โดยธรรมชาติของมนุษย์เราทุกคนทั้งหญิงและชายต่างถูกสร้างมาเพื่อให้แป็นวัยเจริญพันธุ์ในแบบที่สมบูรณ์ที่สุดในระยะเวลาหนึ่ง แล้วเมื่อผ่านมาอีกระยะจะต้องเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา โดยที่ทุก ๆ คนในโลกจะต้องประสบกับปัญหานี้อย่างแน่นอน คืออาการวัยทอง ที่จะเกิดผลกระทบกับคนรอบข้าง อย่างคนในครอบครัว คนใกล้ตัว เช่น สามี ภรรยา และลูก ๆ
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
อาการวัยทอง คืออะไร
อาการวัยทอง คือ ลักษณะอาการของคนที่ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเพศ หรือภาวะฮอร์โมนเพศหมด ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในเพศหญิงจะเริ่มที่อายุ 45 – 50 ปี และในเพศชายโดยเฉลี่ยจะเริ่มที่อายุ 50 ปี โดยฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ ในเพศหญิง ได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเทอโรน (Progesterone) ส่วนอัณฑะในเพศชายจะผลิต เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยตรง ดังนั้นวัยทอง (Menopause) จึงเป็นเรื่องที่ทุก ๆ คนควรจะต้องรู้ และอาการวัยทองผู้หญิงจะมีความชัดเจนและเห็นภาพได้มากกว่าอาการวัยทองผู้ชาย จากภาวะต่าง ๆ ของประจำเดือน
ข้อสังเกตุการเข้าสู่วัยทอง
เป็นภาวะของคนที่เริ่มเข้าสู่ความแก่อย่างชัดเจนและจะรู้ได้อย่างไร อาการวัยทองผู้หญิงจะวัดได้จากประจำเดือน และการตรวจฮอร์โมนในเลือด หากฮอร์โมนทั้ง 2 ตัว เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเทอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมีค่าเป็นศูนย์ และประจำเดือนหยุดมาอย่างถาวร ก็แสดงว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างเต็มตัวแน่นอน
อาการวัยทองผู้ชาย
สำหรับอาการวัยทองผู้ชายเราจะรู้ได้อย่างไร ให้สังเกตุร่างกายตัวเองในทุก ๆ เช้า โดยถ้าหากอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในตอนเช้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติในผู้ชาย เป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 10 วันต่อเดือน หรือจากการตรวจฮอร์โมน เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ในเลือด ถ้ามีค่าต่ำกว่า 3.5 นั่นก็แสดงว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างเต็มตัวเช่นกัน โดยอาการวัยทองผู้ชาย ก็ไม่ได้แตกต่างจาก อาการวัยทองผู้หญิง
อาการวัยทอง ลักษณะของอาการวัยทองในผู้หญิง Pantip ที่เรียกว่า “เลือดจะไปลมจะมา” มีอะไรบ้าง
- การเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน ลักษณะของการมีประจำเดือนของอาการวัยทองในผู้หญิง Pantip ที่เรียกว่า “เลือดจะไปลมจะมา” โดยผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองบางรายประจำเดือนจะขาดหายไปเลย แต่สำหรับบางรายจะค่อย ๆ น้อยลงและหมดไป บางรายจะมานานขึ้น
- อาการวัยทองร้อนวูบวาบ (hot flush) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบ (hot flush)บ้างในบางครั้ง มีเหงื่อออกในตอนกลางคืนบ้าง (night sweat) หรือจะมีอาการหนาวสั่นสลับกันไปมา ซึ่งอาการเหล่านี้จะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก
- มีผลต่ออารมณ์และจิตใจ จากการที่ร่างกายขาดฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย หงุดหงิดได้ง่าย ไม่มีสมาธิ เหนื่อยล้า หรือซึมเศร้า อยากอยู่คนเดียว จนอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าจนไม่อยากมีชีวิตต่อไป
- วัยทอง อาการคัน เนื่องจากการขาดฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) จนทำให้ช่องคลอดแห้ง ไม่หยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ส่งผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์สตรีให้เกิดมีอาการคัน จนกระทั่งอักเสบและทำให้ไม่มีความต้องการทางเพศ
- มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ท่อปัสสาวะฝ่อลีบ ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ และอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ คนโบราณนิยมใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมวในการบำรุงทางเดินปัสสาวะ
- โรคกระดูกพรุน เมื่อเข้าสู่วัยทองอย่างเต็มตัว กระดูกจะเริ่มบางลงเรื่อย ๆ จนอาจจะทำให้กระดูกหักได้ง่าย แม้เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็ก ๆ เท่านั้น
- ผลต่อไขมันและระบบหลอดเลือด จากการขาดฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ส่งผลให้ระดับไขมันเลว (LDL) สูงขึ้น และไขมันดี (HDL) ลดลง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
- เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง หรือโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) หรือขี้หลงขี้ลืม มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่เข้าสู่อาการวัยทอง
อาการวัยทองก่อนวัย
สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหาเป็นวัยทองก่อนวัยอันควร ซึ่งจะมีลักษณะของประจำเดือนไม่มา เกิดจากร่างกายหรือรังไข่ หยุดผลิตฮอร์โมนในทันที โดยลักษณะอาการวัยทองก็จะคล้ายคลึงกับวัยทองในผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปี ซึ่งก็ไม่ควรจะปล่อยผ่านหรือมองข้ามไป ควรจะรีบเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการวัยทองก่อนวัยอันควรและหาทางรักษา
อาการวัยทองแปลก ๆ
มีลักษณะของการผลิตฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไปและส่งผลต่อร่างกาย ทั้งการมีหนวด การมีกลิ่นตัวซึ่งร่างกายจะผลิตเหงื่อมามากกว่าปกติจนเกิดเป็นสาเหตุของกลิ่นตัว หรือมีอาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมและสายตาที่เปลี่ยนไปแบบฉับพลัน ล้วนเป็นผลกระทบที่เกิดจากการผลิตหรือการหยุดผลิตฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งไม่ถึงกับร้ายแรงมากเพียงแต่ให้ทำความเข้าใจกับอาการต่าง ๆ เหล่านี้ และค่อย ๆ แก้ไขต่อไป
การดูแลสุขภาพสำหรับคนที่กำลังเข้าสู่วัยทอง
- อาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ และควบคุมอาหารที่มีรสหวานจัด และคนที่มีอาการวัยทองจะต้องการแคลเซียมกระดูกสูง ซึ่งตามที่เคยบอกไว้ว่าเมื่อเข้าสู่วัยทองกระดูกจะเปราะง่าย
- ออกกำลังกาย จะต้องออกกำลังกายให้เป็นไปตามวัย สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง โดยใช้เวลาวันละ 30 นาทีในช่วงเช้าก็ได้ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี ซึ่งจะช่วยเรื่องโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบางในคนวัยทองได้
- อารมณ์ โดยพยายามอย่าให้อยู่คนเดียว หรือให้อยู่ใกล้ชิดกับลูกหลาน ซึ่งควรจะดูแลในเรื่องสุขภาพจิตให้ดีเพื่อจะได้ไม่เกิดเป็นปัญหาร้ายแรงตามมา
- งดของมึนเมาต่าง ๆ ทั้งเหล้า บุหรี่ กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- พึ่งพายาหรือต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน จำเป็นที่จะต้องพิจารณาและประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โดยปกติไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย อย่างไรทุก ๆ คนก็จะต้องเข้าสู่วัยทอง และอาการวัยทองต่าง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เป็นเพียงสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่าควรจะต้องเตรียมรับมือกับมัน และในเมื่อทุก ๆ คนต่างรู้ว่าจะต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายแต่ละช่วงวัยอย่างไร ก็ควรจะต้องทำความเข้าใจและปรับแก้ อย่าปล่อยผ่านเพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะอย่างน้อยก็รู้ปัญหาในระยะยาวของอาการวัยทอง เช่น โรคกระดูกพรุน และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ดังนั้นจึงควรต้องดูแลตัวเองซะตั้งแต่เนิ่นๆด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม มีแคลเซียมสูงและไขมันต่ำ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
แหล่งข้อมูล : phukethospital, bpksamutprakan
Feature Image credit : Freepik