การบวชนั้น ถือเป็นธรรมเนียมและข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ที่มีความเชื่อกันว่า ครั้งหนึ่งลูกผู้ชายควรที่จะบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบุพการีที่เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จึงกลายมาเป็นธรรมเนียมที่ผู้ชายนั้นจะบวชในช่วงอายุ 20-25 ปีเพื่อทดแทนบุญคุณให้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองนั่นเอง โดยการบวชนั้น ก็มีการยกเอาเรื่องของฤกษ์ยามมาเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในบทความนี้ Shopee Blog จะมาแนะนำฤกษ์บวช 2567 สำหรับเตรียมตัวบวชเพื่อพ่อแม่ และพระพุทธศาสนา พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการบวช ไม่ว่าจะเป็น การบวชคืออะไร อานิสงส์ของการบวช และการเตรียมตัวบวชหรืออุปสมบท
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
การบวช หรือการอุปสมบท คืออะไร
คำว่า “บวช” นั้นมาจากคำในภาษาบาลี “ปพฺพชฺชา” ที่มีรากมาจากคำ 2 คำ ได้แก่ “ป” ที่มีความหมายว่า ทั่วหรือสิ้นเชิง และคำว่า “วช” ที่มีความหมายว่า ไป หรือเว้น เมื่อคำสองนี้รวมกัน จึงมีความหมายว่าไปโดยสิ้นเชิง หรือเว้นโดยสิ้นเชิง โดยการไปและเว้นโดยสิ้นเชิงนี้ หมายถึงไปจากสถานภาพการเป็นฆราวาส (คนทั่วไป) และไปเป็นเพศบรรพชิต หรือเป็นสมณเพศ เช่น พระ นั่นเอง โดยการบวชนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ หรือเป็นศาสนาส่วนหนึ่งของท้องถิ่น และสำหรับชาวไทยนั้น ก็มีความเชื่อที่ปลูกฝังกันมาแต่โบราณว่าลูกชายเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะถึงเวลาควรแค่แก่การอุปสมบทหรือบวชเพื่อทดแทนพระคุณพ่อและแม่ และนอกจากการบวชเพื่อพ่อแม่แล้ว ก็ยังมีการบวชรูปแบบอื่นๆ เช่น การบวชหน้าไฟ หรือการบวชเพื่อเป็นการทำบุญให้กับสมาชิกในครอบครัวผู้ล่วงลับ โดยมีความเชื่อกันว่า ผู้ตายจะเกาะชายผ้าเหลืองของบุตรหลานที่บวชให้ขึ้นสวรรค์ไปนั่นเอง หรือบางคน ก็อาจจะมีจุดประสงค์ในการบวชเพื่อเป็นการละความวุ่นวายทางโลก และเข้าสู่โลกทางธรรม เพื่อศึกษาและเข้าใจชีวิตได้มากขึ้น แต่การบวชนั้น ไม่ใช่ภาคบังคับและไม่กำหนดอายุตายตัวที่จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท ส่วนมากเราจึงเห็นผู้ชายไทยเข้าพิธีกันในหลากหลายช่วงวัย ไม่จำกัดที่เพียงช่วงอายุ 20 ปีเท่านั้น แม้ว่าอายุจะ 35 แล้ว หากมีศรัทธาที่แรงกล้า ก็สามารถอุปสมบทได้เช่นกัน
การเตรียมตัวบวช มีขั้นตอนอย่างไร
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทยนั้น การเข้าพิธีอุปสมบทหรือการบวชนั้นมีขั้นตอนที่จะต้องเตรียมตัวค่อนข้างมาก รวมไปถึงบทสวดที่จำเป็นจะต้องท่องจำให้ได้เพื่อการสวดในวันพิธี ที่ Shopee Blog รวบรวมมาให้หมดแล้ว ว่ามีอะไรบ้าง
1. ติดต่อวัดที่ต้องการบวช
ขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนแรกหลังจากตัดสินใจแล้วว่าจะบวช ให้ติดต่อไปยังวัดที่ต้องการไปบวช โดยติดต่อที่เจ้าอาวาส ส่วนมากแล้ว ก็มักจะเลือกวัดใกล้บ้านเพื่อให้สะดวกต่อการทำพิธีหรือการติดต่อประสานงานต่างๆ ตั้งแต่เริ่มบวชไปจนถึงวันสึก
2. เตรียมอุปกรณ์การบวชให้พร้อม
หลังจากได้วัดที่จะไปจำพรรษาแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญต่อการบวช โดยส่วนมากแล้ว อุปกรณ์ที่จำเป็นและขาดไม่ได้สำหรับการนั้น จะมีตามรายการดังนี้
- อัฐบริขาร หรือเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นสำหรับภิกษุ ที่มีทั้งหมด 8 อย่าง ได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว และธมกรก (ที่กรองน้ำ)
- ของใช้ส่วนตัว ที่จำเป็นสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ย่าม หมอนพระ มุ้ง เสื่อพับ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ร่ม ผ้าอาบน้ำฝน จาน ชาม ช้อนส้อม กาต้มน้ำ ปิ่นโต ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ รองเท้าแตะ และอื่นๆ
- เครื่องไทยธรรม สำหรับประกอบในพิธีและถวายพระอุปัชฌาย์ เช่น สังฆทาน ผ้าไตรถวาย ต้นเทียน กรวยถวาย ชุดบายศรี ชุดเทียนแพ พานแว่นฟ้า ดอกไม้ครอบไตร
- เครื่องประกอบอื่นๆ เช่น ตาลปัตร อาสนะ เหรียญโปรยทาน เสื้อนาค สัปทนขนาดใหญ่ เสื้อนาค และอื่นๆ ตามที่จำเป็น
Credit : Freepik
อานิสงส์ของการบวช
สำหรับการบวชนั้น ตามความเชื่อของคนไทยคือจะได้รับอานิสงส์เป็นอย่างมากจากการบวชเพียงแค่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็น
1. รู้จักการบริหารเวลา และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นคุณธรรมในการทำให้เป็นสัปบุรุษ
2. ได้รับความสงบสุขจากการบำเพ็ญธรรมะ ที่เกิดขึ้นได้แม้จะบวชในระยะเวลาสั้นๆ
3. ได้โอกาสในการศึกษาธรรมะจากแก่นแท้ ที่อาจหาได้ยากหากไม่ได้บวชจริงจัง
4. ได้ฝึกการสร้างเสริมวินัย เข้าใจความสามัคคี และการอยู่กับส่วนรวม
5. ได้ฝึกสมาธิ ฝึกการทำจิตใจให้สงบ ซึ่งส่งผลดีต่ออาชีพทางโลกฆราวาส
6. ได้สร้างและฝึกความอดทนต่อสิ่งต่างๆ รวมไปถึงก้าวข้ามอุปสรรคและเติบโตขึ้นเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีมากกว่าเดิม
7. ตามความเชื่อแล้ว เชื่อกันว่าการบวชนั้นสร้างอานิสงส์ให้พ่อแม่ สามารถเกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ แต่ในที่นี้ การเกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ อาจจะหมายถึงการทำให้พ่อแม่และครอบครัวใกล้ชิดกับธรรมะมากขึ้น และรู้จักนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และเป็นมิตรกับทุกคน เพราะการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขก็เปรียบเหมือนสวรรค์ดีๆ นั่นเอง
รวมฤกษ์บวช 2567 และฤกษ์สึกพระ สำหรับวางแผนการบวช
มาศึกษารายละเอียดกันว่า ฤกษ์บวช 2567 และฤกษ์สึกพระในแต่ละเดือน จะมีวันไหนบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมการบวชได้ทันตามฤกษ์
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก มกราคม 2567
ฤกษ์บวช
- 1 มกราคม 2567
- 8 มกราคม 2567
- 15 มกราคม 2567
- 22 มกราคม 2567
- 26 มกราคม 2567
ฤกษ์สึก
- 1 มกราคม 2567
- 2 มกราคม 2567
- 8 มกราคม 2567
- 10 – 11 มกราคม 2567
- 15 มกราคม 2567
- 19 – 20 มกราคม 2567
- 22 มกราคม 2567
- 26 มกราคม 2567
- 28 – 29 มกราคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ฤกษ์บวช
- 9 กุมภาพันธ์ 2567
- 13 กุมภาพันธ์ 2567
- 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2567
ฤกษ์สึก
- 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2567
- 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2567
- 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนมีนาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 7 – 8 มีนาคม 2567
- 15 – 16 มีนาคม 2567
- 25 – 26 มีนาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 5 – 8 มีนาคม 2567
- 13 – 16 มีนาคม 2567
- 23 – 26 มีนาคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนเมษายน 2567
ฤกษ์บวช
- 3 – 4 เมษายน 2567
- 12 – 13 เมษายน 2567
- 21 – 22 เมษายน 2567
ฤกษ์สึก
- 1 – 4 เมษายน 2567
- 10 – 13 เมษายน 2567
- 19 – 22 เมษายน 2567
- 29 – 30 เมษายน 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนพฤษภาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 1 พฤษภาคม 2567
- 9 – 10 พฤษภาคม 2567
- 18 พฤษภาคม 2567
- 20 พฤษภาคม 2567
- 28 – 29 พฤษภาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 1 พฤษภาคม 2567
- 7 – 10 พฤษภาคม 2567
- 16 – 18 พฤษภาคม 2567
- 20 พฤษภาคม 2567
- 26 – 29 พฤษภาคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนมิถุนายน 2567
ฤกษ์บวช
- 5 – 6 มิถุนายน 2567
- 15 – 16 มิถุนายน 2567
- 24 – 25 มิถุนายน 2567
ฤกษ์สึก
- 3 – 6 มิถุนายน 2567
- 12 – 16 มิถุนายน 2567
- 22 – 25 มิถุนายน 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนกรกฏาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 3 – 4 กรกฎาคม 2567
- 12 – 13 กรกฎาคม 2567
- 22 กรกฎาคม 2567
- 30 – 31 กรกฎาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 1 – 4 กรกฎาคม 2567
- 10 – 13 กรกฎาคม 2567
- 20 – 22 กรกฎาคม 2567
- 28 – 31 กรกฎาคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนสิงหาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 8 – 9 สิงหาคม 2567
- 18 – 19 สิงหาคม 2567
- 26 – 27 สิงหาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 6 สิงหาคม 2567
- 8 – 9 สิงหาคม 2567
- 16 – 19 สิงหาคม 2567
- 25 – 27 สิงหาคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนกันยายน 2567
ฤกษ์บวช
- 5 กันยายน 2567
- 14 – 15 กันยายน 2567
- 23 – 24 กันยายน 2567
ฤกษ์สึก
- 2 กันยายน 2567
- 4 – 5 กันยายน 2567
- 12 – 15 กันยายน 2567
- 21 – 24 กันยายน 2567
- 30 กันยายน 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนตุลาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 2 – 3 ตุลาคม 2567
- 11 – 12 ตุลาคม 2567
- 20 – 21 ตุลาคม 2567
- 29 – 30 ตุลาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 1 – 3 ตุลาคม 2567
- 9 – 12 ตุลาคม 2567
- 18 – 21 ตุลาคม 2567
- 27 – 30 ตุลาคม 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนพฤศจิกายน 2567
ฤกษ์บวช
- 8 – 9 พฤศจิกายน 2567
- 16 – 17 พฤศจิกายน 2567
- 25 – 27 พฤศจิกายน 2567
ฤกษ์สึก
- 6 – 9 พฤศจิกายน 2567
- 14 – 17 พฤศจิกายน 2567
- 23 – 27 พฤศจิกายน 2567
ฤกษ์บวชและฤกษ์สึก เดือนธันวาคม 2567
ฤกษ์บวช
- 5 – 6 ธันวาคม 2567
- 14 – 15 ธันวาคม 2567
- 23 – 24 ธันวาคม 2567
ฤกษ์สึก
- 3 – 6 ธันวาคม 2567
- 12 – 15 ธันวาคม 2567
- 21 – 24 ธันวาคม 2567
- 30 – 31 ธันวาคม 2567
ครบแล้วกับฤกษ์บวช 2567 ทั้ง 12 เดือนที่นำมาฝากกัน สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับตัวเองและครอบครัว แล้วดำเนินการต่อเรื่องพิธีและขั้นตอนการเตรียมตัวบวชได้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฤกษ์ยามการบวชจะเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่การได้เลือกช่วงเวลาที่ตัวเองและครอบครัวสะดวกมากที่สุด ก็เป็นเรื่องที่ดี แม้จะไม่ตรงกับฤกษ์ยามก็ตาม เพราะฤกษ์ที่ดี คือฤกษ์ที่สะดวก และสำหรับใครที่หาเครื่องไทยธรรมสำหรับพิธีบวช ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสังฆทาน หรือ ชุดสังฆทาน หรือหาชุดไปงานบวช อยู่ ลองมาค้นหาที่ Shopee ได้เลยนะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : Rabbit Care, KTC และ DMC TV