มีอาการท้องอืดทีไรแล้วรู้สึกไม่สบายท้องทุกที มักเกิดหลังจากทานมากเกินไปทำให้ท้องอืดอาหารไม่ย่อย เป็นปัญหากวนใจของหลาย ๆ คน ซึ่งวิธีแก้ท้องอืดนั้นต้องรู้ก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เกิดอาหารท้องอืดหรือลมในท้องเยอะ พร้อมตอบคำถามลมในท้องเยอะ ทําไงดี Shopee ได้รวบรวม วิธีแก้ท้องอืด มาให้แล้ว
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ท้องอืดเกิดจากอะไร จะได้หาวิธีแก้ท้องอืดได้ตรงจุด
ท้องอืดเกิดจากกอะไรกันนะ อาการท้องอืดมีสาเหตุมากจากการที่แก๊สในระบบทางเดินอาหารมากเกินไป จนทำให้รู้สึกแน่นท้อง ท้องป่อง ลมในท้องเยอะ มักมีอาการบริเวณกลางท้องด้านบนระหว่างใต้ลิ้นปี่ โดยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อมีอยู่หลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น
- ทานอาหารมากและเร็วเกินไป
- ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- นอนหลังรับประทานอาหาร
- รับประทานอาการบางประเภทที่ผลิตแก๊สมาก
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- สูบบุหรี่
อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ มาด้วย เช่น กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก สำไส้แปรปรวน ฯลฯ ซึ่งทำให้กวนใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้
วิธีแก้ท้องอืด รักษาได้ด้วยวิธีไหน กินอะไรแก้ท้องอืดได้บ้าง
วิธีแก้ท้องอืดด้วยตัวเองเบื้องต้น ให้บรรเทาอาการลงได้ ใครที่มีปัญหาท้องอืดอาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ ลองมาดูวิธีแก้ท้องอืดเหล่านี้ นำไปบรรเทาอาการท้องอืดให้ทุเลาลงได้ พร้อมแนะนำอาหารแก้ท้องอืดที่ควรกิน มีวิธีไหนบ้างตามไปดูกัน
1. ไม่กินแล้วนอนทันที
หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ไม่ควรนอนทันที ควรขยับร่างกายให้มีการเคลื่อนไหว พฤติกรรมนี้นอกจากจะทำให้แน่นท้อง ท้องอืดแล้ว ยังเป็นสาหตุให้เกิดอาการกรดไหลย้อนอีกด้วย
2. เคี้ยวอาหารให้ช้าลง
การทานอาหารหรือเครื่องดื่มให้ช้าลง จะช่วยลดการกลืนของอากาศได้ ทำให้ไม่เกิดอาการลมในท้องเยอะ ใครที่ติดการเคี้ยวอาหารไว ๆ แล้วมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วนะ
3. ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย
การใส่เสื้อผ้าก็มีผลเหมือนกัน หากใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจะทำให้ไปเพิ่มความดันของช่องท้อง ยิ่งทำให้ท้องอืด หากวันไหนที่ต้องออกไปชาบู หมูกระทะ หรืออาหารมื้อหนักต้องเลือกกางเกงหรือกระโปรงที่หลวมหน่อย
4. หลีกเลี่ยงการดื่มนม
การดื่มนมก็เป็นสาเหตุให้ท้องอืดได้ เพราะไม่มีน้ำย่อยไปย่อยนม หากอยากดื่มจริง ๆ สามารถเลือกนมแลคโตสฟรีแทนจะดีกว่า ดื่มทีละน้อยให้ทางเดินอาหารได้ปรับตัว
5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแก๊สเยอะ
ในผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี หัวหอม หากกินมากไปจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ ควรหลีกเลี่ยงถ้าไม่อยากท้องอืด
6. ทานอาหารแก้ท้องอืด
มีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงแล้ว มาดูอาหารแก้ท้องอืดกันบ้าง ท้องอืดกินอะไรดี เพื่อแก้อาการอาหารไม่ย่อย
- น้ำมะนาว : กรดมะนาวจะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น
- มะละกอสุก : ในมะละกอมีน้ำย่อยที่ช่วยย่อยอาหารและโปรตีน บรรเทาอาการแน่นท้องได้
- น้ำขิง : ให้กินขิงสดหรือดื่มน้ำขิงก่อนนอนจะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด
- สับปะรด : สับปะรดมีน้ำย่อยที่ช่วยย่อยโปรตีนและล้างไขมันที่เกาะอยู่ในลำไส้ได้
7. นวดแก้ท้องอืด
การนวดสามารถบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ โดยการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณท้องวันละ 3-5 นาที นอกจากจะบรรเทาอาการแล้วยังทำให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย ใครที่ลมในท้องเยอะ ไม่หายซักที ต้องมาลองวิธีนี้ดู
8. ลดปริมาณอาหารลงในแต่ละมื้อ
การทานอาหารในแต่ละมื้อที่มากเกินไป ก็ทำให้เกิดท้องอืดอาหารไม่ย่อยได้ นอกจากนี้การเคี้ยวอาหารให้ช้าและละเอียดมากขึ้นจะช่วยไม่ให้ท้องอืดด้วย
9. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง
เพราะในหมากฝรั่งมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ไซลิทอลและซอร์บิทอล ที่มีน้ำตาลฟรุตโตส เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด
10. เลือกกินยาแก้ท้องอืดให้ถูกต้อง
อีกวิธีแก้ท้องอืดที่หลาย ๆ คนเลือก คือการกินยาแก้ท้องอืด แต่ควรเลือกกินให้ถูกชนิด เช่น ยาขับลม ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุน้ำขาว ยาลดกรด เป็นต้น
วิธีป้องกันและลดอาการท้องอืดเพิ่มเติม
การดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันจะช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการท้องอืดได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธีประกอบกัน
1. เลือกอาหารที่มีเส้นใยสูงและย่อยง่าย การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น ลดการเกิดแก๊สในลำไส้ นอกจากนี้ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่ายและหลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน และอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไปและเกิดอาการท้องอืดได้
2. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอตลอดวันช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น ลดการสะสมของแก๊สในลำไส้ และช่วยป้องกันการท้องอืดได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไปในระหว่างมื้ออาหารเพราะอาจทำให้น้ำย่อยเจือจางและการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์
3. ออกกำลังกายเบา ๆ หลังมื้ออาหาร หลังจากรับประทานอาหารแล้ว การเดินเล่นเบา ๆ หรือออกกำลังกายเบา ๆ เป็นเวลา 15-30 นาทีจะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการท้องอืดและช่วยกระจายแก๊สในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับสภาพจิตใจและลดความเครียด ความเครียดและสภาวะจิตใจที่ไม่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การหายใจลึก ๆ หรือการเล่นโยคะ สามารถช่วยลดความเครียดและปรับสมดุลการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
กินอะไรให้หายท้องอืด ช่วยไล่ลมในท้อง ?
อาหารและเครื่องดื่มที่กินแล้วช่วยไล่ลม หายท้องอืดท้องเฟ้อ หากมีอาการท้องอืดแล้วต้องการบรรเทาอาการ การเลือกอาหารหรือเครื่องดื่มที่ช่วยไล่ลมและทำให้หายท้องอืดได้ดี มีดังนี้
- ขิง: การดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ หรือการเคี้ยวขิงสดจะช่วยลดการเกิดแก๊สและบรรเทาอาการแน่นท้องได้ เนื่องจากขิงมีสารที่ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารและลดการอักเสบ
- มะนาว: น้ำมะนาวผสมกับน้ำอุ่นช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ทำให้แก๊สที่สะสมอยู่ในกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวออกมาได้ง่าย
- สะระแหน่: ใบสะระแหน่หรือชาสะระแหน่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารและลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- น้ำมะพร้าว: น้ำมะพร้าวมีเอนไซม์ธรรมชาติที่ช่วยในการย่อยอาหาร ลดการสะสมของแก๊สและทำให้ท้องรู้สึกสบายขึ้น
- โยเกิร์ต: โยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติกส์ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นและลดอาการท้องอืด
- สับปะรด : สุดท้าย ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน ตัวช่วยลดแก๊สที่ดีคือสับปะรด เพราะสับปะรดมีน้ำย่อยที่ช่วยย่อยโปรตีนและล้างไขมันที่เกาะอยู่ในลำไส้ได้
อาหารและเครื่องดื่มที่คนท้องอืดง่ายควรเลี่ยง
อาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้ท้องอืดได้ง่าย การเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มมีผลต่อการเกิดอาการท้องอืด โดยอาหารและเครื่องดื่มที่ควรระวังมีอะไนบ้าง ไปดูกันเลย
- เครื่องดื่มอัดลม: มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและทำให้ท้องอืด
- ผักตระกูลกะหล่ำ: เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี กะหล่ำดอก เนื่องจากมีสารที่ย่อยยากและอาจทำให้เกิดแก๊ส
- ถั่ว: เป็นอาหารที่มีไฟเบอร์และคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ย่อยยาก ทำให้เกิดแก๊สได้ง่าย
- อาหารทอดและอาหารมัน: ย่อยยากและอาจทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: อาจทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารช้าลงและเพิ่มแก๊สในลำไส้
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม: สำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้แลคโตส อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและไม่สบายท้อง
ท้องอืดเป็นโรคอะไรได้บ้าง และอาการที่ควรระวัง
ท้องอืดบ่อย เสี่ยงเป็นโรคอะไร?
หากมีอาการท้องอืดบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้:
- กรดไหลย้อน: อาการท้องอืดบ่อยอาจเป็นผลจากกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและแน่นท้อง
- โรคลำไส้แปรปรวน (IBS): หากท้องอืดบ่อยและมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานผิดปกติของระบบย่อยอาหาร
- แผลในกระเพาะอาหาร: อาการท้องอืดบ่อยอาจบ่งชี้ถึงการมีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุภายในกระเพาะ
- นิ่วในถุงน้ำดี: หากอาการท้องอืดมักเกิดหลังจากทานอาหารที่มีไขมันสูง อาจเป็นสัญญาณของการมีนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องอืด
อาการที่ควรระวังเพิ่มเติม
หากมีอาการท้องอืดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีธรรมดา ควรสังเกตอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงเพิ่มเติม เช่น:
- รู้สึกอิ่มเร็วหรือแน่นท้องแม้ทานอาหารเพียงเล็กน้อย
- รู้สึกแน่นท้องร่วมกับอาการปวดบีบและท้องแข็ง
- มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยบ่อยครั้ง
หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การดูแลระบบย่อยอาหารให้แข็งแรงในระยะยาว การดูแลระบบย่อยอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีป้องกันการเกิดอาการท้องอืดได้ดีที่สุด โดยสามารถทำได้ด้วยการเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ และใส่ใจในสุขภาพจิตใจ การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีระบบย่อยอาหารที่แข็งแรงและชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น
ท้องอืดแค่ไหนถึงควรไปพบแพทย์
ปกติแล้วอาการท้องอืด ลมในท้องเยอะจะไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่หากคุณสังเกตตัวเองว่ามีอาการท้องอืดเป็นเวลานานพร้อมกับมีอการเหล่านี้ร่วมด้วยควรไปพบแพทย์โดยด่วน
- มีไข้สูง
- ท้องเสีย
- อาเจียน
- แสบร้อนกลางอก
- อุจจาระปนเลือด หรืออุจจาระสีเข้มมาก
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดท้องอย่างรุนแรงหรือเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน
วิธีกดจุดไล่ลมในท้อง ใครลมในท้องเยอะ ต้องลอง!
ตามตำราแพทย์แผนจีน มีวิธีนวดกดจุดแก้อาการแน่นท้อง ท้องอืด เป็นวิธีไล่ลมในท้องที่จะช่วยได้ในอีกทางหนึ่ง
- จุดเน่ยกวน อยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสองโดยห่างจากเส้นข้อมือ 2 นิ้ว โดยกดข้างละ 3-5 นาที
- จุดจู๋ซานหลี จะอยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้วข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกดประมาณ 3-5 นาที
หากใครลอง 10 วิธีแก้ท้องอืด วิธีไล่ลมในท้อง เหล่านี้ดูแล้วยังไม่หาย ยังมีลมในท้องเยอะอยู่ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ที่เราไม่รู้ได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น