เวลาที่ไฟเครื่องยนต์โชว์บนหน้าปัดรถยนต์ก็อาจทำให้เจ้าของรถรู้สึกกังวลว่ารถมีปัญหาอะไรหรือเปล่า สัญลักษณ์ไฟรูปเครื่องโชว์ปัญหาจะบอกความหมายอะไรให้กับเราได้บ้าง คราวนี้ Shopee จึงจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้ไฟเครื่องยนต์โชว์ ไฟเครื่องยนต์โชว์เกิดจากอะไรกันแน่ แล้วจะมีวิธีตรวจสอบและแก้ปัญหาอย่างง่ายได้อย่างไรบ้างเพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถของเรายังอยู่ในสภาพดีและใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไปดูกัน!
Cr: Freepik
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ไฟเครื่องยนต์โชว์เกิดจากอะไร
เวลาที่ไฟเครื่องยนต์โชว์ขึ้นบนหน้าปัดรถยนต์ เหตุการณ์นี้สามารถบอกถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ได้หลายแบบทั้งในส่วนของเครื่องยนต์และวงจรอิเลกทรอนิกส์ ดังนั้นมาดูกันเลยว่าเวลาไฟเครื่องยนต์โชว์จะเกิดจากอะไรได้บ้าง
1. ระบบเซ็นเซอร์ MAF (Mass Air Flow) ผิดปกติ
เซ็นเซอร์นี้ใช้ในการวัดปริมาณอากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์เพื่อปรับอัตราส่วนระหว่างอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเหมาะสม ซึ่งหากทำงานผิดปกติก็ทำให้เกิดไฟเครื่องยนต์โชว์ได้
2. เซ็นเซอร์วัดออกซิเจน (O2 Sensor) มีปัญหา
อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่วัดออกซิเจนคงเหลือหลังเผาไหม้เพื่อดูประสิทธิภาพการเผา ซึ่งหากเซ็นเซอร์มีปัญหาก็ทำให้ไฟเครื่องยนต์โชว์ได้
3. อุปกรณ์แปลงก๊าซ (Catalytic Converter) ผิดปกติ
แคทเป็นอุปกรณ์แปลงก๊าซพิษจากการเผาไหม้ให้เป็นพิษน้อยลงก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งการอุดตันหรือเสียหายจากความร้อนจะทำให้เกิดไฟเครื่องยนต์โชว์ได้เช่นกัน
4. หัวเทียนจุดระเบิดมีปัญหา
ปัญหาหัวเทียนจุดระเบิดเสียหายทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่เต็มที่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดไฟเครื่องยนต์โชว์ได้
5. ระบบจุดระเบิดมีความผิดปกติ
คอยล์จุดระเบิดเป็นตัวจุดกระแสไฟโดยตรง ซึ่งหากทำงานผิดปกติก็ทำให้รถกระตุกและเกิดไฟเครื่องยนต์โชว์ได้เช่นกัน
6. หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมีปัญหา
หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมีปัญหาทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ เครื่องยนต์สั่น ลูกสูบไม่ทำงาน ซึ่งทำให้เกิดไฟเครืองยนต์โชว์ได้
7. ระบบโซลินอยด์มีปัญหา
ชิ้นส่วนนี้เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล หากชิ้นส่วนนี้มีปัญหาจะทำให้รถสตาร์ทยากขึ้น
8. ฝาปิดถังน้ำมันหลวม
ถ้าปิดฝาถังน้ำมันไม่สนิท ก็ทำให้ไฟเครื่องยนต์โชว์ได้เช่นกัน
สัญลักษณ์ไฟรูปเครื่องโชว์ปัญหาและวิธีแก้ไข
สัญลักษณ์ไฟรูปเครื่องโชว์ปัญหา ได้แก่
- ไฟเตือนระบบเบรคมือ เมื่อปลดล็อกระบบเบรกมือไฟจะหายไป
- ไฟเตือนพวงมาลัยไฟฟ้าผิดปกติ จะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติให้ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบ
- ไฟเตือนอุณหภูมิ ควรหยุดรถโดยห้ามดับเครื่อง เปิดกระโปรงเพื่อระบายความร้อน และสังเกตว่าอุณหภูมิลดลงหรือไม่
- ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ เติมน้ำมันเพิ่ม
- ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย อาจแสดงว่าถุงลมไม่สามารถทำงานได้ ควรให้ศูนย์จัดการ
- ไฟเตือนเข็มขัดนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย
- ไฟเตือนพวงมาลัยล็อก ให้ค่อย ๆ บิดพวงมาลัยซ้าย-ขวา พร้อมค่อย ๆ บิดกุญแจสตาร์ท
- ไฟเตือนฝากระโปรงเปิด ปิดฝากกระโปรงให้เรียบร้อย
- ไฟเตือนประตูรถปิดไม่สนิท ปิดประตูให้สนิท
- ไฟเตือนฝาปิดถังน้ำมันไม่สนิท ปิดฝาถังน้ำมันให้สนิท
- ไฟเตือนระบบเกียร์ ให้ดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ออกมาทำความสะอาด และสังเกตระดับน้ำมันเกียร์ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่
- ไฟเตือนผ้าเบรกบาง เปลี่ยนผ้าเบรกใหม่
- ไฟเตือนท่อไอเสียทำงานผิดปกติ ควรได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
- ไฟเตือนน้ำมันรถใกล้หมด เติมน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ไฟเตือนเบรกป้องกันล้อล็อก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางไฟฟ้าซึ่งแก้ได้ด้วยการถอดขั้วแบตแล้วใส่ใหม่ หากยังขึ้นไฟเครื่องยนต์โชว์อาจต้องตรวจสอบการเบรก ซึ่งหากยังทำงานได้ปกติอาจต้องส่งศูนย์เพื่อตรวจสอบ
- ไฟเตือนลมยางอ่อน เติมลมยาง
- ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้า
- ไฟเตือนตัวกรองน้ำมันของเครื่องยนต์ดีเซลผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนน้ำมัน ควรให้ศูนย์ตรวจสอบ
- ไฟเตือนระบบทรงตัวของรถ เป็นการควบคุมความเสถียรของรถผ่านเซ็นเซอร์ต่าง ๆ อาจกะพริบได้เมื่อระบบกำลังทำงาน
- ไฟเตือนระบบไล่ฝ้ากระจก ไฟจะสว่างเมื่อเกิดการทำงานระบบไล่ฝ้าภายในรถ
- ไฟเตือนระบบไฟผิดปกติ แสดงว่าอาจเกิดปัญหากับเครื่องยนต์ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล
- ไฟเตือนแบตเตอรีกุญแจต่ำ เกิดจากแบตเตอรี่กุญแจต่ำ สามารถเปลี่ยนได้
- ไฟเตือนมีน้ำปนในน้ำมัน แจ้งเตือนว่ามีน้ำปนในน้ำมัน ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน
- ไฟเตือนช่วงล่างผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของช่วงล่างซึ่งเป็นได้หลายแบบ ควรให้ช่างดูแล
- ไฟเตือนเปิดไฟหรี่ แสดงว่ามีการเปิดใช้ไฟหรี่อยู่
- ไฟเตือนตรวจสภาพรถ แสดงว่าเครื่องยนต์ภายในอาจมีปัญหาควรรีบตรวจสอบ
ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติแบบไหนต้องถึงมือช่าง
ไฟเตือนเครื่องยนต์ที่ควรถึงมือช่าง จะเป็นไฟเตือนเครื่องยนต์ (Check Engine Light) ที่เป็นสัญญาณว่าเกิดปัญหาขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ได้แก่
1. สัญญาณไฟกระพริบหรือค้าง
มักเป็นการบอกถึงปัญหาที่ร้ายแรง เช่น การไม่เผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบอกสูบ (Misfire) ซึ่งอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายอย่างถาวรได้หากไม่รีบแก้ไข
2. ไฟเตือนเครื่องยนต์สว่างพร้อมกับการรั่วไหลของของเหลวหรือกลิ่นไหม้
ซึ่งอาจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาร้ายแรง การรั่วไหลหรือกลิ่นไหม้สามารถทำให้เครื่องยนต์หรือส่วนประกอบอื่น ๆ เสียหายได้ การตรวจสอบและซ่อมแซมทันทีจะป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมได้
3. ไฟเตือนเครื่องยนต์ร่วมกับการทำงานที่ผิดปกติของรถ
ถ้ารถเกิดไฟเตือนเครื่องยนต์ร่วมกับการสั่น เครื่องยนต์สะดุด เร่งความเร็วได้ไม่เป็นปกติ เป็นอีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกถึง ปัญหาที่อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย หากไม่แก้ไขทันที การตรวจสอบและซ่อมแซมโดยช่างมืออาชีพจะช่วยให้ปัญหาไม่ลุกลามได้
ไฟเครื่องยนต์โชว์เกิดจากอะไร? ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งการรู้จักสาเหตุและวิธีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเมื่อไฟเครื่องยนต์โชว์จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่ารถอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยในการใช้งาน ช่วยให้ขับขี่รถยนต์ได้อย่างไม่มีปัญหาและเป็นสิ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในระยะยาวได้ ถึงตรงนี้หากใครที่ยังไม่จุใจกับบทความที่เราคัดมาให้ในคราวนี้ก็สามารถเข้าไปอัปเดตบทความของคนรักรถ เช่น ติดฟิล์มรถยนต์แบบไหนดี หรือ ผลรวมทะเบียนรถมงคล หรือสาระดีอื่น ๆ ต่อได้เลยที่ Shopee Blog หรือเลือกซื้อเลือกช้อปชุดแต่งรถยนต์ หรือน้ำยาล้างรถ ต่อได้เลยที่ Shopee โปรโมชั่นดี ๆ เพียบ!