ลูกแฝด เป็นความอยากได้ลูกแฝดของคู่สมรสหรือครอบครัวที่มีความพร้อมมากพอ ด้วยความที่ท้องครั้งเดียวแต่ได้เด็กน่ารักพร้อมกันถึง 2 คน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งส่งผลโดยตรงทั้งคุณแม่เองและรวมถึงลูกน้อยด้วย ดังนั้นก่อนการตัดสินใจที่อยากจะมีลูกแฝดควรจะศึกษาข้อมูลและความพร้อมให้รอบด้านก่อน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ลูกแฝด มีข้อดีอย่างไร
- ความน่ารักและความน่าเอ็นดู รูปร่างหน้าตาที่เหมือนกันจะมีความสุขมากเวลาเห็นเด็กทั้งสองคนที่มีอายุเท่ากันเล่นด้วยกันหรือสื่อสาร
- ลูกแฝดจะเป็นเหมือนพี่เหมือนน้องเหมือนเพื่อนสนิท เป็นที่ปรึกษาในเวลาเดียวกัน แถมยังเป็นที่ระบายอารมณ์ที่ดีที่สุดอีกด้วย
- ลูกแฝดสามารถแลกของใช้กันได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เพราะฝาแฝดมักมีความชอบอะไรที่เหมือน ทำให้ประหยัดเงินไปได้
ลูกแฝด มีข้อเสียอย่างไร
- คุณแม่ท้องแฝดจะมีท้องขนาดโตกว่าปกติทำให้แม่รู้สึกแน่นอึดอัดไม่สะดวกสบาย แถมยังต้องมาแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น
- ภาวะเสี่ยงระหว่างการตั้งท้องขณะคลอดและหลังคลอด จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากการตั้งท้องธรรมดา
- ค่าใช้จ่ายสูงในการฝากท้อง เพราะแพทย์ต้องนัดไปตรวจบ่อยกว่าปกติ บางรายเสี่ยงที่จะสูญเสียลูก 1 หรือทั้ง 2 คนจากการแท้งบุตร
- จากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วคุณแม่จะมีโอกาสได้ลูกแฝดแท้น้อยกว่าแฝดเทียมมาก และแฝดแท้หน้าเหมือนก็มีโอกาสเกิดได้น้อย
- การเลี้ยงลูกแฝดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแค่เลี้ยงทีละคนก็ยังรู้สึกเหนื่อยแล้ว จะยิ่งยากมากขึ้นกับการเลี้ยงเด็ก 2 คน
- ลูกแฝดอาจจะมีอารมณ์ความรู้สึกด้อยกว่าเด็กปกติ มักจะโดนเปรียบเทียบ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาการอิจฉาฝาแฝดกันเอง
- เวลาจะออกไปข้างนอกจะต้องมีของใช้ 2 ชิ้น เช่นรถเข็นก็ต้องมี 2 คันหรือคันเดียวแบบ 2 ที่นั่งรวมไปถึงคาร์ซีทอีกด้วย
- คุณแม่หรือคุณพ่อจะต้องเสียสละเวลาส่วนตัวไปกับการดูแลเด็กทั้ง 2 คนพร้อมกันเพราะเด็ก ๆ จะทำกิจกรรมเหมือนกัน
ลูกแฝด มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ
- แฝดแท้ (Identical twins) เหมือนกันทุกอย่าง พบน้อยมากเพียง 30% ของการตั้งท้องแฝดทั้งหมดแต่จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
- แฝดเทียม (Fraternal twins) อาจเหมือนหรือไม่เหมือนก็ได้เปรียบเสมือนพี่น้องที่คลานตามกันมาเป็นกรณีที่พบได้มากกว่าประมาณ 70% ของการตั้งท้องแฝด
ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งท้องแฝด
- มีอาการแพ้ท้องมากผิดปกติ หรือเป็น 2 เท่า
- รู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก เนื่องจากท้องจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
- ท้องคุณแม่จะมีขนาดโตมากกว่าปกติ ส่งผลให้มีอาการปวดหลังได้มากกว่า
- เกิดเลือดจางมากขึ้น มีภาวะซีดได้ง่าย
- มีโอกาสเกิดอาการครรภ์เป็นพิษหรือความดันโลหิตสูง
- เกิดภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
- เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้มากกว่า
- มีตวามเสี่ยงสูงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- สายสะดือของทารกมีโอกาสจะพันกัน
- มีโอกาสทารกถ่ายเทเลือดให้กันทำให้ทารกอีกคนเกิดภาวะขาดเลือด
- หากการเจริญเติบโตไม่เท่ากันมีโอกาสทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิต
ภาวะแทรกซ้อนในระยะการคลอดลูกแฝด
- แพทย์อาจต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด เช่น การใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ
- คุณแม่ท้องแฝดมีโอกาสต้องรับการผ่าตัดทำคลอดสูงมาก
ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอดลูกแฝด
- อาจจะมีอาการตกเลือดหลังคลอด
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอดได้ง่าย
- ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์
- อัตราการตายของทารกท้องแฝดมีมากกว่าปกติ
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีลูกแฝดได้
- กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติการตั้งท้องแฝด คุณแม่จะมีโอกาสตั้งท้องแฝดมากขึ้น
- ถ้าคุณแม่มีเชื้อชาติแอฟริกันจะมีโอกาสตั้งท้องแฝดได้มากกว่าคุณแม่ที่เป็นคนผิวขาวหรือคนผิวเหลือง
- คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรมาแล้วหลายคนจะมีโอกาสตั้งท้องแฝดได้มากขึ้น
- อายุของคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสตั้งท้องแฝดมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อยถึง 4 เท่า
- น้ำหนักและส่วนสูงคุณแม่ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 จะมีโอกาสตั้งท้องแฝดมากขึ้น
- ผู้หญิงที่ดื่มนมมากกว่าปกติ 5 เท่าจะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมังสวิรัติหรือไม่รับประทานอาหารพวกโปรตีนถึง 5 เท่า
- คุณแม่ที่ให้นมลูกคนแรกอย่างต่อเนื่องจนถึงเวลาจะมีการตั้งท้องสอง จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่า
- กินยาคุมเกิน 3 ปีขึ้นไปพอหยุดกินฮอร์โมนที่ถูกกดไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาจึงทำให้มีโอกาสตั้งท้องแฝดได้มากขึ้น
วิธีทำลูกแฝดด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
สำหรับครอบครัวที่พร้อมและอยากได้ลูกแฝดก่อนอื่นควรจะต้องมีการกระตุ้นไข่ คือ การใช้ยาไปกระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เจริญเติบโต สุก และตกออกมา ยากระตุ้นการตกไข่จะช่วยควบคุมระยะเวลาการตกไข่ให้เป็นปกติและการกระตุ้นนั้น อาจจะทำให้ไข่ตกมากกว่า 1 ฟองก็จะมีโอกาสได้ลูกแฝดโดยจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เหมาะสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ที่สุขภาพแข็งแรงง่ายต่อการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์แบบธรรมชาติ หากยังไม่สำเร็จจึงจะพึ่งวิธีทางการแพทย์ช่วย
- IUI (Intrauterine insemination) เป็นวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยการคัดอสุจิที่แข็งแรงที่สุดมาผสมเทียมกันภายในเป็นวิธีที่ช่วยเร่งให้ไข่และอสุจิเจอกันง่าย แต่ก็ยังพึ่งหลักการผสมเองตามธรรมชาติมีโอกาสได้ผลสำเร็จ 10-30%
- IVF (In Vitro Fertilization) การทำลูกแฝดหลอดแก้ว เป็นการคัดไข่ที่สมบูรณ์และคัดอสุจิที่แข็งแรงมาผสมกันและให้เกิดการปฏิสนธิที่ภายนอกจากนั้นนำไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อน นำกลับเข้าไปใส่ที่โพรงมดลูกมีโอกาสได้ผลสำเร็จ 15-20%
- ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการคัดไข่และอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกันโดยใช้เข็มเจาะไข่แล้วฉีดอสุจิเข้าไปที่ไข่โดยตรงเป็นการปฏิสนธิกันภายนอกจากนั้นนำไข่ที่ผสมกันเรียบร้อยกลับไปใส่โพรงมดลูกมีโอกาสสำเร็จ 30-40%
การทำลูกแฝดตามธรรมชาติมีโอกาสน้อยมากมักจะเกิดจากพันธุกรรม ในส่วนของวิธีทำลูกแฝดจากเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การฉีดเชื้อผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว จะมีโอกาสเกิดท้องแฝดได้มากกว่าขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่มีและขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอ่อนที่ใส่เข้าในโพรงมดลูก แต่ไม่สามารถกำหนดหรือบังคับให้เกิดท้องแฝดได้ เพราะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องในการเกิดเป็นทารก หากมีโอกาสสำเร็จก็ยังต้องเตรียมรับมือกับภาวะแทรกซ้อนสำหรับคุณแม่ท้องแฝดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดอีกทั้งยังเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลโดยตรงต่อลูกแฝดอีกด้วย