บทสวดมนต์พาหุงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ มาดูกันดีกว่าว่าทำไมบทสวดพาหุงนี้ถึงได้เป็นบทสวดมนต์ที่ใครๆ ก็รู้จักคุ้นเคยและช่วยในเรื่องด้านใดได้บ้าง มาดูกันเลยว่าบทสวดพาหุงต้องสวดอย่างไร
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
บทสวดพาหุงมหากา คืออะไร
“บทสวดพาหุงมหากา” หรือที่เรียกกันว่า “พุทธชัยมงคลคาถา” ซึ่งมีความหมายคือ คาถาว่าด้วยชัยชนะ 8 ประการ อันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า ที่ถูกนำมาสอนและเผยแพร่โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ที่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องเจริญสติให้แก่พุทธศาสนิกชน
ความเป็นมาของ บทสวดพาหุง
โดยหลวงพ่อจรัญได้เทศนาไว้ว่าบทสวดพาหุงนี้ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้แต่งถวายพระพรให้แก่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สวดเพื่อชัยชนะในการทำสงคราม อีกทั้งยังเป็นบทสวดมนต์ที่พระเจ้าตากสินมหาราชใช้สวดเป็นประจำและได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทสวดพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ พระองค์ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บันดาลให้พระองค์ทรงกู้ชาติได้สำเร็จ
ความเชื่อเกี่ยวกับการสวด บทสวดพาหุง
เป็นที่เชื่อกันว่าบทสวดพาหุงเป็นบทสวดที่มีค่ามากที่สุดและมีผลดีที่สุดเพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา หากสวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะทำให้มีชัยชนะจากศัตรูและอุปสรรคต่างๆ ราบรื่น มีความเจริญรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จ และนอกจากจะคุ้มครองตัวเองแล้วยังช่วยคุ้มครองครอบครัวได้
การสวด บทพาหุงมหากา ที่ถูกต้องตามแนวของหลวงพ่อจรัญ
การสวดบทสวดพาหุงที่ถูกต้องตามแนวหลวงพ่อจรัญคือการบูชาพระรัตนตรัยเป็นอันดับแรก ตั้งนะโม 3 จบ จากนั้น สวดไตรสรณคม์ สวดพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วตามด้วยบทสวดพาหุงมหากา จบด้วยการ สวดอิติปิโส(พุทธคุณ) เท่าอายุ +1 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
(พุทธคุณ)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
(ธรรมคุณ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
(สังฆคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
บทสวดพาหุง
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
บทสวดมหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ
*หากสวดให้ผู้อื่นใช้คำว่า “เต” สวดให้ตัวเองให้ใช้คำว่า “เม” (เต แปลว่าท่าน/เม แปลว่าข้าพเจ้า)
หลังจากกราบพระ 3 หนแล้ว ให้สวดอิติปิโส(พุทธคุณ) เท่าอายุ +1 จบ เช่นอายุ 25 ปี ก็ให้สวดทั้งหมด 26 จบ
การสวดมนต์บทพาหุงมหากาเป็นประจำก่อนนอนและการนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่องยังช่วยฝึกสมาธิและจิตใจของเรา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การเรียน และในชีวิตประจำวันของเราได้ดี ดั่งคำที่หลวงพ่อจรัญกล่าวไว้ว่า “สวดมนต์คือยาทา วิปัสสนาคือยากิน” ใครที่ดูดวงปี 2564 มาแล้วอยากสวดมนต์เสริมดวงเพิ่มเติมก็ต้องสวดพาหุงนี้เลย
Source: www.jarun.org www.amphawan.net