ใครที่อยู่บ้านมานานๆ หรือผ่านเหตุแผ่นดินไหวมาแล้วเกิดรอยร้าวบนผนังปูนคงรู้สึกใจหายไม่น้อย เพราะบางรอยก็เล็กนิดเดียว แต่บางรอยก็ใหญ่จนชวนกังวลว่า “แบบนี้อันตรายไหมนะ?” บทความนี้ Shopee จึงจะพาทุกคนมาเป็นช่างมือใหม่ด้วยเคล็ดลับซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูนแบบเบื้องต้น ด้วยการเช็กว่าบ้านร้าวแบบไหนอันตราย, เลือกใช้ปูนซ่อมรอยแตกร้าวแบบไหนให้เหมาะ และมาเจาะกันว่า รอยร้าวผนัง แต่ละแบบน่ากังวลแค่ไหน พร้อมเกร็ดความรู้ไม่ควรมองข้ามอีกเพียบ

สัญญาณที่ต้องสังเกต! ทำความเข้าใจรอยร้าวก่อนซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูน
เวลาเห็นรอยแตกร้าวอย่าเพิ่งรีบตกใจ เพราะไม่ใช่ว่าทุกรอยร้าวจะอันตรายเสมอไป รอยร้าวแต่ละแบบมีสาเหตุและความรุนแรงที่แตกต่างกัน ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า รอยร้าวแบบไหนกำลังส่งสัญญาณอะไรให้เรารู้บ้าง
- รอยร้าวเล็กน้อย (Hairline Cracks) เป็นรอยเส้นบาง ๆ เล็กจนแทบมองไม่เห็น เกิดจากการหดตัวของปูนเมื่อแห้งตัว ถือเป็นเรื่องปกติที่มักพบหลังการก่อสร้าง ไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่
- รอยร้าวปานกลาง (Medium Cracks) เป็นรอยเริ่มกว้างขึ้นนิดหน่อย อาจเกิดจากการทรุดตัวเล็ก ๆ หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปบ่อย ๆ แบบนี้ควรหมั่นสังเกตและเตรียมแผนซ่อมไว้แต่เนิ่น ๆ
- รอยร้าวขนาดใหญ่ (Large Cracks) เป็นรอยร้าวที่กว้างจนเห็นได้ชัด แถมบางครั้งมีการขยับหรือเคลื่อนตัวด้วย แบบนี้ไม่ธรรมดาแล้ว อาจเกี่ยวกับโครงสร้างบ้าน ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที
- รอยร้าวเฉียง เป็นรอยร้าวที่เฉียงเอียงไปทางใดทางหนึ่ง บ่งบอกถึงการทรุดตัวของโครงสร้างบ้าน ต้องจับตาใกล้ชิด เพราะถ้าไม่รีบแก้อาจลุกลามได้
- รอยร้าวตามแนวนอน เป็นที่เกิดจากแรงดันด้านข้างหรือการโก่งตัวของคาน ต้องรีบเช็กเพราะอาจกระทบกับความแข็งแรงของตัวบ้านโดยตรง
- รอยร้าวเป็นใยแมงมุม เป็นรอยที่ดูเหมือนรอยแตกเป็นตาข่ายทั่วไป มักเกิดจากการฉาบปูนที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือรับน้ำหนักมากเกินไปในจุดนั้น
การรู้เท่าทันประเภทของ รอยร้าวผนัง จะช่วยให้เราประเมินได้ว่าควรลงมือ ซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูน แบบไหน หรือจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากช่างมือโปรเพื่อความปลอดภัยของบ้านที่เรารัก
บ้านร้าวแบบไหน…อันตรายที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ?
เห็นรอยร้าวบนผนังบ้าน หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วบางรอยร้าวก็แอบส่งสัญญาณเตือนภัยเงียบๆ อยู่เหมือนกัน มาดูกันดีกว่าว่า “บ้านร้าวแบบไหนอันตราย” ที่เราควรรีบสังเกตและแก้ไขก่อนจะสายเกินไป
- รอยร้าวแนวดิ่งลึกกลางผนัง รอยร้าวแบบนี้เกิดจากผนังรับน้ำหนักมากเกินไปจึงเกิดการแอ่นเป็นรูปตัวยู และยุบลงเป็นรอยร้าวตรงกลาง งานนี้อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด
- รอยร้าวแนวเฉียงยาว จะเกิดขึ้นในมุม 30 – 70 องศา เป็นรอยร้าวที่พาดเฉียงไปบนผนังมักเกิดจากการทรุดตัวของฐานรากไม่เท่ากัน เสี่ยงต่อความมั่นคงของตัวบ้านในระยะยาว
- รอยร้าวแตกลึกบริเวณเสา คาน หรือโครงสร้างหลัก รอยร้าวแบบนี้มักเกิดจากโครงสร้างที่รับน้ำหนักมากเกินไป เกิดได้ทั้งรอยแตกลึกและรอยร้าวแบบเป็นข้อปล้อง ซึ่งหากเห็นรอยร้าวตรงจุดรับน้ำหนักหลัก เช่น เสา หรือคาน ต้องรีบปรึกษาวิศวกรทันที เพราะอาจกระทบต่อความปลอดภัยทั้งหลัง
- รอยร้าวที่มีการเคลื่อนตัวหรือเยื้อง สังเกตว่ารอยร้าวมีการขยับ หรือผนังดูเบี้ยวผิดปกติ อันนี้ต้องรีบเช็ก เพราะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอย่างจริงจัง
- รอยร้าวพร้อมการเอียงของประตู หน้าต่าง หรือพื้น ถ้าประตูเริ่มเปิดปิดยาก หน้าต่างเบี้ยว หรือพื้นเอียง นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าบ้านกำลังทรุดตัวแล้ว
- รอยร้าวที่มีน้ำซึม เจอน้ำซึมตามรอยร้าวเมื่อไหร่ อย่ามองข้ามนะ เพราะความชื้นจะค่อยๆ ทำให้โครงสร้างเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
เลือกให้ถูก! ประเภทของปูนซ่อมรอยแตกร้าว และการใช้งาน
การซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูนไม่ใช่แค่เลือกช่างอย่างเดียว แต่การเลือก “ปูนซ่อมรอยแตกร้าว“ ให้เหมาะกับลักษณะรอยร้าวก็สำคัญมาก เพราะวัสดุแต่ละแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ให้ความสะดวกและความแข็งแรงไม่เหมือนกัน มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละแบบเหมาะกับรอยร้าวผนังแบบไหน ตามมาดู!
- อะคริลิก ฟิลเลอร์ (Acrylic Filler) เป็นอะคริลิกสำเร็จรูปสำหรับอุดโป๊วรอยแตกร้าว เหมาะกับรอยร้าวเล็กถึงปานกลาง ใช้งานง่ายสุด ๆ แค่ปาดให้เต็มรอย รอแห้ง แล้วขัดผิวให้เรียบก่อนทาสีได้เลย จุดเด่นคือยืดหยุ่นดี แต่ไม่เหมาะกับรอยร้าวที่ขยายตัวหนักๆ ไม่ทำให้สีทับหน้าเหลือง
- อะคริลิก ซีลแลนท์ (Acrylic Sealant) ตัวนี้ก็คล้ายฟิลเลอร์ แต่ยืดหยุ่นมากกว่า จึงทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะกับรอยร้าวขนาดเล็กถึงใหญ่ที่เสี่ยงแตกร้าวซ้ำ ใช้ง่าย แถมทาสีทับได้เหมือนกัน
- ปูนฉาบรอยแตกร้าวสำเร็จรูป สำหรับใครที่เจอรอยร้าวขนาดปานกลางถึงใหญ่ ตัวนี้ตอบโจทย์มาก แค่ผสมน้ำตามสัดส่วน ฉาบปิดรอย ข้อดีคือแข็งแรงและยืดหยุ่นดี แต่ต้องลงมือแบบมีเทคนิคหน่อยเพื่อความเรียบเนียน
- อีพ็อกซี่ พัตตี้ (Epoxy Putty) ถ้ารอยร้าวใหญ่มาก หรืออยู่ในจุดที่ต้องการความแข็งแรงสุดๆ เช่น เสา คาน แนะนำให้ใช้อีพ็อกซี่พัตตี้เลย แข็งแรงทนทานสุดๆ แต่ใช้งานยาก ต้องผสมสองส่วนให้พอดี และทำงานเร็วหน่อยเพราะเซตตัวไว
การเข้าใจลักษณะของรอยร้าวผนังแต่ละประเภท และการเลือกใช้ปูนซ่อมรอยแตกร้าวให้เหมาะสม ถือเป็นกุญแจสำคัญในการซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูนเพื่อดูแลบ้านให้อยู่ในสภาพดีเสมอ นอกจากนี้อย่าลืมสังเกตสัญญาณของบ้านร้าวแบบไหนอันตราย เพื่อรีบปรึกษาวิศวกรหากเจอปัญหาน่าเป็นห่วงเพื่อรีบซ่อมให้ปัญหาไม่ลุกลาม ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมหวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวช่วยดีๆ ให้เจ้าของบ้านทุกคนดูแลบ้านได้อย่างมั่นใจและมีความสุขกับทุกมุมโปรดในบ้าน ส่วนใครที่ยังไม่จุใจกับบทความดูแลบ้านก็เข้าไปอัพเดตบทความน่าสนใจต่อได้เลยที่ Shopee blog เช่น แนะนำ 6 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม มีอะไรบ้าง ต่อได้เลยที่ Shopee!
อ้างอิง