มัยโซเวน (MYSOVEN granules) คือยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะ ซึ่งจะใช้รักษาอาการป่วยที่จากการจากภาวะโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยตัวยาจะไปช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง เพื่อให้ง่ายมากขึ้นที่จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจสามารถจะขับเสมหะเหล่านั้นออกมาได้ และเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น รู้สึกโล่งจมูกมากขึ้น
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
มัยโซเวน สรรพคุณ
มัยโซเวนจะมีลักษณะเป็นยาชนิดผง มีแบบซองใช้ชงกับน้ำรับประทานเพื่อละลายเสมหะ ช่วยให้การขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น โดยตัวยาจะไปทำลายมิวโคโปรตีอิค และนิวคลิอินแอซิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสมหะข้นเหนียว ที่โดยเกิดจากอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งแบบเรื้อรังและแบบที่เป็นชนิดเฉียบพลัน จึงเป็นสาเหตุให้เสมหะเหนียวและข้นทำให้ขับออกมาได้ยาก
มัยโซเวน แต่ละสีต่างกันยังไง
- มัยโซเวน สีเขียว ตัวยาสำคัญ Acetylcysteine ความแรง 200 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับวัยผู้ใหญ่
- มัยโซเวน สีฟ้า ตัวยาสำคัญ Acetylcysteine ความแรง 600 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับวัยผู้ใหญ่ที่มีเสมหะเหนียวข้นมาก
- มัยโซเวน สีสีส้ม จะเป็นรสส้ม รสชาติจะรับประทานได้ง่ายสำหรับเด็กมี ตัวยาสำคัญ Acetylcysteine ความแรง 100 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับเด็กอายุมากกว่า 6 ปี
มัยโซเวน การเก็บรักษา ควรจะเก็บไว้ให้พ้นแสงแดดและความชื้นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
มัยโซเวน ผลข้างเคียงมีอาการไม่รุนแรง
โดยปกติมักจะไม่พบว่าผู้ป่วยที่มีการใช้ยามัยโซเวนเพื่อละลายเสมหะ จะได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง อาจจะมีอาการที่เกิดจากตัวยาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถจะสังเกตอาการได้เป็นระยะ โดยอาการส่วนใหญ่ที่พบโดยส่วนมากจะเกิดจากไข้ที่เป็นอยู่ได้ แต่หากพบว่าผลข้างเคียงที่กำลังเป็นอยู่นี้ไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลง หรือเริ่มรุนแรงมากขึ้นและยังมีอาการป่วยอย่างต่อเนื่องควรจะต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาอาการต่อไป
- มีอาการคล้ายเป็นคนเป็นหวัด และมีน้ำมูกไหลร่วมด้วย
- มีอาการตัวเย็น หรือเป็นไข้ตัวเย็น
- ผู้ป่วยอาจจะมีอาการง่วงนอน ซึมลงบ้าง
- อาจจะมีไข้อ่อนๆ หากเป็นเด็ก ต้องคอยเฝ้าดูอาการต่อเนื่อง
- อาจจะมีอาการระคายเคืองบริเวณปากและลิ้น หรืออาจจะเกิดการอักเสบได้
- ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
มัยโซเวน ผลข้างเคียงอาการรุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์
สำหรับในกรณีที่มีอาการที่รุนแรงถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่พบได้น้อยมากๆ จากการรับประทานมัยโซเวนนั้น ผู้ป่วยควรจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที โดยอาการที่พบว่ารุนแรงและควรไปพบแพทย์โดยทันที จะมีดังต่อไปนี้
- กรณีที่มีผื่น หรือลมพิษขึ้นที่ผิวหนังแบบเฉียบพลัน หลังรับประทานมัยโซเวนแล้ว
- เกิดอาการหน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวม และอาจจะมีอาการตาพร่ามัวร่วมด้วย
- มีอาการแน่นหน้าอก และเริ่มหายใจติดขัด
ข้อห้ามและควรพิจารณาอย่างดีก่อนการเลือกรับประทานมัยโซเวน
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นมัยโซเวน หรือเป็นยาประเภทอื่นๆ
ข้อควรระวังในการใช้มัยโซเวน
- ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้มัยโซเวนซึ่งจะมีส่วนผสมยา Acetylcysteine หรือแพ้สารประกอบใด ๆ ที่เป็นส่วนผสมในยาชนิดนี้ จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบและห้ามซื้อยาชนิดนี้มารับประทานเอง
- ผู้ป่วยที่เคยมีอาการแพ้ยา แพ้อาหารต่างๆ หรือแพ้สารชนิดใดก็ตาม จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง เพราะส่วนประกอบในยาบางชนิดอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ได้
- หากเคยมีประวัติป่วยด้วยหอบหืด หรือมีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มาก่อน ควรจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์จะต้องพิจารณาก่อน เกี่ยวกับประโยชน์และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยา โดยจะทำการพูดคุยกับผู้ป่วย และให้คำปรึกษาก่อนทำการจ่ายยาให้
- ผู้ป่วยที่กำลังให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบและปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยหรือมีการทดสอบอย่างจัดเจนว่าตัวยาจะผสมกับน้ำนมแม่และเกิดกระทบต่อเด็กทารกได้
- เมื่อเริ่มมีการรักษาด้วยมัยโซเวนแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นเลยหรือกลับมีอาการแย่ลง การหายใจติดขัดไม่สะดวกยังไม่ลดลง หรืออาจจะมีสัญญาณของอาการแพ้ยาเพิ่มมา ควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที
มัยโซเวน แต่ละสีต่างกันยังไง เมื่อรู้แล้วว่ามัยโซเวน สรรพคุณมีอะไรบ้าง ก็สามารถจะหาซื้อได้ในร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) หรือตามร้านขายยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ (ขย.2) หรือตามร้านค้าออนไลน์ใน Shopee Thailand เนื่องจากมัยโซเวนจัดอยู่ในประเภทของยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือเป็นยาควบคุมพิเศษตามกฎหมาย จึงนำมาจัดจำหน่ายให้ได้ โดยการรับประทานปริมาณในการใช้จะต้องเป็นไปตามข้อแนะนำตามฉลาก
ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบการอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูลอ้างอิง : ndi.fda.moph.go.th/ pobpad.com /