาย ในบทความนี้เราจะเจาะลึกขั้นตอนสำคัญในการป้องกันน้ำท่วม วิธีป้องกันอุทกภัย ให้คุณเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมได้ดีกว่าใคร บ้านและทรัพย์สินปลอดภัย ต้องเตรียมของจำเป็น เบอร์และช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือ หรือเตรียมถุงยังชีพอย่างไร บทความนี้ก็ครอบคลุมไว้แล้ว
ในบทความนนี้จะครอบคลุมวิธีรับมือและป้องกันน้ำท่วมตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ ได้แก่:
- การเข้าใจน้ำท่วม
- วิธีป้องกันอุทกภัย ก่อนเกิดน้ำท่วม
- การเตรียมถุงยังชีพและของสำคัญจำเป็น
- การเตรียมบ้านและเตรียมของจำเป็นหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม
- การพัฒนาแผนอพยพน้ำท่วม
- ต้องทำอย่างไรหากน้ำท่วมบ้านช้นล่าง
- การติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
การทำความเข้าใจพื้นฐานของน้ำท่วม
อะไรทำให้เกิดน้ำท่วม?
น้ำท่วมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ฝนตกหนัก พายุ เขื่อนแตก หิมะละลาย และอื่นๆ โดยพื้นฐานแล้วมันคือน้ำที่ล้นไปยังพื้นที่ที่ปกติแล้วแห้ง หากประกอบกันกับท่อตัน หรือทางน้ำมีการติดขัดไม่ไหลออกไปตามปกติ ก็จะยิ่งทำให้น้ำท่วมหนักขึ้น ตั้งแต่น้ำขังเป็นแอ่ง จนไปถึง น้ำท่วมรอการระบาย แต่หากคำนึงถึงระยะยาวแล้ว การทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมและรักษาความปลอดภัย ความรู้นี้สามารถช่วยให้ตัวเราเองรวมถึงภาครัฐเตรียมตัวรับมือหรือแก้ปัญหาเชิงรุกได้
วิธีป้องกันอุทกภัย
การป้องกันน้ำท่วมเป็นการป้องกันแนวแรก แม้ว่าคุณจะสามารถใช้มาตรการป้องกันได้ แต่การป้องกันน้ำท่วมทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการต่อไปนี้ที่เรารวบรวมมาจะสามารถลดความเสี่ยงและลดความเสียหายของคุณและสินทรัพย์ของคุณได้อย่างมาก
สืบประวัติการระบายน้ำของพื้นที่และประเมินสถานการณ์
ความรู้เป็นอาวุธ กรณีนี้ก็เช่นกันคือถ้าเราพอรู้ระดับน้ำที่พื้นที่นี้จะท่วมได้ เราก็จะได้เตรียมตัวป้องกันน้ำท่วมในระดับที่ใกล้เคียงกับที่เคยผ่านมา เพราะการที่น้ำจะท่วมสูงกว่าปกติมากหรือสูงระดับบ้านหายไปซักหนึ่งชั้นนั้นค่อนข้างยาก ดังนั้น ถ้าคุณรู้ว่าระดับน้ำที่เคยท่วมเป็นเท่าใด คุณจะได้เตรียมป้องกันและอพยพสิ่งของเครื่องใช้ของคุณในระดับเท่าที่สิ่งเหล่านั้นจะปลอดภัยและไม่เปลืองแรงจนเกินไป
บำรุงรักษาท่อน้ำ-ระบบระบายน้ำให้ถ่ายเทดี
ระบบระบายน้ำที่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้อย่างมาก ดูแลรักษารางน้ำ ท่อระบายน้ำพายุ และคูน้ำให้ปราศจากเศษขยะและพืชพรรณ ตรวจสอบคลองหรือทางเดินน้ำในละแวกและแจ้งเจ้าหน้าที่ให้จัดการล่วงหน้ากรณีมีสิ่งกีดขวาง
ป้องกันน้ำท่วมด้วยกระสอบทราย
สำหรับประเทศไทย หากคุณเล็งเห็นว่าพื้นที่ของคุณเสี่ยงน้ำท่วมในเวลาอันใกล้ได้ ควรนำกระสอบทรายมาเรียงเป็นแถวให้หนาแน่นเพื่อกันน้ำเข้ามาในตัวบ้าน (ใส่ทรายประมาณ 50% ของกระสอบแต่ละกระสอบเท่านั้น) แต่อย่าลืมวางในพื้นที่ของคุณเองและทำให้ไม่กระทบการเดินทางปกติของคนแถวนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีกระสอบทรายเก็บไว้ที่บ้านเพื่อใช้ในการนี้เพราะหากคุณหาซื้อในเวลาที่ทุกคนต้องการ กระสอบทรายจะมีราคาแพงกว่าปกติมาก
ถอดปลั๊ก และ ยกเครื่องระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง
หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ควรยกระดับระบบไฟฟ้า รวมถึงปลั๊กไฟและสวิตช์ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายทางไฟฟ้าในกรณีน้ำท่วม ยกเตา เครื่องทำน้ำอุ่น และแผงไฟฟ้าของคุณขึ้นไปบนชั้นหรือชานชาลาที่สูงขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหาย
เซฟเบอร์ฉุกเฉินเอาไว้ก่อน
เมมเบอร์ฉุกเฉินอย่าง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปค.) สายด่วนรับแจ้ง- เตือนภัยน้ำท่วม 1111 กด 5 หรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย 1784
ทำถุงยังชีพและแพ็คของสำคัญไว้รับมือน้ำท่วมฉุกเฉิน
การเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยน้ำท่วมฉุกเฉินไว้พร้อม สิ่งที่ควรรวมไว้มีดังนี้:
อาหารและน้ำที่ไม่เน่าเสียง่าย
เก็บอาหารและน้ำที่ไม่เน่าเปื่อยให้เพียงพอเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวของคุณเป็นเวลาอย่างน้อยสามวัน เช่น อาหารแห้ง หรือ อาหารกระป๋อง (ที่ไม่ต้องใช้ที่เปิดกระป๋อง) น้ำและอาหารควรเตรียมให้เพียงพอสำหรับ 3 วัน
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลและอุปกรณ์จำเป็นยามอุทกภัย
รวมถึงชุดปฐมพยาบาลที่เตรียมไว้อย่างดี พร้อมด้วยผ้าพันแผล ยาฆ่าเชื้อ ยาตามใบสั่งแพทย์ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อุปกรณ์ที่จำเป็นยามเกิดอุทกภัย เช่น บู๊ทกันน้ำ เสื้อกันฝน ไฟฉาย-เทียน ที่ตรวจกระแสไฟฟ้าในน้ำ ถุงพลาสติก หรือ วอลกี้ทอคกี้(แยกถ่านไว้ต่างหาก) เป็นต้น
เอกสารสำคัญ
เก็บสำเนาเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัว กรมธรรม์ เวชระเบียน และบันทึกทางการเงิน ไว้ในแฟ้ม และเอาแฟ้มใส่ถุงพลาสติกซิปล็อค และเอาไว้ในกระเป๋ากันน้ำ
อุปกรณ์ติดตามข่าวสารและติดต่อ
เตรียมมือถือไว้ใกล้ตัว รวมถึง ชาร์จแบตเตอรี่เข้า ที่ชาร์จโทรศัพท์สำรอง (power bank) ให้เต็มอยู่เสมอ เพราะหากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรง มีความเป็นไปได้สูงที่คุณจะไม่มีไฟฟ้าใช้เพื่อชาร์จ อย่าลืมเซฟเบอร์โทรสำคัญในการขอความช่วยเหลือเอาไว้ในโทรศัพท์เผื่อกรณีไม่มีอินเตอร์เน็ต
การเตรียมบ้านของคุณ และ การเตรียมสิ่งของต้องใช้
การเตรียมบ้านของคุณให้พร้อมรับมือน้ำท่วมเกี่ยวข้องกับการดำเนินขั้นตอนเชิงรุกเพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด คำแนะนำที่สำคัญมีดังนี้:
สั่งซื้อสิ่งของจำเป็นไว้ล่วงหน้า
ไม่ว่าจะเป็น ร่ม เสื้อกันฝน รองเท้าบูท กระเป๋ากันน้ำ ผ้าพลาสติกคลุมกันรองเท้าเปียก กระสอบทราบหรือถุงทรายกั้นกันน้ำเข้าพื้นที่ด้านใน(ใส่ทรายถุงละเพียงครึ่งถุง) หรือ อื่นๆ
ยกระดับเครื่องใช้ไฟฟ้า
ยกเครื่องไฟฟ้าขึ้นที่สูง ไม่ใช่เพื่อรักษาของคุณให้ยังใช้การได้หลังเหตุอุทกภัย แต่ยังเป็นการลดความเสี่ยงของกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาในน้ำอีกด้วย
จัดการหาที่ทางและอุปกรณ์จำเป็นให้กับสัตว์เลี้ยงและพาหนะของคุณ
พาสัตว์เลี้ยงและรถของคุณไปฝากไว้ยังที่ๆน่าจะปลอดภัยต่อน้ำท่วม หรือ เตรียมกรงหรือกระเป๋า พร้อม อาหารและน้ำ เพื่อให้คุณอพยพไปกับสัตว์เลี้ยงของคุณได้อย่างสะดวกปลอดภัย แล้วสัตว์เลี้ยงของคุณไม่ตกใจวิ่งหรือว่ายหนีไป
ติดตั้งปั๊มสูบน้ำ
ปั๊มสูบน้ำสามารถช่วยกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากห้องใต้ดินหรือระดับล่างระหว่างที่เกิดน้ำท่วม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพการทำงานที่ดี
กันซึม
พิจารณาใช้สารเคลือบกันน้ำกับผนังและพื้นห้องใต้ดินเพื่อป้องกันการซึม อาจพิจารณาซีลขอบกระจกด้วยหากจำเป็น
การพัฒนาแผนการอพยพน้ำท่วม
การมีแผนอพยพที่คิดมาอย่างดีสามารถช่วยชีวิตได้ในช่วงน้ำท่วม ต่อไปนี้เป็นวิธีสร้าง:
ระบุเส้นทางที่ปลอดภัย
จัดทำแผนผังเส้นทางอพยพเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม ระบุสถานพักพิงใกล้เคียงหรือบ้านของเพื่อนและครอบครัวที่คุณสามารถขอลี้ภัยได้
แผนการสื่อสาร
จัดทำแผนการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนรู้ว่าจะพบกันที่ไหนและจะติดต่อกันอย่างไร
การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
รวบรวมรายชื่อผู้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น บริการฉุกเฉิน และเพื่อนบ้าน
แล้วถ้าน้ำท่วมชั้นล่างแล้ว ต้องทำอย่างไร ?
หากเกิดน้ำท่วมขึ้นแล้ว และน้ำเชี่ยวกรากก็ให้รีบหนีไปเพราะชีวิตคุณสำคัญกว่าของใด แต่หากน้ำนิ่งพอที่คุณจะจัดการภายในบ้านได้ก่อนอพยพหนี คุณจะต้องทำและระวังในสิ่งต่อไปนี้:
- ถ้ามีเครื่องใช่ไฟฟ้าอยู่ในชั้นที่น้ำท่วม ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูงหรือชั้นบนถ้ามี
- หากมีสวิตช์ที่สามารถตัดไฟแยกชั้นได้ ให้ปิดสวิตช์เพื่อตัดไฟชั้นที่มีน้ำท่วม ป้องกันการมีกระแสไฟฟ้าที่อยู่กับน้ำซึ่งนำไฟฟ้า และทำอันตรายถึงชีวิตได้
- ห้ามใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เชื่อมต่อกับปลั๊กไฟบ้านทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดหรือปิดสวิตช์ปลั๊กไฟเด็ดขาด
- ห้ามสัมผัสน้ำท่วมหากรู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะมีกระแสไฟฟ้าอยู่บริเวณน้ำท่วมนั้น เช่น หากเห็ดสายไฟหรือเสาไฟขาดหรือหักจุ่มน้ำ ห้ามเข้าใกล้เด็ดขาด
- หากเจอคนโดนไฟดูด อย่าใช้มือเปล่าดึงหรือแตะตัวผู้ป่วยเด็ดขาด ให้หาอุปกรณ์อื่นอย่าง ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยาง หรือพลากติกไปผลักตัวให้หลุดจากสื่อนำไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
- หากพบเห็นสัตว์ที่มากับน้ำ ให้ระวังเป็นสัตว์มีพิษและหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้
หากพบเหตุด่วน รีบแจ้ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สายด่วน 1129 หรือ การไฟฟ้านครหลวง สายด่วน 1130
การจัดการบ้านหลังน้ำลด
หากคุณอพยพเพราะน้ำท่วมสูงเข้าบ้านและสามารถกลับมาได้ ให้ใส่หน้ากาก รองเท้าบู๊ท ถุงมือ รีบเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบาย รับลมให้บ้านแห้ง และขัดทำความสะอาดพื้นและผนังโดยเร็วที่สุด (ให้ดีคือภายใน 48 ชั่วโมงหลังน้ำลด) ให้ทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดธรรมดา หรือ น้ำยา 0.5 % sodium hypochlorite สำหรับผนังหรือพื้นปูน หากพบพื้นหรือผนังที่มีรอบเชื้อราเป็นปื้นให้นำกระดาษหนังสือพิมพ์ผสมน้ำยาล้างจานเช็ดแล้วทิ้งถังขยะปิดมิดชิด แล้วเช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์เข้มข้นมากกว่า 70% ทำความสะอาดแล้วอย่าลืมอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้ดี
การรับทราบข้อมูลและการแจ้งเตือนอยู่เสมอ
ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม การรับทราบข้อมูลและการเฝ้าระวังเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็นวิธีดำเนินการ:
การแจ้งเตือนสภาพอากาศ
สมัครรับบริการแจ้งเตือนสภาพอากาศหรือแอปเพื่อรับข้อมูลอัปเดตแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสภาพอากาศและน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ของคุณ
ติดตามระดับแม่น้ำ
หากคุณพักอาศัยอยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำ ให้จับตาดูระดับแม่น้ำและมาตรวัดน้ำท่วมในบริเวณใกล้เคียง ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ภาวะน้ำท่วมในระยะเริ่มต้นได้ สามารถเช็กสถานการณ์น้ำด้วยตัวเองได้ที่แอปพลิเคชัน Thaiwater หรือเว็บไซต์ http://www.thaiwater.net/water/wl
การออกอากาศฉุกเฉิน
ติดตามการออกอากาศฉุกเฉินทางวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อรับข้อมูลสำคัญและคำสั่งอพยพ
บทสรุป น้ำท่วม อาจไม่น่ากลัวเท่าที่คิด หากคุณเตรียมตัวและเตรียมใจดี
โดยสรุป การเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องครอบครัวและทรัพย์สินของคุณ ด้วยการทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับอุทกภัย และสุดท้าย อย่าลืมว่าเมื่อน้ำลดและอุทกภัยผ่านพ้นไป คุณก็จะต้องจัดการบ้านหรือบริเวณบ้านที่โดนภัยจากน้ำไปเช่นกัน ให้ระวังเรื่องของเชื้อราให้ดีหากกลับเข้าไปในบ้านที่เปียกชื้นอีกครั้ง เราขอเป็นกำลังใจให้คุณเตรียมตัว รับมือ และผ่านพ้นน้ำท่วมไปได้อย่างดี