พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ เจ้าแม่กวนอิม เป็นสัญลักษณ์ของการให้อภัยทาน ความเมตตา และความกตัญญู ซึ่งพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นที่เคารพนับถือจากพุทธศานิกชนมากมาย อย่างเทศกาลกินเจ ก็เป็นความเชื่อที่มาจากการเคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิม มาดูบทสวดเจ้าแม่กวนอิม วิธีบูชาเจ้าแม่กวนอิมอย่างถูกต้อง เพื่อความเป็นสิริมงคลกัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
การบูชาเจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร)
สิ่งที่ต้องเตรียมบูชา
- น้ำชา 1 แก้ว หรือ 3 แก้วก็ได้
- ผมไม้ 2 อย่าง (แต่ห้ามถวาย: ละมุด มะม่วง พุทรา ระกำ มังคุด)
- แจกันวาง 2 ข้าง ใส้กิ่งหลิว ต้นกวนอิม หรือดอกบัวก็ได้
- ธูป 9 ดอก
- เทียน 2 เล่ม
*งดของคาวทั้งหมด
โต๊ะบูชาเจ้าแม่กวนอิม
- ควรตั้งองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมต่ำกว่าพระพุทธเจ้า แต่สูงกว่าพระสงฆ์
- ควรตั้งรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมให้หันไปทางทิศตะวันออกจะดีที่สุด
- ห้ามตั้งหันเข้าห้องน้ำ หรือหันเข้าประตู
- ควรรักษาความสะอาดของหิ้งบูชาเสมอ
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)
บทมหากรุณาธารณีสูตร (บทสวดเจ้าแม่กวนอิมพันกร)
โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (3 จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (3 จบ)
นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
ซูตัน นอตันเซ
นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
นำมอ นอลา กินซี
ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
สะพอ ออทอ เตาซีพง
ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
นำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเย
นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
งันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ
สำหรับบทสวด “มหากรุณาธารณี” เป็นบทสวดสำคัญในพุชระพุทธศาสนามหายาน ประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร หรือบทสวดเจ้าแม่กวนอิมพันกร มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย
ประวัติเจ้าแม่กวนอิม
กษัตริย์เมี่ยวจวงมีพระธิดา 3 องค์ และไม่มีโอรสเลย จึงหมายมั่นว่าจะให้พระธิดาองค์ที่ 3 นามว่า เมี่ยวซ่าน ซึ่งเป็นคนฉลาดหลักแหลมขึ้นปกครองต่อจากตน หรืออาจจะมีลูกเขยที่ดีเพื่อช่วยกันปกครองเมือง แต่พระธิดาเมี่ยวซ่านกับสนใจเรื่องทางศาสนามากกว่าเรื่องการเมืองและคู่ครอง ตั้งแต่เด็กพระธิดาเมี่ยวซ่านไม่ทานเนื้อสัตว์ และสนใจแต่เรื่องศาสนา ทำให้กษัตริย์เมี่ยวจวงไม่พอใจ พยายามทำลายวัด คัมภีร์ ศาสนาเพื่อขัดขวางพระธิดาของตน แต่สุดท้ายไม่ว่าจะทดสอบอย่างไร พระธิดาเมี่ยวซ่านก็ได้บรรลุธรรมกลายเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในที่สุด
นับถือเจ้าแม่กวนอิมทำไมห้ามกินเนื้อวัว
เนื่องจากตอนมีชีวิต กษัตริย์เมี่ยวจวงได้พยายามทำลายศาสนาเพื่อขัดขวางพระธิดาของตน ทำให้เมื่อตายไปแล้วจึงตกนรกขุม 18 หลังจากพระธิดาเมี่ยวซ่านบรรลุจนเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม จึงได้ลงไปโปรดพระบิดาของตนในนรก ซึ่งต้องผ่านอุปสรรคมากมาย ยอมแม้สละแขนของตนเอง สุดท้ายกษัตริย์เมี่ยวจวงก็ได้มาเกิดใหม่เป็นวัว ทำให้คนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมต่างพากันนับถือความกตัญญูนั้น จึงงดเว้นการทานเนื้อวัวตามไปด้วย
เพลงเจ้าแม่กวนอิม
ที่มา: richystar.com, th.wikipedia.org
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการบูชาเจ้าแม่กวนอิม พร้อมบทสวดพระแม่กวนอิม ทั้งบทสวดสรรเสริญเจ้าแม่กวนอิม และบทสวดเจ้าแม่กวนอิมพันกร หรือบทมหากรุณาธารณีสูตร พร้อมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับประวัติเจ้าแม่กวนอิม สามารถนำไปสวดตามกันได้ ทั้งนี้ก็ควรนำหลักคำสอนของพระโพธิสัตว์กวนอิมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองและคนรอบข้าง
Feature Image Credit : freepik