หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงของการทำการตลาดออนไลน์ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ คงจะหนีไม่พ้น Affiliate Marketing ที่เราจะเห็นอินฟลูเอนเซอร์ KOL ทั้งที่มีชื่อเสียง และคนทั่วไปเริ่มเดินทางเข้าสู่โลกของ Affiliate กันมากขึ้น และแน่นอนว่าคนทั่วไปก็ให้ความสนใจ เพราะ Affiliate นั้นมีรีวิวออกมามามายว่าเป็นช่องทางการหารายได้เสริมที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ (ถ้าขยันมากๆ) แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้จักเกี่ยวกับสิ่งนี้มากนัก ดังนั้นในบทความนี้ Shopee Blog จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่า Affiliate คืออะไร และการทำ Affiliate Marketing ทำยังไงได้บ้าง มาดูกันเลย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
Affiliate คืออะไร
![Affiliate คืออะไร](https://shopee.co.th/blog/wp-content/uploads/2024/01/Shopee-Blog-Affiliate-คืออะไร.jpg)
Credit : Freepik
Affiliate Marketing หรือที่เรามักจะเห็นคำเรียกสั้นๆ ว่า Affiliate (อ่านว่า แอป-ฟี-ลิ-เอด) Affiliate คือรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดออนไลน์ ที่ใช้ลักษณะโมเดลการขายผ่านตัวแทน หรือนายหน้า โดยตัวแทนขายนั้นจะเป็นใครก็ได้ที่สมัครใจในการทำหน้าที่นี้ หรือได้รับการว่าจ้างจากแพลตฟอร์ม E-commerce ให้เป็นตัวแทนในการโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางของตัวเอง (เช่น X, Facebook, Instagram) และเมื่อมีคนคลิกเข้ามาสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ที่ตัวแทนนำไปโปรโมท ตัวแทนนั้นจะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะของ “Commission” หรือที่เรานิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ค่าคอม นั่นเอง โดยส่วนแบ่งนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างแพลตฟอร์มและนายหน้า ที่จะมีความแตกต่างกันออกไป และที่ Shopee นั้น เรามีโปรแกรม Affiliate ที่น่าสนใจอย่าง Shopee Affiliate Program ที่สามารถให้คุณสร้างรายได้จากการรีวิวสินค้า และแชร์ลิ้งก์ ได้สูงสุดถึง 60% ของยอดขาย ที่ไม่ว่าใครก็สมัครได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย
เข้าสู่ Shopee Affiliate Program
Affiliate Marketing ทำยังไง
โดยทั่วไป การทำ Affiliate Marketing นั้นจะอาศัยการโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ที่นายหน้าหรือตัวแทนเป็นเจ้าของ เช่น หน้าเพจ Facebook ของตัวเอง, สตอรี่ใน Instagram หรือโพสต์ข้อความใน X โดยที่วิธีการทำนั้นสามารถพลิกแพลงได้อย่างอิสระ ไม่ได้มีข้อจำกัดในการทำมากนัก เช่น รีพลายข้อความที่แปะลิงก์ Affiliate หรือทำโฆษณารีวิวสินค้าและแปะลิงก์สินค้าแบบ Affiliate เป็น Landing Page (หน้าเพจที่จะสามารถเข้าได้จากการกดโฆษณา) เพียงแค่มีคนเข้าลิงก์มาและซื้อสินค้าเสร็จสมบูรณ์ ตัวแทนที่เป็นคนโพสต์ลิงก์ก็จะได้ค่าคอมไปเลย แต่อย่างไรก็ตาม ในพาร์ทของ Shopee Affiliate Program ก็ยังมีข้อกำหนดและเงื่อนไขคร่าวๆ อยู่ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าและลักษณะการโปรโมทที่ห้ามทำ เช่น
- สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย (ยาที่ผิดกฎหมาย การหลอกลวง การก่อการร้าย อาชญากรรม การต่อสู้ประท้วง แชร์ลูกโซ่ หรือจดหมายลูกโซ่)
- สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับบุหรี่ การพนัน หรืออาวุธ
- เกี่ยวข้องกับ ภาพลามก ภาพวาด วัตถุอนาจาร หรือ มุกตลกที่มีเนื้อหาอ่อนไหวต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นจำนวนมาก
- เกี่ยวข้องกับ ความรุนแรงที่ชัดแจ้ง หรือที่รุนแรงเกินสมควร
- เป็นการหมิ่นประมาท มีความไม่เหมาะสม หยาบคาย หรือมีลักษณะอ่อนไหวทางการเมือง
- ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่โฆษณาด้วย ลิงก์ของ Affiliate (Spamming)
- เป็นการเหยียด หรือเป็นข้อความที่ทำให้เกิด “ความเกลียดชัง” ไม่ว่าเป็นการกล่าวถึงปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนใด และไม่ว่าจะเป็นการกล่าวโดยอ้างถึง เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อ สัญชาติ การเข้าร่วมศาสนา รสนิยมทางเพศ หรือภาษา ของบุคคลหรือกลุ่มคนนั้นๆ ก็ตาม
- สนับสนุนหรือมีไวรัส หนอนคอมพิวเตอร์ (worms) ไฟล์เสีย (corrupted files) มัลแวร์ (malware) การปลดล็อกรหัสซอฟต์แวร์ (crack) หรือวัสดุอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้ไม่สามารถใช้งานซอฟร์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หรือมาตรการรักษาความปลอดภัยได้
- ละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือ เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
ซึ่งถ้าหากทาง Shopee พบว่าตัวแทนโปรโมททำผิดกฎ ก็จะมีมาตรการต่างๆ ออกมา เช่น ระงับชั่วคราว ระงับถาวร ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบคอนเทนต์ ตักเตือน แจ้งให้แก้ไข หรืออื่นๆ ตามดุลยพินิจของทาง Shopee
![ข้อดีและข้อสังเกตของการทำ Affiliate Marketing](https://shopee.co.th/blog/wp-content/uploads/2024/01/Shopee-Blog-ข้อดีและข้อสังเกตของการทำ-Affiliate-Marketing.jpg)
ข้อดีของการทำ Affiliate คืออะไร
การทำ Affiliate นั้นก็มีข้อดีทั้งในมุมของร้านค้า และมุมของตัวแทน โดยเราจะสรุปมาให้คร่าวๆ ว่า ในแต่ละฝั่งนั้น มีข้อดีอย่างไรบ้าง
ข้อดีฝั่งผู้ขาย หรือ เจ้าของแบรนด์
- ไม่ต้องเหนื่อยกับการโปรโมทสินค้าด้วยตัวเอง
- ไม่ต้องลงทุนเงินกับการโฆษณาเป็นจำนวนมาก
- เพิ่มโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น
- ผลตอบแทนที่ดีจะช่วยกระตุ้นให้มีคนมาเป็นตัวแทนหรือนายหน้ามากขึ้น
- ผู้ขายหรือเจ้าของแบรนด์สามารถกำหนดค่าตอบแทนได้ ทำให้สามารถควบคุมงบประมาณในการโปรโมทได้เป็นอย่างดี
ข้อดีฝั่งตัวแทนหรือนายหน้า
- สามารถโปรโมทได้อิสระตามแพลตฟอร์มที่ต้องการ
- ไม่จำเป็นต้องมีสต็อกสินค้า ก็สามารถโปรโมทได้
- สามารถโปรโมทได้ทุกที่ทุกเวลาที่สะดวก
- รายได้ขึ้นอยู่กับความขยัน ยิ่งขยันโพสต์ก็มีโอกาสในการสร้างค่าตอบแทนได้มากขึ้น
- สามารถเลือกสินค้าโปรโมทได้ตามความสนใจ ความชอบ ความถนัด ไม่จำกัดประเภทสินค้าเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว
ข้อสังเกตของการทำ Affiliate Marketing
นอกจกข้อดีของการทำ Affiliate แล้ว เราก็ยังมีข้อสังเกตที่ควรนำไปพิจารณาให้ครบถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางเข้าสู่สาย Affiliate ซึ่งจะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
ข้อสังเกตฝั่งผู้ขาย หรือ เจ้าของแบรนด์
- สำหรับธุรกิจที่มีกำไรไม่สูง การต้องแบ่งรายได้ให้กับนายหน้าหรือตัวแทนอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
- การที่ใครก็สามารถเป็นนายหน้าได้ ทำให้แบรนด์หรือผู้อาจจะควบคุมรูปแบบเนื้อหาได้ยาก
- การที่นายหน้านำลิงก์สินค้าหรือร้านของแบรนด์ไปแปะในที่ที่ไม่เกี่ยวข้องบ่อย อาจสร้างมุมมองที่ไม่ดีนักสำหรับแบรนด์ขึ้นได้
ข้อสังเกตฝั่งตัวแทนหรือนายหน้า
- ไม่มีการการันตีรายได้ที่จะได้รับอย่างแน่นอนในแต่ละเดือน ขึ้นอยู่กับความขยัน และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง
- หากสนใจทำ ควรมีความรู้พื้นฐานทางการตลาดสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น รูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์ม เนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ เนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้า การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ติดตามซื้อสินค้าตามคำแนะนำ เพื่อให้การทำ Affiliate ไม่สูญเปล่าและมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
- เงินค่าตอบแทนนั้น โดยมากจะไม่ได้รับในทันที ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วันสำหรับแพลตฟอร์มเพื่อประมวลผล และสรุปยอดเงินที่เราได้รับ หลังจากนั้นถึงจะดำเนินการโอนเข้าสู่บัญชีของเรา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการทำ Affiliate อาจจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่เคยทำ แต่ที่ Shopee Affiliate Program ของเรานั้นก็มีมิชชั่นให้ทำ ที่เมื่อพิชิตมิชชั่นแต่ละแบบสำเร็จก็จะได้รับเงินโบนัสหรือรางวัลพิเศษเพิ่มไปเลย หากใครกำลังสนใจ Shopee Affiliate Program ก็สามารถสมัครเข้าร่วมกันได้นะ และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
[ผู้ซื้อ] Shopee Affiliate Program
[นโยบาย] Seller Affiliate Program
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก The Digital Tips