หากพูดถึงพูดสมุนไพร “กานพลู” ถือเป็นหนึ่งในพืชสมุนไทยที่มีกลิ่น และรสชาติให้ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถือเป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ผู้คนรู้จักกันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวด และโรคต่าง ๆ อาทิเช่น บรรเทาอาการปวดฟัน ผิวหนังชา ฆ่าเชื้อ แก้หอบหืด แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งยังมีการนำส่วนต่าง ๆ ของกานพลูไปสกัดเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยงาม รวมไปถึงการนำดัดแปลงกลายเป็นเครื่องเทศที่นำไปประกอบเมนูอาหารได้อย่างหลากหลายโดยให้รสชาติที่เผ็ดร้อน จนกลายเป็นที่ถูกปากของคนไทย วันนี้จึงขอนำทุกท่านมารู้จักกับสาระดี ๆ สรรพคุณ กานพลู และการนำกานพลูไปใช้ มาดูกันสิว่าจะเผ็ดแซ่บสมชื่อกันหรือไม่
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
กานพลู ภาษาอังกฤษ
กานพลูมีชื่อทางภาษาอังกฤษว่า Clove หรือ Clove tree โดยมีชื่อพ้องอื่น ๆ อาทิเช่น Eugenia caryophyllata Thunb. Eugenia caryophyllus Eugenia aromatica Kuntze และสำหรับบางพื้นเช่น ภาคเหนือของไทยที่จะมีชื่อเรียกว่า จันจี่ หรือดอกจันทร์
กานพลู ชื่อวิทยาศาสตร์
กานพลู (Clove) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Syzygium aromaticum (L.) Merrill & Perry ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ MYRTACEAE
กานพลู ลักษณะ
กานพลู คือ พืชชนิดหนึ่ง โดยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกานพลู (Clove) ในแต่ละส่วนตั้งแต่ลำต้น ดอก ก้าน ใบ และผล ว่ามีลักษณะอย่างไร
- ต้นกานพลู
สำหรับต้นกานพลูจะมีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่มยืนต้น ตรง สูงประมาณ 5 – 20 เมตร โดยส่วนลำต้นจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปลือกเรียบ แต่เรือนยอดค่อนข้างทึบรูปทรงกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ และที่สำคัญมีต่อมน้ำมันมากจึงมีกลิ่นเฉพาะตัว
- ดอกกานพลู
- ใบกานพลู
จะออกช่อดอกสั้น ๆ บริเวณช่วงปลายยอด หรือตามซอกใบ จะแบ่งออกเป็นดอกตูมที่มีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรซึ่งจะมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงน้ำตาลดำโดยปกติดอกแตกแขงออกเป็นกระจุกประมาณ 3 ช่อมีจำนวน 6 – 20 ดอก ด้านในจะมีทั้งเกสรดอกตัวผู้ และก้านเกสรตัวเมีย กลีบดอก 4 กลีบซึ่งจะให้ต่อมน้ำมันมาก และร่วงง่ายซึ่งมักจะนำมาทำเป็นผงยาสีน้ำตาลที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ให้กลิ่นหอมแต่ค่อนข้างแรง รสเผ็ด ฝาดทำให้รู้สึกชาลิ้น นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญของดอก คือ Eugenol 72-90 %, Eugenyl acetate 2-27 %, β-caryophyllene 5-12 % , trans-βcaryophyllene 6.3-12.7 % และ Vanillin
Credit:pixabay
ลักษณะเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปหอก รูปรี หรือรูปไข่แบบแคบ ๆ ออกเรียงตรงข้าม ส่วนใบปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ลักษณะขอบเรียบแต่ผิวใบด้านบนมัน ส่วนด้านล่างจะมีต่อมน้ำมันค่อนข้างมากซึ่งจะมีเส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น และยังพบสารที่สำคัญได้แก่ Eugenol 94.4 % , β-caryophyllene 2.9 % และ สารอื่นๆ อาทิเช่น methyl salicylate, benzaldehyde, methyl eugenol, rhamnetin และmethyl amyl ketone
- ผลการพลู
ลักษณะผลเดี่ยว รูปไข่กลับแกมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตรสีจะค่อนไปทางแดงเข้มไปจนถึงดำ
น้ำมันกานพลู
ต้นกานพลูถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่แทบทุกส่วนสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการสกัดได้จากการกลั่นไอน้ำจากพืชโดยลักษณะน้ำมันกานพลู จะมีลักษณะเป็นของเหลว (Oil) มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวแต่ฉุนเล็กน้อย สีใสไปจนถึงเหลืองอ่อน หรือเหลืองปนน้ำตาลอ่อน โดยมักนำไปใช้เป็นส่วนผสมในหัวน้ำหอม ยานวด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่น ๆ นอกจากนี้ยังจำแนกน้ำมันกานพลูออกเป็น 3 ประเภท คือ
Credit:unsplash
ต้นกานพลูถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่แทบทุกส่วนสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการสกัดได้จากการกลั่นไอน้ำจากพืชโดยลักษณะน้ำมันกานพลู จะมีลักษณะเป็นของเหลว (Oil) มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวแต่ฉุนเล็กน้อย สีใสไปจนถึงเหลืองอ่อน หรือเหลืองปนน้ำตาลอ่อน โดยมักนำไปใช้เป็นส่วนผสมในหัวน้ำหอม ยานวด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่น ๆ นอกจากนี้ยังจำแนกน้ำมันกานพลูออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ดอกกานพลู น้ำมันในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยสาร Eugenol60% , Caryophyllene, Acetyl eugenol และส่วนประกอบย่อยอื่น ๆ
- ใบกานพลู สำหรับส่วนใบจะประกอบด้วยสาร Eugenol 82-88% และ Acetate เพียงเล็กน้อย
- ต้นกานพลูที่ได้จากกิ่ง และเปลือก โดยประกอบด้วยสาร Eugenol 90 – 95% และส่วนประกอบย่อยอื่น ๆ
กานพลู แก้ปวดฟัน
กานพลูถือเป็นพืชสมุนไพรที่คนในวงการทันตกรรมรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากสรรพคุณที่สามารถนำมาใช้แทนยาชา และใช้บรรเทาอาการปวดฟันให้ทุเลาลงโดยมักจะใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันของดอกกานพลูเพื่อเข้ามามีส่วนช่วยในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้มีเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับแก้อาการปวดฟันแบบง่าย ๆ ถึง 4 วิธีมาฝากแก่คุณผู้อ่านดังนี้
- วิธีที่ 1 นำสำลีแผ่นพันปลายไม้จุ่มลงในน้ำมันที่ได้จากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลูพอชุ่มจากนั้นให้นำไปอุดในรูฟันที่ปวดไว้สักระยะ จากนั้นให้นำก้านสำลีออก
- วิธีที่ 2 หากไม่มีน้ำมันดอกกานพลู ก็สามารถนำกานพลูมาอมไว้ในปากบริเวณที่ปวด
- วิธีที่ 3 ทุบกานพลูแช่กับเหล้าขาว แล้วนำสำลีมาชุบนำไปอุดฟันบริเวณที่ปวด
- วิธีที่ 4 นำดอกกานพลูทั้งดอกมาเคี้ยวแล้วอมไว้บริเวณที่ปวดฟัน
เห็นไหมว่าทั้ง 4 วิธีสามารถลองนำไปปฏิบัติได้ง่าย ๆ ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นี้อาการปวดฟันของคุณจะลดลงอย่างแน่นอน การันตีด้วยสรรพคุณทางยาของกานพลูที่มีฤทธิ์ใช้แทนยาชา ลดอาการปวด แถมยังช่วยฆ่าเชื้อ ดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงการทำความสะอาดภายในช่องปากให้สะอาดหมดจดคืนความสุขให้กลับมายิ้มเริงร่าไม่รู้สึกปวด และเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาระดี ๆ ของพืชสมุนไพรไทยรสเผ็ดกลิ่นหอม “กานพลู” ที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ในการรักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นในส่วนของทันตกรรมในการนำมารักษาอาการปวดฟัน หรือนำสารสำคัญยูจินอล (Euginol) ในกานพลูไปใช้ในวงการเสริมความงาม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิเช่น สบู่ น้ำหอม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือนำไปเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารให้เผ็ดร้อน ช่วยในการไล่ลมได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่รู้สึกจุกเสียด และแน่นท้องอีกต่อไป แต่ไม่ว่าอย่างไรทุกพืชสมุนไพรถ้าใช้ในปริมาณ หรือความเข้มข้นที่สูงเกินไปก็อาจก่อให้เกิดอันตราย และเกิดผลใกล้เคียงซึ่งกานพลูก็เช่นกันที่อาจส่งผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองส่วนต่าง ๆ หากรับประทานปริมาณมากจนเกินไป อีกทั้งไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือโรคอื่น ๆ รวมถึงการนำไปทานร่วมกับยาบางกลุ่ม เช่น NSAIDs เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจึงควรอ่านฉลาก และคำเตือนก่อนใช้ยา หรือหากต้องใช้ยาควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แหล่งข้อมูล : puechkaset, sukkaphap-d, moph, medthai
Feature Image Credit : freepik