หลายคนคงเคยมี “อาการหูอื้อ” ไม่ว่าจะหูอื้อข้างขวาหรือหูอื้อข้างซ้าย เกิดขึ้นในช่วงระยะสั้น ๆ หรือเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหลายเดือนก็ตามอาการหูอื้อเหล่าเป็นอาการกวนใจและรบกวนการใช้ชีวิตปกติ หากใครที่กำลังประสบปัญหาหูอื้อข้างขวาหรือหูอื้อข้างซ้าย หูอื้อทําไง เรามาดูวิธีแก้หูอื้อ ไม่ว่าจะหูอื้อข้างเดียว หรือหูอื้อทั้งสองข้าง และอาการหูอื้อจะเกี่ยวกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือไม่ รวมทั้งสาเหตุของอาการหูอื้อคืออะไร ลองอ่านไปพร้อม ๆ กันว่าหูอื้อทําไง หรืออาการ Tinnitus คืออะไร
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
อาการหูอื้อ หรือ Tinnitus คือ
อาการหูอื้อ หรือ Tinnitus คือ ความสามารถในการได้ยินเสียงลดลง หรือได้ยินเสียงไม่ชัดเจน และบางรายอาจได้ยินเสียงแปลก ๆ ในหูคล้ายเสียงวีดแหลม ๆ ของลมในหู บางรายอาการหูอื้อทำให้รู้สึกเหมือนมีน้ำไหลไปมาในหู หรือเสียงเหมือนมีแมลงเดินไปมา นอกจากอาการหูอื้อที่เกี่ยวกับการได้ยินที่ลดลงแล้ว อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นกับบางคน ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดในช่องหู คล้ายตอนนั่งเครื่องบินที่มีความกดอากาศต่ำอีกด้วย
สาเหตุของอาการหูอื้อ หูอื้อข้างขวาหรือหูอื้อข้างซ้าย (หูอื้อข้างเดียว)
- หูอื้อที่เกิดจากสิ่งอุดตัน ซึ่งอาการหูอื้อในส่วนนี้สามารถเกิดจากขี้หูอุดตัน การติดเชื้อในช่องหู และสามารถเกิดจากเนื้องอกที่เส้นประสาทหูได้อีกด้วย ทำให้เกิดอาการทั้งหูอื้อข้างขวาหรือหูอื้อข้างซ้าย
- หูอื้อที่เกิดจากการทานยาบางชนิด ที่เห็นได้บ่อย ๆ คือ ยาแอสไพริน และยังมียาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ ยาระงับประสาท และยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
- หูอื้อ หรือหูตึงในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาทการได้ยิน (Cochlear) และโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
- หูอื้อที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะและคอ ส่งผลให้กระทบกับประสาทเสียงบริเวณหูชั้นใน ทำให้รู้สึกหูอื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการหูอื้อข้างเดียว
- หูอื้อที่เกิดจากการได้ยินเสียงดังเกินไป สาเหตุของอาการหูอื้อข้อนี้มาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การฟังเพลงเสียงดังเกินไป หรือทำกิจกรรมที่มีเสียงดังอย่างการยิงปืน นอกจากนี้อาชีพบางอาชีพยังเสียงต่ออาการหูอื้อ เช่น นักบิน นักดนตรี ผู้ที่ทำงานในส่วนของสายพานการผลิต ฯลฯ
- หูอื้อที่เกิดจากแก้วหูทะลุหลังจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ อย่างการได้ยินเสียงระเบิด หรือเกิดจากการแคะหู นอกจากนี้แก้วหูทะลุยังเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ทำให้หูอื้อและการได้ยินเสียงลดลงได้เช่นกัน ทำให้เกิดอาการทั้งหูอื้อข้างขวาหรือหูอื้อข้างซ้าย
- หูอื้อที่เกิดหลังจากเป็นหวัด สาเหตุข้อนี้มาจากไวรัสบริเวณท่อที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับช่องคอเกิดอาการบวม ทำให้ความดันสูงขึ้นบริเวณหูชั้นกลาง จึงเป็นที่มาของหูอื้อข้างเดียว หรือหูอื้อข้างขวา หรือหูอื้อข้างซ้ายก็ได้
- หูอื้อที่เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคเมเนียส์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้เกิดหูอื้อข้างเดียว มีเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
ทดสอบเบื้องต้นของอาการหูอื้อ
อาการหูอื้อส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น เราจะรู้สึกได้ถึงความผิดปกติภายในหู แต่หากไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการหูอื้อหรือไม่ ให้ใช้นิ้วมือถูกกันบริเวณหน้าหูทีละข้าง หากมีอาการหูอื้อข้างเดียว เราจะได้ยินเสียงถูนิ้วดังไม่เท่ากันระหว่างหูทั้งสองข้าง
รวม 6 วิธีแก้หูอื้อตามสาเหตุ หูอื้อทําไง
หากจะพูดถึงวิธีแก้หูอื้อ หูอื้อทําไง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้สาเหตุของหูอื้อเสียก่อน เพราะอาการหูอื้ออาจเกิดจากอาการป่วยของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ไม่ใช่เพราะลมเข้า หรือความกดอากาศต่ำเท่านั้น
1. รักษาอาการหวัดให้หาย อาการหูอื้อก็จะหายตาม
อย่างที่เรารู้ว่าการเป็นหวัดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการหูอื้อ ซึ่งเกิดจากการบวมของหูชั้นกลาง หรือบริเวณท่อปิดเปิดระบายลม ดังนั้นเมื่ออาการหวัดหายไป อาการบวมก็จะลดลง วิธีแก้หูอื้อในข้อนี้ หูอื้อทําไง จึงต้องรักษาอาการเป็นหวัดให้หายนั่นเอง
2. วิธีแก้หูอื้อด้วยการบีบจมูกแล้วกลืนน้ำลาย
สำหรับการบีบจมูกและกลืนน้ำลาย เป็นวิธีการแก้หูอื้อได้ดีในกรณีที่เกิดหูอื้อจากการนั่งเครื่องบิน หรือหลังจากดำน้ำซึ่งสาเหตุมาจากการความกดอากาศเปลี่ยนแปลง วิธีแก้หูอื้อข้อนี้เป็นการดันลมที่ค้างในหูออก ทำให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติ
3. วิธีแก้หูอื้อด้วยยาละลายขี้หูและทำความสะอาด
แน่นอนว่าวิธีการแก้หูอื้อข้อนี้ สามารถแก้ไขอาการหูอื้อที่เกิดจากขี้หูอุดตัน ซึ่งทางการแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ที่แคะหูแคะออกด้วยตัวเอง เพราะจะยิ่งเป็นการทำให้ขี้หูอุดตัน และอาจเกิดบาดแผลบริเวณหูด้านนอกได้ ทางที่ดีควรใช้ยาละลายขี้หูหยอดลงไปให้ท่วม ทิ้งไว้ซักพักแล้วเทออก หากยังไม่หายหูอื้อ ให้ทำอีก 2-3 ครั้ง
4. วิธีแก้หูอื้อหลังจากการได้ยินเสียงดัง ๆ
หากมีอาการหูอื้อหลังจากได้ยินเสียงดัง ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงดนตรีดัง ๆ ฯลฯ ร่วมกับอาการเวียนศีรษะ หรือได้ยินเสียงแปลก ๆ ในหูจนทำให้รบกวนการใช้ชีวิต แนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจอาการ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อแก้วหูได้
5. วิธีแก้หูอื้อที่เกิดจากน้ำเข้าหู
สำหรับคนที่ชอบว่ายน้ำ โดยเฉพาะนักกีฬาทางน้ำ หรือไปเล่นน้ำแล้วบังเอิญน้ำเข้าหูจนเกิดอาการหูอื้อ วิธีแก้หูอื้อง่าย ๆ คือ ให้เอียงหูข้างที่มีน้ำลงข้างล่าง แล้วกระโดดเพื่อให้น้ำออกจากหู
6. วิธีแก้หูอื้อด้วยการพบแพทย์เฉพาะทาง
คนที่มีอาการหูอื้อข้างเดียว หรือหูอื้อทั้งสองข้างก็ตาม บ่อยครั้งที่เราคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก หากมีอาการหูอื้อเป็นเวลานาน และแก้ไขด้วยวิธีการเบื้องต้นแล้วไม่หาย ต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางเพราะอาจเป็นโรคประสาทหูเสื่อมได้
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลอาการหูอื้อ
1. ใส่ที่อุดหู หรือที่ครอบหูเสมอ
เมื่อต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง หรือใช้อุปกรณ์ที่มีเสียงดัง เช่น เครื่องจักร เลื่อย ฯลฯ เพราะการได้ยินเสียงที่ดังเกินไปบ่อย ๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อประสาทเสียง
2. เลี่ยงสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองประสาทเสียง
ปริมาณการบริโภคคาเฟอีนและสารนิโคติน ซึ่งพบในกาแฟ บุหรี่ และการฟังเพลงดังเกินไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของประสาทเสียง และทำให้เกิดอาการหูอื้อ
3. เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หูอื้อ วิงเวียนศีรษะ ดังนั้นควรเลือกทานอาหารที่ไม่เค็มจัด ทานของมันให้น้อยลง งดการดื่มแอลกอฮอล์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
อาการหูอื้อไม่ใช้โรคแต่เป็นอาการผิดปกติด้านการได้ยิน และเป็นผลกระทบมาจากโรคบางชนิด อย่างโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน รวมทั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง ดังนั้นจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าอาการหูอื้อ ไม่ว่าจะหูอื้อข้างเดียว หรือสองข้างเกิดมาจากสาเหตุใด เพื่อจะได้หาวิธีแก้หูอื้อได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
อ้าอิง: webmd.com, medthai.com, si.mahidol.ac.th