ถ้าจะกล่าวถึงดอกอัญชัน คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงดอกไม้ชนิดหนึ่งที่มีสีน้ำเงินอมม่วง ถ้าบ้านไหนไม่ได้ปลูกไว้ก็จะหามาใช้กันยากสักหน่อย อัญชันนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบ้างหรือใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยแท้จริงแล้วต้นอัญชันก็ยังมีประโยชน์ทางยาหรือสรรพคุณมากมายที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึง ซึ่งคนไทยใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ดอกอัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์
Clitoria ternatea L.
ดอกอัญชัน ความหมาย
ต้นอัญชันพันธุ์เป็นไม้ที่เลื้อยอยู่ตามริมรั้วที่ช่วยให้ร่มเงากับที่พักอาศัยเพื่อเพิ่มความสวยงาม และสีสันที่ดูสบายตา ความหมายในภาษาดอกไม้ที่พอจะเข้าใจหรือแปลออกมาได้ว่านั่นคือความใจดีความเยือกเย็น และแสดงถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ของผู้อยู่อาศัย
สรรพคุณดอกอัญชัน
- ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้
- ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด แต่ต้องกินในปริมาณที่พอดี
- ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
- ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ดอกอัญชัน
- ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
- ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม และยาสระผม
- ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก นำมาจิ้มน้ำพริก หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
น้ำอัญชันสรรพคุณ
- ใช้เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย
- น้ำอัญชันช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
- น้ำดอกอัญชันให้สีม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารได้หลายชนิดหรือตามต้องการ ขนมดอกอัญชัน ข้าวอัญชัน หรือบัวลอยดอกอัญชัน
- เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
- มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะได้
- อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
- อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
- แก้อาการปัสสาวะพิการ หรือปัสสาวะมีความผิดปกติ
- ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือและนิ้วเท้า
ดอกอัญชันแห้ง ประโยชน์
สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในการบำรุงผม ใช้ทำเครื่องดื่ม นอกจากนี้ประโยชน์ของดอกอัญชันยังมีคุณค่าทางสมุนไพรช่วยบำรุงผม มีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดหลอดเล็ก ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผม เป็นการบำรุงผมให้สีเข้มเสมอ รวมถึงบำรุงนัยน์ตา และช่วยให้สายตาป้องกันอันตรายจากแสงจ้า ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ
วิธีทำน้ำดอกอัญชันน้ำผึ้งมะนาวเย็นจากดอกอัญชันแห้ง
- น้ำดอกอัญชันที่ได้จากการต้มแล้ว 5 Oz. ( ดอกอัญชันแห้ง ประมาณ 10 ดอก ต่อปริมาณน้ำ 1 แก้ว )
- น้ำผึ้ง 0.5 Oz.
- มะนาว 2 ซีก หรือชอบเปรี้ยวก็เพิ่มได้ตามต้องการ
- น้ำแข็ง 1 แก้ว ( 16 Oz. )
วิธีทำ โดยการนำน้ำดอกอัญชัน ผสมกับน้ำผึ้ง คนจนละลายแล้วจึงบีบมะนาวใส่ ตามต้องการ จากนั้นจึงเทใส่แก้วที่เตรียมน้ำแข็งไว้เรียบร้อยแล้ว ดื่มเพื่อแก้กระหายได้ทันที
ประโยชน์ของดอกอัญชันต่อผม
ตั้งแต่สมัยโบราณมาผู้เฒ่าผู้แก่นิยมนำดอกอัญชันมาขยำกับน้ำทาบริเวณคิ้วและศีรษะของเด็กอ่อน เพราะเป็นภูมิปัญญาที่่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น ว่าดอกอัญชันสรรพคุณช่วยทำให้ผมดกดำเงางาม หรือแม้แต่เพื่อช่วยให้ผมดกดำและช่วยลดผมขาวหรือลดอาการแพ้ที่หนังศรีษะในคนทุกวัยได้อีกด้วย ทำให้นิยมนำมาผลิตเป็นแชมพูอัญชันที่เห็นกันในท้องตลาด
ดอกอัญชันกินสดได้ไหม
ดอกอัญชัน หากต้องการจะกินแบบสด ควรจะต้องล้างน้ำให้ยางสีขาวหมดไปเสียก่อน เพราะยางสีขาวอาจจะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ และในตัวเมล็ดของดอกอัญชันจะมีฤทธิ์เบื่อเมาอยู่ ซึ่งหากกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ แต่โดยปกติเมล็ดของดอกอัญชัน ไม่นิยมนำมารับประทาน
โทษของดอกอัญชัน
ถึงแม้ว่าสรรพคุณดอกอัญชันจะมีประโยชน์แต่ก็มีโทษได้เหมือนกันหากใช้หรือรับประทานโดยไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน เนื่องจากอัญชันสรรพคุณ ฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดจึงทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หากดื่มหรือรับประทานมากเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคดังกล่าวจึงควรดื่ม หรือกินดอกอัญชันหรือน้ำอัญชันในปริมาณที่พอดี หรือจะสลับกับน้ำชาดอกไม้ หรือเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ และการดื่มน้ำอัญชันที่มีความเข้มข้นมากเกินไปก็อาจมีผลต่อการทำงานของไตให้ทำงานหนักต่อการขับสีดอกอัญชันออกจากร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มหรือกินดอกอัญชันในปริมาณมากเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์และสรรพคุณเต็มที่
ข้อห้ามของดอกอัญชัน
- ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ให้หลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของดอกอัญชัน ซึ่งมีฤทธิ์ในการสลายลิ่มเลือด ถ้ายิ่งดื่มหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานของไตให้หนักขึ้น
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูง หรือความดันต่ำ อาจจะทำให้หน้ามืดหรือหมดสติได้
- การดื่มน้ำชาจากดอกอัญชันที่ร้อนจัด อาจจะทำให้ภายในปากพองและเยื่อบุผิวเสียทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
- ผู้ป่วยที่ต้องทานยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- หลีกเลี่ยงการเด็ดดอกอัญชันมารับประทานแบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้เกิดระคายเคืองภายในลำคอ และอาจจะมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
- ผู้ที่มีอาการแพ้ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ไม่ควรจะกินดอกอัญชันด้วยเช่นกัน
ดอกอัญชัน นั้นเป็นสมุนไพรที่มีทั้งประโยชน์และสรรพคุณต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากกินในปริมาณที่พอเหมาะ 2-3 ดอกต่อวัน แต่ดอกอัญชันนั้นก็มีโทษอันตรายอยู่ หากกินในปริมาณที่มากจนเกินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าอะไรที่กินมากจนเกินความต้องการของร่างกายนั้นจะมีโทษอันตรายอยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรกินแต่พอเหมาะพอประมาณ
แหล่งข้อมูล : medthai, herbdailys