เมื่อความหลากหลายทางเพศถูกเปิดกว้างมากขึ้นในสังคมและหลายประเทศก็สนับสนุนกลุ่ม LGBTQI+ ให้สามารถใช้ชีวิตในฐานะคู่รักได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ไม่ได้มีแค่ชายและหญิง แต่ใครก็ได้ที่รักกัน Love is Love โดยไทยเองก็พึ่งออกกฎหมายสมรสเท่าเทียม ล่าสุด ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีที่ในวันนี้จะมาสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายสมรสเท่าเทียมว่าจะเริ่มใช้ได้เมื่อไหร่และสิทธิไหนใช้ได้ทันที พร้อมคำถามที่พบบ่อยที่อย่ารอช้า! ไปดูกันเลย
Cr: freepik
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ส่องกฎหมายใหม่! สมรสเท่าเทียม เริ่มใช้เมื่อไหร่
การสมรสเท่าเทียม คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศที่หลังจากรอข่าวดีมานาน ล่าสุดก็ได้มีประกาศจากราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 ในวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการรับรองการสมรสระหว่างบุคคลที่ไม่ได้จำกัดแค่ชายหญิงอีกต่อไปและจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยหมายความว่า หากผู้ที่ประสงค์จะไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป กฎหมายแพ่งใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับใช้และสามารถไปจดทะเบียนที่รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียมได้ รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้รับด้วยนั่นเอง
สมรสเท่าเทียม สรุปสาระสำคัญ! สิทธิไหนใช้ได้ทันที
สรุปสาระสำคัญสมรสเท่าเทียม ล่าสุดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ที่มีผลทันที เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ (22 มกราคม 2568) ดังนี้
- การหมั้น จากชาย – หญิงเป็นบุคคล – บุคคล ตามมาตรา 1435 ที่ระบุว่าการหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว
- การสมรส การสมรสจากอายุ 17 ปีเป็น 18 ปี ตามมาตรา 1448 จะกระทำได้เมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่กรณีหมั้น หรือสมรสขณะอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา
- การจดทะเบียนสมรส ตามมาตรา 1458 จะสมรสได้ก็ต่อเมื่อบุคคลสองคนยินยอมเป็นคู่สมรสกันและจะต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
- การหย่า ตามมาตรา 1515 หากมีการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคู่สมรสได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
- การจัดการทรัพย์สิน หาเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวหามาได้ก่อนสมรสจะสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้ตามปกติ แต่หากเป็นสินสมรสเป็นเจ้าของร่วมกันและต้องจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การขาย หรือจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย
- การอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส ตามมาตรา 1598/38 เกี่ยกับค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างคู่สมรส หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ
- การรับบุตรบุญธรรม ตามกฎหมายแพ่งหมวด 4 ที่ว่าด้วยสิทธิการรับบุตรบุญธรรมร่วมกันในฐานะคู่สมรส
- สิทธิอื่น ๆ ตามที่คู่สมรสพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็น
- สิทธิได้รับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส
- การให้ความยินยอมต่อการรักษาพยาบาล
- สิทธิในการใช้นามสกุลของคู่สมรส
- การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ศาลสั่งให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
- สิทธิในการบรรจุเป็นข้าราชการกรณีคู่สมรสเสียชีวิตจากการรบ หรือการปฏิบัติหน้าที่
- สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม ได้แก่ ค่าทดแทนกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือบำนาญชราภาพ เป็นต้น
- สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ได้แก่ เงินที่ได้รับโดยเสน่หาจากคู่สมรส เงินที่ได้รับโดยเสน่หาจากคู่สมรส เป็นต้น
Cr. freepik
สมรสเท่าเทียม ล่าสุดกับคำถามที่พบบ่อย
Q: ข้อห้ามเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียม ล่าสุดมีอะไรบ้าง ?
A: สำหรับข้อห้ามเกี่ยวกับการสมรสที่ยังคงไว้ตามกฎหมายแพ่งเดิม ได้แก่
- มาตรา 1449 บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลที่ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถสมรสได้
- มาตรา 1450 ห้ามสมรสกับญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ความเป็นญาตินี้คำนึงตามสายโลหิต ไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- มาตรา 1451 ห้ามผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรมและมาตรา 1498/32 หากผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกไป
- มาตรา 1452 ห้ามบุคคลสมรสขณะที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว ก็คือห้ามสมรสซ้อน
Q: สิทธิในการมีบุตรหลอดแก้วจากการใช้สิทธิตามกฎหมายเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ได้หรือไม่ ?
A: ยังใช้ไม่ได้
Q: สามารถสมรสกับชาวต่างชาติได้หรือไม่ ?
A: ได้ บุคคลใดที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้ โดยการสมรสกับชาวต่างชาติสามารถทำได้ที่ภายในประเทศไทย คือ จดทะเบียนสมรสที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร หรือทำในต่างประเทศ ณ สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ
Q: หากคู่สมรส นอกใจ ฟ้องหย่าได้หรือไม่ ?
A: ได้ ตามมาตรา 1523 หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดู “ผู้อื่น” ฉันคู่สมรส เป็นชู้หรือมีชู้ ร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ คู่สมรสอีกฝ่ายฟ้องหย่าได้และหากศาลพิพากษาให้หย่า คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่า
Cr: freepik
สรุปสมรสเท่าเทียม ล่าสุดที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไปก็จะมีในส่วนของการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การหย่า การอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส การจัดการทรัพย์สิน รับบุตรบุญธรรมและอื่น ๆ เช่น เรื่องการยินยอมต่อการรักษาพยาบาล ประโยชน์ด้านสวัสดิการของรัฐ หรือภาษีจะมีผลบังคับใช้ทันทีซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับชาว LGBTQIAN+ ที่กำลังวางแพลนแต่งงาน หรือสร้างครอบครัว
พวกเราชาวแอพส้มก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมยินดีกับชาว LGBTQIAN+ ทุกท่านซึ่งหากใครที่อยากเข้าใจ หรือทำความรู้จักเกี่ยวกับ LGBTQIAN+ มากขึ้นก็สามารถมาอ่านสาระน่ารู้ หรือบทความดี ๆ ได้ที่ Shopee blog นอกจากนี้ยังมีสินค้าสำหรับ LGBTQIAN+ ทั้งเสื้อผ้า Unisex ที่สามารถใส่ได้ทุกพศวัย เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้านต่าง ๆ หรือใครกำลังมีแพลนสร้างบ้าน สร้างเรือนหออยากช้อปโซฟา เตียง หมอน ผ้าห่ม ผ้าม่าน ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือของตกแต่งบ้านต่าง ๆ ราคาดีผ่านออนไลน์ได้ง่าย ๆ ที่ Shopee